4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ” - Amarin Academy

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

เชื่อว่าปัญหาน่าปวดหัวอันดับหนึ่งของร้านอาหาร คือเรื่อง “คน” ใช่ไหมครับ ทั้งเรื่องขาด ลา มาสาย บริการไม่ดี ไม่พัฒนาตัวเอง และที่สำคัญ พนักงานลาออกกันเป็นว่าเล่น แต่สิ่งที่ทำให้เจ้าของร้านอาจต้องนั่งกุมขมับคือ การที่พนักงานดีๆ ที่ตั้งใจจะปั้นให้เป็นมือขวาหรือมือซ้าย ดันมาลาออกซะนี่! จะหาคนมาแทนก็ยากลำบาก ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ปัญหานี้เกิดขึ้น มาลองดู 4 เหตุผล ที่อาจส่งผลให้ พนักงานดีๆ ลาออก กันดีกว่า เผื่อจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้บ้าง

1.เพราะตัวคุณเอง

หากพนักงานดีๆ ของคุณตัดสินใจลาออก ก่อนที่จะโทษว่าพนักงานไม่อดทน หรือมองว่ามาจากสาเหตุอื่นๆ ลองย้อนกลับมามองที่ตัวคุณเองก่อนว่า เป็นเพราะว่าคุณเป็นเจ้านายที่ไม่ดีหรือเปล่า
ส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมที่ลูกน้องมักไม่ชอบสุดๆ คือ การที่เจ้าของร้านด่าทอ ต่อว่าลูกน้องตลอดเวลา โดยไม่สมเหตุสมผล แถมยังไม่ช่วยหาทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหาให้ด้วย (ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเป็นลูกน้อง คงไม่อยากได้หัวหน้าที่มีนิสัยเหมือนเชฟกอร์ดอน แรมซีย์ ที่เอาแต่ตะโกนด่าลูกทีมตลอดเวลา แบบไม่ไว้หน้าหรอก จริงไหม?)
หรืออีกพฤติกรรมหนึ่งที่พนักงานส่วนใหญ่รับไม่ได้คือ ความไม่ยุติธรรมของเจ้าของร้าน เช่น หากพนักงานบางคนขาด ลา มาสาย หรือทำงานผิดพลาดบ่อยๆ แต่เจ้าของร้านกลับไม่ลงโทษ หรือไม่มีกฎเกณฑ์ในการตัดสินความผิดตายตัว วันนี้อารมณ์ดี ก็แค่ตักเตือน อีกวันหนึ่งอารมณ์ไม่ดี ก็เปลี่ยนจากการตักเตือนเป็นตัดเงินเดือนหรือสั่งพักงาน การไม่มีระบบที่ชัดเจน จะทำให้ลูกน้องบางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม
หากพนักงานดีๆ ของคุณรับไม่ได้กับพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมดังกล่าว ย่อมตัดสินใจลาออก เพื่อสิ่งที่ดีกว่าก็ได้

2.เพราะไม่โตสักที

เคยไหม ทำงานเป็นปีๆ แต่ตำแหน่งงานก็ยังอยู่เท่าเดิม ไม่ได้ขยับขยาย เงินเดือนก็ขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย เป็นใครก็ไม่อยากอยู่ต่อจริงไหมครับ ฉะนั้นเจ้าของร้านอาหารต้องวางแผนการเติบโตให้ทีมงานด้วย เช่น อาจลองประเมินผลงานของลูกน้องทุกครึ่งปี บอกให้เขารับรู้ว่าการทำงานของเขาเป็นอย่างไร สมควรปรับปรุงหรือพัฒนาในส่วนไหนบ้าง หากเขาปรับปรุงหรือพัฒนาได้ตามเป้า จะได้รับผลอะไรตอบแทน วิธีนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าการทำงานมีเป้าหมาย และได้รับผลตอบแทนที่วัดผลได้อย่างชัดเจน
นอกจากจะช่วยให้เขาอยากทำงานกับเราต่อแล้ว ยังทำให้เขาได้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ส่งผลดีต่อธุรกิจของเราอีกด้วย

3.เพราะเพื่อนร่วมงานแย่

ปัญหาเรื่องเพื่อนร่วมงานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการลาออก เช่น หากพนักงานคนอื่นเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น พนักงานดีๆ ย่อมรู้สึกว่าตัวเองขยันไป หรือทำดีไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ทางเลือกของพวกเขามักมี 2 ทาง คือ ไหลไปตามน้ำ “ในเมื่อไม่มีใครขยัน แล้วฉันจะทำไปเพื่ออะไร อย่างนั้นก็ทำงานตามหน้าที่ก็พอ” หรืออีกทางหนึ่งคือ ลาออก เพื่อไปหาสังคมใหม่ๆ ที่ดีกว่า
แน่นอนว่าทั้งสองทางเลือกย่อมส่งผลเสียต่อร้านอาหารทั้งคู่ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของร้านที่จะสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับลูกน้อง หากพบพนักงานที่มีพฤติกรรมไม่ดีต้องรีบตักเตือนและแก้ไข ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลกระทบในระยะยาวได้

4.เพราะไม่มีระบบ อุปกรณ์ไม่พร้อม

ระบบคือสิ่งสำคัญที่สุดในการทำร้านอาหาร ยิ่งคุณวางระบบได้ดีมากเท่าไร ปัญหาก็ยิ่งมีน้อยมากเท่านั้น แต่หากคุณไม่วางระบบการทำงานเลย นอกจากตัวคุณเองต้องปวดหัวกับสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานก็ต้องคอยมานั่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลาเช่นกัน เช่น ปัญหาอาหารออกช้า เพราะวัตถุดิบหมด (เนื่องจากไม่เคยมีการเช็คสต็อกวัตถุดิบเลย) ต้องรีบให้พนักงานไปซื้อ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว พนักงานรับออร์เดอร์อาจจะต้องถูกลูกค้าตำหนิจากความไม่พร้อม หากโดนบ่อยๆ เข้าก็พนักงานคงเซ็งไปตามๆ กัน

นอกจากนี้ความไม่พร้อมของเครื่องไม้ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน ก็ส่งผลให้พนักงานลาออกได้เช่นกัน เช่น เคาท์เตอร์ครัวอาจจะสูงเกินไป ทำให้ปรุงอาหารไม่สะดวก ต้องก้มๆ เงยๆ ทำให้มีปัญหาสุขภาพ แจ้งเจ้าของร้านไปก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะช่วยแก้ปัญหา เป็นใคร ใครก็ลาออกครับ เพราะห่วงสุขภาพตัวเองมากกว่า

ปัจจัย 4 ข้อที่ว่ามานี้ เป็นปัจจัยหลักๆ ที่อาจส่งผลให้พนักงานลาออก แต่จริงๆ แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ มากมาย เช่น เรื่องเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ ที่อาจไม่ตรงกับความคาดหวังของพนักงาน หรือปัญหาส่วนตัวของลูกน้อง เจ้าของร้านลองพิจารณากันดูนะครับ ว่ามาจากสาเหตุอะไร จะได้แก้ไขได้ตรงจุด

เรื่องแนะนำ

5 สิ่งอย่าทำ สำหรับร้านอาหารเปิดใหม่

5 สิ่งอย่าทำ สำหรับร้านอาหารเปิดใหม่ การเปิดร้านอาหารเป็นธุรกิจปราบเซียน ที่มีผู้เล่นเกิดใหม่ และดับได้ในทุกวัน จึงไม่แปลกใจว่า หลายร้านสามารถติดตลาดได้อย่างรวดเร็วจนต้องจองคิวล่วงหน้าเป็นเดือน แต่กลับพบว่าต้องปิดตัวลง นี่คือหลุมพราง 5 ข้อ ที่หลายร้านเจอมาแล้วเจ็บจนต้องเจ๊ง ไม่กล้าบอกใคร 1.โปรโมชั่นกระตุ้นยอด… ดีแต่อายุสั้น ร้านค้าเปิดใหม่จำเป็นต้องทำการส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ลูกค้ารู้จักและตัดสินใจมาลองกิน เมื่อร้านขายดีหลายร้านเลือกลงทุนเพิ่ม สต็อกของเพิ่ม แต่พบว่าร้านกลับเงียบหลังจากนั้น เพราะยอดขายที่เกิดจากการทำโปรโมชั่นในช่วงแรกนั้นคือภาพลวง และเกิดจากลูกค้าขาจรโดยส่วนใหญ่ การทำโปรโมชั่นบ่อย ๆ อาจทำให้ลูกค้าเคยชินที่จะซื้อแค่ระยะเวลาโปรโมชั่นเท่านั้น เพราะฉะนั้นควรเลือกทำโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับทิศทางของร้านที่จะช่วยเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้เป็นลูกค้าประจำ เตรียมความพร้อมการจัดการหน้าร้านเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า และโปรโมชั่นที่เลือกทำต้องสามารถวัดพฤติกรรมของลูกค้าได้ เพื่อส่งเสริมร้าน ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนในการทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้น    2.ดังแค่ไหน,,,ทะเลาะกับลูกค้าคุณไม่มีวันชนะ ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถคอมเพลนร้านอาหารได้โดยตรง และการคอมเพลนของลูกค้านั้นกระจายถึงลูกค้าคนอื่นได้ง่ายและกว้าง ร้านอาหารบางร้านมีชื่อเสียงขายดีย่อมถูกคาดหวังสูงจากลูกค้า การตอบโต้กลับเมื่อถูกคอมเพลนจึงส่งผลเสียมากกว่า ร้านอาหารควรรู้จักการบริหารวิกฤตที่เกิดขึ้น คือ ขอโทษ เยียวยา แก้ไข และพลิกวิกฤตนั้นให้เป็นโอกาส   3.ไม่อยากพลาด…ไล่ตามกระแส การจับกระแสได้เร็ว อาจทำให้คุณเป็นที่สนใจของลูกค้า มียอดเพิ่มมากขึ้นจากสินค้าใหม่ แต่ก่อนจะทำควรตอบให้ได้ว่า จุดยืนของร้านคืออะไร ชัดเจนว่าจะเป็นร้านแบบไหนในใจของลูกค้า ไม่ว่าจะอยู่ในกระแส นำกระแส หรือตามกระแส ก็ประสบความสำเร็จได้ […]

เลือกทำเลที่เหมาะ

เลือกทำเลที่เหมาะ ต้อง “เหมาะ” กับอะไร?

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จะเปิดร้านอาหารทั้งทีก็ต้อง เลือกทำเลที่เหมาะ ๆ แต่คำว่า “เหมาะ” คือเหมาะสมในด้านไหนบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟัง

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารก็อยากให้ร้านของตัวเองเป็นที่พอใจของลูกค้าอยู่เสมอ แต่ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกร้าน หลายร้านเองต้องประสบปัญหากับน้ำผึ้งหยดเดียวเนื่องจากรับมือไม่เป็น Crisis Management จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารในยุคนี้ต้องรู้จักและเตรียมตัวรับมือให้ดี ซึ่งสามารถทำได้ตามวิธีที่แนะนำดังนี้   Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร ตอบทันทีอย่าให้มีดราม่า ความไม่พอใจต่อเหตุการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นดราม่าได้หากได้รับการเพิกเฉย การตอบลูกค้ารวดเร็วจะทำให้ลูกค้าใจเย็นลง ดังนั้น ร้านอาหารควรจะวางแนวทางในการตอบคำถามไว้ โดยต้องใช้คำง่าย ๆ ตรงไปตรงมาในการตอบ และสุภาพ การพยายามเอาชนะลูกค้าย่อมไม่เป็นผลดี เช่น กรณีร้านที่เจ้าของร้านตอบโต้อย่างรุนแรงเมื่อลูกค้าติถึงคุณภาพอาหาร จากเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถจัดการได้ กับเป็นเรื่องใหญ่ที่ลุกลามไปยังช่องทางอื่น ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือจ้างคนมาทำหน้าที่แอดมินโดยตรง จะต้องเป็นคนที่ใจเย็นและสื่อสารได้ดี   ขอโทษอย่างจริงใจ ถ้าคุณคิดว่าการขอโทษแสดงถึงการยอมรับ คุณกำลังคิดผิด เพราะการขอโทษไม่ได้สื่อสารถึงลูกค้าคู่กรณีเพียงอย่างเดียว แต่ร้านกำลังสื่อสารไปถึงลูกค้าคนอื่น ๆ ด้วย ว่าคุณเป็นร้านอาหารที่ให้ความใส่ใจและเห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญเพียงใด  นอกจากนี้การขอโทษเป็นการทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงแค่ประเด็นเดียว ซึ่งดีกว่าการแก้ตัวที่จะทำให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ หากคุณรับมือได้ไม่ดีพอก็จะบานปลายเกิดผลเสียมากกว่าได้ในที่สุด   รวบรวมข้อมูล…เปิดอกไกล่เกลี่ย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ รสชาติ การบริการของร้านอาหาร คุณจะต้องสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรแบ่งระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ไว้ เช่น ขั้นต้น คือลูกค้าไม่พอใจรสชาติ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.