POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร - Amarin Academy

POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร

POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารมือใหม่ (หรือมือเก๋า) หลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า POS กันมาบ้าง แต่บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร หรือจำเป็นต้องมีหรือไม่ วันนี้เราจะอธิบายให้ฟังครับ

POS คืออะไร

POS หรือ Point of Sale System คือ ระบบที่ช่วยในการเก็บข้อมูลการขาย รวมทั้งบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับสินค้าและบริการ

ระบบ POS นี้ พัฒนามาจากเครื่องคิดเงิน ที่ปกติจะทราบเพียงยอดขายเท่านั้น แต่เมื่อมีการพัฒนา เขียนโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไป ก็สามารถใช้งานอื่นๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสต็อกสินค้า มีระบบสมาชิก ตรวจสอบยอดขาย สินค้าไหนขายดี สินค้าใดขายไม่ได้ เป็นต้น

ระบบ POS ที่เราเห็นบ่อยๆ มักอยู่บริเวณแคชเชียร์ในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า (ต่อพ่วงกับเครื่องสแกนบาร์โค้ช) รวมถึงร้านอาหารด้วย

หลักการทำงานของ POS ก็ไม่ซับซ้อน โดยจะขอยกตัวอย่างการทำงานง่ายๆ ดังนี้ เช่น เมื่อลูกค้าสั่งอาหาร พนักงานจะคีย์ข้อมูลออร์เดอร์เข้าระบบเพื่อส่งไปยังห้องครัว ระบบจะบันทึกออร์เดอร์นั้นไว้ เมื่อลูกค้าจ่ายเงิน ระบบก็จะตัดสต็อกสินค้า หรือวัตถุดิบโดยอัตโนมัติ เมื่อปิดร้านเจ้าของร้านก็สามารถตรวจสอบจากการบันทึกของระบบได้ทันทีเลยว่า ยอดขายวันนี้เป็นเท่าไร ตรงกับเงินในลิ้นชักหรือเปล่า ใช้วัตถุดิบไปเท่าไร ตรงกับสต็อกที่เหลือหรือไม่ (ฉะนั้นจึงป้องกันการโกงของพนักงานได้ด้วย)

ร้านอาหารจำเป็นต้องใช้ POS หรือไม่

ก่อนจะตอบคำถามว่าร้านอาหารจำเป็นต้องใช้หรือไม่ มาดูข้อดีและข้อเสียของการใช้ระบบ POS ก่อนดีกว่า

  • เจ้าของร้านทราบยอดขายในแต่ละวันได้อย่างรวดเร็ว และ real-time แม้ไม่ได้อยู่ที่ร้าน ก็สามารถเช็คยอดขายผ่านระบบได้
  • เจ้าของร้านสามารถเช็คได้ว่าเมนูไหนขายดี เมนูไหนขายไม่ได้ ได้ตลอดเวลา
  • ไม่ต้องกลัวของหาย ไม่ต้องกลัวเงินรั่วไหล เพราะระบบบันทึกทุกอย่างไว้แล้ว
  • สะดวก รวดเร็ว ช่วยให้บริการลูกค้าได้เร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลานั่งคิดเงินทีละโต๊ะ
  • ตรวจสอบได้ว่าในแต่ละเดือน ใช้วัตถุดิบแต่ละชนิดโดยเฉลี่ย ปริมาณเท่าใด จะได้สั่งซื้อได้ทันเวลา
  • ตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบได้อย่าง Real time ถ้าใกล้หมด ก็สั่งซื้อได้
  • ช่วยในการวางแผนทำโปรโมชัน (หากเมนูไหนขายไม่ค่อยดี หรือวัตถุดิบชนิดใดเหลือเยอะ ก็สามารถนำมาจัดโปรโมชั่นได้)

ฯลฯ

แต่แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดี ก็ต้องมีข้อด้อยเช่นกัน

  • ต้องจ่ายเงินซื้อระบบ ซึ่งมีทั้งแบบซื้อขาดและจ่ายเป็นรายเดือน (ระบบที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน)
  • มีโอกาสที่ระบบจะล่ม และทำให้การดำเนินการของร้านหยุดชะงักได้
  • พนักงานจะคุ้นเคยกับการทำงานแบบ POS หากระบบล่ม อาจแก้ไขปัญหาไม่ได้

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ POS แสดงผลลัพท์ที่แม่นยำ คือตัวเจ้าของร้านเองต้องแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับเมนูแต่ละเมนูโดยละเอียด เช่น เมนูข้าวหน้าหมูทอด 1 จาน ราคา 150 บาท ต้องแจกแจงว่า 1 จาน ใช้หมูกี่กรัม ข้าวกี่กรัม น้ำจิ้มกี่กรัม ผักตกแต่งจานกี่กรัม เป็นต้น หากร้านคุณมี 100 เมนู ก็ต้องแจกแจงให้ได้ 100 เมนู จึงถือว่าเป็นงานที่หนักพอสมควรเลยทีเดียว โดยข้อมูลที่แจกแจงนี้ จะใช้เป็นฐานข้อมูลให้ระบบนำไปใช้ตัดสต็อกและเช็คยอดขายได้

ลองชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียดูนะครับ แล้วตรวจสอบความว่าร้านอาหารของคุณจำเป็นต้องใช้ระบบ POS หรือเปล่า

ทุกวันนี้มีระบบ POS ให้เลือกใช้เยอะมากมาย โดยลักษณะการใช้งาน หน้าตาโปรแกรมจะแตกต่างกันออกไป รวมทั้งมี function การใช้การที่แตกต่างกันด้วย ฉะนั้นเจ้าของร้านอาหารลองเลือกเจ้าที่เหมาะสมกับตัวเองดู แล้วจะรู้ว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยคุณได้จริงๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสำหรับร้านอาหาร ‘Mobile Order’

เรื่องแนะนำ

ไผ่ทอง ไอศกรีม

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้าน ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

เพิ่มกำไรอย่างก้าวกระโดด! ด้วยกลยุทธ์ ยกระดับธุรกิจอย่างมืออาชีพ

การทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตาม การพัฒนาและต่อยอดกิจการนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยิ่งอยู่เฉยไม่ได้ แม้จะเคยเป็นร้านดังในอดีต เคยมีลูกค้ามากมาย ก็อาจจะถูกร้านหน้าใหม่แซงยอดขายเอาได้ง่ายๆ จะเห็นว่าแม้แต่ร้านอาหารแบรนด์ดัง ก็ยังต้องปรับตัวและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาเรียกลูกค้าอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจอาหารอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณไม่อยากเดินตามหลังคนอื่นหนึ่งก้าว และกำลังหาวิธี ยกระดับธุรกิจอย่างมืออาชีพ บทความนี้มีเทคนิคดี ๆ ที่คุณไม่ควรพลาดมาฝาก ปรับโครงสร้างต้นทุน จัดการทำงานอย่างเป็นระบบ ก่อนจะเริ่มไอเดียใหม่ ๆ ต้องหันกลับมาแก้ปัญหาเดิม ๆ และอุดรอยรั่วของธุรกิจเสียก่อน โดยโครงสร้างต้นทุนในแต่ละด้านจะต้องอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่ ค่าแรงพนักงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หากคำนวณแล้วด้านไหนมีต้นทุนสูงจนเกินไป อาจจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจได้กำไรตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ระบบการทำงานในร้านก็ต้องชัดเจน ทั้งการเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้ได้คุณภาพคงที่ มีการจัดทำ Standard Operation Procedures (SOPs) หรือคู่มือการทำงานและสูตรมาตรฐานสำหรับเมนูอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้รสชาติของอาหารผิดเพี้ยน ช่วยลดปัญหาด้านพนักงาน และยังควบคุมต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้โดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องเข้ามาควบคุมดูแลเองทุกขั้นตอน   สร้างความโดนเด่นและแตกต่าง ตอบโจทย์ให้ได้ว่าลูกค้าจะจดจำแบรนด์ร้านของเราอย่างไร นอกจากรสชาติอาหารและเครื่องดื่มที่อร่อยแล้ว ยังต้องหาจุดขายที่ทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสตอรี่ให้กับแบรนด์ การตกแต่งร้านสไตล์ต่างๆ การนำเสนอที่แปลกใหม่ […]

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร “อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคที่แซวเล่นกันขำๆ แต่ลูกค้าอาจไม่ขำ และถือเป็นวิธีไล่ลูกค้าวิธีหนึ่งเลยก็ว่าได้ วันก่อนแอดได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของร้านคาเฟ่มือใหม่คนหนึ่ง ถึงวิธีการทำร้าน การจัดการต่าง ๆ โดยระหว่างที่คุยกันตอนหนึ่งของบทสนทนาเจ้าของร้านก็ได้เปิดใจกับแอดว่า “ด้วยความที่เขาเป็นมือใหม่ เพิ่งเปิดร้านได้ไม่นาน ทำให้ยังกะส่วนผสมเครื่องดื่มแต่ละแก้วไม่โปรเท่าไหร่ หลายครั้งจึงประสบปัญหาลูกค้าคอมเพลนเรื่องรสชาติ รสชาติไม่เหมือนเดิมบ้าง เข้มไปบ้าง จนบางทีก็ทำให้เขารู้สึกเสียเซล์ฟจนอยากปิดร้านไปเลย” . ต้องยอมรับว่าเรื่อง “มาตรฐานรสชาติ” ถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม ยิ่งมีหลายสาขา ก็ยิ่งต้องควบคุมมาตรฐานรสชาติให้ดี ให้เหมือนกันในทุก ๆ สาขา เพราะมาตรฐานของรสชาติเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้นและลูกค้าส่วนใหญ่ก็พอใจและยอมรับในรสชาตินี้ ดังนั้นจึงต้องปรุงให้มีรสชาติที่คงที่ เพื่อรักษาความพึงพอใจของลูกค้า แล้วจะทำให้ทุกจาน ทุกแก้วรสชาติเหมือนกันต้องทำยังไง ? โพสต์นี้มีคำตอบ! . การสร้างมาตรฐานรสชาติ มีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง วิธีการทำ . ร้านอาหารอาจอาศัยการทำ SOP (Standard Operating Procedure) “คู่มือมาตรฐานเชิงปฏิบัติการ” หรือจะเรียกง่าย […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 Amarin Corporations Public Company Limited.