5 เทคนิค รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง! - Amarin Academy

5 เทคนิค รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง!

ยุคนี้หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เริ่มทำธุรกิจด้วยตัวเอง และเลือก รับช่วงต่อกิจการ จากที่บ้าน ซึ่งทั้งสองรูปแบบก็มีความท้าทายแตกต่างกัน สำหรับคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ต้องเริ่มจากการวางระบบร้าน สร้างฐานลูกค้า ทำการตลาดให้โดนใจผู้บริโภค ขณะที่คนที่เข้ามารับช่วงต่อธุรกิจ อาจไม่ต้องเร่งสร้างฐานลูกค้า หรือทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักมากนัก เพราะมีฐานลูกค้าที่มั่นคงอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องปรับปรุงระบบการทำงาน พัฒนาทีมงานให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งอาจต้องปรับความคิดของครอบครัวให้รับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นด้วย

รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง!

ปัญหาคือ บางครั้งการแก้ของเก่า มักยากกว่าการสร้างของใหม่ เพราะทีมงานก็มีความคิดเดิมๆ เคยชินกับระบบเดิมๆ และที่สำคัญครอบครัวมักไม่ไว้ใจให้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ดังนั้นผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลายคนจึงถอดใจ และหันไปสร้างธุรกิจของตัวเอง หรือรับช่วงต่อมาแล้วไม่สามารถจัดการปัญหาได้จนต้องปิดกิจการลง ถ้าไม่อยากเจอปัญหานี้ เรามีเทคนิคการรับช่วงต่อกิจการมาฝาก!

1.ศึกษาธุรกิจเดิมให้ถ่องแท้และละเอียดที่สุด

ก่อนจะรับช่วงต่อกิจการจากครอบครัวนั้น สิ่งที่คุณควรทำมากที่สุดคือ ทำความรู้จักกับธุรกิจของคุณให้ถ่องแท้เสียก่อน เพื่อจะได้วางแผนพัฒนาหรือปรับปรุงได้ถูกจุด เจ้าของกิจการบางคนเลือกที่จะลงมือทำทุกหน้าที่ ลองทำงานทุกตำแหน่ง เพื่อจะได้เข้าใจในกระบวนการทำงานและรับรู้ถึงปัญหาต่างๆ โดยละเอียด (แถมยังเป็นการ “ซื้อใจทีมงาน” ทำให้พวกเขารู้สึกว่าเรามุ่งมั่นและจริงจังในการทำธุรกิจจริงๆ) และเมื่อถึงเวลาที่ต้องเข้ามาบริหารงานต่อ หากแผนกใดเกิดปัญหาจะได้วางแผนแก้ไขได้เหมาะสม

2.วางแผนปรับปรุง / พัฒนาธุรกิจให้ชัดเจน

หลังจากที่เราทำความเข้าใจและศึกษาธุรกิจโดยละเอียดแล้ว ถัดมาก็ต้องเริ่มวางแผน กำหนดทิศทางว่าอยากให้ธุรกิจ เติบโตไปในทิศทางใด โดยต้องมีการกำหนดเป้าหมาย และวิธีการไปถึงเป้าหมายนั้นให้ชัดเจน เช่น เป้าหมายหลักคือ ต้องการเพิ่มยอดขายให้โตขึ้น 20% ภายใน 1 ปี ก็ต้องกำหนดวิธีการว่า จะทำอย่างไรเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายนั้น ซึ่งเป้าหมายรวมทั้งวิธีการเหล่านี้ คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้

สำหรับบางธุรกิจที่มีปัญหากับครอบครัวเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ส่วนใหญ่มักใช้แผนธุรกิจเป็นตัวช่วยในการทำให้ครอบครัวเห็นภาพการเติบโตของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

3.สื่อสารกับทีมงานให้เข้าใจ

เมื่อวางแผนธุรกิจ กำหนดทิศทางการทำงานแล้ว ลำดับถัดมาที่คุณห้ามมองข้ามโดยเด็ดขาด คือการสื่อสารกับทีมงานเดิมให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เจ้าของธุรกิจหลายรายมักตกม้าตายในขั้นตอนนี้ ด้วยการลงมือปรับระบบทุกๆ อย่างตามแผนที่วางไว้ โดยไม่บอกให้พนักงานรับรู้ ซึ่งอาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นจะส่งผลดีจริงๆ หรือไม่ คิดว่าสิ่งที่ทำมาก็ดีอยู่แล้ว จะมาเพิ่มความยุ่งยาก หรือเสียเวลาในการเรียนรู้งานใหม่ทำไม ฯลฯ ดังนั้น คุณต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ต้องพยายามทำให้พนักงานเข้าใจให้ได้ว่า สิ่งที่คุณกำลังจะทำ มันจะส่งผลดีต่อธุรกิจและตัวเขาอย่างไร

เช่น ร้านอาหารเก่าแก่ที่เปิดมานานกว่า 50 ปี การจะให้พนักงานปรับระบบการทำงาน มาใช้เครื่อง POS แทนการจดออร์เดอร์ลงบนกระดาษก็ถือว่ายากมาก เพราะเขาคุ้นชินกับการทำงานแบบเดิมมานับสิบปี ฉะนั้นต้องอธิบายให้เขาเห็นว่าถ้าใช้เครื่อง POS จะส่งผลดีต่อเขาอย่างไร เช่น พนักงานเสิร์ฟไม่ต้องเสียเวลาจดออร์เดอร์ ไม่ต้องเดินไปส่งบิลที่ครัว เชฟก็ไม่ต้องเสียเวลาแกะลายมือเพื่อนร่วมงาน อาหารก็ออกเร็วและแม่นยำ ไม่ต้องคอยรับหน้าลูกค้าเวลาเสิร์ฟอาหารผิดพลาด เป็นต้น

4.ลงมือทำจริงให้เห็นผลงาน

การจะเข้ามาเป็นผู้นำในการทำธุรกิจ “คนใหม่” ไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งสำคัญคือคุณต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ครอบครัว รวมทั้งทีมงานให้ได้ก่อน แต่คำพูดอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ คุณต้องลงมือทำงานอย่างจริงจังเพื่อพิสูจน์ให้พวกเขาเห็นว่า คุณสามารถนำธุรกิจให้เติบโตกว่าเดิมได้ และผลงานที่คุณตั้งใจทำนี้เองจะเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่ทำให้คนรอบข้างยอมรับในตัวคุณมากขึ้น

5.ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

การเข้ามาปรับปรุงระบบการทำงาน วางทิศทางของธุรกิจใหม่ ใช่ว่าจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้เสมอไป บางครั้งหากคุณเดินเกมผิด ก็อาจทำให้ธุรกิจเก่าแก่ที่อยู่มานานล้มลงตรงหน้าได้ ฉะนั้นอย่าชะล่าใจ คุณต้องประเมินผลการดำเนินการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งที่คุณวางแผนไว้นั้นถูกต้องและเหมาะสมหรือเปล่า

แน่นอนว่าการรับรู้ปัญหาแต่เนิ่นๆ ก็ยังพอแก้ไขได้ แต่หากปล่อยทิ้งนานไป อาจทำให้ปัญหาบานปลายจนยากจะแก้ไข ฉะนั้นเมื่อลงมือปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอด้วย

ใครที่กำลังวางแผน รับช่วงต่อกิจการ จากครอบครัวอยู่ ความมุ่งมั่น ตั้งใจเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือความอดทน ที่จะก้าวข้ามผ่านสารพัดปัญหาไปให้ได้ และหากคุณก้าวผ่านปัญหาเหล่านั้นไปได้ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน!

 


 

                 กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ และอีกมากมาย  โดยวิทยากร อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขกสุดพิเศษ ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ตรงในการบริหารจัดการคน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

เรื่องแนะนำ

food delivery

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

ธุรกิจ Food Delivery กำลังมาแรง แต่ปัญหาสำคัญคือ ร้านอาหารหลายๆ ร้านไม่รู้จะเริ่มปรับจากจุดไหน เพื่อให้ไม่กระทบต่อหน้าร้าน วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? รวมความคิดเห็นจากคนทำร้านกาแฟ เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป ร้านคุณกำลังเผชิญกับภาวะยอดขายตก ลูกค้าหายอยู่หรือเปล่า ? เจ้าของร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์ตั้งคำถามในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เกี่ยวกับการทำธุรกิจของตนเองในขณะนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า เดี๋ยวนี้ลูกค้าหายไปไหนหมด โดยโพสต์ดังกล่าวได้ระบุข้อความว่า “#ลูกค้าหายไปไหน มาชวนเพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อย คิดว่าตอนนี้หลายร้านคงเจอกับภาวะ “นั่งตบยุง” “นั่งไถมือถือ” “นั่งดู Netflix” เราเป็นคนนึงที่เคยไม่กินกาแฟ แต่พอเปิดร้านกาแฟกลายมาเป็นคอกาแฟ ขาดกาแฟไม่ได้สักวัน เปิดร้านกาแฟมาเข้าปีที่ 7 เราเริ่มสงสัยว่า “ลูกค้าหายไปไหน” ทั้ง ๆ ที่ในซอยที่ร้านเราอยู่ ไม่มีร้านกาแฟจริงจังที่เป็นคู่แข่ง อาจจะมีร้านชากาแฟที่เป็นคีออสบ้าง แต่ถ้าร้านกาแฟจริงจังมีเราร้านเดียว พอลูกค้าหายไป เราเลยเริ่มสงสัยว่าลูกค้าหายไปไหน หรือเกิดจากกระแส 1. กาแฟดริป/Moka pot ทานเองที่บ้าน 2. เครื่องทำกาแฟแคปซูล 3. กาแฟในร้านสะดวกซื้อ 4. ลูกค้าเลิกกินกาแฟ 5. ลูกค้าไปทานร้านอื่น เพื่อนๆ ช่วยเราคิดหน่อยว่าลูกค้าหายไปไหน?” . หลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีทั้งเจ้าของร้านกาแฟ และผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกัน โดยสรุปเป็นหลายปัจจัยดังนี้ ชงกินเองที่บ้าน […]

5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ

1.การบริการที่ทำให้รู้สึกเหมือน ‘ไม่มีตัวตน’ หนึ่งในประสบการณ์ที่ลูกค้าร้านอาหารยอมรับว่าทำให้รู้สึกแย่ ก็คือ การที่พนักงานของร้านไม่ให้ความสนใจในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวต้อนรับ ลองจินตนาการระหว่างร้าน A : ซึ่งมีพนักงานต้อนรับกล่าวคำทักทาย และจัดการที่นั่งอย่างรวดเร็ว กับร้าน B: ที่ปล่อยให้ลูกค้ายืนรอ ไม่กล่าวคำทักทาย จนคุณต้องเดินเข้าไปหาที่นั่งเอง ร้านไหนที่คุณอยากเดินเข้าไปกินมากกว่ากัน การทักทายนั้นมีความสำคัญมากและเป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจ ซึ่งถ้าหากลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วย   2.พนักงานดูแลเหมือนเพื่อนสนิท…… จนเกินไป           บริการดุจญาติมิตรนั้นอาจดีสำหรับธุรกิจบางประเภท แต่การบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการเวลาส่วนตัว การที่พนักงานคุยเล่นกันข้ามหัวลูกค้า หรือใช้คำพูดในการบริการที่แสดงความเป็นกันเองกับลูกค้ามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกตะขิดตะขวงใจ ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการให้บริการอีกด้วย     3.พนักงานไม่แม่นข้อมูลอาหาร และการบริการ           ร้านอาหารอร่อยขายได้ แต่ร้านอาหารอร่อยที่ขายดีอยู่ที่พนักงานให้บริการและให้คำแนะนำเมนูต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ลองจินตนการว่า การที่ลูกค้ามีคำถามแล้วพนักงานเสิร์ฟต้องวิ่งไปถามพ่อครัว ถามผู้จัดการ นอกจากจะทำให้การบริการสะดุดแล้ว ลูกค้าย่อมรู้สึกถึงความไม่พร้อมในการให้บริการ หากพนักงานบริการได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จังหวะในการเข้าถึงลูกค้า การแนะนำเมนูที่เหมาะสมได้อย่างลื่นไหล สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน   4.การบริการที่สร้างความลำบากให้แก่ลูกค้า           ในยุคนี้การอำนวยความสะดวกสำคัญไม่แพ้รสชาติอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกถึงความยุ่งยากในการบริการจากร้านของคุณ เขาจะตัดสินใจไปร้านอื่นทันที ยกตัวอย่างเช่น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.