เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery - Amarin Academy

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

 

ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้

 

เจ้าของต้องริเริ่ม

กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ

 

ตลาดต้องรุก

การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด

 

บัญชีต้องรับ

          รูปแบบในการจัดทำบัญชีของแต่ละบริษัทนั้นไม่เหมือนกัน ควรศึกษารูปแบบสัญญา ระบบหักค่าคอมมิชชั่นในการจัดส่ง การทำเบิกจ่าย การออกเอกสารใบแจ้งหนี้ เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับยอดของการสั่งซื้อจะไม่ตรงกันกับยอดที่ปรากฏหน้าร้าน ฝ่ายบัญชีอาจต้องเสียเวลาในการจัดการแก้ไขปัญหายอดที่กระทบกันในทุกเดือน เพราะฉะนั้นควรทำความเข้าใจในระบบบัญชีของร้านและคู่ค้าให้ดี รวมถึงตกลงกันภายในระหว่างหน้าร้านด้วย เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

 

ครัวต้องเร็ว

          แนวโน้มที่ลูกค้าจะสั่งซื้อมีมากขึ้น การดำเนินการที่เร็วเพื่อส่งเสริมกันกับหน้าร้านในช่วงพีคไทม์   ครัวต้องคาดการณ์วัตถุดิบเพื่อให้ร้านไม่เสียโอกาสในการขาย นอกจากนั้นศึกษาพฤติกรรมช่วยนำเสนอเมนูที่เหมาะสมกับการจัดส่ง มีความนิยม สามารถเอาชนะคู่แข่งในช่องทาง Delivery ได้

 

หน้าร้านต้องรัน

เพื่อครองความเป็นเจ้าตลาด  Application หลายเจ้าจะมีการกำหนดเงื่อนไขในการยืนยันและการยกเลิกการจัดส่ง ควรตรวจสอบสัญญาให้ดี  ที่สำคัญฝ่ายจัดการหน้าร้านต้องเตรียมการจัดการหน้าร้านให้เป็นระบบเพื่อตั้งรับการสั่งซื้อของลูกค้าโดยเฉพาะช่วงพีคไทม์ที่จะมีทั้งลูกค้าหน้าร้านและลูกค้าที่สั่งผ่านแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ร้านสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่มีสะดุด ซึ่งจะส่งผลต่อประสบการณ์การที่ดีที่ลูกค้าได้รับในระยะยาวอีกด้วย

 

การเตรียมความพร้อม มีความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ทำให้การลงทุนทำร้านอาหารของคุณมียอดขายที่ดี และสามารถขยายสู่ฐานลูกค้าใหม่ ๆ ได้ต่อเนื่องผ่านช่องทาง Delivery อย่างแน่นอน

เรื่องแนะนำ

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน! 1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ? . หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น . 2.ของใหม่จากของเดิม . ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า […]

พร้อมเปิดร้านอาหาร

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

บางคนอาจยังไม่รู้ว่าตัวเองพร้อมสำหรับการเปิดร้านมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีแบบทดสอบง่ายๆ ให้คุณลองประเมินตัวเองดูว่าคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง

ลูกค้าไม่พอใจ

เมื่อ ลูกค้าไม่พอใจ เราจะทำอย่างไรดี

แม้ว่าจะบริการดีสักแค่ไหน ก็อาจเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ ลูกค้าไม่พอใจ เจ้าของร้านก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ เราจึงมี 4วิธี ที่ช่วยให้สถานการณ์ผ่อนคลายลงมาแนะนำ

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ เหตุทำกาแฟอยู่ แต่ก็ออเดอร์อื่นก็รอนาน แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย ทุกคนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ไหม รู้สึกกดดันจังเลยเวลาลูกค้ามายืนจ้อง… แม่ค้าร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์ความรู้สึกพร้อมขอคำแนะนำในการรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าเยอะ ในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เนื่องจากเธอรู้สึกกดดันมาก เมื่อลูกค้ามาสั่งเครื่องดื่มแล้วต้องรอนาน . 1- เธอได้โพสต์ว่า “ขอ HOW TO ทำยังไงไม่ให้กดดันตามลูกค้า เรารู้ ลูกค้ากาแฟรู้ ว่านี่มันคือ SLOW BAR COFFEE แต่บางครั้งคนที่ไม่ได้สั่งกาแฟไม่เข้าใจ งื้ออออ คือแบบ ทำกาแฟอยู่ แล้วลูกค้ามาสั่งเมนูที่ไม่ใช่กาแฟ แล้วรอนาน เพราะติดออร์เดอร์กาแฟ แล้วเราเลยกดดันตามลูกค้าไปด้วย ” . 2- ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเหล่าคนทำร้านกาแฟต่างเข้ามาให้คำแนะนำแม่ค้ารายนี้พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ตนเองเจอกันอย่างไม่มีกั๊ก โดยส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่าให้ใช้วิธีติดป้ายแจ้งหรือบอกลูกค้าไว้ก่อนว่าเครื่องดื่มมีคิวก่อนหน้าอยู่กี่คิว ต้องรอประมาณกี่นาที แล้วถามว่าลูกค้าสะดวกรอไหม เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ว่าจะรอหรือจะไม่รอ เช่น “ลองบอกเขาไหมคะ ว่ามีคิวอยู่เยอะ รอได้ไหม รอประมาณกี่นาที บางคนคิดว่าของฉัน 1 แก้วเอง แต่ถ้าร้านแจ้งก่อน ว่ามีคิวอยู่ก่อน ต้องรอนาน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.