เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง - Amarin Academy

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก หลายคนคงตื่นเต้นและดีใจที่ความฝันของตัวเองสำเร็จสักที หลังจากที่ตั้งใจวางแผนและทำงานอย่างหนักมาตลอด แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินไป เพราะบางครั้งวันแรกก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด คุณต้องเผื่อใจ และเผื่อสติในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสารพัด ปัญหาที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง วิธีแก้ปัญหาเป็นอย่างไร ไม่ต้องนั่งเดาเอง เราลิสต์ปัญหาหลักๆ มาให้แล้ว

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเปิดร้านวันแรก เราจะแยกเป็น 2 ฝั่ง คือหน้าร้าน หลังร้าน

หน้าร้าน >> เรื่องการบริการของพนักงาน ที่ต้องมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นแน่นอน เช่น พนักงานเสิร์ฟอาหารผิดโต๊ะ เสิร์ฟช้า จำเมนูไม่ได้ จดออร์เดอร์ผิด ทำอาหารหก จานแตก คิดเงินผิด ทอนเงินพลาด ลืมเก็บโต๊ะ ใช้เครื่อง POS ไม่เป็น หรือระบบ POS ขัดข้อง โต๊ะไม่พอ เจอแมลงต่างๆ บนโต๊ะ ฯลฯ

หลังร้าน >> ระบบงานรวน เชฟปรุงผิด ปรุงอาหารช้า รสชาติไม่คงที่ วัตถุดิบที่เตรียมไว้ไม่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งมากเกินไปและน้อยเกินไป อุปกรณ์ครัวไม่ทำงาน พนักงานใช้อุปกรณ์ครัวไม่เป็น วัตถุดิบที่สั่งไว้ไม่มาส่ง ฯลฯ

แม้ว่าจะเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ทำให้การบริการของร้านคุณสะดุด และอาจทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจได้ ซึ่งบางร้านอาจแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการบอกลูกค้าว่า วันนี้เปิดร้านวันแรก อาจจะติดขัดบ้าง ต้องขออภัย ซึ่งลูกค้าบางรายอาจจะใจดีให้อภัย แต่ไม่มีสิ่งใดการันตีได้เลยว่า เขาจะกลับมาใช้บริการร้านของคุณซ้ำ หรือลูกค้าบางรายอาจจะไม่ให้อภัยเลยก็ได้

(เพราะลูกค้ามีสิทธิ์คิดว่า ในเมื่อเราจ่ายเงินเต็มราคา ก็ต้องคาดหวังที่จะได้รับบริการที่ดีที่สุด แม้จะเป็นการเปิดร้านวันแรก ก็ไม่ใช่ข้อแก้ตัว เพราะคุณต้องเตรียมพร้อมมาแล้ว ถึงเริ่มเปิดร้าน)

ปัญหาเหล่านี้อาจป้องกันได้ด้วยการวางระบบ เทรนด์พนักงานให้พร้อม แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100% จนกว่าคุณจะได้ลองสัมผัสกับปัญหาและลงมือแก้ไขเองจริงๆ

บางร้านจึงใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการเชิญเพื่อนๆ หรือคนรู้จักมาก่อนในวันแรก (อาจให้รับประทานฟรี หรือลดราคาพิเศษ) เพื่อทดลองรันระบบงาน โดยบอกว่าเป็น Soft opening ให้เพื่อนๆ Feedback ได้เต็มที่ และควรเชิญมาให้แขกเต็มร้าน (จะได้รู้ว่าถ้าลูกค้ามาเต็มร้านแล้วอาจจะเกิดปัญหาใดขึ้นบ้าง เราจะได้นำมาปรับปรุงต่อไป โดยอาจใช้วิธีสอบถามเป็นรายคน หรือใช้แบบสอบถามความพึงพอใจก็ได้

วิธีนี้จะทำให้เรารู้ข้อบกพร่องที่ดีที่สุด และไม่ทำให้เสียลูกค้าด้วย เพราะทุกคนรู้ว่านี่คือช่วงทดลองเปิดร้าน หากคุณมีเวลาและมีงบประมาณเพียงพอ ก็อาจทดลองทำ Soft opening สัก 2 ครั้ง ครั้งแรกอาจจะมีระบบขัดข้องค่อนข้างเยอะ จะได้นำไปแก้ไข แล้วเมื่อ Soft opening รอบที่สองคือการทดสอบว่าวิธีแก้ปัญหาที่คิดมานั้น สามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือเปล่า

จากนั้นเมื่อระบบลงตัว จึงค่อยเปิดตัวอย่างเป็นทางการหรือ Grand Opening แต่ถ้าไม่มีงบประมาณ และมีเวลาไม่มากพอก็อาจจะจัดแค่รอบเดียวก็ได้เช่นกัน

หรือบางร้านอาจใช้วิธีเปิดร้านครึ่งวันเช้า และลองรันระบบกับลูกค้าจริง พร้อมบอกพนักงานว่าให้จดจำปัญหาที่เจอระหว่างการทำงานเอาไว้ จากนั้นช่วงบ่ายจึงปิดร้าน แล้วให้พนักงานเล่าปัญหาที่เจอ พร้อมหาทางแก้ไขร่วมกัน วิธีนี้ก็จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้เร็วและตรงจุดยิ่งขึ้น พร้อมสำหรับการเปิดร้านในวันต่อไป

วันแรกอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการทำตามความฝันของคุณ ฉะนั้นอย่าเพิ่งท้อ ลองปรับและแก้ไขไปเรื่อยๆ ทุกปัญหามีทางออก (สำหรับคนที่ตั้งใจ และพร้อมพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ)

เรื่องแนะนำ

บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

การจะเริ่มทำธุรกิจร้านอาหารกับใครนั้น ควรมีหลักการบริหารที่ชัดเจน เราจึงมีหลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามาฝาก 

ร้านอาหาร ประเภท

ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด

ร้านอาหารแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน อย่างนั้นลองมาดูลักษณะของร้านอาหารแต่ละประเภทกันดีกว่า จะได้รู้ว่า ร้านอาหาร ประเภท ไหนเหมาะกับเรามากที่สุด

เซตอัพระบบ ร้านบุฟเฟต์ ต้องอย่างไรให้ได้กำไร

ทำร้านอาหารบุฟเฟต์อย่างไรให้ได้กำไร ? คงเป็นคำถามของเจ้าของร้านอาหารหลาย ๆ คน เนื่องจาก ร้านบุฟเฟต์ ได้รับความนิยมในปัจุบัน จึงกลายเป็นตลาดแมสของธุรกิจร้านอาหารที่มีผู้เข้ามาเล่นจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ประสบความสำเร็จ ปัญหาสำคัญก็คือ ขาดการเซตอัพระบบการจัดการร้านอาหารที่เหมาะสมกับร้านบุฟเฟต์ ซึ่งแตกต่างจากร้านอาหารประเภทอื่น เพราะอะไรจึงทำให้ร้านบุฟเฟต์แตกต่าง แล้วต้องวางระบบอย่างไรจึงเหมาะสมเรามีคำตอบค่ะ   เซตอัพระบบ ร้านบุฟเฟต์ อย่างไร ให้ได้กำไร   เพราะต้นทุนอาหารสูง….จึงต้องบริหารจัดการวัตถุดิบให้ดี ในขณะที่ร้านอาหารประเภทอื่น ๆ กำหนดต้นทุนวัตถุดิบที่ 25 – 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ร้านอาหารประเภทร้านบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 35 -45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าต้นทุนอื่น ๆ ของร้าน  จึงต้องมีการกำหนดโครงสร้างที่เหมาะสม เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายต้นทุนอื่น ๆ ให้ดีด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนวัตถุดิบสามารถควบคุมได้ โดยการเซตอัพระบบการจัดการวัตถุดิบไว้อย่างรัดกุม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การหาซัพพลายเออร์ที่สอดคล้องกับความต้องการ เพราะซัพพลายเออร์เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คุณได้กำไรมากขึ้นหรือน้อยลง เช่น ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ มาตรฐานในการตัดแต่งวัตถุดิบ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทำให้ควบคุมการใช้งานยาก เป็นต้น […]

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.