เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย - Amarin Academy

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป วันก่อนผมมีโอกาสไปรับประทานอาหาร ณ ร้านอาหารร้านหนึ่งในห้างสรรพสินค้า ก็บังเอิญอยู่ในเหตุการณ์นี้เช่นกัน ซึ่งการแก้ปัญหาของผู้จัดการร้านอาหารน่าสนใจมาก จึงอยากแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน

เรื่องมีอยู่ว่า มีลูกค้าท่านหนึ่ง ลืมโทรศัพท์มือถือไว้บนโต๊ะอาหาร จึงเดินกลับมาสอบถามพนักงาน ปรากฏว่าโทรศัพท์เครื่องนั้นอันตรธานหายไปแล้วครับ

ลูกค้ายืนยันว่าวางไว้บนโต๊ะแน่นอน เพราะเธอหยิบขึ้นมากดสิทธิ์รับโปรโมชั่นเครื่องดื่มฟรี แล้ววางไว้บนโต๊ะ หากบนโต๊ะไม่มีแสดงว่าพนักงานหยิบไปแน่นอน พนักงานเสิร์ฟก็ยืนยันเช่นกันว่าไม่เจอโทรศัพท์บนโต๊ะเลย

เอาละสิครับ…ต่างฝ่ายต่างยืนยันในความเชื่อมั่นของตนเอง ผู้จัดการร้าน จึงต้องทำหน้าที่ เข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหา ผมว่าการแก้ไขปัญหาของเขาน่าสนใจมากครับ

เริ่มจาก เขากล่าวขอโทษลูกค้าเป็นอันดับแรก แม้จะยังไม่ได้สืบสาวราวเรื่องใดๆ เลยก็ตาม เพราะลูกค้าเริ่มมีอารมณ์แล้วครับ มือถือหายทั้งเครื่อง ใครจะไปใจเย็นไหว

ถัดมาจึงขอเบอร์โทรศัพท์เครื่องที่หายจากลูกค้า แล้วโทรเข้ามือถือเครื่องที่หายไปทันที เพื่อตรวจสอบว่าตกหล่นไปที่ไหนหรือเปล่า เผื่อมีเสียงเรียกเข้าดังขึ้นมาจะได้หาเจอ ปรากฏว่าโทรติด แต่ไม่มีคนรับสาย แถมเจ้าของมือถือปิดเสียงและเปิดระบบสั่นไว้อีกด้วย

แต่โชคยังเข้าข้างครับ เพราะมีพนักงานคนหนึ่งในยินเสียงสั่นอยู่ใกล้ๆ เคาท์เตอร์วางเมนู ปรากฏว่าโทรศัพท์เครื่องเจ้าปัญหานอนสั่นอยู่ในเมนูครับ

ดูเหมือนเรื่องจะคลี่คลายแล้วใช่ไหม แต่เปล่าเลย เพราะเจ้าของโทรศัพท์กลับยิ่งโกรธ เธอบอกว่าพนักงานเก็บโต๊ะ ต้องจงใจซ่อนโทรศัพท์ของเธอในเมนูแน่นอน แล้วรอเวลาที่ปลอดคน ถึงค่อยมาหยิบไป เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เห็นว่ามีโทรศัพท์อยู่ในเมนู เธอจึงขอดูกล้องวงจรปิด เพื่อพิสูจน์ว่าใครจงใจขโมยโทรศัพท์ของเธอกันแน่

ในตอนแรกผู้จัดการร้านขอยืนยันว่าพนักงานไม่ได้มีเจตนาขโมยแน่นอน เนื่องจาก ข้อแรกเมนูเล่มใหญ่และค่อนข้างหนา พนักงานจึงอาจไม่ทันได้ตรวจสอบว่ามีโทรศัพท์ติดไปหรือไม่ ข้อสอง เมนูไม่ใช่ที่ซ่อนของที่ปลอดภัยเลย เพราะอาจถูกส่งให้ลูกค้าโต๊ะใดโต๊ะหนึ่งเมื่อไรก็ได้

แต่เจ้าของโทรศัพท์ยืนยันคำเดิมว่าจะขอดูกล้องวงจรปิด ดังนั้นผู้จัดการร้านจึงแจ้งว่า หากต้องการดูกล้องวรจรปิดก็ได้เช่นกัน จากนั้นจึงอธิบายรายละเอียดของการขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดภายในห้างฯ ว่าต้องมีเอกสารใดประกอบบ้าง หากเจ้าของโทรศัพท์เตรียมเรียบร้อยแล้ว สามารถนำเอกสารมาส่งที่ร้านได้เลย แล้วทางผู้จัดการจะเป็นผู้ประสานงานให้ทันที…เรื่องราวความวุ่นวายจึงจบลง

เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ

สุดท้ายแล้วผมบอกไม่ได้ว่าตกลงพนักงานจงใจซ่อนโทรศัพท์จริงๆ หรือเปล่า เพราะว่าเอกสารที่เจ้าของโทรศัพท์ต้องนำมายื่นเรื่องคือใบแจ้งความ ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลานานพอดู ผมเลยไม่ได้รอผล แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้คือ วิธีการปฏิบัติงานของผู้จัดการร้าน ที่เรียกได้ว่าเป็น “มืออาชีพ”

เขาสามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่ตรึงเครียดได้ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมอารมณ์ น้ำเสียงและท่าทางการแสดงออกได้ดี พูดจาด้วยความสุภาพ อธิบายขั้นตอนทุกอย่างชัดเจน และแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจได้เหมาะสม ทั้งหมดทั้งมวลผมว่าสิ่งสำคัญที่ผู้จัดการร้านคนนี้มีคือ “สติและประสบการณ์” ที่ช่วยให้เขาผ่านปัญหานี้มาได้

ผมคิดว่าวิธีการแก้ไขสถานการณ์ของเขาน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างให้เพื่อนๆ เจ้าของร้านอาหาร นำไปประยุกต์ใช้ได้ดีทีเดียว

สำหรับเพื่อนๆ เจ้าของร้านอาหารคนไหนเคยเจอปัญหาจากการทำร้านอาหาร สามารถแชร์ความรู้กันได้นะครับ เพื่อเป็นวิทยาทานต่อเพื่อนๆ ท่านอื่นต่อไป

บทความน่าสนใจ ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

เรื่องแนะนำ

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

        ผู้ที่สนใจจะเปิดร้านอาหารมักจะมีคำถามว่า ต้องขายจนถึงเมื่อไหร่ถึงจะคืนทุน? การลงทุนเปิดร้านอาหารจะคุ้มค่าไหม? แล้วต้องขายเยอะแค่ไหนถึงจะได้กำไร? ร้านอาหารจึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น การพยากรณ์ยอดขายของร้าน และขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำก่อนเปิดร้านอาหารใหม่ เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการร้านให้ได้กำไร วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร! จุดคุ้มทุนร้านอาหาร คืออะไร ?         จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) คือ จุดที่รายได้เท่ากับต้นทุนพอดี หรือมีรายรับ = รายจ่ายนั่นเอง เป็นจุดที่ร้านอาหารขายแล้วไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่มีกำไร ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จะทำให้ทราบว่าร้านอาหารจะต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะทำกำไรได้ ควรลดต้นทุนลงหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแนวทางการวางแผนธุรกิจให้มีกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย         การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even point) ต้องเริ่มจากพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของร้าน โดยแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) […]

เดลิเวอรี่

5 ปัญหาต้องรู้! ก่อนนำร้านเข้าสู่ระบบ เดลิเวอรี่

เดลิเวอรี่ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางทำกำไรในธุรกิจอาหารก็ว่าได้ค่ะ แต่แน่นอนว่ามีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสีย ถ้าหากลองติดตามกลุ่มเจ้าของร้านอาหารขนาดเล็ก ก็จะพบว่าหลายรายมีปัญหากับการเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี่ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการร้านอาหารอยู่ไม่น้อย วันนี้ Amarin Academy รวม 5 ปัญหาที่ต้องเจอ เมื่อร้านของคุณเข้าสู่ระบบ เดลิเวอรี่ และร้านอาหารต้องเตรียมรับมืออย่างไร   5 ปัญหา เมื่อนำร้านเข้าสู่ระบบ เดลิเวอรี่ 1. ระบบการทำบัญชี ระบบบัญชี การเงิน และกระแสเงินสดมีความสำคัญกับธุรกิจร้านอาหารมาก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อนำร้านเข้าระบบ เดลิเวอรี่ ก็คือ การรายงานยอดขายที่ไม่ตรงกันระหว่างหน้าร้านและผู้ให้บริการ กำหนดและระบบการวางบิล การจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่นที่ไม่สอดคล้อง ซึ่งถ้าหากต้องมีการจัดการแก้ไขทุกเดือนก็จะทำให้เสียเวลาในการบริหารจัดการอยู่ไม่น้อย เพราะฉะนั้นก่อนการตกลงทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมกับผู้ให้บริการรายใด ร้านอาหารจำเป็นต้องศึกษาระบบด้านการเงิน การบัญชี เพื่อเลือกผู้ให้บริการที่สอดคล้องกับระบบร้านของตัวเอง หรือเตรียมความพร้อมด้านระบบบัญชีหลังบ้าน เพื่อลดปัญหาในการดำเนินการให้มากที่สุด และควรคำนึงถึงการจัดการด้านภาษีจากรายได้ส่วนนี้ด้วย   2. รสชาติ และคุณภาพอาหารลดลง เมื่อนำร้านเข้าระบบเดลิเวอรี่ อีกหนึ่งปัญหาที่อาจต้องเจอ ก็คือ รสชาติและคุณภาพอาหารที่ลดลง บางร้านถึงขั้นแย่เลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดส่ง หรือการบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีพอ ตัวอย่างเช่น กรณี […]

ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ร้านอาหารส่วนใหญ่มัก ซื้อวัตถุดิบเอง มากกว่า ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.