จิตวิทยาการใช้สี เปิดร้านอาหารควรใช้สีอะไร - Amarin Academy

จิตวิทยาการใช้สี เปิดร้านอาหารควรใช้สีอะไร

จิตวิทยาการใช้สี เปิดร้านอาหารควรใช้สีอะไร

รู้ไหม สีส่งผลต่อร้านอาหารมากกว่าที่คิด เพราะสีสามารถกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกอยากอาหารได้ รวมทั้งทำให้ลูกค้าไม่อยากอาหารได้เช่นกัน ฉะนั้นการเลือกสีสำหรับร้านอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้เราจึงมีคำแนะนำว่า เปิดร้านอาหารควรใช้สีอะไร และไม่ควรใช้สีอะไร มาฝาก เพื่อนๆ เจ้าของร้านจะได้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

สีที่เหมาะสมสำหรับร้านอาหาร

สีที่เหมาะกับร้านอาหารควรเป็นสีโทนร้อน เช่น สีแดง (เฟรนไชน์ไก่ทอดชื่อดังจากอเมริกาก็ใช้สีนี้) สีเหลือง (เฟรนด์ไชน์ fast food ระดับโลก ที่มีโลโก้เป็นตัวอักษร M ก็ใช้สีนี้) และสีส้ม ทั้ง 3 สีถือเป็นสีที่ส่งอิทธิพลต่อการกระตุ้นให้คนอยากอาหารมากที่สุด โดยแต่ละสีก็จะสื่ออารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกันออกไปอีก เช่น สีแดง สะท้อนให้เห็นถึงความ หรูหรา เหมาะสำหรับการรับประทานอาหารมื้อค่ำ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเฉดสีด้วยเช่นกัน เพราะไม่ใช่ทุกเฉดจะสื่อความรู้สึกเดียวกันทั้งหมด

สีสไตล์ Earth Tones นับว่าเหมาะกับร้านอาหารมากที่สุด เช่น สีส้มอิฐ สีเหลืองทัสคานี (Tuscan yellow) สีแดงโกเมน (Deep garnet red) เป็นต้น โดยควรหลีกเลี่ยงสีที่สว่างจนเกินไป โดยเฉพาะสีเหลือง เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความเร่งรีบ ไม่ผ่อนคลายเท่าที่ควร แต่หากคุณเป็นร้านอาหารประเภท Fast food ที่เน้นความเร็วเป็นที่ตั้ง ก็สามารถใช้สีสว่างๆ ได้เลย เพราะถือว่าตอบโจทย์สุดๆ

นอกจากใช้เป็นสีหลักของร้านแล้ว สีเหลืองและสีส้ม ยังนำมาใช้กับของตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ ได้อีกด้วย โดย 2 สีที่ว่านี้เหมาะสำหรับตกแต่งร้านที่มี Concept ให้เข้าถึงง่าย เป็นกันเอง และราคาไม่แพง

นอกจากนี้ สีเขียว ก็เป็นสีที่นิยมนำมาตกแต่งร้านอาหารเช่นกัน และควรเป็นสีสไตล์ Earth Tones เช่นเดียวกับสีโทนร้อน โดยสีเขียวนี้ จะสะท้อนความเป็นธรรมชาติ เหมาะกับร้านอาหารสุขภาพ อาจจะแซมด้วยสีน้ำตาล หรือส้ม เพื่อให้ดูสดใสขึ้นและไม่นิ่งจนเกินไป

กลับกัน หากร้านคุณขายอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น ร้านสเต็ก ไม่ควรใช้สีเขียว เพราะสีอาจสะท้อนสู่จานอาหาร ทำให้ดูไม่น่ารับประทาน และร้านอาหารกึ่งผับและบาร์ ก็ไม่ควรใช้สีเขียวเช่นกัน เพราะเมื่อสีเขียวเจอกับไฟสลัวๆ จะเปลี่ยนจากความสดใสและผ่อนคลาย กลายเป็นความเศร้า และมืดมนได้

สีที่ไม่เหมาะสำหรับร้านอาหาร

สีน้ำเงิน ฟ้า และสีม่วง ถือเป็นสีที่ไม่เหมาะสำหรับร้านอาหาร โดยสีน้ำเงินและสีฟ้า สื่อถึงความเงียบสงบ (คงไม่มีร้านอาหารไหนอยากให้ร้านของตัวเองเงียบ สงบ ปราศจากลูกค้า จริงไหม) ขณะเดียวกันสีม่วงก็เป็นสีที่ลดความอยากอาหาร ฉะนั้นจึงไม่ควรใช้สีนี้เป็นสีหลักในการตกแต่งร้าน

สีรอง ที่ควรใช้ในการตกแต่ง

สีดำ ขาว เบจ เทา และน้ำตาล นับเป็นสีที่เหมาะสำหรับตกแต่งร้านอาหารเล็กๆ น้อยๆ โดย สีดำและน้ำตาลเข้ม สื่อถึงความลึกลับ ซับซ้อน เหมาะกับร้านอาหารจำพวก Fining Dining สีขาว สื่อถึงความสะอาดและมาตรฐาน สีเบจ สีเทาและน้ำตาล สื่อถึงความอบอุ่น เหมาะกับร้านอาหารที่อยากทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลาย

เห็นไหมว่า การเลือกสีนับว่ามีความสำคัญ ฉะนั้นก่อนตกแต่งร้าน ไม่ใช่เลือกตามความชอบของเจ้าข้องร้านเท่านั้นนะคะ แต่ควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยาของสีด้วย ลองเลือกสีที่เหมาะกับร้านของคุณดูนะค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง: เทคนิค การออกแบบเมนู ให้เปรี้ยง

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

Digital Delicious เทรนด์ใหม่รูปแบบนำเสนออาหารสุดล้ำ เปิดประสบการณ์ผู้บริโภค

Food Blogger กับ ร้านอาหาร ความ WIN WIN ที่ลงตัว

มากกว่าแค่ธุรกิจร้านอาหาร ต้องพิชิตใจลูกค้าด้วย Emotional Value

How to 10 เทคนิค ถ่ายภาพอาหารให้น่ากิน

7 ไอเดียตกแต่งโฮสเทล ให้เท่และใช้ประโยชน์ได้จริง!

เรื่องแนะนำ

Digital Delicious

Digital Delicious เทรนด์ใหม่รูปแบบนำเสนออาหารสุดล้ำ เปิดประสบการณ์ผู้บริโภค

ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทกับทุกๆสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่แวดวงอาหาร ซึ่งปัจจุบันการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคไม่ได้หยุดเพียงแค่ รสชาติอร่อย หน้าตาอาหารสวยงาม หรือแม้แต่การบริการที่ดีเท่านั้น แต่สิ่งที่จะดึงดูดผู้บริโภคในยุคนี้ได้ก็คือ ประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นและแปลกใหม่ในการรับประทานอาหารนั่นเอง เพื่อให้เกิดการจดจำ สร้างความประทับใจ และเป็นที่พูดถึง เรากำลังพูดถึง Digital Delicious ที่นำอาหารและดิจิทัลอาร์ต มารวมไว้ด้วยกัน กับรูปแบบการนำเสนอสุดล้ำที่ชวนว๊าว   เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคด้วย Digital Delicious  ปัจจุบันนี้แวดวงอาหารบ้านเรา ก็มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้นทุกวัน อย่างเช่นล่าสุดที่บอกไปว่ามีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการพรีเซ้นท์อาหาร เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค นั่นก็คือโปรเจคDigital Delicious ที่ริเริ่มโดยบริษัท Doozy Digilab ผู้นําด้านการสร้างสรรค์ประสบการณ์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ ได้นำอาหารและดิจิทัลอาร์ตมารวมไว้ด้วยกัน ในรูปแบบของอาหาร Fine Dining โดยเชฟชื่อดัง เช่น เชฟเอริก ไวด์มันน์ ผู้คว้าตำแหน่งเชฟกระทะเหล็ก Iron Chef Thailand จาก Oriental Residence Bangkok, เชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม, เชฟแต-จันทร์ชนก สุนทรญาณกิจ ศิลปินเชฟขนมอบชื่อดัง และเค-อานนท์ ฮุนตระกูล […]

ออกแบบเมนู

แชร์ 10 เทคนิค ออกแบบเมนู อย่างไรให้ปัง

เคยไหม ร้านอาหารบางร้านออกแบบร้านสวยงาม อาหารอร่อย บริการก็ดี แต่การออกแบบเมนูกลับไม่ดึงดูด เพราะบางคนมองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กไม่จำเป็น บางร้านไม่ให้ความสำคัญถึงขั้นปล่อยให้เล่มเมนูขาดบ้าง หลุดบ้าง แต่ความจริงแล้วการ ออกแบบเมนู ให้ดูน่าสนใจก็สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ และก็เป็นจิตวิทยาอย่างนึงที่ช่วยให้ลูกค้าสั่งอาหารตามที่เรากำหนดได้ด้วย    เทคนิค ออกแบบเมนู อย่างไรให้ปัง การออกแบบเมนู เป็นจิตวิทยาช่วยดึงดูดลูกค้าได้อย่างไร เคยสำรวจตัวเองเวลาไปทานอาหารที่ร้านหรือไม่ บางครั้งเราใช้เวลาไม่นาน ในการตัดสินใจเลือกเมนู แต่บางครั้งก็ดูแล้วดูอีกก็ยังเลือกไม่ได้ นั่นแหละครับ การออกแบบเมนู ส่งผลต่อการตัดสินใจด้วยเช่นกัน ถ้าเจ้าของร้าน ออกแบบเมนูดี สะดุดตาก็จะช่วยดึงดูด ให้ลูกค้าสั่งอาหารได้เร็วขึ้น มากขึ้น และบางครั้งยังชักจูงให้ลูกค้าสั่งอาหารจานที่เรากำหนดได้ด้วย โดยใช้หลักการหลายอย่างประกอบ เช่น การใช้สี การจัดวางองค์ประกอบ การใช้คำ เป็นต้น ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้กันเลยครับ   สีสื่อความหมายต่อผู้บริโภค ทฤษฎีสี เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรศึกษาไว้ เพราะสีส่งอิทธิพลต่อการรับรู้ของมนุษย์ได้มากกว่าที่คิด เช่น สีเขียว สื่อความหมายถึงความสดชื่น จึงควรใช้ประกอบเมนูที่โดดเด่นด้านความสด สะอาด / สีส้ม ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร สีเหลือง สื่อความหมายถึงความสุข จึงดึงดูดสายตาของลูกค้าได้ดี สีแดง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.