ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด - Amarin Academy

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน 

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ
เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ


ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร

  • เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ
    ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ
  • สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP)
    เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น

    ต้นทุน

 

  • ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม
    อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น
  • หลักการปรุงแบบ Zero-waste
    คือความพยายามในการนำวัตถุดิบทุกส่วนมาปรุงอาหาร โดยตัดหรือหั่นให้เหลือทิ้งน้อยที่สุด เป็นการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า เช่น เศษเนื้อปลาจากการตัดแต่งวัตถุดิบ สามารถนำไปมาดัดแปลงเป็นเมนูอื่นๆ อย่างลูกชิ้นปลา ห่อหมกปลา ก็เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบ ลดปริมาณขยะในครัว และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้
  • แบ่งหน้าที่แก่พนักงานให้ชัด
    มอบหมายงานในการจัดการสต๊อกแก่พนักงานให้ชัดเจน และนับสต๊อกหลังจากที่ปิดร้านในแต่ละวัน เพื่อตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบที่ใช้จริงในแต่ละวัน ลดการทุจริตของพนักงานและช่วยให้ง่ายต่อการจัดการ 
  • สร้างความร่วมมือในทีม
    เจ้าของร้านอาจจะสร้างมีข้อตกลงร่วมกันกับพนักงานในการลดของเสียที่เกิดขึ้นในร้าน หรือระดมความคิดเปิดรับข้อเสนอแนะ จากพนักงานในแต่ละตำแหน่งเกี่ยวกับวิธีลดต้นทุนที่สามารถทำได้

พนักงานร้านอาหาร

รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

ปัญหาพนักงานลาออกบ่อย ๆ ส่งผลให้การทำงานในร้านไม่ต่อเนื่อง เจ้าของร้านต้องเสียเวลาเปิดรับสมัครพนักงาน เสียงบประมาณในการเทรนนิ่งเรื่องต่างๆ และพนักงานเก่าเองก็ต้องแบ่งเวลามาสอนงานให้พนักงานใหม่ เรียกได้ว่าเป็นต้นทุนแฝงชนิดหนึ่ง ดังนั้น เราต้องคัดเลือกพนักงานที่มีประสิทธิภาพ และพยายามรักษาเอาไว้กับร้าน เพื่อลดปัญหาเรื่องคนและการทำงานในร้านอาหาร  

ตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

เจ้าของร้านควรตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายของทุกฝ่ายในร้าน ดูทั้งในภาพรวมและลงรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินที่ขายได้ของแต่ละวัน ค่าแรงพนักงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อให้ทราบได้ทันทีหากเกิดปัญหาในด้านไหนขึ้น เช่น ถ้ายอดขายของร้านคงที่ แต่กำไรน้อยลงกว่าเดิม อาจจะต้องกลับไปเช็กว่าปัญหาเกิดจากค่าใช้จ่ายด้านไหน และคิดหาวิธีแก้ไขต่อไปให้ถูกจุด

เมนูทำกำไร

โปรโมทสินค้าที่ทำกำไร

นอกจากลดต้นทุนแล้ว เรายังสามารถเพิ่มกำไรจากการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในเมนูที่ได้กำไรสูง ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มพวกน้ำผลไม้ ชา กาแฟ ที่ราคาไม่แพงมากนัก แต่ได้กำไรสูงและขายได้ง่ายกว่า รวมถึงอาหารประเภทแป้งอย่างสปาเกตตี พิซซ่า พาสต้า ขนมปัง ก็มีต้นทุนที่ไม่สูงนักและทำกำไรได้ดี ฉะนั้นควรให้พนักงานโปรโมทการขายเมนูที่ทำกำไรได้สูงในร้านเป็นพิเศษ 


เมื่อรู้ถึงเทคนิคต่าง ๆ แล้ว เจ้าของร้านก็ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับร้านของตัวเอง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มกำไรและพัฒนาร้านอาหารกันต่อไปนะครับ

 

เรื่องแนะนำ

ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ร้านอาหารส่วนใหญ่มัก ซื้อวัตถุดิบเอง มากกว่า ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

ร้านอาหาร ประเภท

ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด

ร้านอาหารแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน อย่างนั้นลองมาดูลักษณะของร้านอาหารแต่ละประเภทกันดีกว่า จะได้รู้ว่า ร้านอาหาร ประเภท ไหนเหมาะกับเรามากที่สุด

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็นระบบ…บริหารง่าย กำไรพุ่ง

สูตรลับที่ 1 :  จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP  (Standard operating procedure) การจัดการร้านอาหารให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานและจัดทำเอกสารเพื่อควบคุมทุกอย่างให้ดี SOP นั้นมีหลายหัวข้อที่จะต้องกำหนด เช่น หัวข้อการบริการ, การเสิร์ฟอาหาร  , การรับ order ,  การต้อนรับลูกค้า ควรมี SOP สำหรับการจัดการเมนูอาหาร  เพื่อควบคุมมาตรฐานของรสชาติ และการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ดี แก้ไขปัญหารสชาติที่ไม่นิ่ง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังจะขยายสาขา มาตรฐานการปฏิบัติงาน ยังหมายรวมถึง การจัดทำ Job Description ของพนักงาน การกำหนดตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเกิดระบบ และสามารถวางแผนเรื่องกำลังคนได้ สุดท้ายคือ ระบบ Point of Sales (POS)  การจัดการด้านแคชเชียร์ ซึ่งในปัจจุบันมีฟังค์ชั่นการใช้งานที่ช่วยสนับสนุนการจัดการร้านอาหารที่ค่อนข้างครอบคลุม โดยเฉพาะการคำนวณต้นทุน การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับการทำการตลาดร้านของคุณอีกด้วย   สูตรลับที่ 2  : ระบบการจัดการในครัว             ร้านอาหารจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย หากขาดระบบครัวที่มีประสิทธิภาพ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.