5 เคล็ด (ไม่) ลับ รักษามาตรฐานอาหาร ให้คงที่ - Amarin Academy

5 เคล็ด (ไม่) ลับ รักษามาตรฐานอาหาร ให้คงที่

5 เคล็ด (ไม่) ลับ รักษามาตรฐานอาหาร ให้คงที่

เคยสงสัยไหม ครัวใหญ่ๆ ที่วันหนึ่งต้องเสิร์ฟอาหารหลายร้อยหลายพันจาน จะมีวิธี รักษามาตรฐานอาหาร ทุกจานให้คงที่ได้อย่างไร วันนี้เราจะมาเผยเทคนิคการรักษามาตรฐานอาหาร เพื่อมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัดให้ทราบกัน

1. ความสะอาดต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

ความสะอาด ถือเป็นหัวใจสำคัญที่เจ้าของร้านอาหารควรใส่ใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน มั่นใจว่าสด สะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน การจัดเก็บวัตถุดิบต้องเหมาะสม ไม่ควรวางบนพื้นหรือที่ชื้นแฉะ ถังขยะต้องแยกจากส่วนปรุงอาหารให้ชัดเจน เป็นต้น ขณะเดียวกันพนักงานก็ควรแต่งกายให้เหมาะสม สวมเสื้อแขนยาว หมวก ผ้ากันเปื้อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่มากับเส้นผม มือ หรือเหงื่อ เพราะไม่ว่าอาหารจะอร่อยสักแค่ไหน หากลูกค้ารับประทานแล้วท้องเสีย หรือเจอสิ่งแปลกปลอมใดๆ ย่อมไม่ประทับใจอย่างแน่นอน

2.คงคุณภาพวัตถุดิบให้สดใหม่เสมอ

วัตถุดิบที่นำมาใช้ นอกจากจะต้องสะอาดและปลอดภัยแล้ว ต้องสดใหม่อยู่เสมอด้วย  เจ้าของร้านอาหารควรจัดเก็บวัตถุดิบแต่ละประเภทให้เหมาะสม เพื่อรักษารสชาติของวัตถุดิบให้คงที่และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น เช่น วัตถุดิบประเภทเนื้อสด ควรจัดเก็บไว้ในอุณหภูมิ -1 ถึง 2 องศาเซลเซียส ผักสด อุณหภูมิ 0 ถึง 8 องศาเซลเซียส ประเภทแป้ง อุณหภูมิ 15 ถึง 25 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรเช็คสต็อกวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีวัตถุดิบเหลือค้าง เพราะหากวัตถุดิบส่วนใดส่วนหนึ่งเน่าเสีย เช่น มีเชื้อรา วัตถุดิบอื่นก็อาจได้รับเชื้อราและเน่าเสียตามไปด้วย

3. รสชาติต้องคงที่ ไม่ผิดเพี้ยน

วิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับการควบคุมมาตรฐานรสชาติอาหารคือ จัดทำคู่มือประกอบอาหารประจำร้าน ซึ่งรวบรวมกรรมวิธีการปรุง วัตถุดิบ และอัตราส่วนผสมของแต่ละเมนูอย่างละเอียด เช่น เมนูผัดกะเพราต้องระบุส่วนผสมทุกชนิด ตั้งแต่สันในหมูสับ 150 กรัม น้ำปลา 2 ช้อนชา พริกขี้หนูสวน 7 กรัม ใบกะเพรา 10 กรัม ฯลฯ รวมทั้งระบุรายละเอียดการปรุงให้ชัดเจน เช่น ความแรงของไฟ ระยะเวลาการปรุง ความยาวของผักที่หั่น ลำดับการใส่วัตถุดิบ เป็นต้น

4. จัดตั้ง “ครัวกลาง” กระจายวัตถุดิบ

ร้านอาหารที่มีมากกว่าหนึ่งสาขามักมี “ครัวกลาง” ทำหน้าที่คัดสรร ผลิต ควบคุมคุณภาพและกระจายวัตถุดิบสู่สาขาต่างๆ เช่น น้ำจิ้ม น้ำซุป ซอส หรืออาหารจานสำคัญของร้านไปยังแต่ละสาขา  ซึ่งอาหารที่ส่งจากครัวกลางส่วนใหญ่จะเป็นปรุงจนเกือบเสร็จสมบูรณ์ เพียงแค่พนักงานที่สาขานำมาอุ่น หรือปรุงเพิ่มเติมเล็กน้อยก็สามารถเสิร์ฟได้ทันที วิธีนี้ถือว่าเป็นที่นิยมมากสำหรับร้านอาหารที่ต้องการรักษามาตรฐานรวมถึงสูตรลับประจำร้าน แต่ข้อเสียสำคัญคือ ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งครัวกลางเพิ่ม ทั้งด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงพนักงานและค่าบริหารจัดการต่างๆ ดังนั้นผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนจะทำครัวกลาง ก็ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่านการลงทุนด้วย

5ตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ

การตรวจสอบคุณภาพอาหาร จะช่วยให้มั่นใจว่าอาหารได้มาตรฐาน หากมีข้อบกพร่อง จะได้รีบปรับปรุงทันที เพราะปัญหาเพียงนิดเดียวก็สามารถทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อร้านได้ ร้านดังๆ หลายร้าน เช่น โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ ก็มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารเช่นกัน โดยการสุ่มหยิบข้าวมันไก่จากออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่ง แล้วนำมาตรวจสอบคุณภาพด้วยการชิม ชั่งน้ำหนักวัตถุดิบที่เสิร์ฟต่อจาน ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกๆ จานที่เสิร์ฟลูกค้าได้มาตรฐาน เป็นต้น นอกจากนี้ร้านอาหารควรรับฟังคำติชมของผู้บริโภค เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาอาหารให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

5 ข้อที่เรานำเสนอมานี้ เป็นวิธีที่จะช่วยรักษารสชาติอาหารให้คงที่ ใครกำลังวางแผนจะเปิดร้าน หรือกำลังเปิดร้านอาหารอยู่ อย่าลืมนำไปปรับใช้กันนะครับ

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหารเจ๊ง

9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง !

รู้หรือไม่ 60 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหาร ปิดกิจการหรือเปลี่ยนเจ้าของภายใน 1 ปี เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะมาดู 9 เหตุผลที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง กัน

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

จดทะเบียนร้านอาหาร

จดทะเบียนร้านอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ผู้ประกอบการร้านอาหารที่กำลังจะเปิดร้านอาหาร ห้ามมองข้ามเรื่อง จดทะเบียนร้านอาหาร แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง วันนี้เราหาคำตอบมาให้แล้ว

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.