กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ปัจจัยความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม! - Amarin Academy

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ปัจจัยความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม!

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ปัจจัยความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม!

เคยสังเกตไหมว่า เพราะอะไร ร้านอาหารหลายๆ ร้านจึงประสบความสำเร็จ สามารถขยายสาขาได้มากมายนับร้อย นับพันสาขา ขณะที่ร้านอาหารบางร้าน เปิดแค่สาขาเดียว กลับเสมอตัวหรือขาดทุนแทบทุกเดือน ทั้งนี้หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารบางร้านประสบความสำเร็จ คือการ กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ในแต่ละเมนูให้ชัดเจน

การกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบคืออะไร?

หากคุณเป็นลูกค้า เมื่อเข้าไปรับประทานอาหารในร้าน ย่อมสังเกตว่าร้านอาหารเสิร์ฟอาหาร ปริมาณมากน้อยแค่ไหน เพื่อประเมินว่า คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายหรือไม่ กลับกัน หากคุณเป็นเจ้าของกิจการ ก็ต้องสังเกตว่าอาหารแต่ละจานที่ส่งออกมาจากห้องครัว มีปริมาณเท่ากันหรือไม่ เพื่อคงมาตรฐานให้ร้านอาหาร และควบคุมค่าวัตถุดิบให้คงที่

การกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบคือ การกำหนดปริมาณวัตถุดิบทุกชนิด ที่ใช้ปรุงอาหาร 1 จาน ให้ทุกจาน มีปริมาณเท่ากัน เช่น ข้าวเหนียวเมนูหมูทอด เจ้าของร้านต้องกำหนดว่าต้อง ใช้เนื้อหมู ข้าวเหนียว กระเทียม ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส พริกไทย น้ำมัน ปริมาณเท่าไร เพื่อจะได้ทราบต้นทุนวัตถุดิบที่แท้จริง เพื่อให้ตั้งราคาได้อย่างเหมาะสม และให้ทุกๆ จานควรจะเสิร์ฟในปริมาณเท่ากัน เพื่อสร้างมาตรฐานให้ร้าน

การกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบสำคัญจริงหรือ?

ร้านอาหารจำนวนมาก มักใช้วิธีประมาณวัตถุดิบด้วยสายตา หรืออาศัยประสบการณ์ แม้วิธีนี้จะเป็นที่นิยม และสะดวกในการปรุง แต่ไม่ใช่วิธีที่แนะนำ เพราะจะทำให้คุณจะไม่สามารถคาดการณ์ต้นทุนวัตถุดิบได้ บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ใส่เกินไปหน่อย ให้น้อยไปนิด คงไม่ทำให้ขาดทุน แต่จริงๆ แล้ว หากลองคำนวณดู จะเห็นว่าเป็นเงินจำนวนมากเลยทีเดียว แล้วคุณจะยอมให้เงินที่หามาอย่างยากลำบาก รั่วไหลไปกับขั้นตอนที่เราสามารถควบคุมได้อย่างนั้นหรือ  หนำซ้ำยังทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ดีอีกด้วย สมมติว่าคุณไปรับประทานอาหารกับเพื่อน สั่งเมนูเดียวกัน แต่ได้รับอาหารในปริมาณไม่เท่ากัน ใครๆ ก็รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมจริงไหม

แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ?

เริ่มแรกคุณอาจจะต้องทำการบ้านหนักหน่อย โดยการกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบของทุกเมนู ย้ำว่าควรจะทำทุกเมนู จากนั้นจึงทำความเข้าใจกับพนักงานในครัวทุกคน ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำสิ่งนี้ และเทรนด์ให้พนักงานทุกคนเสิร์ฟอาหารตามปริมาณที่กำหนด อาจจะใช้การกำหนดเป็นตัวเลข ควบคู่กับภาพถ่ายจานต้นแบบ (ใช้ในการจัดตกแต่งจานให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด) และระหว่างการทำงานคุณควรหมั่นตรวจสอบคุณภาพ โดยการสุ่มหยิบอาหารมา 1 จาน ที่เชฟทำมาเสิร์ฟจริงๆ แล้วนำมาชั่ง ตวงวัด ดูสิว่า เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่

การกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ เป็นงานที่ค่อนข้างหนัก ต้องใช้อาศัยเวลา และความละเอียดรอบคอบ หลายคนจึงถอดใจไปเสียก่อน แต่เชื่อเถอะว่า มันมีประโยชน์ต่อร้านอาหารของคุณจริงๆ คุ้มค่าเหนื่อยแน่นอน

ขอบคุณข้อมูล www.thebalance.com

เรื่องแนะนำ

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

ลดของเสียในร้านอาหาร

9 วิธีช่วย ลดของเสียในร้านอาหาร

หนึ่งในหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จคือการควบคุมต้นทุนไม่ให้สูงจนเกินไป วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ในการ ลดของเสียในร้านอาหาร มาแนะนำ

น้ำแข็ง

“น้ำแข็ง” วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม

        เครื่องดื่มอร่อยๆ ก็ต้องคู่กับ น้ำแข็ง เย็นๆ ชื่นใจ แต่ใครจะไปคิดว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อย่าปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้ร้านอาหารของคุณต้องมีเครื่องดื่มที่ไม่ได้คุณภาพ!         แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า น้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้  น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ –  น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส –  น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น  น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ น้ำแข็ง ประเภทไหน เหมาะกับเครื่องดื่มอะไรบ้าง?         […]

ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

8 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

เปิดร้านอาหารทั้งที ก็อยากทำให้ดีที่สุด แต่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าชื่นชอบและประทับใจในทุกๆ ด้าน วันนี้เรามี 10 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.