Creamery ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป? - Amarin Academy

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

Creamery boutique ice creams ร้านไอศกรีมโฮมเมด และคุกกี้ลาวา เป็นอีกหนึ่งร้าน ที่เจ้าของเริ่มต้นเปิดร้านจากความรักและความชื่นชอบในการทำขนมมากๆ และกล้าพูดได้ว่าเป็นร้านแรกๆ ที่เริ่มคิดค้นเมนูลาวาจากไข่เค็ม ที่ยังคงเป็นเมนูยอดฮิตจนถึงทุกวันนี้ คุณชมพูนุช จอมสง่าวงษ์ เจ้าของร้านจะมาเผยถึงวิธีคิดเมนูให้เป็นจุดเด่นของร้าน รวมถึงความท้าทายที่ร้านต้องเจอ เมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป จะมีวิธีอย่างไร มาดูกันครับ

 

Creamery boutique ice creams

ร้านที่เริ่มต้นจากความรักในการทำขนม

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว เดิมเราทำงานประจำอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทำขนมอยู่ที่นั่น เราชอบทำขนมอยู่แล้ว เลยอยากเปิดร้านขนมทำเป็นงานเสริมก่อน ก็เลยเปิดร้าน Creamery boutique ice creams สาขาแรกแถวสามย่าน ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเคยไปกินร้านที่สเปน แล้วชอบช็อกโกแลตที่นั่นมาก อยากกินอีก เลยคิดว่าทำเองดีกว่า เลยลองทำช็อกโกแลตมาใส่คุกกี้ สินค้าตัวแรกของร้านเลยออกมาเป็นช็อกโกแลตลาวา ตัวนี้ทำให้เราเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น เพราะความแปลกใหม่ ที่ยังไม่มีใครทำคุกกี้ที่เป็นลาวา รวมถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเห็นเมนูเรามากขึ้น พอเอาไอศกรีมมาวางบนคุกกี้ ลาวาในคุกกี้ก็จะไหลออกมา ลูกค้าก็ว๊าวมาก คนก็ถ่ายแล้วแชร์ ซึ่งเราคิดว่า เราจับเทรนด์นี้ได้ทันพอดี

คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล

 

สร้างจุดเด่นให้ร้าน ด้วยการคิดเมนูให้แปลกไม่เหมือนใคร

เมื่อเมนูช็อกโกแลตลาวากระแสดี เราก็คิดว่าเราควรพัฒนาเมนูใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ต่อมาก็เริ่มมีไอศกรีมในร้าน เราชอบไอศกรีม แต่ไม่ชอบหวานมาก เลยลองทำเป็นดาร์กช็อกโลว์แฟต และเน้นใส่วัตถุดิบที่ดีและโฮมเมดหมด ถ้าจะมากินไอศกรีมที่แปลกๆ ก็ต้องมากินที่เรา กระแสตอบรับดี ต่อมารู้สึกว่าแค่ไอศกรีมไม่พอ

เราอยากทำอะไรที่ทานคู่กับไอศกรีมได้ด้วยไม่ใช่แค่ขายไอศกรีมอย่างเดียว ก็เริ่มคิดเมนูที่เป็นลาวาออกมา ซึ่งค่อนข้างแปลกใหม่มากสำหรับ 7 ปีที่แล้ว โดยเราเสิร์ฟต่อหน้าลูกค้า สดๆ ร้อนๆ คุกกี้ลาวาทานกับไอศกรีมเย็นๆ ให้มันดูมีมิติมากขึ้น

ต่อมามีรายการทีวีมาติดต่อ เห็นว่าร้านเรามีเมนูแปลกๆ ไม่เหมือนใคร เขาก็ให้ไปท้าชิงให้ทำเมนูแปลกๆ แข่งขันในรายการ และ ก็เลยตัดสินใจลองเข้าร่วมแข่งขัน ตอนนั้นเราคิดค้นเมนู คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล  เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีลาวาแนวเอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นช็อกโกแลต ชาเขียว ไวท์ช็อกโกเลต คือเป็นแนวยุโรปหมดเลย เราเลยมาคิดว่าแล้วอะไรที่เป็นของเอเชีย เราก็เลยคิดว่าไข่เค็มสิ ไข่เค็มก็เป็นวัตถุดิบเอเชียของเรา เรารู้สึกว่าทุกคนกินไข่เค็มเยอะ เช่น ปลาหมึกไข่เค็ม รสชาติมันก็จะแปลกไปเลย เมนูนี้เหมาะสำหรับคนไม่ชอบกินหวานมาก ก็เลยเอาตัวนี้ไปลองเข้าชิงในรายการ The Dish เมนูทอง แล้วก็ตอบโจทย์รายการเพราะตอนนั้นยังไม่มีที่ไหนทำเป็นคุกกี้ลาวา กรรมการก็เลยชอบ จนเป็นเมนูที่ได้รับรางวัลแชมป์ของรายการ

เรามั่นใจว่าเราเป็นรุ่นแรกๆเลย ที่ทำคุกกี้ไข่เค็มลาวา หลังจากนั้นเทรนด์ก็มาเริ่มมีคนทำเยอะขึ้น

 

Creamery boutique ice creams สาขา 2 ท่ามหาราช ทำอย่างไรเมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป

ต่อมาเราก็มาเปิดสาขาที่สอง คือ สาขาท่ามหาราช ซึ่งเปดมาได้ 4 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้สาขาท่ามหาราช กลุ่มลูกค้าจะเป็นนักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนมาก พอช่วงที่มหาวิทยาลัยย้ายไป กลุ่มนักเรียน นักศึกษาก็หายไปด้วย ก็จะเหลือนักท่องเที่ยว พนักงานออฟฟิตที่ยังอยู่ เพราะฉะนั้นก็เลยคิดว่าเราต้องจับลูกค้ากลุ่มนี้ เลยตัดสินใจรีโนเวทร้าน เพราะก่อนหน้านี้ร้านตกแต่งบรรยากาศดูเด็กไป เพราะเมื่อก่อนลูกค้านักศึกษาเยอะ ก็จะเป็นสไตล์ลอฟท์ ดิบๆ เท่ๆ ไฟระโยง เป็นที่สังสรรค์ของเด็กๆ ไม่เน้นหรูหรา ดูแพงมาก

พอกลุ่มลูกค้าเปลี่ยน เรารีโนเวทร้านให้ดูดีขึ้น สวยขึ้นในระดับที่ผู้ใหญ่สามารถเข้าถึงได้ เราก็จะได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่เป็นผู้ใหญ่ด้วย ก็ดีขึ้นอีกแบบ

ช่วงแรกที่กลุ่มลูกค้าวัยเรียนเริ่มหายไป เราก็สังเกตว่ากลุ่มผู้ใหญ่ก็ไม่ค่อยกล้าเข้าร้านเรา มันดูวัยรุ่น เป็นปูนเปลือย ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่จะเลือกร้านที่สามารถเข้ามาคุยงาน เขาก็จะรู้สึกว่าไม่น่าเข้า ก็เลยเปลี่ยนสไตล์ดีกว่า ให้ดูเข้าถึงกลุ่มลุกค้าผู้ใหญ่ วัยทำงานมากขึ้น เรียกว่าแนวอบอุ่น สบายๆ โคซี่ ก็มีกลุ่มผู้ใหญ่เป็นลูกค้าเรามากขึ้น แต่เด็กๆก็ยังมีอยู่บ้าง

Creamery

อยากไปต่อ ต้องไม่หยุดพัฒนา

สเต็ปต่อไปของเราคือ อยากคิดเมนูใหม่ๆ อีก เมนูที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า อยากทำเป็น smoke เล่นความเป็นควันกับขนม ได้ทั้งกลิ่นและรสชาติด้วย ตอนนี้อยูในขั้นตอนการการเตรียมพัฒนาและทดลองสูตรอยู่

และวางแผนว่า อยากจะมีอีกสาขาที่เปิดครัวโชว์ให้ลูกค้าได้เห็นขั้นตอนการทำด้วย เหมือนตอนสมัยเปิดสาขาแรก โชว์ครัวเล็กๆ ให้ลูกค้าเห็น เป็นประสบการณ์ให้ลูกค้าประทับใจด้วย ว่าเราทำสดใหม่จริงๆ

 

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ถอดเคล็ดลับ “เสวย” จากรุ่นสู่รุ่น รีแบรนด์ใหม่อย่างไร ให้ปัง!

ถอดเคล็ดลับ nice two Meat u ทำอย่างไรให้ลูกค้ายอมรอ

เพราะกล้าที่จะเปลี่ยน สูตรความสำเร็จของเชฟกิ๊ก ทายาทรุ่นที่ 3 ร้าน เลิศทิพย์

เรื่องแนะนำ

Mee OK

ต่อยอดโรงงานบะหมี่ สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)

ไม่ใช่เรื่องง่ายของการทำธุรกิจที่จะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้ “Mee OK” หนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของ ธุรกิจร้านอาหาร ที่ต่อยอดมาจากโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ (ส่งร้านสุกี้ชื่อดัง) และแป้งที่มีประสบการณ์มากกว่า 80 ปี  จากประสบการณ์ผลิตบะหมี่กว่า 80 ปี สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)  “อยากให้เพื่อนได้กินบะหมี่ของตัวเอง” จุดเริ่มต้นง่ายๆ ของคุณม้ง – ปรมะ ห่อทองพูน เจ้าของร้าน Mee OK และเจ้าของบริษัทผู้ผลิตเส้นบะหมี่ให้ร้านดัง ที่คิดอยากจะทำแบรนด์ร้านอาหารของตัวเอง  แบรนด์มันคือสิ่งสำคัญที่ทำให้คนรู้จักเรา ธุรกิจโรงงานของเราเริ่มมาตั้งแต่รุ่นอากง จากทำเส้นบะหมี่ขายในชุมชนและย่านใกล้ๆ มาถึงรุ่นพ่อก็เริ่มขยับขยาย ขายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหารในเยาวราช ธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น มีลูกค้าเยอะขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เราจะได้ลูกค้าที่บอกกันปากต่อปาก ทีนี้พอมาถึงรุ่นผม ก็เลยตัดสินใจที่จะเปิดโรงงานผลิตเส้นบะหมี่และแป้ง เพื่อสร้างมาตรฐาน คุณภาพ และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ จนได้กลุ่มลูกค้าเพิ่มเป็นธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศ อยากทำแบรนด์ของตัวเอง  เหตุผลหลักๆ เลย ก็คือตอนที่เราทำโรงงานอย่างเดียว เหมือนเราต้องพึ่งลูกค้าเป็นหลักในการขาย เพราะเราเป็นโรงงาน ไม่มีหน้าร้านหรือแบรนด์แบบเค้า ยกเลิกออเดอร์ทีเราก็เสียกำไรตรงนั้นไป […]

เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

สำรวจตัวเองให้พร้อม ก่อนตัดสินใจ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

ปัจจุบันจะสังเกตได้ว่า ร้านอาหารที่อยู่ภายในศูนย์การค้านั้น มีมากมายหลากหลายแบรนด์ ซึ่งก็มีทั้งแบรนด์ใหญ่ ร้านดัง หรือร้านที่ไม่ใช่ร้านดัง แต่เป็นร้านใหม่ๆ ที่เข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งร้านเล็กๆ ก็สามารถที่จะ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ได้เช่นกัน สำหรับใครที่กำลังมีความคิดว่า อยากขยายสาขาธุรกิจอาหารของตัวเองมาอยู่ในศูนย์การค้าบ้าง คุณต้องสำรวจความพร้อมของตัวเองก่อน แล้วความพร้อมที่ว่านี้หมายถึงความพร้อมในด้านใดบ้าง คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มีคำแนะนำมาฝากกัน   สำรวจความพร้อม ก่อนตัดสินใจ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า   1.เจ้าของร้านต้องสำรวจความพร้อมในการยอมรับกฎระเบียบของศูนย์การค้า ในแง่ที่ศูนย์การค้านั้น จะไม่เหมือนการเปิดแบบ Stand Alone เพราะจะมีกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ค่อนข้างละเอียดในการปฏิบัติตาม เหมือนเราเป็นลูกบ้านในหมู่บ้าน ที่ต้องปฏิบัติตามกฎ ซึ่งถ้าพร้อมและรับได้กับข้อบังคับต่างๆของศูนย์การค้า ก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุที่จะตามมาได้ ซึ่งความจริงแล้วกฎระเบียบไม่ได้ยุ่งยากมากอย่างที่คิด เพราะส่วนใหญ่จะเป็นกฎที่เน้นเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลักมากกว่า 2. เจ้าของร้านต้องสำรวจความพร้อมเรื่องเงินลงทุน ว่ามีเงินลงทุนที่พร้อมจะ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ได้เพียงพอหรือไม่ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่จะตามมา เพราะเจ้าของร้านต้องมีเงินลงทุนที่เพียงพอ ในส่วนของงานก่อสร้าง การออกแบบ การจ้างผู้รับเหมา […]

factory coffee

Factory Coffee ผู้พิสูจน์ว่าร้านกาแฟคือธุรกิจที่ยั่งยืน!

ทุกวันนี้ใครๆ ก็อยากเปิดร้านกาแฟ และเชื่อว่าทุกคนคงเปิดได้ (ถ้ามีทุนมากพอ) แต่จะทำอย่างไรให้อยู่รอดได้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง นี่สิปัญหา

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.