กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR วิธีรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าต้องรอนาน

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR
แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ
เหตุทำกาแฟอยู่ แต่ก็ออเดอร์อื่นก็รอนาน
แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

ทุกคนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ไหม❓ รู้สึกกดดันจังเลยเวลาลูกค้ามายืนจ้อง… แม่ค้าร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์ความรู้สึกพร้อมขอคำแนะนำในการรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าเยอะ ในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เนื่องจากเธอรู้สึกกดดันมาก เมื่อลูกค้ามาสั่งเครื่องดื่มแล้วต้องรอนาน
.
1- เธอได้โพสต์ว่า “ขอ HOW TO ทำยังไงไม่ให้กดดันตามลูกค้า เรารู้ ลูกค้ากาแฟรู้ ว่านี่มันคือ SLOW BAR COFFEE แต่บางครั้งคนที่ไม่ได้สั่งกาแฟไม่เข้าใจ งื้ออออ คือแบบ ทำกาแฟอยู่ แล้วลูกค้ามาสั่งเมนูที่ไม่ใช่กาแฟ แล้วรอนาน เพราะติดออร์เดอร์กาแฟ แล้วเราเลยกดดันตามลูกค้าไปด้วย ”
.


2- ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเหล่าคนทำร้านกาแฟต่างเข้ามาให้คำแนะนำแม่ค้ารายนี้พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ตนเองเจอกันอย่างไม่มีกั๊ก โดยส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่าให้ใช้วิธีติดป้ายแจ้งหรือบอกลูกค้าไว้ก่อนว่าเครื่องดื่มมีคิวก่อนหน้าอยู่กี่คิว ต้องรอประมาณกี่นาที แล้วถามว่าลูกค้าสะดวกรอไหม เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ว่าจะรอหรือจะไม่รอ เช่น

“ลองบอกเขาไหมคะ ว่ามีคิวอยู่เยอะ รอได้ไหม รอประมาณกี่นาที บางคนคิดว่าของฉัน 1 แก้วเอง แต่ถ้าร้านแจ้งก่อน ว่ามีคิวอยู่ก่อน ต้องรอนาน รอ 15 นาที รอ 20 นาที เขาก็เข้าใจนะคะ” “ทำ Slowbar ใจต้องนิ่ง อย่างแรกบอกลูกค้าก่อนว่ามีกี่คิว ใช้เวลาประมาณกี่นาที แล้วลูกค้าสะดวกรอไหม ชวนคุย เดี๋ยวลูกค้าจะบอกเองสะดวกรอหรือไม่ พูดคุยตรง ๆ อย่าเสียดายออเดอร์ลูกค้าจนกลายเป็นคิวล้น ลูกค้าหัวเสีย เราจะปวดหัวครับ” “แจ้งเวลาลูกค้าค่ะ และอธิบายว่าทำไมถึงช้า หากลูกค้าต้องการที่จะรอ ก็ชวนคุยไปพลาง ๆ ทำเสร็จก็เสิร์ฟ พร้อมขอบคุณ และก็ต้องขอโทษที่ทำให้รอนานค่ะ ยิ้มอ่อน” 😅

3- บ้างก็แนะนำว่าทางร้านอาจใช้การเพิ่มอุปกรณ์การชงเข้ามา หรือใช้การเพิ่มพนักงานเพื่อให้ชงได้ทัน เช่น “ลดเมนูที่ต้องกด f ลง เลือกเฉพาะตัวคราฟท์ๆ” “ต้องรู้จักประเมินสถาณการณ์ จะเลือกลูกค้า หรือจะคงความเป็นตัวตนของร้าน หรือจะแก้ด้วยการเพิ่มคนชง คงต้องประเมินเองครับ แต่การขายของกินไม่ควรปล่อยลูกค้ารอออเดอร์นาน”

4- ไปจนถึงบางคนก็ได้แชร์ประสบการณ์การทำร้านของตัวเองว่า “หัวอกสถานการณ์คล้ายกันเลย… ของเรามีทำของกินเล่นกับกาแฟแบบทำสดเพิ่มด้วยหลายอย่าง แถมทำเค้กวันเกิดตามสั่งอีก พอลูกค้ามาพร้อมกัน ตู้มเดียวช่วงพีคไทม์ แต่ละคนสั่งกาแฟ และขนมหลายอย่างพร้อมกัน ออร์เดอร์เค้กที่รับทำก็รอกองอยู่ ลูกค้าสายเม้าท์ก็รอคุยอยู่ ก็ต้องเทคแคร์ แม่ค้ามีคนเดียวไฟบนหัวลุกเป็นซุปเปอร์ไซย่าเลย ทำคนเดียวรีบจนเหนื่อย กลายเป็นช้าไป เพราะระบายลูกค้าไม่ทัน ช่วงนี้เลยพักยาวเลยค่ะ เหนื่อยจนน็อตหลุด สำหรับตัวเราเองคงโลภไปหน่อย เปิดร้านรอบหน้าคงต้องวางแผนจัดระบบใหม่ ตัด product ของกินเล่นออกบ้าง ไม่งั้นน็อคอีกแน่ๆ เลย” “ที่ร้านทำสโลบาร์ใช้ mokapot แต่ช่วงเร่งด่วนต้องต้มให้ทัน 1 ชั่วโมง 20แก้ว ขายคนเดียวแทบร้อง ขอโทษลูกค้าทุกคน” เป็นต้น
.
5- โดยตามธรรมชาติแล้วมนุษย์เราไม่ได้ชอบการรอคอย แต่ชอบที่จะมีอะไรทำอยู่ตลอด ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจบริการอย่างร้านอาหาร ร้านกาแฟจึงควรให้ความสำคัญกับการเข้าใจพฤติกรรมนี้ เพื่อที่จะสามารถจัดการกับการรอคอยของลูกค้าให้รู้สึกว่าใช้เวลาน้อยที่สุดได้ และสร้างมูลค่าความรู้สึกประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งทางร้านอาจใช้วิธีหาอะไรให้เขาทำ เช่น การมีจออะไรสักอย่างให้ดู หรือมีอาหารว่างให้กิน

6- อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “อีกสักครู่” กับลูกค้า❗️ เพราะทางจิตวิทยาแล้ว คำนี้เป็นคำที่บั่นทอนจิตใจคนรอมาก ๆ เพราะเขาไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคำว่าอีกสักครู่เนี่ย มันนานเท่าไหร่ ดังนั้นร้านควรมีการอัปเดทสถานการณ์ให้ลูกค้าที่รอได้รู้ว่าเขาต้องรออีกนานเท่าไหร่ อาหารใกล้เสร็จแล้วหรือยัง เพื่อคลายความกังวลของลูกค้า


7- สุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ การที่ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีคุ้มค่ากับการรอคอย เช่น อาหารที่อร่อยวัตถุดิบคุณภาพดี บริการสุดประทับใจ บรรยากาศดี ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะลืมการรอคิวนาน ๆ นั้นไปเลย เพราะสิ่งที่ได้รับมันเพอร์เฟคสุด ๆ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากลูกค้าได้รับในสิ่งที่ไม่น่าประทับใจ เขาก็จะรู้สึกเสียดายเวลานั้นไปเลยเช่นกัน
.
Reference: https://www.facebook.com/groups/259809032544230/permalink/439171567941308/
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

Omni media ช่วยร้านอาหารของคุณ ทำการตลาดได้ตรงจุด

ใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมมากกว่าเดิม การใช้ Omni Media ก็เหมือนกับการที่คุณมีประตูเปิดรับลูกค้าได้หลาย ๆ ช่องทาง ที่สุดแล้วลูกค้าจะเลือกรับบริการจากช่องทางที่สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกินหน้าร้านหรือการสั่งแบบเดลิเวอรี่  ความนิยมในสื่อออนไลน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าโฆษณาออนไลน์สูงขึ้น แต่อาจไม่ได้ตอบโจทย์แคมเปญการตลาดทั้งหมด สื่อออฟไลน์จึงถูกนำมาพูดถึงเพื่อหาจุด Touch Point ที่มีประสิทธิภาพที่สุด  ข้อดีของ Omni Media ทำให้ลูกค้าสามารถสื่อสารผ่านสื่อการตลาดออฟไลน์ที่เชื่อมโยงออนไลน์ได้โดยทันที  ยกตัวอย่าง ร้านค้าใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่ในห้าง ติดตั้งสื่อ POP ที่ทำการสแกน QR Code เพื่อเข้าถึงข้อมูลร้านและโปรโมชั่นได้ทันที  หรือเทคโนโลยี Location Base Service สามารถส่งข้อความเข้ามือถือลูกค้าที่อยู่ในรัศมีร้านเพื่อแนะนำสินค้าและบริการ  ลูกค้าสามารถคลิกเพื่อรับสิทธิพิเศษผ่านข้อความได้เลยทันที นอกจากนั้นการใช้เครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงกัน ยังช่วยในเรื่องการสื่อสาร ลดความเข้าใจผิด เพราะเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน ทำให้จัดการแคมเปญต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น   ใช้เพื่อรู้จักลูกค้ามากกว่าที่เคย การสื่อสารออฟไลน์ที่เคยเป็นการสื่อสารทางเดียว สามารถเชื่อมโยงออนไลน์ได้ และมีเครื่องมือที่หลากหลายในการเก็บข้อมูลลูกค้า การเก็บข้อมูลลูกค้า สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น และข้อมูลของลูกค้าจะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดในการทำกิจกรรมทางการตลาด ร้านอาหารดัง ๆ หลายแห่ง เริ่มเก็บข้อมูลความต้องการพิเศษ […]

พนักงานบริการผิดพลาด

วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด

เราไม่ได้กำลังทำธุรกิจอาหาร แต่เรากำลังทำธุรกิจบริการผ่านอาหาร ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการปะทะกับลูกค้าไม่ได้เลย เราจึงมี วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด มาฝาก

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ

อยากเปิดร้านอาหาร แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? เรามีขั้นตอน การเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร มาฝาก เผื่อจะเป็นแนวทางสำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.