5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร - Amarin Academy

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร

หลายคนที่เปิดร้านอาหาร ทำอาหารอร่อย ตกแต่งร้านเสียดิบดี แต่มาตกม้าตายตรงที่ไม่รู้จะตั้งราคาอาหารของตัวเองเท่าไหร่ ตั้งสูงไปก็กลัวขายไม่ได้ ตั้งต่ำไปก็กลัวจะขาดทุน วันนี้จึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งราคาอาหารมาฝาก เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการ ตั้งราคาอาหาร ให้เหมาะสม

1.ต้นทุนวัตถุดิบ (Food costs)

สิ่งแรกที่คุณควรรู้ก่อนตั้งราคาอาหารคือ ต้นทุนวัตถุดิบ (food costs) คุณจะ ตั้งราคาอาหาร ไม่ได้เลย ถ้ายังไม่รู้ต้นทุนอาหารในแต่ละจาน โดยสิ่งที่จำเป็นต้องรู้คือ สัดส่วนและราคาของวัตถุดิบทุกตัว ที่ประกอบอยู่ในแต่ละเมนู เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการตั้งราคา

สาเหตุที่สเต็กเนื้อแพงกว่าสลัด ส่วนหนึ่งก็เพราะต้นทุนวัตถุดิบที่สูงกว่า นอกจากนี้วัตถุดิบที่คุณภาพดีกว่าหรือออร์แกนิค ย่อมมีโอกาสตั้งราคาได้สูงกว่าวัตถุดิบทั่วไปเช่นกัน

2.ต้นทุนอื่นๆ (Other costs)

นอกจากต้นทุนอาหารที่เราต้องทราบแล้ว ต้นทุน ด้านอื่นๆ ก็จำเป็นสำหรับการตั้งราคาเช่นกัน เพราะรายได้จากการขายในแต่ละเมนู นอกจากจะนำไปจ่ายค่าวัตถุดิบแล้ว คุณยังต้องจ่าย ค่าเช่า ค่าแรงงาน รวมถึงค่าการตลาดด้วย การที่ร้านคุณตั้งอยู่ในเมืองหรือในห้าง รวมไปถึงการที่อาหารของคุณจำเป็นต้องใช้เชฟที่มีฝีมือ มีประสบการณ์ ย่อมทำให้ราคาอาหารของคุณสูงขึ้นด้วยเช่นกัน การมองค่าใช้จ่ายในภาพรวมก่อนตั้งราคา จะทำให้รายได้จากการขายครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และทำให้เหลือกำไรอย่างที่คุณตั้งใจไว้

3.การเปลี่ยนแปลงของตลาด (Market changes)

ราคาวัตถุดิบเป็นสิ่งที่ควบคุมยากมาก ราคาวัตถุดิบที่คุณซื้อในวันนี้ ย่อมไม่เท่ากับราคาในอีก 1 ปีข้างหน้า ตรงกันข้ามกับราคาอาหาร ที่กว่าจะปรับราคาขึ้นได้ที เจ้าของร้านแทบจะหืดขึ้นคอ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตัดสินใจขึ้นราคา นั่นหมายถึงโอกาสที่ลูกค้าของคุณจะเปลี่ยนใจไปร้านคู่แข่งด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นก่อนจะตั้งราคาอาหาร คุณควรคำนึงถึงปัจจัยข้อนี้ให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบชนิดที่แปรผันตามสภาพภูมิอากาศและการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น อาหารทะเลที่อาจขาดตลาดและราคาถีบตัวสูงขึ้นในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมไปถึงความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อกำไรของเมนูนั้นๆ

ดังนั้นหากวัตถุดิบมีราคาผันผวนตลอดเวลา ก็ควรจะตั้งราคาเผื่อไว้ให้สูงหน่อย เพราะหากคุณเผื่อราคาไว้น้อยจนเกินไป บางเดือนที่ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น คุณอาจจะยิ่งขายยิ่งขาดทุนก็ได้ ขณะเดียวกันหากคุณตั้งราคาในเกณฑ์ที่สูง ถ้าช่วงไหนวัตถุดิบปรับตัวลดลง ก็อาจจะทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้นๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายภายในร้านได้

4.ฐานลูกค้า (Customers)

การรู้จักลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็นมาก เช่น ถ้าร้านของคุณเป็นร้าน fast food กลุ่มลูกค้าของคุณอาจเป็นวัยรุ่น ที่มีกำลังซื้อไม่มากนัก ราคาอาหารของคุณก็ต้องอยู่ในระดับกลางๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย  แต่หากร้านของคุณเป็นภัตตาคาร ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็นคนมีอายุ มีกำลังซื้อมากกว่า คุณก็สามารถตั้งราคาสูงได้

แต่ไม่ว่าร้านอาหารคุณจะจับลูกค้ากลุ่มไหนก็ตาม ลูกค้าย่อมอยากได้รับความคุ้มค่าในทุกๆ บาทที่เขาจ่ายไป ฉะนั้นอย่าลืมคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าก่อนที่จะตั้งราคาอาหาร

5.การแข่งขัน (Competitors)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านอาหารย่อมมีคู่แข่งมากมาย ซึ่งมีทั้งคู่แข่งที่อยู่ในทำเลเดียวกัน และคู่แข่งที่เป็นร้านอาหารประเภทเดียวกัน เช่น ร้านสเต็กที่มีหลายๆ เจ้า ร้านชาบูนี่มีเป็นร้อยๆ ร้าน เป็นต้น โดยเราสามารถใช้กลยุทธ์การตั้งราคาได้หลายวิธี เช่น Offer better price คือสู้ด้วยราคาที่ถูกกว่า แต่คุณภาพใกล้เคียงกัน หากเลือกวิธีนี้ ต้องไม่ลืมว่าคุณก็จะได้สัดส่วนกำไรน้อยลง หรืออีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ใช้วัตถุดิบที่ดีกว่า คุณก็สามารถตั้งราคาได้สูงกว่าคู่แข่ง หรือการเสนอบริการที่ดีกว่า มีของสมมนาคุณ มีบัตรของขวัญ หรือการทำบัตรสมาชิก เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่คุณใช้ดึงดูดลูกค้าได้ ซึ่งดีกว่ากว่าลดราคาอาหาร

ราคาอาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจก้าวเข้าร้านอาหารของคุณ และเป็นรายได้หลักที่ทำให้ร้านอาหารอยู่รอด ฉะนั้นก่อนตั้งราคาอาหาร ควรวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียด รอบคอบ เพื่อจะได้ไม่เจ็บตัวใจภายหลัง

เรื่องแนะนำ

พฤติกรรมพนักงานบริการ

เช็ค 10 พฤติกรรมพนักงานบริการ ที่ร้านอาหารควรปรับปรุง

พนักงานบริการถือว่ามีความสำคัญต่อร้านอาหารมาก ฉะนั้นทางที่ดีมาเช็ค พฤติกรรมพนักงานบริการ ของร้านเราดีกว่า ว่าเข้าข่ายต้องรีบปรับปรุงหรือเปล่า

5 กลุ่มลูกค้า ที่ร้านอาหารต้องมัดใจให้อยู่หมัด

การหาข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า และนำมาวิเคราะห์ เป็นสิ่งจำเป็นในการเปิดร้านอาหารไม่น้อย เพราะจะเป็นการรู้ถึงแนวทางการพัฒนาร้าน และการทำการตลาด ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งหากทำได้ ไม่เพียงแต่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่หมายถึงการเติบโตของธุรกิจอาหารได้อย่างดีและยั่งยืนอีกด้วย แล้ว กลุ่มลูกค้า แบบไหนที่ร้านต้องมัดใจให้อยู่หมัด   5 กลุ่มลูกค้า ที่ร้านอาหารต้องมัดใจให้อยู่หมัด 1. ลูกค้าที่ใช่เลย ลูกค้ากลุ่มที่ชอบอาจมาแล้วหายไป แต่ลูกค้าที่ใช่จะอยู่นาน เพราะร้านนั้น ๆ เข้ากับตัวตนของพวกเขา และเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุด จึงสามารถครองใจลูกค้าไว้ได้  การกำหนดคอนเซ็ปต์ของร้านที่ชัดเจน จะช่วยทำให้วางแผนการตลาดโดยดูจากกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น    2. ลูกค้าที่ซื้อน้อย… แต่ซื้อทุกวัน ลูกค้าที่ดีอาจไม่ใช่ลูกค้าที่ซื้อเยอะ แต่เป็นลูกค้าที่ซื้อแล้ว ทำให้เราเข้าใจลูกค้าคนอื่นเพิ่มมากขึ้นต่างหาก ลูกค้ากลุ่มที่ซื้อบ่อยไม่ว่าจะซื้อเพราะสะดวก ใกล้ที่พัก หรือซื้อเพราะถูกใจในอาหารและการบริการ  ลูกค้ากลุ่มนี้จะผันไปเป็นลูกค้า Royalty ได้มากที่สุด นอกจากนั้นแล้ว ข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าในกลุ่มนี้ ยังช่วยให้ร้านสามารถวัดความพอใจของสินค้า เพื่อวางแผนการตลาดได้ดีที่สุด   3. ลูกค้าที่กล้าคอมเพลน ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถ feedback  ร้านได้โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ คุณสามารถตอบโต้กับลูกค้าที่ยินดีจะแชร์ความคิดเห็นไม่ว่าจะบวกหรือลบได้ทันที การแสดงความสนใจ นอกจากนั้นวิธีการจัดการของคุณต่อความคิดเห็นในทางลบของลูกค้าเป็นสิ่งที่โฆษณาร้านค้าของคุณไปสู่ลูกค้าคนอื่น ๆ ได้อย่างกว้างที่สุด และส่วนใหญ่ลูกค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะบอกต่อประสบการณ์ของพวกเขาด้วย […]

ไผ่ทอง ไอศกรีม

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้าน ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า   เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน! WHAT  หาอะไร ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้ Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.