5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร - Amarin academy

5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร

ทุกวันนี้ธุรกิจอาหารกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมากเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง แม้แต่ร้านอาหารแบรนด์ดังยังต้องออกโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ฉีกแนวเดิมออกมาในตลาดอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะทำอะไรเดิมๆ ธุรกิจก็คงอยู่ได้ไม่ยาว ลองศึกษา 5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก เพิ่มช่องทางหารายได้ ที่ปรับใช้ได้ทั้งเจ้าของร้านอาหาร และคนที่ต้องการเริ่มธุรกิจใหม่


5 โมเดล ร้านอาหารทางเลือก
เปิดโอกาสทางธุรกิจอาหาร

 

  1. Ghost Kitchen และ Cloud Kitchen

Ghost Kitchen และ Cloud Kitchen เป็นโมเดลการทำธุรกิจอาหารที่นิยมมากในยุคนี้ โดยจะรับออเดอร์อาหารทางออนไลน์ จัดทำอาหารในครัวของร้าน แล้วจึงจัดส่งอาหารเดลิเวอรีผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ถือเป็นโมเดลธุรกิจที่มีความ lean สูงจากการลดต้นทุนค่าเช่าร้าน ค่าพนักงานบางส่วน หรือค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร เรียกได้ว่าดำเนินธุรกิจด้วยการลงทุนที่ต่ำกว่าการเปิดหน้าร้านมาก จึงช่วยลดความเสี่ยงหรือความสูญเสียในธุรกิจได้ 

ปัจจุบันร้านหลายๆ แบรนด์ก็แชร์ครัวกลางร่วมกันเพื่อลดต้นทุน และช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียว ข้อดีที่ชัดเจนของโมเดลนี้คือ ประหยัดต้นทุนหลายด้าน แต่ก็มีข้อจำกัดในการเข้าถึงผู้บริโภค และอาหารที่ต้องส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีรสชาติหรือหน้าตาสู้อาหารแบบนั่งทานที่ร้านไม่ได้   

 ร้านอาหารทางเลือก

  1. Meal Kits 

จากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในยุคนี้ ทำให้ การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในเซตจะมีส่วนผสมให้พร้อมกับขั้นตอนวิธีการทำอาหาร จัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน ประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกแก่มือใหม่ โดยเฉพาะในเมนูที่เป็นอาหารนานาชาติ เช่น เมนูอาหารเกาหลี ที่ใช้วัตถุดิบที่ไม่คุ้นเคยนัก หรือแม้แต่ชาบู-หมูกะทะ ก็จัดขายเป็นเซ็ตสำหรับไปทำทานเองที่บ้านกันแทบทุกร้านแล้ว

จุดเด่นของการขายแบบนี้ คือสามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆ ได้มาก จัดส่งเดลิเวอรีได้ไม่ต้องขายแค่ทางหน้าร้าน ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น แต่ข้อจำกัดคือส่วนผสมต่างๆ ต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้สูตรอาหารออกมารสชาติอร่อยคงที่ ซึ่งไม่เหมาะกับเมนูที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำ หรืออาหารที่มีความซับซ้อนและใช้เวลามากจนเกินไป 

  1. Kiosk

 คีออส (Kiosk) คือ ร้านค้าขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นซุ้ม หรือเคาน์เตอร์ขายอาหาร สามารถอยู่ได้ทั้งในห้างและนอกห้าง โมเดลประเภทนี้เหมาะกับการขายอาหารที่มีขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อนนัก เนื่องจากมีพื้นที่ทำครัวจำกัด เช่น อาหารทานเล่น ขนม ฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทปิ้งย่าง หรือกาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ 

จุดเด่นของโมเดลนี้คือเริ่มต้นง่าย เป็นโอกาสเริ่มต้นธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยโดยที่ไม่ต้องมีเงินลงทุนสูงมากนัก และยังสามารถขนย้ายได้สะดวก ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อโมเดลนี้ คือการออกแบบที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ รวมถึงการบริการที่รวดเร็วจะทำให้ลูกค้ากลุ่มวัยทำงานมาใช้บริการมากขึ้น แต่ข้อจำกัดคือทำเลของร้านจะต้องตั้งอยู่ในที่สาธารณะ หรือละแวกชุมชนที่มีลูกค้าเดินผ่านพลุกพล่าน ซึ่งจะมีการแข่งขันระหว่างร้านอาหารสูง

Food Truck

  1. Food Truck

การดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ ยกระดับอาหารแนว Street food ให้ดูแตกต่าง มีสไตล์ที่ชัดเจน และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่นิยมการขายเบอร์เกอร์ หรืออาหารที่วิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นปริมาณการขาย

จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีความโดดเด่นของรถและกลิ่นหอมของอาหารจากครัวแบบเปิด ซึ่งก็จะเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนสามารถพัฒนาต่อไปเป็นธุรกิจร้านอาหารหลายๆ สาขาได้ในโอกาสที่เหมาะสม แต่ข้อจำกัดสำหรับบางร้านที่ขายในงานอีเว้นท์ต่างๆ เป็นหลัก จะทำให้บริหารจัดการยากขึ้น

Meal Box

  1. Meal Box

การขายอาหารกล่องจากครัวกลาง เพื่อกระจายไปขายในจุดต่างๆ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายๆ ร้าน หรือแม้แต่โรงแรมต่างๆ เลือกที่จะปรับตัวสู้กับภาวะเศรษฐกิจ โดยอาจจะแบ่งเป็นการขายปลีกเอง หรือทำขายส่งตามร้านต่างๆ  จุดเด่นของโมเดลนี้คือการลดต้นทุนของวัตถุดิบได้จากการซื้อในปริมาณมาก ลดภาระในการขายและการตลาด เข้าถึงลูกค้าได้กว้างมากขึ้น แต่แน่นอนว่ากำไรจะน้อยลงจากการแบ่งเปอร์เซนต์การขายให้กับร้านอื่นๆ 


ซึ่งโมเดลทั้ง 5 แบบนี้ เป็นเหมือนทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มธุรกิจอาหาร หรือสำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากขยายโมเดลของร้าน ให้มีรายได้หลายช่องทางมากขึ้น กระจายความเสี่ยงแก่ธุรกิจ และเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าหลาย ๆ กลุ่ม เพราะความท้าทายของธุรกิจอาหารยังคงมีอยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นทักษะที่ผู้ประกอบการทุกคนควรมี เพื่อปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่อไป 

เรื่องแนะนำ

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน! 1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ? . หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น . 2.ของใหม่จากของเดิม . ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า […]

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ปัจจัยความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม!

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จ คือการ กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ให้ชัดเจน เพราะจะช่วยให้ทราบว่าอาหาร 1 จานมีต้นทุนเท่าไรและควรตั้งราคาเท่าไรจึงเหมาะสม

ทำร้านอาหาร

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หลายคนชอบบอกว่าเขาอยากทำร้าน เพราะชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินมีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านเลย

เบื้องหลัง การทำร้านกาแฟ กับดักที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

ปัจจุบันร้านกาแฟกลายเป็นสินค้าที่ขายไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่เครื่องดื่ม ลูกค้าจึงต้องการมากกว่ารสชาติ แต่ต้องการประสบการณ์การดื่มที่ดีด้วย ไม่ว่าคุณจะ ทำร้านกาแฟ ร้านเล็กๆ หรือร้านกาแฟที่ติดตลาดมีลูกค้าขาประจำ ก็อาจพลาดท่าเสียทีกับดักเหล่านี้ได้เหมือนกัน มาดูกันว่า อะไรบ้างที่ทำให้ร้านกาแฟไม่โตได้อย่างที่หวัง เบื้องหลังการ ทำร้านกาแฟ กับดักคุณที่อาจจะไม่เคยรู้ กับดัก…ลูกค้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดกรณีเจ้าของร้านกาแฟไล่ลูกค้า เนื่องจากลูกค้านั่งนาน ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างกันจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่โทษลูกค้าว่าเอาเปรียบร้าน และอีกฝ่ายที่โทษร้านว่าใจแคบและโต้ตอบกับลูกค้าเกินกว่าเหตุ คำถามคือ คุณจะทำอย่างไรหากสถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับร้านของคุณ คำตอบก็คือ การบริหารจัดการลูกค้า ที่ทำให้หลายร้านติดกับดัก.. ในความเป็นจริงเราไม่สามารถกำหนดว่า ลูกค้าต้องซื้อเครื่องดื่มขั้นต่ำเท่าไหร่ นั่งได้ครั้งละกี่ชั่วโมงเสมอไป โดยเฉพาะร้านกาแฟดี ๆ ย่อมหลีกเลี่ยงกรณีแบบนี้ได้ยาก แต่คุณสามารถทำได้ 3 อย่าง คือ       1. การเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร       2. การออกแบบการบริการที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น       3 .การจัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านบริการ  เพราะฉะนั้นในกรณีที่ลูกค้ากลุ่มหลัก เป็นกลุ่มที่มาใช้ร้านกาแฟเพื่อนั่งทำงานระยะเวลา 2-3 […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.