แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก "เสียหน้า" เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า”
เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

แชร์ประสบการณ์โดยสมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ”
พร้อมรวมคำแนะนำต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

แอดได้ไปเจอ Topic หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” แล้วเห็นว่าน่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือเรื่อง ความเข้าใจของลูกค้า กับคนขายกาแฟ ที่บางครั้งอาจจะต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด นำไปสู่การทำเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แบบที่ลูกค้าสั่ง หรือไม่ตรงกับที่ลูกค้าอยากได้ แต่เจ้าของร้านจะสื่อสารอย่างไร ไม่ให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” ล่ะ ?

ซึ่งสำหรับปัญหาความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟที่บางครั้งอาจจะต่างกันนั้น ได้มีผู้ประกอบการร้านกาแฟท่านหนึ่งได้มาแสดงความคิดเห็นเชิงแนะนำได้อย่างน่าสนใจว่า

“ความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟมักจะต่างกัน แต่หากลูกค้าเอื้อนเอ่ยออเดอร์ใด ที่เราคิดว่าชื่อไม่ถูก เราแค่ทวนออเดอร์และส่วนผสมก็พอ อย่าทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียหน้า ลูกค้าบางท่านอาจจำชื่อมาแค่นั้น หรือไม่ได้เข้าร้านกาแฟบ่อยๆ และเขาไม่ต้องการให้เราสอนเขา

1.ถ้าลูกค้าสั่งเครื่องดื่มไม่หวาน เราแค่ทวนว่าไม่หวานเลยหรือใส่นิดหน่อย
2.ถ้าลูกค้าสั่งเอสเพรสโซ่ร้อนใส่น้ำเยอะ ๆ ถ้าเขาไม่ได้เรียกอเมริกาโน่ ก็ไม่เป็นไร ทำให้เขานะ มันเหมือนกัน
3.คาปูชิโน่ไม่ใส่ฟองนม ไม่ใส่ช็อคโกเลต ก็แค่ตอบว่า ค่ะ แล้วถามว่า “หวานปกติไหมคะ”

ตอนวัยรุ่นเคยสั่งชาเขียวปั่นร้านหนึ่ง เขาบอกไม่มีค่ะ มีแต่ frappe เราก็ไม่รู้จัก ลูกค้าต่อคิวก็เยอะ แต่ความรู้สึกตอนนั้นคือกลัวการเข้าร้านกาแฟแบรนด์นี้ไปเลย ดังนั้น การทวนออเดอร์ลูกค้าและส่วนผสม สำคัญมากค่ะ อย่าทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียหน้า”
.
ด้วยความที่โพสต์นี้ได้แสดงถึงความเข้าอกเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง จึงทำให้มีทั้งผู้ประกอบการร้านกาแฟ และลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความชื่นชมในทัศนคติของผู้ประกอบการรายนี้

🔸ความเห็นจากคนทำร้านกาแฟ☕️

1- “ขอตอบในฐานะแม่ค้า ถ้าทำหน้าไม่เป็นให้ยิ้มค่ะ แล้วถามลูกค้า หรือทวนออร์เดอร์ ลูกค้าน่ารักใจดีมีเยอะค่ะ และขอตอบในฐานะลูกค้า ไม่เคยรำคาญเวลาแม่ค้าถามย้ำหรือทวนออเดอร์กันพลาดนะคะ ยอมรับว่าบางทีตัวเราสั่งผิดเองก็มีค่ะ เพราะฉะนั้นการสื่อสารที่มากขึ้นอีกนิดนึงด้วยไมตรีมันดีขึ้นเสมอค่ะ ถ้าแม่ค้าทำเหมือนลูกค้าเป็นตัวตลก หายนะเกิดแน่นอน เพราะไม่ใช่จะเสียลูกค้าไปแค่คนเดียว แต่คำว่าปากต่อปากมันอันตรายค่ะ ร้านนั้นอาจจะเสียลูกค้าไปอีกสิบอีกร้อยคนได้ค่ะ”

2- “แม่ค้ายังทำเมนูยังไม่ถูกและรสชาติก็ไม่เหมือนกัน ลูกค้าบางคนก็นานๆ สั่งกิน เรียกผิดเรียกถูก พูดคุยกันดีๆ ทั้ง 2 ฝ่ายจะน่ารักกว่ามาพูดให้ลูกค้าไม่สบายใจ บางคนกลัวไม่อยากเข้าร้านกลัวสั่งผิดแล้วเจอแม่ค้าที่คอยแต่จะเอาเรื่องก็มี”

3- “ลูกค้าบางคนไม่ค่อยได้กินกาแฟสด ไม่รู้จักชื่อเมนู มาถึงก็เอากาแฟเย็นแก้วนึง เราก็แค่ถามว่ากินแบบเข้ม-กลาง-หรือว่าอ่อนคะ หวานปกติไหม แค่นั้นเองเราไม่งงลูกค้าก็เข้าใจง่ายอย่าไปโชว์ภูมิเหนือลูกค้าเลย ยิ่งอยู่แหล่งคนท้องถิ่นเยอะ อย่าคิดไปเองว่าเขาจะรู้เมนูเราเนอะ เราก็ไม่รู้เมนู แบรนด์ดังๆ เขาหรอก”

4- “ถ้ามีลูกค้ามาซื้อละบอกว่า เอากาแฟเย็นแก้วนึง เราจะไม่ถามว่ารับเป็นเมนูอะไรดีครับ แต่เราจะถามว่า ปกติลูกค้าทานกาแฟดำหรือกาแฟนม ถ้าลูกค้าบอกว่าทานแบบใด เราก็จะบอกชื่อเมนูและส่วนผสม ให้ลูกค้าได้เลือกครับ เพราะอย่างที่บอก มันจะเป็นการทำให้ลูกค้าเสียความมั่นใจ”

🔸ความเห็นจากลูกค้า🗣

5- “ถึงจะเป็นคนดื่มกาแฟประจำ สั่งแต่เมนูเดิมๆ แต่แต่ละร้านทำไม่เหมือนกันก็มีนะ หรือบางทีสั่งหวานน้อย ร้านบอกว่าปกติไม่ใส่หวานค่ะ แล้วทำหน้าเหยียดนิดๆ บางร้านก็บอกดีๆ ว่าปกติร้านไม่ใส่หวานเลย จะให้ใส่นิดนึงไหมคะ ความรู้สึกลูกค้ามันต่างกันนะ”

6- “ในฐานะลูกค้าที่กินชาไทยทุกวัน แต่วนกินหลายร้าน ไปเที่ยวต่างจังหวัด ก็แวะซื้อตลอด ยังเกร็งๆ เวลาสั่งเลยค่ะ ไปบอกเอาชานม บางร้านก็งง ไปบอกชาไทย บางร้านก็ทวนออเดอร์ว่า ชานมไหมคะ? ทำเอากล้าๆ กลัวๆ เวลาไปซื้อร้านที่ไม่เคยซื้อ ถ้าเจอคนขายที่เข้าใจลูกค้าแบบนี้ เราก็ไม่เกร็งเวลาเข้าร้าน”

7- “บางครั้งเราก็สั่งผิดจริงๆ แต่แม่ค้าใจดี สอนเราว่าอันนั้นเรียกว่าอะไรๆ เราก็ขอบคุณไป เพราะเขาไม่ทำให้เสียหน้าค่ะ เลยกลายเป็นเจ้าประจำของเราเลย”

8- “ในฐานะลูกค้า พ่อชอบกินกาแฟเราอยากให้กินกาแฟสดหอมๆ อร่อยๆ พ่อบอก พ่อสั่งไม่เป็น เคยเจอพนักงานชักสีหน้าใส่ ทวนเมนูไม่อะไรเยอะไปหมด พ่อเลยไม่กล้าซื้อกินอีกเลย แกก็กินแต่กาแฟชงรถเข็นของแกเช่นเดิม”

9- “เวลาเราสั่งกาแฟ เราไม่กินหวานเลย และเราก็ไม่รู้ว่าแต่ละร้านเค้าทำลาเต้ใส่หวานไหม ก็จะย้ำบอกเขาไปเผื่อๆ จะได้ไม่เสียเวลาทั้งคู่ บางร้านก็พูดจารำคาญว่าลาเต้มันไม่หวานอยู่แล้ว คือเราก็รู้ค่ะ แต่หลายร้านเขาทำหวาน เราก็ต้องบอกไว้ก่อนไง บางร้านพูดเหมือนเราโง่เลย”
.
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าทัศนคติในการทำงานและใจในการบริการเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำธุรกิจบริการ อย่างธุรกิจร้านอาหารหรือเครื่องดื่มมาก ๆ เพราะงานบริการมีผลต่อความประทับใจและความรู้สึกของลูกค้า ไม่แพ้รสชาติของอาหารเลย ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญไม่ได้มีแค่เรื่องยอดขาย แต่ยังมีเรื่องของความรู้สึกของลูกค้าอีกด้วยนะ
.
Reference: https://www.facebook.com/groups/259809032544230/posts/457590396099425/
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา

งานบริการ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหารก็ว่าได้ ซึ่งถ้าอยากให้ร้านของคุณมีงานบริการที่ดี การทำ SOP สำหรับงานบริการลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านต้องทำ เพื่อให้พนักงานมีแบบแผนการบริการที่เป็นระบบ ถูกต้องตาม มาตรฐานของร้าน แล้ว เทคนิคทำ SOP เพื่อให้งานบริการดี ลูกค้าประทับใจทำได้อย่างไร มาดูกันครับ เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา การกำหนดบทบาทหน้าที่ พนักงานมีส่วนสำคัญในการชี้วัดว่า SOP ที่เขียนขึ้นมา สามารถใช้ประโยชน์ในการควบคุมมาตฐานงานบริการได้ดีจริงหรือไม่ การกำหนด SOP ที่ดี ควรทำให้พนักงานแต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ของตัวเอง ว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ  รวมถึงช่วยให้มองเห็นภาพรวมการทำงานร่วมกับส่วนอื่น ๆ ได้   รูปแบบที่นำมาใช้ และความชัดเจน รูปแบบเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างกระชับและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นการใช้แผนผัง หรือภาพประกอบที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้จดจำง่าย ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีภาษาที่สอดคล้องกับผู้ที่นำไปปฏิบัติจริง และตรวจสอบให้แน่ใจในการนำเอกสารมาใช้ มีการกำกับเลขที่เอกสารเพื่อใช้อ้างอิง   วัตถุประสงค์และการวัดผล วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการกำหนด SOP ด้านการบริการ คือ การรักษามาตรฐานที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาด  […]

พนักงานบริการผิดพลาด

วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด

เราไม่ได้กำลังทำธุรกิจอาหาร แต่เรากำลังทำธุรกิจบริการผ่านอาหาร ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการปะทะกับลูกค้าไม่ได้เลย เราจึงมี วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด มาฝาก

พร้อมเปิดร้านอาหาร

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

บางคนอาจยังไม่รู้ว่าตัวเองพร้อมสำหรับการเปิดร้านมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีแบบทดสอบง่ายๆ ให้คุณลองประเมินตัวเองดูว่าคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง

Omni media ช่วยร้านอาหารของคุณ ทำการตลาดได้ตรงจุด

ใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมมากกว่าเดิม การใช้ Omni Media ก็เหมือนกับการที่คุณมีประตูเปิดรับลูกค้าได้หลาย ๆ ช่องทาง ที่สุดแล้วลูกค้าจะเลือกรับบริการจากช่องทางที่สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกินหน้าร้านหรือการสั่งแบบเดลิเวอรี่  ความนิยมในสื่อออนไลน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าโฆษณาออนไลน์สูงขึ้น แต่อาจไม่ได้ตอบโจทย์แคมเปญการตลาดทั้งหมด สื่อออฟไลน์จึงถูกนำมาพูดถึงเพื่อหาจุด Touch Point ที่มีประสิทธิภาพที่สุด  ข้อดีของ Omni Media ทำให้ลูกค้าสามารถสื่อสารผ่านสื่อการตลาดออฟไลน์ที่เชื่อมโยงออนไลน์ได้โดยทันที  ยกตัวอย่าง ร้านค้าใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่ในห้าง ติดตั้งสื่อ POP ที่ทำการสแกน QR Code เพื่อเข้าถึงข้อมูลร้านและโปรโมชั่นได้ทันที  หรือเทคโนโลยี Location Base Service สามารถส่งข้อความเข้ามือถือลูกค้าที่อยู่ในรัศมีร้านเพื่อแนะนำสินค้าและบริการ  ลูกค้าสามารถคลิกเพื่อรับสิทธิพิเศษผ่านข้อความได้เลยทันที นอกจากนั้นการใช้เครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงกัน ยังช่วยในเรื่องการสื่อสาร ลดความเข้าใจผิด เพราะเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน ทำให้จัดการแคมเปญต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น   ใช้เพื่อรู้จักลูกค้ามากกว่าที่เคย การสื่อสารออฟไลน์ที่เคยเป็นการสื่อสารทางเดียว สามารถเชื่อมโยงออนไลน์ได้ และมีเครื่องมือที่หลากหลายในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูลลูกค้า สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น และข้อมูลของลูกค้าจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดในการทำกิจกรรมทางการตลาด ร้านอาหารดัง ๆ หลายแห่ง เริ่มเก็บข้อมูลความต้องการพิเศษ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 Amarin Corporations Public Company Limited.