5 หนทาง เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด - Amarin Academy

5 หนทาง เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด

5 หนทาง เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด

หลายคนที่ฝันอยากมีร้านอาหาร อาจถูกดับฝันตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เพราะมีเงินทุนไม่เพียงพอ ไหนจะค่าเช่าที่ ค่าตกแต่งร้าน ค่าจ้างเชฟ ค่าพนักงาน ฯลฯ แค่คิดก็ท้อแล้วใช่ไหม แต่รู้หรือไม่ว่า เราไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนมากมาย ก็เปิดร้านอาหารได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องเลือกรูปแบบร้านอาหารให้เหมาะสมกับขนาดกระเป๋าสตางค์เท่านั้นเอง วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 5 รูปแบบร้านอาหาร ที่เหมาะกับคนเงินน้อย แต่ฝันใหญ่ ให้สามารถ เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด ได้ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1.Food Trucks

หนึ่งในเทรนด์ร้านอาหารที่กำลังมาแรงก็คือ Food Trucks หรือร้านอาหารเคลื่อนที่ ซึ่งใช้รถบรรทุกขนาดเล็กเป็นครัวและเป็นหน้าร้านไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องเสียค่าเช้าสถานที่ ไม่ต้องเลือกทำเล ไม่ต้องมีพนักงานมาก แถมยังสามารถเคลื่อนย้ายร้านไปตามสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

Food Trucks ส่วนใหญ่มักโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter Instagram เพื่อประชาสัมพันธ์เมนูใหม่ โปรโมชั่นและชี้จุดว่า ตอนนี้ร้านเปิดขายอยู่ที่ใด เพื่อให้ลูกค้ารับทราบและมาใช้บริการ ถือเป็นร้านอาหารรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ แถมยังลงทุนไม่มากอีกด้วย

2.Pop-Up Restaurants

หลายคนอาจสงสัยว่า Pop-Up Restaurants คืออะไร ลองสังเกตเวลาเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า งาน Event ต่างๆ แล้วเห็นร้านอาหารที่มาออกบูธจำหน่ายอาหารกันไหม นั่นแหละคือ Pop-Up Restaurants เป็นร้านอาหารชั่วคราว ที่เปิดตามช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในขณะนี้ เนื่องจากใช้งบประมาณไม่สูงนัก ไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่ต้องเสียค่าบริหารจัดการอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น และถ้าเปิดในห้างฯ ก็การันตีได้ว่าจะมีลูกค้าเข้าร้านคุณแน่นอน

ยิ่งปัจจุบันห้างฯ หรือ Community mall นิยมจัด Event เช่นนี้บ่อยครั้ง ทำให้คุณสามารถเปิดร้านได้อย่างต่อเนื่อง แต่ข้อเสียสำคัญของการเปิดร้านเช่นนี้ คือ คุณจะไม่มีลูกค้าประจำ (เพราะต้องย้ายร้านไปเรื่อยๆ ) และคุณต้องทำตามกฎระเบียบของพื้นที่ที่คุณเข้าไปเช่าอย่างเคร่งครัด ยิ่งเป็นห้างฯ ยิ่งมีกฎระเบียบมาก (บางแห่งไม่อนุญาตให้นั่ง หรือกินข้าวในร้านด้วย) ฉะนั้นลองศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน แล้วค่อยตัดสินใจนะครับ

3.ร้านขนาดเล็ก

ร้านเล็ก ไม่ได้แปลว่าจะขายได้น้อยเสมอไป รู้หรือไม่ว่า โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ ร้านของเขามีขนาดเพียง 22 โต๊ะเท่านั้น แต่มีลูกค้าเข้าร้านเฉลี่ยถึงวันละ 2,500 คน!

เห็นไหม ร้านเล็กไม่ใช่ปัญหาเลย แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่ ค่าออกแบบตกแต่ง ค่าไฟ ค่าดูแลรักษาไปได้อีกเยอะ แถมยังสามารถบริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย

4.Catering

เรียกง่ายๆ ว่า บริการรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานบวช งานประชุมสัมมนาต่างๆ การทำธุรกิจอาหารรูปแบบนี้น่าสนใจมาก เพราะไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเลยก็ได้ เพียงแค่ประชาสัมพันธ์บริการผ่านสื่อออนไลน์ (ซึ่งประหยัดกว่ามาก) แถมไม่ต้องกังวลเรื่องของเหลือหรือขายไม่ได้ เพราะจะผลิตตามออร์เดอร์เท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ คุณต้องแบรนด์ใหเติดตลาด และสร้าง Connection ให้ได้ เพราะยิ่งรู้จักคนมากเท่าไร โอกาสในธุรกิจนี้ก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

5.จำหน่ายผ่าน Social Media

รูปแบบนี้ถือว่ามาแรงสุดๆ เพราะตอนนี้คนนิยมสั่งของออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ เคสมือถือ รองเท้า แม้กระทั่งต้นไม้! ขายกันมากมายขนาดนี้แล้ว ทำไมจะจำหน่ายอาหารไม่ได้ล่ะ เพียงแค่คุณเปิดเพจใน Facebook หรือ Instagram อัพโหลดรูปอาหาร พร้อมราคา และค่าจัดส่ง เท่านี้ก็เปิดร้านอาหารได้แล้ว ถือเป็นช่องทางสะแวก รวดเร็วและเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่อีกด้วย แต่อย่าลืมว่าเมื่อง่ายขนาดนี้ คนอื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน ฉะนั้น Concept ก็ต้องโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ด้วย

เห็นไหมว่า การเปิดร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมากเสมอไป เพียงแค่เลือกรูปแบบใหม่เหมาะ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้แล้ว

เรื่องแนะนำ

ตลาดเด็กรุ่นใหม่

แนวคิดจับ ตลาดเด็กรุ่นใหม่ ที่ใครๆ กำลังจับตา

ตลาดเด็กรุ่นใหม่ ถ้าทำให้เขารักได้ เขาจะรักเลย คือแนวคิดการทำการตลาดของ Hotto bun ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เคล็ดลับจะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

เพราะอะไร ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

ปัญหาหลักของร้านอาหารหลายๆ ร้านคือ ขายได้มาก แต่ได้กำไรเพียงน้อยนิด รู้ไหมว่า ปัญหานี้เกิดจากต้นทุนวัตถุดิบ ที่ส่งผลให้ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

ร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปที่ร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าพยายามไปตามหาเพื่อไปกินให้ได้ หรือมีลูกค้าไปนั่งรอกินเป็นวันๆได้ นั่นเป็นเพราะร้านอาหารเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูด ที่สามารถเรียกความสนใจลูกค้าได้มากพอ ซึ่งร้านของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วย สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณให้มีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามา   สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา ‘จุดเด่น’ ที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้             เมนูซิกเนเจอร์ ไม่ใช่เมนูอะไรก็ได้ที่ร้านของคุณทำอร่อย แต่ต้องเป็นเมนูที่โดดเด่นพอที่ลูกค้าจะต้องสั่งทุกโต๊ะ หรือดั้นด้นมากิน เพราะฉะนั้นถ้าคุณขายแซลมอน แล้วเมนูซิกเนเจอร์เป็นแซลมอนคุณภาพดี อาจจะทำให้ร้านของคุณไม่ได้แตกต่างเมื่อเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน วิธีสร้างจุดเด่นก็คือ สร้างเสน่ห์ให้กับเมนูนั้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเมนูที่แปลกใหม่ รูปแบบการจัดจาน รูปแบบการเสิร์ฟ ชื่อของเมนู รวมถึงเรื่องราวที่คุณเล่าเกี่ยวกับเมนูนั้น ๆ เช่น กรณีแซลมอนที่เคยเสิร์ฟวางเป็นชิ้น ๆ อาจจัดวางเป็นทรงสูง ตกแต่งด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นภูเขาไฟ เสิร์ฟมาพร้อมกับควันของภูเขาไฟ แล้วตั้งชื่อว่า ฟูจิซังแซลมอน เป็นต้น ข้อคำนึงอีกประการก็คือ โดยปกติลูกค้าโดยทั่วไปจะมีค่ามาตรฐานในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึงเป็ด คนจะนึกถึงเป็ดย่าง MK เพราะฉะนั้นถ้าร้านอาหารของคุณมีซิกเนเจอร์เป็นเป็ด ก็ควรจะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า หรือดีกว่าไปเลย หากไม่สามารถทำได้ก็ใช้เทคนิคในการสร้างความโดดเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้ว อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ  คือ ร้าน After You […]

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี ทุกวันนี้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับอาหารการกินในทุก ๆ ทาง นี่จึงเป็นเหตุผลชวนให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจสุขลักษณะในการประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ลองเปลี่ยนมาใช้ สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ กัน! . สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ (Food Rotation Labels หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Daydot) คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดระบบวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยในสติกเกอร์จะมีหัวข้อให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบนั้น ๆ เช่น วัตถุดิบคืออะไร ผลิตวันไหน หมดอายุเมื่อไหร่ และใครเป็นคนเปิดใช้ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ในการบริโภค ตัวอย่างข้อมูลที่ควรมีบนสติกเกอร์ติดอาหาร: 1.ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น คืออะไร 2.การจัดเก็บ (Type) : มีการจัดเก็บแบบไหน เช่น แช่แข็ง (Frozen) แช่เย็น (Chiller) หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง (Ambient) 3.วันที่ผลิต (Product Date) 4.เวลาผลิต (Production Time) 5.วันที่หมดอายุ (Expiry Date) […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.