กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก - Amarin Academy

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

การทำ ธุรกิจขนาดเล็ก บางคนอาจกลัวว่าจะเจอคลื่นลูกใหญ่ซัดมาแล้วทำให้เซไป จนไม่กล้าที่จะลองลงมือทำอะไรใหม่ๆ กลายเป็นยึดติดอยู่กับความสำเร็จเดิมๆ แต่หากคุณเรียนรู้ที่จะรับมือกับปัญหา ก็อาจทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปได้อย่างก้าวกระโดด เราเลยลองเอาแนวทางและวิธีในการรับมือกับปัญหาบางส่วนมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองกันดู

การจ้างงานและการรักษาพนักงานให้อยู่กับคุณ

ท่ามกลางการแข่งขันในโลกธุรกิจ การจ้างงานและการเก็บคนเก่งไว้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องตระหนักถึงเป็นเรื่องแรกๆ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กกว่า 20% บอกว่าการรักษาพนักงานเอาไว้ไม่ได้ เป็นอุปสรรคใหญ่ในการเติบโตของธุรกิจ

พนักงานจะอยู่กับคุณได้นานขนาดไหน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจ้างงาน สิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้คือไม่ใช่แค่เพียงจ้างคนที่สามารถทำงานได้ แต่ควรจ้างคนที่รักในสิ่งที่ตัวเองทำและสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้ เจ้าของธุรกิจต้องตระหนักว่า เมื่อพนักงานทำงานอย่างหนักก็ควรจะได้รับผลตอบแทนที่ดี ไม่ว่าจะเป็นวันพักร้อน ประกันชีวิต โบนัสเพื่อสร้างกำลังใจในการทำงานและช่วยสร้างให้เป็นที่ที่น่าทำงานด้วย

อย่างร้าน Copper Buffet ที่มีนโยบายในการให้สวัสดิการที่ดีแก่พนักงาน หรือ The Yard Hostel โฮสเทลเล็กๆ ที่มีพนักงานเพียง 6 คน ก็ใช้วิธีสร้างความใกล้ชิดระหว่างเจ้าของและพนักงาน โดยทุกคนสามารถพูดคุยปรึกษาปัญหากันได้ทุกเรื่อง ทำให้พนักงานยังคงเป็นชุดเดิมตั้งแต่วันเปิด (ปลายปี 2558) จนถึงปัจจุบัน

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้

การนำเทคโนโลยีมาใช้ถือเป็นโอกาสของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ดัชนีการเติบโตในภาพรวมของธุรกิจขนาดเล็กพบว่า 65% ของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเชื่อว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยทำให้การทำงานเป็นไปได้ง่ายและราบรื่นขึ้น

การปรับตัวให้เข้ากับความก้าวหน้าอาจเป็นเรื่องยากและมีราคาแพง อย่างไรก็ตามความสามารถในการปรับตัวได้เร็ว ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กมีข้อได้เปรียบ เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์และเมนเฟรมไปสู่ Cloud อาจเป็นกระบวนการที่ทำได้ง่ายกว่า  และยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่างเครื่องรับออเดอร์อัตโนมัติ เครื่องเรียกคิวไร้สาย ระบบช่วยในการเก็บข้อมูลการขาย รวมทั้งบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับสินค้าและบริการ (POS) ฯลฯ ก็จะช่วยให้ประหยัดทั้งกำลังคนและค่าใช้จ่าย (ในระยะยาว) นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความสะดวกสบายให้เกิดขึ้นแก่ผู้เข้ามาใช้บริการได้ในอีกทางหนึ่ง

 

การบริหารจัดการเวลา

การบริหารเวลาอาจเป็นปัญหาที่หลายคนหนักใจ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่มักสวมหมวกหลายใบ รับบทบาทในหลายหน้าที่ จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลามาทำทุกตำแหน่งในร้าน ไม่มีเจ้าของธุรกิจคนไหนเก่งในด้านการบริหารจัดการทุกเรื่องมาตั้งแต่แรก คุณอาจพบว่าตัวเองเสียเวลาไปกับการจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าปวดหัว แทนที่จะไปทุ่มเทเวลาและความสนใจให้กับเรื่องหลักอย่างการบริการ คุณภาพและรสชาติของอาหาร

อย่าประมาทการจัดลำดับความสำคัญของงาน สร้างเป้าหมายรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ และรายวันที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถโฟกัสกับสิ่งที่จะต้องทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย นอกจากนี้หากงานไม่สอดคล้องกันเป้าหมายคุณจะได้รู้ว่างานไหนไม่จำเป็น งานไหนที่สามารถมอบหมายให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในทีมไปจัดการ หรืองานไหนที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยประหยัดเวลาได้

แม้ว่าธุรกิจขนาดเล็กอาจไม่มีทรัพยากรมากมายเท่าองค์กรขนาดใหญ่ แต่ธุรกิจขนาดเล็กมักมีความยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ในบางธุรกิจมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับชุมชนในท้องถิ่นของตน ที่มักก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เป็นข้อได้เปรียบในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ

เจ้าของธุรกิจอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมาย จากการบริหารจัดการและการเติบโตของธุรกิจ แต่ถ้ามองให้เรื่องท้าทายเป็นโอกาสและเป็นตัวช่วยให้คุณเข้มแข็งขึ้น นั่นก็จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจของคุณเติบโต

บทความที่น่าสนใจ

FIFO วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ช่วยลดต้นทุนได้จริง!

เปิดร้านอาหาร แล้วไม่เจ๊ง ต้องทำอย่างไร?

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

เรื่องแนะนำ

อุทาหรณ์ลูกค้าโอนเงิน แต่ดูสลิปไม่ดี ดูอีกทีเงินเข้าแค่ 7 บาท วิธีป้องกันกรณีลูกค้าขอสแกน

ลูกค้า โอนเงิน แต่ดูสลิปไม่ดี สุดท้ายดูอีกทีเงินเข้าแค่ 7 บาท อุทาหรณ์แม่ค้า – สมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ให้กำลังใจ พร้อมแชร์วิธีป้องกันกรณีลูกค้าขอสแกน ถือว่าลูกค้ามาให้ประสบการณ์… ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์เรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” หลังเธอได้ขายเครื่องดื่มให้กับลูกค้า และใช้การจ่ายด้วยการ โอนเงิน แต่พอมาตรวจสอบรายการเดินบัญชีดูอีกที ถึงกับงานเข้า เมื่อยอดเงินที่ได้รับโอนมามีแค่ 7 บาท!   ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้โพสต์ว่า “ลูกค้ามาให้ประสบการณ์ค่ะ สั่งอเมริกาโน่ร้อน 1 แก้ว ราคา 35.- คาปูชิโน่เย็น 1 แก้ว ราคา 40.- ลูกค้าขอสแกน เสร็จก็ให้เราดู ไอ้เราก็ตาดี๊ดี มองเห็นเลข 7 ก็ว่าขอบคุณค่ะ พอมาดูยอด งานเข้าแล้วตรู555 ขอบคุณคุณลูกค้าที่มาให้ประสบการณ์” พร้อมแนบหลักฐานเงินเข้ามาด้วย ซึ่งในนั้นก็ได้ระบุว่ามีเงินเข้าแค่ 7 บาท จริงๆ ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มคนบ้ากาแฟทั้งผู้บริโภคและเจ้าของร้านต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย โดยส่วนใหญ่รู้สึกเห็นใจเจ้าของร้านรายนี้เป็นอย่างมาก และขอเป็นกำลังใจให้เธอ ในขณะเดียวกันหลายคนก็มองว่าลูกค้ารายนี้ใจร้ายมาก ๆ […]

เทคนิคเรียกลูกค้า

เทคนิคเรียกลูกค้า (ที่ไลก์เพจ) ให้เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหาร

จะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่กดไลก์เพจ เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณกำลังกังวลใจกับเรื่องนี้อยู่ ลองนำเอา 5 เทคนิคเรียกลูกค้า นี้ไปปรับใช้กัน

5 ปัจจัยต้องมี อยากเปิดร้านเบเกอรี เพราะทำขนมเป็นอย่างเดียวอาจไม่พอ

เคล็ดลับร้านอาหาร 5 ปัจจัย ที่ต้องมีหากอยากเปิด ร้านเบเกอรี ทำขนมเป็นอย่างเดียวอาจไม่พอสำหรับเปิดร้าน ต้องยอมรับว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ฝันอยากจะมี ร้านเบเกอรี เป็นของตัวเอง ด้วยภาพจำที่ดูสวยงาม ได้ทำขนมสวย ๆ ในร้านที่ดูน่ารักอบอุ่น หญิงสาวยืนปาดเค้กอยู่ในครัวอย่างน่าทะนุถนอม แต่จริง ๆ แล้ว แทบจะไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะการทำ เบเกอรี ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำได้ และไม่ใช่งานง่าย ๆ หากใครคิดว่าแค่ทำขนมเป็นก็ทำได้ ก็ขอให้คิดใหม่ เพราะนั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการทำ ร้านเบเกอรีเท่านั้น พอมาถึงตรงนี้หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามว่า อ้าว แล้วถ้าอยากเปิด ร้านเบเกอรี ต้องมีอะไรบ้างล่ะ ? มาดูกัน! ใจรัก การทำเบเกอรี่ไม่ใช่งานง่าย ๆ สบาย ๆ อย่างที่หลายคนคิด ผู้ที่คิดจะเปิดร้านจึงต้องมีใจรักจริง ๆ นอกจากนี้ยังต้องอึด ถึกทน และมีความพยายามสูง ซึ่งผู้ประกอบการร้านเบเกอรี่หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าการทำเบเกอรี่เหนื่อย เพราะชีวิตส่วนใหญ่ก็ต้องอยู่ในครัว นั่งบีบครีมหลังขดหลังแข็ง อดหลับอดนอน ไม่ได้หอมหวานเหมือนหน้าตาขนมหรอกแต่ที่ทำก็เพราะใจรักล้วน ๆ ความรู้เฉพาะ ธุรกิจเกี่ยวกับเบเกอรี่เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะ […]

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.