เผยเคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่” - Amarin Academy

เผยเคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่”


ร้านเบเกอรี่ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสเช่นกัน เพราะจะไม่ใช่อาหารมื้อหลักที่ผู้บริโภคจะซื้อทุกวัน รวมถึงวัตถุดิบที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ในบทความนี้ อาจารย์จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา จากสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ ร้านเบเกอรี่ต้นแบบที่มี “ทอฟฟี่เค้ก” ในตำนาน และมีกลุ่มลูกค้าเป็นธุรกิจจัดเลี้ยง 
จะมาแนะนำเคล็ดลับการจัดการวัตถุดิบ และการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf Life Extension) ที่ผู้ประกอบการควรรู้ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเบเกอรี่ เพื่อลดการสูญเสียต้นทุนจากสินค้าที่หมดอายุ 

เคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่
จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่”

ร้านเบเกอรี่วิธีถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการขาย หรือลด waste จากสินค้าที่หมดอายุ
        โดยปกติสินค้าเบเกอรี่ที่เราวางจำหน่ายก็จะมีการหาอายุการเก็บรักษาอยู่แล้ว ในช่วงนี้ทางบริษัทที่อาจารย์ส่งสินค้าด้วยก็จะสั่งเป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น ถ้าเป็นเบเกอรี่ก็จะเลือกเป็นเบเกอรี่ที่มีค่า Water Activity (aw) หรือค่าความชื้นในสินค้าต่ำ โดยอาจจะเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้อายุการเก็บรักษานานขึ้น หรือใส่ซองดูดออกซิเจน (Oxygen absorber) เพื่อช่วยป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ และไม่ให้เบเกอรี่มีกลิ่นเหม็นหืน

        นอกจากนี้ ในส่วนของการเก็บรักษาวัตถุดิบบางชนิด เช่น ธัญพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียเพราะจุลินทรีย์ แต่เสียเพราะเหม็นหืนได้ง่าย เราอาจจะต้องหาอุปกรณ์มาช่วย เช่น การแพ็คสุญญากาศ (Vacuum packaging) ก็จะช่วยยืดอายุของวัตถุดิบ หรือแม้แต่สินค้าเองให้อยู่ได้นานขึ้น และก็มีการทดลองสินค้าหลายๆ ประการ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีอายุการเก็บรักษายาวขึ้น

        และอาจารย์เองก็สรุปไว้ให้ว่า สินค้าที่จะขายหน้าร้าน ถ้าเป็นอาหารสดอยากให้เน้นเรื่องความสะอาดก่อน เพราะถ้าห้องครัวที่ผลิตอาหาร และขั้นตอนการบรรจุสะอาด ก็จะช่วยยืดอายุอาหารได้ระดับหนึ่งแล้ว และอาจจะต้องเน้นการแช่สินค้าไว้ในตู้เย็น เพื่อให้สินค้าเมื่อถึงมือลูกค้าแล้วยังอยู่ได้นานต่อไปอีกหน่อย แต่ถ้าเราเอาอาหารสดมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ก็จะทำให้หมดอายุเร็วขึ้นจริงๆ เรื่องที่สองคือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ใช้บรรจุภัณฑ์ปิดสนิท มีตัวซองที่ช่วยดูดออกซิเจน ทำให้สินค้าหมดอายุได้ช้าลง

ร้านเบเกอรี่ เทคนิคการจัดการวัตถุดิบเบเกอรี่ และวัตถุดิบอื่นๆ

  • วัตถุดิบหลักในการทำเบเกอรี่ อย่างเช่น ไข่สด ที่ร้านจะเน้นการสั่งแบบวันเว้นวัน หรือ Just-in-Time ซึ่งเป็นการสั่งวัตถุดิบในจำนวนที่เหมาะสมและส่งในเวลาที่จำเป็นต้องใช้พอดี หรือถ้ากรณีที่มีปริมาณไข่ไม่มากนัก ก็สามารถนำไข่ไปแช่ตู้เย็นเพื่อยืดอายุได้แน่นอน 
  • สำหรับวัตถุดิบประเภทแป้ง จากประสบการณ์แล้วจะต้องเปิดถุงดูก่อน เพื่อตรวจสอบดูคุณภาพของแป้งที่ได้มาว่าเป็นแป้งใหม่จริง ไม่เก่า เราจึงจะนำไปใช้ และจะจัดซื้อเป็นรอบๆ ในปริมาณที่พอสมควร ไม่มากจนเกินไป หากไม่มีระบุวันที่ผลิตก็ต้องก็ควรจะบันทึกวันที่ติดไว้ เพื่อจัดเก็บและนำวัตถุดิบมาใช้แบบ First In First Out 
  • กรณีของวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เราจะมีการแบ่งเป็นถุงๆ สำหรับหยิบใช้งานได้ง่าย หรือแม้แต่พวกผัก ส่วนใหญ่ก็จะเตรียมไว้ก่อน โดยนำมาล้างน้ำ ผึ่งและซับให้แห้ง ผักบางชนิดถ้าล้างแล้วใบจะช้ำ เราก็จะยังไม่ล้าง แต่เลือกส่วนที่เน่าเสียทิ้งไปก่อน อย่างพริก เราจะเด็ดหางแล้วล้างน้ำ หลายคนอาจจะนึกว่าล้างไม่ได้แต่จริงๆ อาจารย์ล้างนะคะ ซับให้แห้งแล้วก็เอาทิชชู่รองไว้ที่กล่อง เอาทิชชู่ปิดทับอีกสักชั้น ปิดฝาเก็บได้นานเลย  
  • พวกเครื่องเทศ เมื่อซื้อมาก็แบ่งบรรจุให้เป็นถุงในปริมาณที่พอใช้งาน ยิ่งถ้ามีถุงสุญญากาศ (Vacuum pack) ยิ่งดีเลย จะช่วยรักษากลิ่นของเครื่องเทศ และทำให้เก็บไว้นานก็ยังรู้สึกใหม่อยู่เสมอ อย่าลืมใส่วันที่ให้เรียบร้อย ถ้าตัดถุงมาใช้ก็ต้องระบุวันที่เปิดใช้ และจะใช้ไปนานแค่ไหน ไม่ใช่ใช้ไปจนครบหนึ่งปีตามวันหมดอายุบนซอง เพราะเมื่อเปิดใช้แล้วอายุของเครื่องเทศก็จะลดลง และบางทีจากที่เป็นผงก็จะจับตัวเป็นก้อน ข้อแนะนำของอาจารย์คือ ถ้าตัดถุงใช้แล้วอยากจะให้ใช้หมดภายในหนึ่งเดือน เพื่อไม่ให้คุณภาพของวัตถุดิบลดลง และลด waste ที่เกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ดี

ร้านเบเกอรี่
เมื่อไหร่จะต้องหาวิธียืดอายุสินค้า? 

        แนวโน้มสินค้าว่าต้องการยืดอายุหรือไม่ขึ้นอยู่กับลูกค้า เพราะเดิมเบเกอรี่ส่วนใหญ่ที่เป็นรายได้หลักของเราเป็นเบเกอรี่สด แต่ในช่วงนี้ลูกค้าเกือบทุกรายที่ซื้อสินค้าของเราไปขายต่อ โดยเฉพาะร้านกาแฟ ต้องการสินค้าประเภทที่ยืดอายุนะคะ ก็คือเป็นพวกขนมปังกรอบ คุกกี้ ขนมปังชุบช็อกโกแลต และขนมที่ไม่เสียไว มีอายุการเก็บรักษาประมาณ 3 เดือน และในสถานการณ์โควิดที่ลูกค้าออกมาซื้อสินค้ายาก สินค้าที่ยืดอายุได้เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้า 

        แต่ไม่ใช่ว่าเบเกอรี่สดไม่มีตลาดเลยนะคะ เพราะความอร่อยของเบเกอรี่ทำสดใหม่ ทอฟฟี่เค้กนุ่มๆ ชุ่มฉ่ำ ก็ยังเป็นที่ต้องการของลูกค้า และสามารถสั่งซื้อผ่านทางเดลิเวอรีค่ะ แค่การเพิ่มสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษานานมาเป็นทางเลือก และลูกค้าเองก็อยากให้เราหาวิธียืดอายุทอฟฟี่เค้กให้นานขึ้น เพื่อจะส่งไปขายไกลๆ ได้ 

        สรุปคือขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด แต่ละผู้ประกอบการจะมีจุดเด่นของตัวเอง ถ้าหากว่ายืดอายุสินค้าให้ส่งไปขายได้ไกลขึ้น อยู่ได้นานขึ้นได้ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจ และเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ได้ค่ะ 

เรื่องแนะนำ

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ” อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น . 1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ” . 2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น “ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย” “รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก” 3- ในขณะที่คนอื่น ๆ […]

โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ

โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ ฟาสต์ฟู้ดแบบไทยๆ ที่มีลูกค้าต่อคิวไม่ขาดสายมาตลอด 30 ปี! (1)

เพราะอะไร โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ ร้านที่ไม่มีที่จอดรถ ไม่มีแอร์ จึงมีลูกค้าเข้าร้านเฉลี่ยถึงวันละ 2,500 คน! เคล็ดลับความสำเร็จของเขาคืออะไร ไปติดตามกัน

Cafe

ขายทั้งกาแฟและเมล็ด Roasted Coffee คาเฟ่ โมเดล “ทำของกินให้เล่นได้”

ขายทั้งกาแฟและเมล็ด Roasted Coffee คาเฟ่ โมเดล “ทำของกินให้เล่นได้” ร้าน Nap’s coffee x rama 2 ผู้ที่ลงมือทำทุกโอกาส ก่อนที่ใครจะมองเห็น . ในยุคที่ใครก็อยากเปิดร้านกาแฟ หรือที่เรียก ๆ กันว่าคาเฟ่ ทำให้เราสามารถเห็นร้านกาแฟได้ทุก ๆ มุมถนน แต่ละร้านก็ต่างพยายามหาจุดเด่นเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ ตั้งแต่ร้านเล็ก ๆ ไปจนถึงร้านที่มีโรงคั่วเป็นของตัวเองจริงจัง ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นจุดขายที่สามารถดึงดูดผู้ที่หลงใหลในการเสพกาแฟให้มาลิ้มลองเพราะต้องการความรู้สึกพิเศษที่มากกว่าการไปร้านกาแฟทั่ว ๆ ไป . สำหรับใครที่กำลังสนใจการขายเมล็ดกาแฟ ลองมาดูประสบการณ์การขายกาแฟไปพร้อม ๆ กับเมล็ดกาแฟ จากเจ้าของคาเฟ่ตัวจริง! คุณนฤพล วงษ์สุข เจ้าของร้าน Nap’s coffee x rama 2 เพื่อช่วยในการตัดสินใจทำธุรกิจของคุณ! .ความต้องการทำให้เกิดโอกาส: เราเปิดร้านกาแฟไปพร้อม ๆ กับการขายเมล็ดกาแฟ เพราะมองว่ามันสามารถทำไปพร้อมกันได้ แต่ถ้าทำคนเดียวก็จะหนักหน่อย เพราะต้องทำงานหน้าร้าน ต้องคุยกับลูกค้า ต้องทำสินค้าแปรรูปให้กับลูกค้าด้วย อีกทั้งต้องผลิตสินค้าที่ลูกค้าอยากจะได้ในแต่ละฟังก์ชั่น สมมติลูกค้าบอกว่าอยากกินกาแฟแบบนี้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.