7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน! - Amarin Academy

7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน!

ตั้งชื่อร้าน ว่าอะไรดี ? เชื่อว่าผู้ที่กำลังจะเปิดร้านอาหารหลาย ๆ คน ต้องมีคำถามนี้เกิดขึ้นในหัว คุณอาจจะมีชื่อที่ชอบอยู่ในใจอยากนำมาตั้งชื่อร้านอาหารในฝัน หรือยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งชื่อร้านของคุณว่าอะไรดี ลองใช้เทคนิคการตั้งชื่อเหล่านี้เป็นตัวช่วย

 

7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน!

1. จำง่าย อ่านง่าย

          ถ้าลูกค้าเห็นร้านคุณครั้งแรกว่าเป็นร้านที่อยู่ในโลเคชั่นที่เดินทางผ่าน  แต่แล้วพอจะไปกินกลับจำชื่อร้านไม่ได้ จะเสิร์ชหาข้อมูลเพื่อไปกินที่ร้านก็ไม่ถูก เพราะชื่อจำยาก ทำให้คุณเสียโอกาสที่คุณจะขายลูกค้าคนนั้นไปเลยก็ได้  ชื่อที่จำง่าย สะกดง่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเทคนิคอันดับแรก ๆ ของการตั้งชื่อร้านที่คุณต้องคำนึงถึง  รวมถึงยังส่งผลดีต่อการออกแบบโลโก้ร้าน หรือทำการตลาดในช่องทางต่าง ๆอีกด้วย  การใช้คำที่อ่านง่าย ที่สามารถใส่เรื่องราวให้กับชื่อร้าน ก็เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เช่น ร้านขนมหวาน After You ตั้งชื่อจากโลเคชั่นแรกของร้านที่เปิดอยู่บนร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อยู

สิ่งที่ควรระวังก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ก่อให้เกิดความสับสน และคำที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ร้านของคุณในด้านลบ

 

2. บอกรูปแบบของร้านชัดเจน หรือรู้ทันทีว่าขายอะไร

การตั้งชื่อร้านที่สามารถบอกได้ทันทีว่าขายอะไร มีข้อดีนอกจากช่วยให้จดจำได้ ทำการตลาดง่ายแล้ว ยังสามารถสื่อถึงจุดขายของร้านของคุณไม่ว่าจะเป็น รสชาติ หรือคุณภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจมากินร้านของคุณได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มสโลแกนเข้าไปท้ายชื่อ ยังช่วยเพิ่มให้ชื่อร้านมีความน่าสนใจ และสามารถบอกคอนเซปต์ของร้านได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น หมูทำอะไรก็อร่อย บอกได้ทันทีว่าร้านนี้ขายอาหารที่ทำจากหมู นอกจากนั้นยังเป็นหมูที่อร่อยด้วย หรือ ร้านเบอร์เกอร์คิง สามารถรู้ได้ทันทีว่าร้านนี้ขายแฮมเบอร์เกอร์ หรือการใช้ชื่อที่บอกถึงคอนเซปต์และประเภทอาหารไปเลย เช่น แพนด้าสุกี้ เดอะพิซซ่า นอกจากนั้นแล้วชื่อที่ดียังสามารถบอกตัวตน และจุดเด่นของร้านได้ดีมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

 

3. มีความเป็นเอกลักษณ์

หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อร้านที่คล้ายคลึงกับร้านที่มีอยู่แล้วในตลาด หรือร้านที่เป็นคำตรงตัวจนเกินไป เช่นคุณจะขายส้มตำ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำว่าส้มตำเสมอไป เพราะจะมีคนใช้ชื่อส้มตำอีกมากมายหลายเจ้า คุณอาจเลือกคำที่สื่อถึงอาหารประเภทอีสานอื่น ๆ ที่เข้ากับคอนเซปต์ของร้าน  ยกตัวอย่าง ร้านปลาร้าคาเฟ่ ที่เน้นเมนูอาหารอีสานต้นตำรับที่ต้องมีปลาร้าเป็นส่วนประกอบ ในรูปแบบคาเฟ่ที่ทันสมัย เหมาะกับลูกค้าในเมือง

อย่างไรก็ตามชื่อที่คุณอยากได้ อาจจะมีคนใช้ไปแล้ว เพราะฉะนั้นให้ลองค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เพื่อตรวจสอบรายชื่อร้านอาหารก่อน สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เลือกชื่อที่เหมาะสมกับการทำการตลาดออนไลน์ด้วย เช่น การจดชื่อโดเมนเนม การทำเว็บไซต์ร้านและสื่อโซเชียลต่าง ๆ  ซึ่งควรเป็นคำที่เฉพาะและง่ายต่อลูกค้าในการเข้าถึง

นอกจากนี้  ถ้าคุณอยากตั้งชื่อร้านเป็นภาษาต่างประเทศ อาจหาคำเพิ่มเติมจาก Dictionary online ที่ตรงกับคอนเซปต์ร้านของคุณ  เช่น คุณอาจจะเปิดร้านขายอาหารอิตาเลียน อาจจะลองดูว่ามีคำไหนที่สื่อถึงอาหารอิตาเลียน โดยเริ่มต้นจากการใส่คีย์เวิร์ดคำที่คุณชอบลงไป เช่น เว็บไซต์ wordlab , visuwords , thesaurus , fantacynamegenerators

 

 4. อย่าลืมคิดถึงการเติบโตของร้านในอนาคต

มีร้านอาหารไม่น้อยที่ตั้งชื่อตามทำเลที่ตั้ง ซึ่งเป็นไอเดียที่ดี แต่ต้องคำนึงถึงในอนาคตหากคุณต้องการขยายสาขาไปในพื้นที่อื่น ๆ อาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนที่ตั้งของร้านได้ รวมถึงการใช้ชื่อที่เฉพาะมากเกินไป อาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการปรับคอนเซปต์ของร้านในอนาคต เพราะฉะนั้นการตั้งชื่อจึง อย่าลืม คำนึงถึงปัจจัยในข้อนี้ด้วย

ยกตัวอย่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ ที่ไปเปิดสาขาใหม่ที่โชคชัย 4 แม้ว่าร้านข้าวมันไก่ประตูน้ำจะเป็นร้านอาหารที่ติดตลาดไปแล้ว แต่ลูกค้าในทำเลใหม่ก็ยังมีความสับสนว่าร้านดังกล่าว เป็นร้านเจ้าเดียวกันหรือไม่ หรือเป็นร้านที่ตั้งใจใช้ชื่อเดียวกัน

 

5. ลองเล่นคำ ช่วยสร้างความแตกต่าง

การเล่นคำจะช่วยดึงดูด สร้างความน่าสนใจ และสร้างการจดจำให้แก่ร้านของคุณได้ เช่น การใช้คำที่คุ้นหูของคนทั่วไป นำมาดัดแปลง การใช้คำพื้นเมือง คำจากภาพยนตร์  แต่ต้องระวังว่าการใช้ชื่อที่เป็นการดัดแปลงหรือโลโก้ที่อาจจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์  เช่น ร้านกาแฟที่ตั้งชื่อว่าสตาร์บัง ซึ่งคล้ายคลึงกับร้านสตาร์บัคส์ที่เป็นร้านกาแฟเหมือนกัน  นอกจากนี้คำที่พลิกแพลงมาก ๆ อาจทำให้ลูกค้าไม่เข้าใจรูปแบบของร้านโดยทันที  แต่ถ้าต้องการใช้ชื่อนั้นจริง ๆ  ก็ควรมีวิธีในการนำเสนอคอนเซปต์ของร้านผ่านวิธีต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วยเพื่อสร้างการรับรู้  ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งร้าน การทำ Content Marketing เป็นต้น

เทคนิคในการตั้งชื่อโดยการเล่นคำนั้น คุณอาจจะลองลิสต์รายชื่อ ที่คุณสนใจและนำทั้ง 2 คำที่ต่างความหมาย มารวมกันเพื่อสร้างความหมายใหม่  เช่น  คำว่า Subway ก็มาจาก Sub + Way ซึ่งสื่อถึงรูปแบบของร้านอีกด้วย

 

6. เข้าใจกลุ่มลูกค้าและตลาด

สำหรับร้านอาหารคุณไม่ได้แค่ขายอาหารและเครื่องดื่ม แต่ขายประสบการณ์ในการกินให้กับลูกค้าด้วย การที่คุณรู้ว่าใครคือคนที่จะเดินเข้าร้านเพื่อจ่ายเงินสำหรับ 1 มื้อให้กับร้านของคุณ จะช่วยให้คุณเลือกชื่อร้านที่เชื่อมโยงกับกลุ่มลูกค้าและสอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา ลูกค้าวัยทำงาน ลูกค้ากลุ่มครอบครัว มีความต้องการและรู้สึกพอใจแตกต่างกัน การที่จะเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ก็คือ 1 . ลองคิดแทนลูกค้าว่า คาดหวังอะไรจากร้านอาหารบ้าง 2. คิดถึงความต้องการของลูกค้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้คุณสามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ในอนาคต

กลุ่มลูกค้าจึงมีส่วนสำคัญในการตั้งชื่อ จึงควรเลือกใช้คำที่สอดคล้องกับ Position ทางการตลาดของร้าน และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้าต้องการเจาะลูกค้ากลุ่มพรีเมี่ยม การใช้คำฮิตวัยรุ่นจนเกินไปก็อาจจะไม่เหมาะสม

 

7. ชื่อที่ทำการตลาดง่าย ๆ และไม่ขัดกับวัฒนธรรม

          ชื่อควรจะต้องโดดเด่นในตลาด เป็นคำที่คุ้นหูง่าย ทันสมัยและต้องสร้างความรู้สึกประทับใจให้กับกลุ่มลูกค้า ชื่อของร้านให้ความรู้สึกร่วมในการที่เขาจะแนะนำร้านให้แก่คนใกล้ตัวของเขาได้

นอกจากนี้ วัฒนธรรมก็มีส่วนในการตั้งชื่อ โดยเฉพาะการทำธุรกิจคนไทยที่มีความเชื่อค่อนข้างสูง ชื่อที่ไม่เป็นสิริมงคลหรือสื่อความหมายในทางที่ไม่ดี ก็ส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้าเหมือนกัน จึงควรระวังในข้อนี้ด้วย ยกตัวอย่าง ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งตั้งชื่อว่า ตายทั้งกลม  ซึ่งเจ้าของร้านอาจมีความตั้งใจที่จะสื่อถึงความอร่อยต้องกินจนพุงกาง แต่ลูกค้าอาจจะรู้สึกไม่ดีกับชื่อที่มีคำว่าตาย

เมื่อคุณได้ชื่อที่น่าสนใจแล้ว ควรจะลิสต์รายชื่อทั้งหมด แล้วควรให้เวลากับการคัดเลือกชื่อที่เหมาะสมที่สุด ตามหัวข้อดังที่กล่าวมา การเลือกชื่อที่ใช่ที่สุดอาจไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะเมื่อคุณมีหุ้นส่วนหลาย ๆ คน แต่การระดมสมองก็จะทำให้เกิดไอเดียที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นเมื่อจะเปิดร้านอาหารควรให้เวลากับการคัดเลือกชื่อที่จะใช้ และคำนึงถึงการทำการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ด้วย

 


 

                 กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขกสุดพิเศษ งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

 

เรื่องแนะนำ

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

สาเหตุหลักที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวคือ เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไปหรือมากเกินไป บางคนอาจสงสัยว่า หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร วันนี้เราจะมาเผยให้ฟัง

ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP

  มาทำความรู้จักกับ “ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP ที่เจ้าของร้านทุกคนต้องมีกัน”   ผมเชื่อว่า ร้านอาหาร ก็เปรียบเสมือน ร่างกาย ของคนเรา ที่ประกอบไปด้วย อวัยวะ หลายส่วน ถ้าเจ้าของร้าน เปรียบเสมือน ส่วนหัว พนักงาน ก็จะเป็นแขนขา มือ และส่วน อื่นๆ ที่ทำงาน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน สุขภาพของร้านอาหารที่ดี ก็เหมือนร่างกายที่มีสุขภาพดี คือทำงานออกมาได้ดี มีผลงานออกมาตามแผนที่วางไว้ แต่ถ้าร่างกาย เกิดเจ็บป่วย เราก็จะเห็นว่า มีอาการแปลกประหลาด เช่น อาหารออกมารสชาติ ไม่เหมือนเดิม คุณภาพการบริการเปลี่ยนไป จนลูกค้าเริ่มต่อว่า จะดีแค่ไหนถ้าร้านของเรามีเครื่องมือบางอย่าง ที่ทำหน้าที่ เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถที่จะ ซ่อมแซมตัวเองได้ โดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องคอยควบคุมอยู่ตลอด หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น วันนี้ผม จึงอยากเสนอ เครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร้านอาหารของเรา มีสุขภาพที่แข็งแรง การทำงานราบรื่นขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า “SOP” (เอสโอพี) […]

ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ทุกวันนี้ร้านบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่อยู่รอด วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

คุมต้นทุนอาหาร

คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ

        หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลง คือ “การคุมต้นทุนไม่อยู่” บางร้านอาจจะขายดีมากแต่ไม่ได้กำไรเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป โดยเฉพาะต้นทุนด้านวัตถุดิบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร ร้านทั่วไปจะมีต้นทุนส่วนนี้ 30-40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรืออาจสูงกว่านี้ในร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนในส่วนนี้ให้มาก ลองมาดูสิ่งที่จะช่วย คุมต้นทุนอาหาร และเพิ่มกำไรให้ร้านอาหารของเรากันครับ คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ 1. ใส่ใจและติดตามราคาวัตถุดิบ         วิธีที่ดีในการคุมต้นทุน คือการติดตามราคาของวัตถุดิบที่ใช้ภายในร้าน บางท่านอาจจะรู้สึกยุ่งยากเพราะที่ร้านใช้วัตถุดิบหลายชนิด แต่วิธีง่ายๆ คือเลือกแค่วัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักของร้านมาบันทึกราคา ปริมาณที่ใช้ และต้นทุนทั้งหมดของวัตถุดิบแต่ละชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาในแต่ละเดือน          สมมติว่าราคากุ้งเดิมกิโลกรัมละ 180 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 220 บาทจากภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา 40 บาทนี้อาจจะดูไม่มาก แต่มันคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 22% จากราคาเดิม ยิ่งร้านที่ขายดีเท่าไหร่ กำไรที่หายไปก็จะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงภาวะต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นราคา […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.