ใจเขา ใจเรา...สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก

โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน

 

ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการ

ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า

 

ต้องมองภาพรวมให้ออก วางแผนหรือมองล่วงหน้าไปยาวๆ

เมื่อเราเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร การเจอสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงแบบนี้ก็ต้องมีการจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ควรทำตามต่อจากนี้คือการวางแผน และถอยออกมาจากจุดที่ยืนอยู่หนึ่งก้าว มองภาพรวมให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ไม่ได้โฟกัสแค่เรื่องธุรกิจแล้วว่าจะเป็นอย่างไรต่อ แต่ต้องมองให้ลึกไปถึงสายพานของธุรกิจด้วยว่ามีใครได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้บ้าง

ผู้ประกอบการหลายคนอาจวางแผนสถานการณ์นี้ไว้แค่ 3 เดือน แต่ผมอยากให้มองภาพไปไกลกว่านั้นครับ อาจจะต้องวางแผนสำรองไว้มากกว่า 6 เดือน หรือประมาณ 1 – 2 ปีเลยด้วยซ้ำ ลองนึกภาพดูว่าหากวิกฤตินี้อยู่กับเราไปถึงหนึ่งปี พนักงานเสิร์ฟ พนักงานส่งของ เชฟ หรือแคชเชียร์ จะใช้ชีวิตอยู่กันได้อย่างไร?

 

ลับหินที่อยู่ในมือให้กลายเป็นเพชร

แน่นอนว่าความใส่ใจต่อพนักงานในช่วงสถานการณ์ยากลำบากเช่นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก นอกจากการดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือการรักษาพนักงานที่มีอยู่ในมือ ไม่ให้หล่นหายไป อาจดูย้อนแย้งในเมื่อไม่มีรายได้เข้า ย่อมขาดทุน ต้องตัดงบในส่วนการจ้างพนักงานทิ้ง ยอมเฉือนเนื้อตัวเองตอนนี้ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดไปก่อน ไม่ใช่เก็บพนักงานไว้  แต่ผมอยากให้นึกภาพไปไกลอย่างนี้ครับ

หากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติแล้ว ธุรกิจร้านอาหารสามารถดำเนินการได้  ผู้ประกอบการต้องสรรหาพนักงานใหม่นะครับ เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ นอกจากเสียเวลาคัดเลือกพนักงานที่ดีที่สุดแล้ว ยังจะต้องมาเรียนรู้งานกันใหม่ด้วย แทนที่จะเป็นการลดต้นทุนเดิม แต่ยังต้องเสียค่าเทรนนิ่ง ค่ายูนิฟอร์ม หรืออาจจะมีสวัสดิการอื่นๆ เพิ่มเติมอีก

ฉะนั้นหากผู้ประกอบการยังคงรักษาพนักงานที่มีอยู่ไว้ ร่วมกันผ่านวิกฤติอันเลวร้ายไปด้วยกัน เราจะได้พนักงานที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ เข้าใจในตัวขององค์กรอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังมีความผูกพันธ์กับบริษัทมากขึ้นกว่าเดิม เพียงแต่ผู้ประกอบการจะต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือพนักงานอย่างเต็มที่ เข้าใจปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญอย่างแท้จริง และพร้อมยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็นอยู่ตอนนี้ การจะพาธุรกิจตัวเองให้รอดก็แทบกระอักเลือดออกมาแล้ว การจะรักษาพนักงานเอาไว้จึงเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ซึ่งด้วยโจทย์ข้อนี้เองที่ทำให้เกิดโครงการ “เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ” โครงการดีๆ จากธนาคารกสิกรไทย ที่หวังช่วยให้ธุรกิจยังสามารถรักษาการจ้างงานเอาไว้ได้ โดยไม่ต้องเลิกจ้าง หรือแม้แต่ให้หยุดงานโดยไม่รับเงินเดือน

 

โครงการดีๆ ที่มาด้วยใจ แบ่งปันกันเป็นแพ็คคู่

โครงการนี้ธนาคารกสิกรไทยจะลดดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเงินที่ต้องเอามาจ่ายเป็นดอกเบี้ยไปจ่ายเป็นเงินเดือนให้พนักงาน ให้ยังมีรายได้และมีงานทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพนักงานรายได้น้อยที่ต้องพึ่งพาเงินเดือนในการเลี้ยงปากท้องของคนทั้งครอบครัว

แนวคิดของโครงการนี้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วน คือ เถ้าแก่ใจดี หรือผู้ประกอบการ ที่ต้องการช่วยเหลือพนักงาน และเจ้าหนี้มีใจ หรือธนาคารกสิกรไทยซึ่งมองเห็นความสำคัญของพนักงานที่อยู่ในธุรกิจเหล่านั้นด้วย โดยวิธีช่วยเหลือที่จะทำให้เงินนี้ไปถึงมือคนที่ต้องการจริงๆ ที่ธนาคารทำได้ก็คือ สมมติว่า พนักงานมีเงินเดือน 1 หมื่นบาท  ธนาคารจะลดดอกเบี้ยให้เถ้าแก่ 5 พันบาท แล้วให้เถ้าแก่เอา 5 พันนี้ไปจ่ายพนักงาน และเมื่อรวมกับอีกครึ่งที่เถ้าแก่ต้องจ่ายอยู่แล้ว ก็จะทำให้พนักงานได้รับเงินเดือนเท่าเดิม เหมือนธนาคารและผู้ประกอบการช่วยกันจ่ายเงินเดือนให้พนักงานคนละครึ่งเพื่อให้พนักงานเหล่านี้มีรายได้ต่อไปจนกว่าวิกฤตจะคลี่คลายลง

นี่ถือเป็นโครงการดีๆ ที่จะช่วยพนักงานรายได้น้อยให้ไม่ถูกเลิกจ้างหรือลดเงินเดือน โดยโครงการนี้นำร่องช่วยเหลือไปแล้ว 2 เครือโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต และกำลังเดินหน้าขยับขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ด้วยงบประมาณ 500 ล้านบาท ที่หวังว่าน่าจะช่วยเหลือพนักงานรายได้น้อยทั่วประเทศได้กว่า 15,000 คนเลยทีเดียว

 

ทางด้านคุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย มองว่าผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้รุนแรงและต้องใช้เวลากว่าจะฟื้นตัว เพราะการค้าขายยังไม่เกิด เงินที่กู้ไปคือเงินที่นำไปหล่อเลี้ยงชีวิตคนทำงาน ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญอยู่ตรงที่เงินส่วนนี้ต้องถึงมือกลุ่มคนระดับล่างจริงๆ ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการติดตามที่พิสูจน์ได้ โปร่งใส และชัดเจน

สุดท้ายแล้วไม่ว่าอย่างไรทุกคนต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันหมด อยู่ที่ว่าจะมีสติรับมือกับเรื่องราวเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน นับได้ว่าอย่างน้อยก็เป็นเรื่องราวดีๆ ที่โครงการนี้เกิดขึ้น กสิกรไทยได้ให้ความสำคัญลูกค้า และยังห่วงใยไปถึงพนักงานที่ทำงานอยู่ในธุรกิจของลูกค้าสำหรับทางออกของวิกฤตในครั้งนี้ เราทุกคนต้องช่วยกัน ถ้าคนรายได้น้อยที่เหมือนเป็นรากฐานของสังคมอยู่ได้มั่นคง สังคมก็จะตั้งอยู่ได้อย่างยั่งยืน

เรื่องแนะนำ

ส่วนผสมของ SOP กับวิธีทำคู่มือ ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้

ส่วนผสมของ SOP ที่ดี และวิธีทำคู่มือมาตรฐานสำหรับร้าน อย่างง่ายๆใครก็ทำได้! ตามสัญญาจากบทความที่แล้วที่ผมได้พูดถึง เจ้า SOP (Standard Operating Procedure) หรือ “คู่มือร้านอาหาร” ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และ อุปสรรคของเจ้าของร้านคืออะไร .. แล้วควรมีมุมมองยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันไปแล้ว  วันนี้ผมขอแนะนำเรื่อง ส่วนผสมที่ดีสำหรับ SOP ว่ามีอะไรบ้าง สำหรับคนที่สนใจทำเจ้าคู่มือนี้ จะได้มี “ตัวชี้วัด” ง่ายๆ ไว้ใช้เป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบกันนะครับ…ไปดูกันเลย 1.ต้องสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย และ เหมาะกับพนักงานทุกประเภท  เพราะไม่ใช่ทุกร้านที่จะมีโอกาสจ้างทีมงานเรียนจบมาจากสถาบันสอนทำอาหาร หรือมีประสบการณ์การทำงานร้านอาหารมาหลายปีแล้ว มาสมัครร้านเรา ส่วนใหญ่ที่ร้านผมเจอ จะเป็นญาติห่างๆ ของแม่บ้าน ,น้องๆ AEC หรือไม่ก็เป็น พาร์ทไทม์ วัยเรียน ที่อยากจะมาหาประสบการณ์กัน ร้านอาหารหลายๆ ร้านคงจะเข้าใจกับ ประโยคที่ว่า “พนักงานดีๆ หายาก” หรือ “อยู่ไม่ทน” มากที่สุด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ “คู่มือร้านอาหาร” เหมาะกับ […]

7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน!

ตั้งชื่อร้าน ว่าอะไรดี ? เชื่อว่าผู้ที่กำลังจะเปิดร้านอาหารหลาย ๆ คน ต้องมีคำถามนี้เกิดขึ้นในหัว คุณอาจจะมีชื่อที่ชอบอยู่ในใจอยากนำมาตั้งชื่อร้านอาหารในฝัน หรือยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งชื่อร้านของคุณว่าอะไรดี ลองใช้เทคนิคการตั้งชื่อเหล่านี้เป็นตัวช่วย   7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน! 1. จำง่าย อ่านง่าย           ถ้าลูกค้าเห็นร้านคุณครั้งแรกว่าเป็นร้านที่อยู่ในโลเคชั่นที่เดินทางผ่าน  แต่แล้วพอจะไปกินกลับจำชื่อร้านไม่ได้ จะเสิร์ชหาข้อมูลเพื่อไปกินที่ร้านก็ไม่ถูก เพราะชื่อจำยาก ทำให้คุณเสียโอกาสที่คุณจะขายลูกค้าคนนั้นไปเลยก็ได้  ชื่อที่จำง่าย สะกดง่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเทคนิคอันดับแรก ๆ ของการตั้งชื่อร้านที่คุณต้องคำนึงถึง  รวมถึงยังส่งผลดีต่อการออกแบบโลโก้ร้าน หรือทำการตลาดในช่องทางต่าง ๆอีกด้วย  การใช้คำที่อ่านง่าย ที่สามารถใส่เรื่องราวให้กับชื่อร้าน ก็เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เช่น ร้านขนมหวาน After You ตั้งชื่อจากโลเคชั่นแรกของร้านที่เปิดอยู่บนร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อยู สิ่งที่ควรระวังก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ก่อให้เกิดความสับสน และคำที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ร้านของคุณในด้านลบ   2. บอกรูปแบบของร้านชัดเจน หรือรู้ทันทีว่าขายอะไร การตั้งชื่อร้านที่สามารถบอกได้ทันทีว่าขายอะไร มีข้อดีนอกจากช่วยให้จดจำได้ ทำการตลาดง่ายแล้ว ยังสามารถสื่อถึงจุดขายของร้านของคุณไม่ว่าจะเป็น รสชาติ หรือคุณภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจมากินร้านของคุณได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มสโลแกนเข้าไปท้ายชื่อ […]

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

ร้านอาหารบริการดี

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

สิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดหวัง เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านอาหารคือ การบริการที่ดี อย่างนั้นลองมาดูเทคนิคง่ายๆ กันดีกว่า ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.