5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร - Amarin academy

5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร

ทุกวันนี้ธุรกิจอาหารกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมากเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง แม้แต่ร้านอาหารแบรนด์ดังยังต้องออกโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ฉีกแนวเดิมออกมาในตลาดอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะทำอะไรเดิมๆ ธุรกิจก็คงอยู่ได้ไม่ยาว ลองศึกษา 5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เพิ่มช่องทางหารายได้ ที่ปรับใช้ได้ทั้งเจ้าของร้านอาหาร และคนที่ต้องการเริ่มธุรกิจใหม่


5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก
เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร

 

  1. Ghost Kitchen และ Cloud Kitchen

Ghost Kitchen และ Cloud Kitchen เป็นโมเดลการทำธุรกิจอาหารที่นิยมมากในยุคนี้ โดยจะรับออเดอร์อาหารทางออนไลน์ จัดทำอาหารในครัวของร้าน แล้วจึงจัดส่งอาหารเดลิเวอรีผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ถือเป็นโมเดลธุรกิจที่มีความ lean สูงจากการลดต้นทุนค่าเช่าร้าน ค่าพนักงานบางส่วน หรือค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร เรียกได้ว่าดำเนินธุรกิจด้วยการลงทุนที่ต่ำกว่าการเปิดหน้าร้านมาก จึงช่วยลดความเสี่ยงหรือความสูญเสียในธุรกิจได้ 

ปัจจุบันร้านหลายๆ แบรนด์ก็แชร์ครัวกลางร่วมกันเพื่อลดต้นทุน และช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียว ข้อดีที่ชัดเจนของโมเดลนี้คือ ประหยัดต้นทุนหลายด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการเข้าถึงผู้บริโภค และอาหารที่ต้องส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีรสชาติหรือหน้าตาสู้อาหารแบบนั่งทานที่ร้านไม่ได้   

 ร้านอาหารทางเลือก

  1. Meal Kits 

จากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในยุคนี้ ทำให้ การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในเซตจะมีส่วนผสมให้พร้อมกับขั้นตอนวิธีการทำอาหาร จัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน ประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกแก่มือใหม่ โดยเฉพาะในเมนูที่เป็นอาหารนานาชาติ เช่น เมนูอาหารเกาหลี ที่ใช้วัตถุดิบที่ไม่คุ้นเคยนัก หรือแม้แต่ชาบู-หมูกะทะ ก็จัดขายเป็นเซ็ตสำหรับไปทำทานเองที่บ้านกันแทบทุกร้านแล้ว

จุดเด่นของการขายแบบนี้ คือสามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆ ได้มาก จัดส่งเดลิเวอรีได้ไม่ต้องขายแค่ทางหน้าร้าน ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น แต่ข้อจำกัดคือส่วนผสมต่างๆ ต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้สูตรอาหารออกมารสชาติอร่อยคงที่ ซึ่งไม่เหมาะกับเมนูที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำ หรืออาหารที่มีความซับซ้อนและใช้เวลามากจนเกินไป 

  1. Kiosk

 คีออส (Kiosk) คือ ร้านค้าขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นซุ้ม หรือเคาน์เตอร์ขายอาหาร สามารถอยู่ได้ทั้งในห้างและนอกห้าง โมเดลประเภทนี้เหมาะกับการขายอาหารที่มีขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อนนัก เนื่องจากมีพื้นที่ทำครัวจำกัด เช่น อาหารทานเล่น ขนม ฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทปิ้งย่าง หรือกาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ 

จุดเด่นของโมเดลนี้คือเริ่มต้นง่าย เป็นโอกาสเริ่มต้นธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยโดยที่ไม่ต้องมีเงินลงทุนสูงมากนัก และยังสามารถขนย้ายได้สะดวก ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อโมเดลนี้ คือการออกแบบที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ รวมถึงการบริการที่รวดเร็วจะทำให้ลูกค้ากลุ่มวัยทำงานมาใช้บริการมากขึ้น แต่ข้อจำกัดคือทำเลของร้านจะต้องตั้งอยู่ในที่สาธารณะ หรือละแวกชุมชนที่มีลูกค้าเดินผ่านพลุกพล่าน ซึ่งจะมีการแข่งขันระหว่างร้านอาหารสูง

Food Truck

  1. Food Truck

การดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ ยกระดับอาหารแนว Street food ให้ดูแตกต่าง มีสไตล์ที่ชัดเจน และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่นิยมการขายเบอร์เกอร์ หรืออาหารที่วิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นปริมาณการขาย

จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีความโดดเด่นของรถและกลิ่นหอมของอาหารจากครัวแบบเปิด ซึ่งก็จะเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนสามารถพัฒนาต่อไปเป็นธุรกิจร้านอาหารหลายๆ สาขาได้ในโอกาสที่เหมาะสม แต่ข้อจำกัดสำหรับบางร้านที่ขายในงานอีเว้นท์ต่างๆ เป็นหลัก จะทำให้บริหารจัดการยากขึ้น

Meal Box

  1. Meal Box

การขายอาหารกล่องจากครัวกลาง เพื่อกระจายไปขายในจุดต่างๆ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายๆ ร้าน หรือแม้แต่โรงแรมต่างๆ เลือกที่จะปรับตัวสู้กับภาวะเศรษฐกิจ โดยอาจจะแบ่งเป็นการขายปลีกเอง หรือทำขายส่งตามร้านต่างๆ  จุดเด่นของโมเดลนี้คือการลดต้นทุนของวัตถุดิบได้จากการซื้อในปริมาณมาก ลดภาระในการขายและการตลาด เข้าถึงลูกค้าได้กว้างมากขึ้น แต่แน่นอนว่ากำไรจะน้อยลงจากการแบ่งเปอร์เซนต์การขายให้กับร้านอื่นๆ 


ซึ่งโมเดลทั้ง 5 แบบนี้ เป็นเหมือนทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มธุรกิจอาหาร หรือสำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากขยายโมเดลของร้าน ให้มีรายได้หลายช่องทางมากขึ้น กระจายความเสี่ยงแก่ธุรกิจ และเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าหลาย ๆ กลุ่ม เพราะความท้าทายของธุรกิจอาหารยังคงมีอยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นทักษะที่ผู้ประกอบการทุกคนควรมี เพื่อปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่อไป 

เรื่องแนะนำ

7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน!

ตั้งชื่อร้าน ว่าอะไรดี ? เชื่อว่าผู้ที่กำลังจะเปิดร้านอาหารหลาย ๆ คน ต้องมีคำถามนี้เกิดขึ้นในหัว คุณอาจจะมีชื่อที่ชอบอยู่ในใจอยากนำมาตั้งชื่อร้านอาหารในฝัน หรือยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งชื่อร้านของคุณว่าอะไรดี ลองใช้เทคนิคการตั้งชื่อเหล่านี้เป็นตัวช่วย   7 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้าน โดนใจ..ขายอะไรก็โดน! 1. จำง่าย อ่านง่าย           ถ้าลูกค้าเห็นร้านคุณครั้งแรกว่าเป็นร้านที่อยู่ในโลเคชั่นที่เดินทางผ่าน  แต่แล้วพอจะไปกินกลับจำชื่อร้านไม่ได้ จะเสิร์ชหาข้อมูลเพื่อไปกินที่ร้านก็ไม่ถูก เพราะชื่อจำยาก ทำให้คุณเสียโอกาสที่คุณจะขายลูกค้าคนนั้นไปเลยก็ได้  ชื่อที่จำง่าย สะกดง่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเทคนิคอันดับแรก ๆ ของการตั้งชื่อร้านที่คุณต้องคำนึงถึง  รวมถึงยังส่งผลดีต่อการออกแบบโลโก้ร้าน หรือทำการตลาดในช่องทางต่าง ๆอีกด้วย  การใช้คำที่อ่านง่าย ที่สามารถใส่เรื่องราวให้กับชื่อร้าน ก็เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เช่น ร้านขนมหวาน After You ตั้งชื่อจากโลเคชั่นแรกของร้านที่เปิดอยู่บนร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อยู สิ่งที่ควรระวังก็คือ หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ก่อให้เกิดความสับสน และคำที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ร้านของคุณในด้านลบ   2. บอกรูปแบบของร้านชัดเจน หรือรู้ทันทีว่าขายอะไร การตั้งชื่อร้านที่สามารถบอกได้ทันทีว่าขายอะไร มีข้อดีนอกจากช่วยให้จดจำได้ ทำการตลาดง่ายแล้ว ยังสามารถสื่อถึงจุดขายของร้านของคุณไม่ว่าจะเป็น รสชาติ หรือคุณภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจมากินร้านของคุณได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มสโลแกนเข้าไปท้ายชื่อ […]

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี ทุกวันนี้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับอาหารการกินในทุก ๆ ทาง นี่จึงเป็นเหตุผลชวนให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจสุขลักษณะในการประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ลองเปลี่ยนมาใช้ สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ กัน! . สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ (Food Rotation Labels หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Daydot) คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดระบบวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยในสติกเกอร์จะมีหัวข้อให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบนั้น ๆ เช่น วัตถุดิบคืออะไร ผลิตวันไหน หมดอายุเมื่อไหร่ และใครเป็นคนเปิดใช้ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ในการบริโภค ตัวอย่างข้อมูลที่ควรมีบนสติกเกอร์ติดอาหาร: 1.ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น คืออะไร 2.การจัดเก็บ (Type) : มีการจัดเก็บแบบไหน เช่น แช่แข็ง (Frozen) แช่เย็น (Chiller) หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง (Ambient) 3.วันที่ผลิต (Product Date) 4.เวลาผลิต (Production Time) 5.วันที่หมดอายุ (Expiry Date) […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.