หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร - Amarin Academy

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

รู้ไหม สองสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร้านอาหาร ต้องปิดตัวลงภายใน 3 ปีแรก คือ เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไป และเจ้าของร้านทำงานมากเกินไป หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วคำว่าพอดีอยู่ตรงไหน และ หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร จริงๆ คืออะไร วันนี้เราจะมาเปิดเผยให้ฟัง

เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไป VS เจ้าของร้านทำงานมากเกินไป

เจ้าของร้านบางคนมักคิดว่า เปิดร้านอาหาร แค่จ้างเชฟมืออาชีพ จ้างผู้จัดการร้านที่มีประสบการณ์ทำงานสูง จ้างพนักงานที่ผ่านงานมานับไม่ถ้วน แล้วปล่อยให้ทุกคนดูแลงานทุกอย่าง ก็น่าจะช่วยให้ร้านอยู่รอดได้ ส่วนตัวเองก็ไม่ค่อยเข้าร้าน ไม่ตรวจสอบบัญชี ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการร้าน ถ้าเป็นแบบนี้ คงไม่แปลกใจใช่ไหม เพราะอะไรร้านถึงต้องปิดตัว

แต่บางคนอาจสงสัยว่า แล้วการที่เจ้าของร้านทำงานหนัก ก็น่าจะช่วยให้ร้านเจริญรุ่งเรือง ทำไมถึงปิดตัวได้ล่ะ

ลองนึกภาพง่ายๆ หากเจ้าของร้านทำหน้าที่เป็นเชฟ ปรุงอาหารเสิร์ฟลูกค้าเอง เพราะคิดว่าตัวเองใส่ใจและพิถีพิถันในการทำอาหารที่สุด หากร้านดำเนินไปตามปกติก็น่าจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ใดแทรกเข้ามาล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ขณะที่เจ้าของร้านกำลังวิ่งวุ่นเตรียมอาหารเพื่อรอลูกค้าที่จะเข้าร้านในตอนเที่ยง เกิด Supplier โทรศัพท์มาเสนอขายวัตถุดิบตัวใหม่ เกรดพรีเมี่ยม เจ้าของร้านต้องเสียเวลาไม่ต่ำกว่า 5 นาทีในการปฏิเสธ

หลังจากนั้นเกิดมีลูกค้าโทรมาจองโต๊ะสำหรับจัดงานปาร์ตี้วันเกิดในสัปดาห์ถัดไป แล้วขอทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการจัดงาน พร้อมขอราคาอย่างคร่าวๆ เจ้าจองร้านก็ต้องเสียเวลาไปอีก 15 นาทีในการอธิบายรายละเอียดทั้งหมด

เมื่อถึงเวลาเที่ยง ที่ลูกค้ามารอเต็มร้าน อาหารก็อาจจะยังเตรียมไม่เสร็จ เมื่อลูกค้ารอนานเข้าก็เริ่มได้ยินเสียงต่อว่า สุดท้ายลูกค้าก็อาจจะไม่กลับมาใช้บริการร้านคุณอีกต่อไป และสุดท้ายเมื่อเจ้าของร้านวิ่งวุ่นทั้งวันจนไม่มีเวลาพักอย่างนี้ ก็ไม่มีเวลาไปโฟกัสกับการพัฒนาร้านด้านอื่นๆ เลย

เริ่มเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่าการทำงานหนักเกินไป กอดงานไว้คนเดียว ส่งผลให้ร้านต้องปิดตัวลงได้จริงๆ อย่างนั้นเจ้าของร้านควรต้องทำอย่างไรล่ะ

พนักงานบริการ
เจ้าของร้าน กำลังทำหน้าที่ พนักงานบริการ ซึ่งอาจทำได้ในบางครั้ง แต่ต้องไม่ใช่หน้าที่หลักที่ทำทุกวันและทั้งวัน

หน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านอาจไม่เคยรู้

จริงๆ แล้วหน้าที่หลักๆ ของเจ้าของร้านอาหาร มี 3 ข้อ คือ

  1. เรียนรู้ที่จะมอบหมายงานให้ผู้อื่น

เจ้าของร้านอาหารบางคนอาจลงมือทำอาหารเสิร์ฟให้ลูกค้าเอง ก็ไม่ถึงกับต้องเลิกทำ เพียงแต่ว่าควรจ้างผู้ช่วยให้มาช่วยเตรียมของให้เรียบร้อย ระหว่างนั้นก็เอาเวลาไปจัดการงานด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับ supplier ตรวจดูความเรียบร้อยของร้าน เป็นต้น จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าสั่งอาหาร เจ้าของร้านค่อยเข้าครัวเพื่อลงมือทำ งานทุกอย่างก็จะราบรื่นขึ้น

2.จัดลำดับความสำคัญของงาน

ระหว่างทำอาหาร หากมีเหตุการณ์อื่นใดเข้ามาแทรก เช่น มีโทรศัพท์จากช่างแอร์ที่จะเข้ามาตรวจสอบระบบประจำปี หรือจากฝ่ายการเงินที่จะสอบถามเรื่องการเบิกจ่าย ฯลฯ เจ้าของร้านควรประเมินว่างานนั้นเร่งด่วนมากน้อยแค่ไหน หากไม่จำเป็นต้องคุยทันที ก็รอให้ลูกค้าคนสุดท้ายออกจากร้านก่อนแล้วค่อยโทรกลับก็ยังไม่สาย

3.กำหนดตำแหน่งงานของพนักงานให้ชัดเจน

เจ้าของร้านอาหารต้องวางแผน
เจ้าของร้านอาหารเป็นเหมือนกัปตันบนเรือใหญ่ ทำหน้าที่วางแผน สั่งงานและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด

เมื่อคุณจ้างพนักงานในร้านมากขึ้น (ตามข้อแรก) สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ กำหนดหน้าที่ของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน หรือละเลยงานบางส่วนเพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ลองสละเวลาเขียน job description สักนิด แล้วงานต่างๆ จะราบรื่นยิ่งขึ้น

4.ตรวจสอบงานในภาพรวม และวางแผนพัฒนาร้านต่อไปในอนาคต

ข้อนี้ก็เป็นอีกหน้าหน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านไม่ควรมองข้าม คุณต้องหมั่นตรวจสอบการทำงานของพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเสิร์ฟ ว่ามีคำตำหนิจากลูกค้าหรือเปล่า หรือเรื่องเงินๆ ทองๆ ว่าขาดหายหรือตกหล่นหรือไม่ และหากเกิดปัญหาก็ต้องหาทางแก้ไขโดยทันที

นอกจากนี้ต้องไม่ลืมวางแผนพัฒนาร้านให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงร้าน วางแผนการทำโปรโมชั่น การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจทุกประเภท คือการก้าวไปข้างหน้าเสมอ ฉะนั้นหน้าที่นี้จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านต้องใส่ใจเป็นอันดับต้นๆ

การทำงานตามหน้าที่ที่เราแนะนำนี้ นอกจากเราจะไม่เหนื่อยจนเกินไปแล้ว ยังมีเวลาไปโฟกัสกับสิ่งสำคัญอื่นๆ ที่จ้างคนมาทำแทนไม่ได้อีกด้วย

เรื่องแนะนำ

สอนพนักงานครัว ให้เป็นงาน ก่อนเปิดร้าน 7 วัน

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการทำร้านอาหารก็คือ ประสิทธิภาพของทีมงานร้านอาหาร โดยเฉพาะทีมงานครัว ที่ถือเป็นกำลังฝ่ายผลิต ที่มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพร้านอาหาร จึงต้องมีการฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานครัว เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกับทีมงานในแต่ละส่วนได้อย่างดี ซึ่งก่อนที่เราจะไปดูว่าเทคนิค สอนพนักงานครัว ให้เป็นงานได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วันนั้น ทำได้อย่างไร เรามาทราบขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรมทีมงานครัวกันก่อนค่ะ   ขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรม สอนพนักงานครัว 1.ปฐมนิเทศพนักงาน ร้านอาหารก็ควรจัดให้มีการปฐมนิเทศพนักงานเช่นเดียวกับการทำธุรกิจอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานเข้าใจภาพรวมขององค์กร สร้างความเข้าใจโครงสร้างองค์กร เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเข้าใจกฏระเบียบต่าง ๆ            ♦ ปฐมนิเทศพนักงานครัวด้วยเรื่องอะไรบ้าง? ข้อมูลบริหารบุคคลที่ต้องรู้ก่อนร่วมงาน เช่น กฏระเบียบการเข้างาน ค่าตอบแทน โบนัส วันเวลาทำงาน วิสัยทัศน์ ความมุ่งหมายของการทำร้านอาหาร แนะนำทีมงานร้าน รู้จักกับเมนูอาหารของร้าน หรือมีการทดลอง การชิมสูตรอาหารในวันนั้นๆ แนะนำ Facility ต่าง ๆ ของห้องครัว แนะนำขั้นตอนการอบรมงานครัวต่าง ๆ   2. แนะนำการปฏิบัติงาน เริ่มการสอนงานด้วยการทำความเข้าใจขั้นตอน […]

ลด แลก แจก แถม โปรโมชั่น ไหนถูกใจลูกค้า

ร้านอาหารที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ ๆ หรืออยู่ในช่วงที่ร้านซบเซา หลายร้านก็เลือกที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด หรือ โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อตามที่ต้องการแล้ว เจ้าของร้านอาหารควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้างเพื่อให้ร้านประสบความสำเร็จในการนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้ โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการผลักดันแคมเปญทางการตลาดให้กับร้านได้อย่างน่าสนใจ   ลด แลก แจก แถม โปรโมชั่น ไหนถูกใจลูกค้า   ลด ทำอย่างไรถึงจะขายได้เพิ่มมากขึ้นในช่วง Off Peak ? กลยุทธ์ในการลดสินค้านั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ และตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่แตกต่างกัน เช่น การแนะนำสินค้าใหม่ การเพิ่มยอดขายให้กับบางเมนูที่ลูกค้าไม่เคยสนใจมาก่อน  หรือลดเพื่อให้สั่งเมนูอื่น ๆ ในร้านมากขึ้นก็ตาม  ข้อสังเกตก็คือ ร้านค้าที่สามารถจับอินไซต์ลูกค้าของตัวเองได้เก่ง ก็จะได้รับการตอบรับจากลูกค้าได้ดี เช่น ร้านอาหารร้านหนึ่งตั้งอยู่ในย่าน Office ทำให้ร้านสามารถมี peak time แค่ช่วงเวลากลางวัน แต่ขายไม่ได้เลยในช่วงเวลา Off Peak  ร้านจะสังเกตได้ว่า ช่วงเวลาสักบ่ายสามพนักงานออฟฟิศอยากสั่งของทานเล่นกันมาก จึงเลือกนำเมนูทานเล่นพร้อมเซตเครื่องดื่มมาจัดโปรโมชั่นแทนที่จะเลือกเมนูหนักมาจัดทำโปรโมชั่น การกำหนดกลยุทธ์โดย Consumer Centric เช่นนี้ […]

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.