Creamery ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป? - Amarin Academy

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

Creamery boutique ice creams ร้านไอศกรีมโฮมเมด และคุกกี้ลาวา เป็นอีกหนึ่งร้าน ที่เจ้าของเริ่มต้นเปิดร้านจากความรักและความชื่นชอบในการทำขนมมากๆ และกล้าพูดได้ว่าเป็นร้านแรกๆ ที่เริ่มคิดค้นเมนูลาวาจากไข่เค็ม ที่ยังคงเป็นเมนูยอดฮิตจนถึงทุกวันนี้ คุณชมพูนุช จอมสง่าวงษ์ เจ้าของร้านจะมาเผยถึงวิธีคิดเมนูให้เป็นจุดเด่นของร้าน รวมถึงความท้าทายที่ร้านต้องเจอ เมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป จะมีวิธีอย่างไร มาดูกันครับ

 

Creamery boutique ice creams

ร้านที่เริ่มต้นจากความรักในการทำขนม

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว เดิมเราทำงานประจำอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทำขนมอยู่ที่นั่น เราชอบทำขนมอยู่แล้ว เลยอยากเปิดร้านขนมทำเป็นงานเสริมก่อน ก็เลยเปิดร้าน Creamery boutique ice creams สาขาแรกแถวสามย่าน ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเคยไปกินร้านที่สเปน แล้วชอบช็อกโกแลตที่นั่นมาก อยากกินอีก เลยคิดว่าทำเองดีกว่า เลยลองทำช็อกโกแลตมาใส่คุกกี้ สินค้าตัวแรกของร้านเลยออกมาเป็นช็อกโกแลตลาวา ตัวนี้ทำให้เราเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น เพราะความแปลกใหม่ ที่ยังไม่มีใครทำคุกกี้ที่เป็นลาวา รวมถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเห็นเมนูเรามากขึ้น พอเอาไอศกรีมมาวางบนคุกกี้ ลาวาในคุกกี้ก็จะไหลออกมา ลูกค้าก็ว๊าวมาก คนก็ถ่ายแล้วแชร์ ซึ่งเราคิดว่า เราจับเทรนด์นี้ได้ทันพอดี

คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล

 

สร้างจุดเด่นให้ร้าน ด้วยการคิดเมนูให้แปลกไม่เหมือนใคร

เมื่อเมนูช็อกโกแลตลาวากระแสดี เราก็คิดว่าเราควรพัฒนาเมนูใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ต่อมาก็เริ่มมีไอศกรีมในร้าน เราชอบไอศกรีม แต่ไม่ชอบหวานมาก เลยลองทำเป็นดาร์กช็อกโลว์แฟต และเน้นใส่วัตถุดิบที่ดีและโฮมเมดหมด ถ้าจะมากินไอศกรีมที่แปลกๆ ก็ต้องมากินที่เรา กระแสตอบรับดี ต่อมารู้สึกว่าแค่ไอศกรีมไม่พอ

เราอยากทำอะไรที่ทานคู่กับไอศกรีมได้ด้วยไม่ใช่แค่ขายไอศกรีมอย่างเดียว ก็เริ่มคิดเมนูที่เป็นลาวาออกมา ซึ่งค่อนข้างแปลกใหม่มากสำหรับ 7 ปีที่แล้ว โดยเราเสิร์ฟต่อหน้าลูกค้า สดๆ ร้อนๆ คุกกี้ลาวาทานกับไอศกรีมเย็นๆ ให้มันดูมีมิติมากขึ้น

ต่อมามีรายการทีวีมาติดต่อ เห็นว่าร้านเรามีเมนูแปลกๆ ไม่เหมือนใคร เขาก็ให้ไปท้าชิงให้ทำเมนูแปลกๆ แข่งขันในรายการ และ ก็เลยตัดสินใจลองเข้าร่วมแข่งขัน ตอนนั้นเราคิดค้นเมนู คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล  เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีลาวาแนวเอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นช็อกโกแลต ชาเขียว ไวท์ช็อกโกเลต คือเป็นแนวยุโรปหมดเลย เราเลยมาคิดว่าแล้วอะไรที่เป็นของเอเชีย เราก็เลยคิดว่าไข่เค็มสิ ไข่เค็มก็เป็นวัตถุดิบเอเชียของเรา เรารู้สึกว่าทุกคนกินไข่เค็มเยอะ เช่น ปลาหมึกไข่เค็ม รสชาติมันก็จะแปลกไปเลย เมนูนี้เหมาะสำหรับคนไม่ชอบกินหวานมาก ก็เลยเอาตัวนี้ไปลองเข้าชิงในรายการ The Dish เมนูทอง แล้วก็ตอบโจทย์รายการเพราะตอนนั้นยังไม่มีที่ไหนทำเป็นคุกกี้ลาวา กรรมการก็เลยชอบ จนเป็นเมนูที่ได้รับรางวัลแชมป์ของรายการ

เรามั่นใจว่าเราเป็นรุ่นแรกๆเลย ที่ทำคุกกี้ไข่เค็มลาวา หลังจากนั้นเทรนด์ก็มาเริ่มมีคนทำเยอะขึ้น

 

Creamery boutique ice creams สาขา 2 ท่ามหาราช ทำอย่างไรเมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป

ต่อมาเราก็มาเปิดสาขาที่สอง คือ สาขาท่ามหาราช ซึ่งเปดมาได้ 4 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้สาขาท่ามหาราช กลุ่มลูกค้าจะเป็นนักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนมาก พอช่วงที่มหาวิทยาลัยย้ายไป กลุ่มนักเรียน นักศึกษาก็หายไปด้วย ก็จะเหลือนักท่องเที่ยว พนักงานออฟฟิตที่ยังอยู่ เพราะฉะนั้นก็เลยคิดว่าเราต้องจับลูกค้ากลุ่มนี้ เลยตัดสินใจรีโนเวทร้าน เพราะก่อนหน้านี้ร้านตกแต่งบรรยากาศดูเด็กไป เพราะเมื่อก่อนลูกค้านักศึกษาเยอะ ก็จะเป็นสไตล์ลอฟท์ ดิบๆ เท่ๆ ไฟระโยง เป็นที่สังสรรค์ของเด็กๆ ไม่เน้นหรูหรา ดูแพงมาก

พอกลุ่มลูกค้าเปลี่ยน เรารีโนเวทร้านให้ดูดีขึ้น สวยขึ้นในระดับที่ผู้ใหญ่สามารถเข้าถึงได้ เราก็จะได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่เป็นผู้ใหญ่ด้วย ก็ดีขึ้นอีกแบบ

ช่วงแรกที่กลุ่มลูกค้าวัยเรียนเริ่มหายไป เราก็สังเกตว่ากลุ่มผู้ใหญ่ก็ไม่ค่อยกล้าเข้าร้านเรา มันดูวัยรุ่น เป็นปูนเปลือย ซึ่งบางครั้งผู้ใหญ่จะเลือกร้านที่สามารถเข้ามาคุยงาน เขาก็จะรู้สึกว่าไม่น่าเข้า ก็เลยเปลี่ยนสไตล์ดีกว่า ให้ดูเข้าถึงกลุ่มลุกค้าผู้ใหญ่ วัยทำงานมากขึ้น เรียกว่าแนวอบอุ่น สบายๆ โคซี่ ก็มีกลุ่มผู้ใหญ่เป็นลูกค้าเรามากขึ้น แต่เด็กๆก็ยังมีอยู่บ้าง

Creamery

อยากไปต่อ ต้องไม่หยุดพัฒนา

สเต็ปต่อไปของเราคือ อยากคิดเมนูใหม่ๆ อีก เมนูที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า อยากทำเป็น smoke เล่นความเป็นควันกับขนม ได้ทั้งกลิ่นและรสชาติด้วย ตอนนี้อยูในขั้นตอนการการเตรียมพัฒนาและทดลองสูตรอยู่

และวางแผนว่า อยากจะมีอีกสาขาที่เปิดครัวโชว์ให้ลูกค้าได้เห็นขั้นตอนการทำด้วย เหมือนตอนสมัยเปิดสาขาแรก โชว์ครัวเล็กๆ ให้ลูกค้าเห็น เป็นประสบการณ์ให้ลูกค้าประทับใจด้วย ว่าเราทำสดใหม่จริงๆ

 

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ถอดเคล็ดลับ “เสวย” จากรุ่นสู่รุ่น รีแบรนด์ใหม่อย่างไร ให้ปัง!

ถอดเคล็ดลับ nice two Meat u ทำอย่างไรให้ลูกค้ายอมรอ

เพราะกล้าที่จะเปลี่ยน สูตรความสำเร็จของเชฟกิ๊ก ทายาทรุ่นที่ 3 ร้าน เลิศทิพย์

เรื่องแนะนำ

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือคาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว?

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือ “คาเฟ่” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว? เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในทวิตเตอร์ เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้มีการแชร์มุมมองเกี่ยวกับรสชาติของเครื่องดื่มและอาหารของร้าน คาเฟ่ ว่ามักจะมีรสชาติแย่ ในขณะที่ราคาแพงมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้ไปใช้บริการเยอะมาก ด้วยเหตุผลว่าเพราะร้านนั้นถ่ายรูปสวย และเธอยังได้ตั้งคำถามต่ออีกว่า ทำไมคาเฟ่ที่มีมุมถ่ายรูปถึงได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ได้ขนาดนี้ จนบางทีเธอก็คิดว่าทำไมให้ทำคาเฟ่ให้เป็นสตูดิโอถ่ายรูปไปเลย… โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ยังได้เสริมถึงเรื่องนี้อีกว่า ที่เธอได้พูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะรู้สึกว่าการที่คนซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารมาแล้วกินไม่หมด เพราะว่าไม่อร่อย ทำให้เกิด waste จากการบริโภคได้ ความเห็นจากชาวเน็ต ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ให้ความสนใจเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม บ้างก็บอกว่า “ไปคาเฟ่ไหนๆ ก็ไม่เจอที่เครื่องดื่มถูกปากเลยค่ะ ราคาก็แรงมากส่วนใหญ่แก้วละ 60-150 เลยนะที่เจอมา” “คาเฟ่แบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่นานหรอก ต่อให้ร้านสวยถ้าของกินแพงแต่คุณภาพห่วย คงไม่มีใครไปซ้ำเกิน 2 ครั้งหรอกค่ะ มุมก็มุมเดิม เข้าใจแหละว่าช่วงนี้คนไม่ค่อยได้เที่ยวไหน ร้านกาแฟสวยๆ สักร้านก็ทำให้ผ่อนคลายเหมือนไปเที่ยวพักผ่อนได้ แต่สิ่งที่น่าจะดึงดูดได้จริงคือคุณภาพสินค้า” บ้างก็บอกว่า “บางร้านก็อร่อยนะคะ แต่ชาวเซลฟี่เยอะไปหน่อย เดินวนถ่ายทั่วร้านจนทำให้คนที่อยากไปนั่งกินเฉย ๆ รู้สึกไม่เป็นส่วนตัวเหมือนโดนคุกคามก็มี นั่งกินอยู่ดี ๆ มายืนจ้องแบบฉันจะถ่ายตรงนี้แกลุกไปสิ”  คาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต? […]

คุ้มกะตังค์

คุ้มกะตังค์ ต้นแบบการจัดการร้านอาหารอย่างมืออาชีพ

คุ้มกะตังค์ ร้านอาหารในเครือ บริษัท มัลลิการ์ ตั้งราคาไม่เกิน 59 บาท แถมยังใช้วัตถุดิบมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน แนวคิดการบริหารงานเป็นอย่างไร เราจะมาไขความลับกัน

มอฟิน ชาบูแอนด์กริล

‘แค่อร่อยไม่พอ ต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เร็ว’ เทคนิคเติบโตของ “มอฟิน ชาบูแอนด์กริล”

มอฟิน ชาบูแอนด์กริล นครศรีธรรมราช ธุรกิจปิ้งย่าง ชาบู บุฟเฟ่ต์ และสามารถสร้างจุดต่างของธุรกิจตัวเองได้สำเร็จ ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ คือ “การเรียนรู้และปรับตัวให้เร็ว”

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.