ถอดเคล็ดลับ nice two Meat u ทำอย่างไรให้ลูกค้ายอมรอ - Amarin Academy

ถอดเคล็ดลับ nice two Meat u ทำอย่างไรให้ลูกค้ายอมรอ

ภาพลูกค้านั่งรอบนเก้าอี้ตัวเล็กสีส้มบริเวณหน้าร้าน เป็นภาพชินตาที่เรามักจะเห็นจากร้านปิ้งย่างเกาหลี nice two Meat u แทบทุกสาขา เชื่อว่าหลายคนต้องเกิดความสงสัยว่า อะไรที่ทำให้ร้านเป็นที่นิยมจนลูกค้าต้องรอ เป็นแค่กระแสหรือเปล่า แล้วเจ้าของร้านมีวิธีบริหารจัดการอย่างไร เรามีโอกาสได้ไปลองทานและสัมภาษณ์เจ้าของร้าน ซึ่งเป็น 2 สาว อารมณ์ดี  คุณแนท นันทนัช และ คุณเกศ ชุติมา จะมาแชร์เคล็ดลับให้ฟังกัน

 

ถอดเคล็ดลับ ร้านปิ้งย่างเกาหลี nice two Meat u

 

ชูจุดเด่นของแบรนด์ด้วยงานบริการ

nice two Meat u เราเปิดให้บริการมาแล้ว 3 ปี กับสาขาทั้งหมดในปัจจุบัน คือ 6 สาขา เราเลือกที่จะเน้นเรื่องบริการที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นความตั้งใจของเรา ถ้าเข้ามาร้านจะสังเกตได้ว่า พนักงานเราจะมีบริการประกบตามโต๊ะเลย 1 ต่อ 1 บริการปิ้งให้ลูกค้า

เราเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของงานบริการ ที่จะดึงจุดนี้มาเป็นจุดขายตั้งแต่แรกเลย จะเห็นว่าร้านเราพนักงานจะเยอะมาก เริ่มแรกเรายังไม่ได้คิดไปในเชิงการตลาด เราคิดแค่ว่าเราต้องการให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดี และได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดก่อน นั่นคือความตั้งใจของเรา

เราไม่ต้องการลูกค้าขาจรที่มาแล้วจากไป เราต้องการให้ลูกค้ากลับมาอีก ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าเราเป็นลูกค้าประจำ แต่ที่สำคัญเลยงานบริการดีแล้ว คุณภาพวัตถุดิบก็ต้องดี รสชาติต้องดีด้วย ซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน

nice two Meat u

ลบคำสบประมาท ว่าเป็นแค่กระแส

(ไม่ว่าจะกี่สาขา จะต้องเห็นภาพคนไปนั่งรอหน้าร้าน เป็นภาพที่เห็นชินตา)  นั่งรอที่เก้าอี้สีส้มหน้าร้าน เป็น Signature ของเราเหมือนกัน เราเปิดมา 3 ปีแล้ว ทุกสาขาก็ยังเป็นคิวอยู่ ช่วงแรกเลยจะมีคำสบประมาทว่า มันเป็นแค่เทรนด์หรือเปล่า เป็นกระแสอาหารแบบเกาหลีหรือเปล่า เรากั๊กที่เพื่อให้มีคิว พยายามสร้างคิว เพื่อให้เป็นภาพ ซึ่งอยากบอกว่าไม่จริงเลย ไม่ได้เป็นความตั้งใจเลย เราพยายามที่จะลบคำสบประมาทตรงนั้น ด้วยการทำร้านให้มีคุณภาพจริงๆ ประทับใจลูกค้าจริงๆ ซึ่ง ณ วันนี้ยอดยังก็ยังมากขึ้นเรื่อยๆ

 

มีการบริหารจัดการคิวที่รวดเร็ว

เราเน้นงานบริการที่ดี เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ ดังนั้น ร้านเราเลยมีพนักงานเยอะมาก ยิ่งพนักงานเยอะ ก็ยิ่งจัดการได้เร็ว เราเลือกที่จะใช้พนักงานจำนวนมาก เพื่อให้บริการลูกค้าได้เต็มที่ เข้าถึงได้รวดเร็ว บริการทั่วถึง เราเทิร์นโต๊ะเร็วมาก เพราะกลัวลูกค้าไม่รอ พอลูกค้าลุกจากโต๊ะ จะมีพนักงาน 5-7 คน รีบมาเคลียร์ทันที เพื่อให้ลูกค้าได้เข้ามาเร็วที่สุด ลูกค้าที่รอเพราะเป็นลูกค้าที่เคยมาทานที่ร้าน แล้วประทับใจกับคุณภาพและบริการของเรา ทำให้เขาเลือกที่จะรอได้

 

ไม่เคยมองคู่แข่ง เป็นอุปสรรค

เราไม่ได้อยากแข่งกับคนอื่น สิ่งที่เราคิดคือ เราแข่งกับตัวเองทุกวัน เราพัฒนาตัวเองทุกวัน เราไม่ได้มองว่าตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี ปัญหาอื่นๆ ทำให้ยอดขายของเราลดลง เรากลับมามองที่ตัวเองก่อนว่า เราทำอะไรผิดไปไหม มีอะไรที่ไม่โอเคหรือเปล่า มีอะไรที่เราควรปรับปรุงเพื่อให้ลูกค้าเข้าร้านมากขึ้น เราจะบอกกันเสมอว่า เราไม่ต้องไปดูใคร เราไม่ต้องไปแข่งกับใคร เพราะทุกๆร้านอร่อย และมีจุดแข็งของตัวเองทั้งนั้น ซึ่งอยู่ที่ความชอบของลูกค้าว่าจะชอบแบบไหนมากกว่า อย่างร้านเราลูกค้าจะชอบรสจัด แซ่บ เข้มข้น ดูว่ารสชาติอาหารแบบไหนที่จะจับกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุดแล้วก็พยายามพัฒนาให้ดีที่สุด แข่งกับตัวเองให้มากที่สุด

nice two Meat u

พัฒนาบุคลากรในร้าน

อย่างที่บอกว่า เราเน้นงานบริการที่ดี ดังนั้น พนักงานของเราก็ต้องได้รับการเทรนด์มาอย่างดีด้วย พนักงานเราเยอะมาก ก็ต้องเทรนด์เยอะ เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพในการบริการเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกสาขา ตอนนี้เราก็กำลังสร้าง Training Center อยู่ เทรนด์ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนส่งไปประจำตามสาขา

 

Key success

3 สิ่งหลักๆเลย คือ รสชาติ คุณภาพ และบริการ สำหรับ nice two Meat u  3 สิ่งนี้ต้องแข็งแรงมาก

ตัวเราเอง ยังไม่คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จ มันแค่จุดเริ่มต้น แต่สิ่งที่เรากำลังพยายามทำในวันนี้ก็เพื่ออยากจะประสบความสำเร็จในวันหน้า ขอให้ตั้งใจ รักในสิ่งที่ทำ ทุ่มเทแบบล้านเปอร์เซ็นต์ในจุดที่เราทำได้ และไม่ปล่อยแม้แต่จุดเดียว

nice two Meat u

nice two Meat u
คุณแนท นันทนัช และ คุณเกศ ชุติมา เจ้าของร้าน nice two Meat u

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ถอดบทเรียน “ หม้อเบ้อเร่อ “ พลิกวิกฤติร้านเกือบเจ๊ง ให้กลับมาอยู่รอดอีกครั้ง

เพราะกล้าที่จะเปลี่ยน สูตรความสำเร็จของเชฟกิ๊ก ทายาทรุ่นที่ 3 ร้าน เลิศทิพย์

กรณีศึกษา Copper Buffet รับมือกับปัญหาที่ไม่คาดคิดอย่างไร ให้ชนะใจลูกค้า

MAJI Curry ข้าวแกงกะหรีี่จากญี่ปุ่น ดึงจุดแข็งดีกรีแชมป์เรียกลูกค้าคนไทย

เรื่องแนะนำ

โอยั๊วะ

โอยั๊วะ การเดินทางกว่า 20 ปี กับ บทเรียนที่หาซื้อไม่ได้

ถ้าใครเคยผ่านไปย่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ถนนเกษตร-งามวงศ์วาน อาจจะเคยมีโอกาสได้เห็น หรือเคยไปทานร้านอาหารร้านหนึ่งที่ชื่อว่า โอยั๊วะ ร้านอาหารชื่อดังที่มีมานานกว่า 20 ปี แต่การเดินทางของโอยั๊วะ กว่าจะมาถึงวันนี้นั้น ผ่านเรื่องราวมามากมาย กว่าที่จะหาความเป็นตัวตนได้ และต้องเจอกับบทเรียนอะไรบ้าง เรามาฟังจากคุณกุ้ง ทสานุช ไทกุล เจ้าของร้านโอยั๊วะ กันครับ   การเดินทางกว่า 20 ปี ของธุรกิจร้านอาหาร โอยั๊วะ จุดเริ่มต้นของร้าน โอยั๊วะ ชื่อโอยั๊วะ จริงๆแล้วมีมานาน 20 กว่าปีแล้วค่ะ เริ่มจากร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เล็กๆ ที่ อตก. เป็นแค่ห้องแถวห้องเดียว ทำมาได้ระยะหนึ่ง พอร้านเริ่มไม่เป็นที่นิยมแล้ว ร้านก็ปิดตัวลง แต่แฟนของพี่เป็นคนรักการทำร้านอาหาร ก็เลยคิดว่าเรามาลองเปิดร้านอาหารกันไหม ก็เลยยังเอาชื่อโอยั๊วะคงไว้เหมือนเดิม แต่มาเปิดเป็นร้านอาหารแถวเมเจอร์รัชโยธิน เรียกว่าเป็นร้านอาหารรุ่นแรกๆที่มีความเป็นสวนด้วย ก็จะแปลกจากที่อื่นทำให้ลูกค้าชอบ   ทำไมต้องชื่อโอยั๊วะ จริงๆ ไม่มีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษเลย แค่ช่วงวัยรุ่นยุคพี่ ก็จะคุ้นกับคำว่า โอยั๊วะ คือ กาแฟดำ คิดว่ามันเป็นชื่อติดหู ชื่อมันก็ทำให้ร้านเราดูกันเอง เข้าถึงง่าย […]

Phoenix lava

Phoenix Lava เผยวิธีบริหาร 4 ช่วงธุรกิจ เริ่ม รุ่ง ร่วง จนสำเร็จ!

Phoenix Lava แบรนด์ซาลาเปาไซส์ SME ที่สร้างความแตกต่างด้วยกลยุทธ์ “กฎ 10 เท่า”  ทำให้ธุรกิจที่เคยถูกมองว่ากำลังจะ “ตกกระแส” กลายเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

Food safety culture

Food safety culture มาตรฐานใหม่ของธุรกิจอาหาร by สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่

        ความสะอาดของอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านอาหารทุกคนต้องใส่ใจ แต่ Food safety culture หรือวัฒนธรรมความปลอดภัยของธุรกิจอาหารนี้ จะมีวิธีสร้างขึ้นได้อย่างไร และจะมีประโยชน์แค่ไหน คุณจันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ Food safety culture ทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจอาหาร         Foodssafety culture: ก่อนและหลังวิกฤตไวรัส         Foodssafety culture เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ก่อนที่จะมีวิกฤต COVID-19 อาจารย์มองว่าเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารยังเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจน ในภาคฝั่งรัฐบาลเริ่มมีการพัฒนากฎหมายรองรับ ออกเป็นกฎกระทรวงในปี 2561 เกี่ยวกับเรื่องของสุขลักษณะในการให้บริการอาหารออกมา แต่ในด้านของผู้ประกอบการอย่างแท้จริงแล้ว พฤติกรรมของคนทั่วไปค่อนข้างจะยังละเลย ยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก          แต่ธุรกิจที่ให้ความสำคัญมากๆ น่าจะเป็นกลุ่มของธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Food chain) ซึ่งมีบริษัทแม่ที่มีนโยบายชัดเจน หรือว่ากลุ่มของโรงแรมห้าดาว […]

Creamery

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

Creamery boutique ice creams ร้านไอศกรีมโฮมเมด และคุกกี้ลาวา เป็นอีกหนึ่งร้าน ที่เจ้าของเริ่มต้นเปิดร้านจากความรักและความชื่นชอบในการทำขนมมากๆ และกล้าพูดได้ว่าเป็นร้านแรกๆ ที่เริ่มคิดค้นเมนูลาวาจากไข่เค็ม ที่ยังคงเป็นเมนูยอดฮิตจนถึงทุกวันนี้ คุณชมพูนุช จอมสง่าวงษ์ เจ้าของร้านจะมาเผยถึงวิธีคิดเมนูให้เป็นจุดเด่นของร้าน รวมถึงความท้าทายที่ร้านต้องเจอ เมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป จะมีวิธีอย่างไร มาดูกันครับ   Creamery boutique ice creams ร้านที่เริ่มต้นจากความรักในการทำขนม ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว เดิมเราทำงานประจำอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทำขนมอยู่ที่นั่น เราชอบทำขนมอยู่แล้ว เลยอยากเปิดร้านขนมทำเป็นงานเสริมก่อน ก็เลยเปิดร้าน Creamery boutique ice creams สาขาแรกแถวสามย่าน ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเคยไปกินร้านที่สเปน แล้วชอบช็อกโกแลตที่นั่นมาก อยากกินอีก เลยคิดว่าทำเองดีกว่า เลยลองทำช็อกโกแลตมาใส่คุกกี้ สินค้าตัวแรกของร้านเลยออกมาเป็นช็อกโกแลตลาวา ตัวนี้ทำให้เราเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น เพราะความแปลกใหม่ ที่ยังไม่มีใครทำคุกกี้ที่เป็นลาวา รวมถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเห็นเมนูเรามากขึ้น พอเอาไอศกรีมมาวางบนคุกกี้ ลาวาในคุกกี้ก็จะไหลออกมา ลูกค้าก็ว๊าวมาก คนก็ถ่ายแล้วแชร์ ซึ่งเราคิดว่า เราจับเทรนด์นี้ได้ทันพอดี คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.