ทำไม Starbucks งดเสิร์ฟวิปครีมสำหรับบริการ Delivery?

ทำไม Starbucks งดเสิร์ฟวิปครีม สำหรับบริการ Delivery?

ทำไม Starbucks งดเสิร์ฟวิปครีม
สำหรับบริการ Delivery?
ถอดบทเรียน ดราม่าสั่งเครื่องดื่มผ่านแอปฯ กับวิปครีมที่หายไป

ทำไม Starbucks ถึงงดเสิร์ฟวิปครีมสำหรับบริการ Delivery ? วันก่อนได้มีประเด็นดราม่าเกี่ยวกับการเสิร์ฟวิปครีมผ่านบริการ Delivery กับร้านคาเฟ่แห่งหนึ่ง ที่โดนลูกค้าคอมเพลนประมาณว่าร้านแย่มาก สั่งกาแฟใส่วิปครีมมา แต่ไม่เห็นมีวิปครีมเลย ไม่ตรงปก ไม่น่ามาขายในแพลตฟอร์ม ในขณะเดียวกันร้านก็ได้ออกมาอธิบายว่าทางร้านได้ใส่วิปครีมไปให้แล้วจริง ๆ พร้อมแนบภาพจากล้องวงจรปิดของร้าน ในขณะที่พนักงานกำลังบีบวิปครีมลงบนเครื่องดื่ม เพื่อยืนยันว่าทางร้านใส่วิปครีมไปให้แล้วจริง ๆ ซึ่งสันนิษฐานว่าวิปครีมอาจจะละลายไปในระหว่างการจัดส่ง

ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องบอกก่อนว่าวิปปิ้งครีมที่ใช้กับเครื่องดื่ม แบ่งออก 2 ชนิด คือ วิปปิ้งครีมแท้ และวิปปิ้งครีมเทียม

 

  • Dairy Whipping Cream วิปปิ้งครีมชนิดครีมแท้ หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “ครีมสด” เผ็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไขมันเนยที่มาจากนมวัว 100% โดยมีไขมันเนยอยู่ที่ 30-35% มีสีออกครีมอ่อน หรือเหลืองอ่อน ๆ ค่อนข้างมีความเข้มข้น และหอมกลิ่นนมที่ชัดเจน วิปครีมชนิดนี้ไม่มีการเติมความหวานลงไป ตีให้ขึ้นฟูยาก เกิดการยุบตัว และแยกชั้นง่าย ไม่คงทนต่อสภาพอากาศ

กล่าวคือ อุณหภูมิที่สูงมีผลต่อการตีขึ้นของวิปปิ้งครีม โดยควรเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ 2-6 °C ดังนั้นจึงไม่ควรนำออกมาวางรอ ควรนำออกมาจากตู้เย็นเมื่อจะใช้งานเท่านั้น ค่อนข้างมีอายุสั้น เสียง่าย หลังเปิดใช้งานจึงควรใช้ให้หมดภายใน 4-5 วัน โดยวิปปิ้งครีมชนิดนี้ถือว่าเป็นรสครีมที่มีรสชาติดีที่สุด เหมาะกับการนำมาทำเมนูเครื่องดื่ม และเบเกอรีที่ต้องแช่ตู้เย็น เช่น เครปเค้ก บานอฟฟี่ เค้กครีมสดต่างๆ

  • Non-Dairy Whipping Cream วิปปิ้งครีมเทียม เป็นวิปปิ้งครีมที่มีส่วนผสมของไขมันพืช โดยอาจจะเป็นไขมันพืช 100% หรือไขมันพืชผสมกับไขมันนม ในอัตราส่วน 1:1 มีการแต่งกลิ่น และน้ำตาลเพื่อแต่งรสชาติ มีลักษณะคงตัว ทนต่อสภาพอากาศร้อน ค่อนข้างตีขึ้นให้ฟูง่าย ไม่ค่อยยุบตัว และมีราคาที่ถูกกว่า วิปปิ้งครีมแบบ Dairy Whipping Cream


สำหรับ Starbucks ใช้วิปปิ้งครีมชนิดแรก นั่นก็คือ Dairy Whipping Cream วิปปิ้งครีมชนิดครีมแท้ ซึ่งค่อนข้างยุบตัวและแยกชั้นง่าย ไม่คงทนต่อสภาพอากาศ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการขายที่ต้องผ่านการขนส่งอย่างการ Delivery เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาหารหรือเครื่องดื่มที่ต้องผ่านการขนส่งนั้น จะมีคุณภาพ หน้าตาต่างออกไปจากใช้บริการรับประทานที่ร้าน เพราะยังมีปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่อสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาในการขนส่ง สภาพอากาศ สภาพของถนนหนทางที่ผ่าน ไปจนถึงประสิทธิภาพกล่องบรรจุอาหารและการถือของไรเดอร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางแบรนด์ไม่สามารถควบคุมได้ และมันอาจส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า และภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่นเดียวกับที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น ทั้งนี้จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไม Starbucks ถึงเลือกที่จะงดเสิร์ฟวิปครีมสำหรับบริการ Delivery

References: https://food.trueid.net/detail/Y9oe54LWy2mA, https://www.facebook.com/bblks/posts/6161300190563505, https://www.facebook.com/…/a.1746…/10159393759432766/…
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ร้านอาหารส่วนใหญ่มัก ซื้อวัตถุดิบเอง มากกว่า ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ปัจจัยความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม!

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จ คือการ กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ให้ชัดเจน เพราะจะช่วยให้ทราบว่าอาหาร 1 จานมีต้นทุนเท่าไรและควรตั้งราคาเท่าไรจึงเหมาะสม

เครื่องครัวร้านอาหาร

เทคนิค เลือกเครื่องครัว ให้เหมาะกับร้านอาหาร

เครื่องครัว เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุด ที่ร้านอาหารจะขาดไม่ได้เลย วันนี้เราจึงมีเทคนิคการ เลือกเครื่องครัว ร้านอาหาร สำหรับมือใหม่มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.