ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด - Amarin Academy

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ

ตั้งราคาขาย อย่างไร 

ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น 

        แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP ที่เพิ่มขึ้นมาด้วย ดังนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุด เพื่อจะเหลือกำไรมากพอที่จะบริหารร้านให้อยู่รอดต่อไป รวมถึงนำกลยุทธ์ในการตั้งราคาขายอาหารมาใช้ ได้แก่

ตั้งราคาขาย

        ตั้งราคาล่อตาล่อใจ (Leader Pricing) 

        เป็นการตั้งราคาอาหารให้ต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจ และใช้ประโยชน์จากความสนใจนี้กระตุ้นการขายเมนูอาหารอื่นๆ ในร้าน และได้กำไรจากเมนูอื่นๆ มาชดเชย ซึ่งการเลือกเมนูมาตั้งราคาแบบนี้ ควรเป็นอาหารที่มีต้นทุนไม่สูงจนเกินไป และอย่าลืมว่าควรจำกัดจำนวนที่ซื้อได้ของลูกค้าแต่ละราย โดยกลยุทธ์แบบนี้สามารถจัดเป็นช่วงโปรโมชันสั้นๆ หรือจะทำแบบประจำก็ได้ เช่น จัดเป็นเมนูอาหารราคาพิเศษประจำสัปดาห์ของร้าน หรือเป็นอาหารทานเล่นราคาเบาๆ เพื่อจะส่งเสริมการขายเมนูอาหารหลัก  

        ตั้งราคาสูงพิเศษ (Premium Pricing) 

        คือการตั้งราคาที่สูงขึ้น สำหรับอาหารที่มีคุณภาพสูงขึ้นมากกว่า แทนที่จะลดราคาแข่งกับร้านคู่แข่ง ทางร้านต้องเน้นการสร้างภาพลักษณ์ว่า เป็นอาหารที่มีคุณภาพสูงใช้วัตถุดิบที่ดีกว่า เสนอบริการที่ดีกว่า มีความพิเศษที่หาไม่ได้จากร้านอื่น รวมถึงต้องมีการตลาดส่งเสริมภาพลักษณ์ของร้านและอาหารร่วมด้วย และควรตอบสนองความคาดหวังที่มากขึ้นของลูกค้าให้ได้ด้วย

ตั้งราคาขาย


        ตั้งราคาเพื่อเจาะตลาด
(Penetration Pricing)

        เป็นวิธีที่ตั้งราคาอาหารเมนูใหม่ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เฉพาะในช่วงแรกที่เปิดตัวเมนูนั้นๆ แก่ลูกค้า เพื่อให้อาหารราคาถูกกว่าปกติเป็นสิ่งดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ และหันมาซื้ออาหารของร้าน เมื่อเวลาผ่านไปก็กลับมาตั้งในราคาปกติ เรียกได้ว่าเป็นราคาโปรโมชันในช่วงสั้นๆก็ได้  

        กลยุทธ์ราคาเลขคี่ (Odd Pricing) 

        คือการตั้งราคาให้ลงท้ายด้วยเลขคี่ ส่วนมากที่นิยมทั่วไปคือการลงท้ายด้วยเลข 9 ก่อนที่จะขึ้นหลักต่อไป เช่น 99 บาท 199 บาท โดยในเชิงจิตวิทยาลูกค้าจะรู้สึกว่าราคาดูต่ำลง และคุ้มค่าที่จะซื้อมากขึ้น แม้ว่าจริงๆแล้วจะต่างกันแค่ 1 บาทก็ตาม 

        การตั้งราคาตามช่วงเวลา (Seasonal Pricing) 

        การตั้งราคาตามช่วงเวลานี้ คือวิธีที่กำหนดราคาสินค้าให้ต่ำลง ในช่วงที่มีลูกค้ามาซื้ออาหารน้อย ขึ้นอยู่กับทำเลและลักษณะของร้าน เช่น ในร้านอาหารที่ไม่ได้อยู่ในทำเลที่มีคนมากนัก อาจจะตั้งราคาขายให้ถูกลงในช่วงบ่ายหรือช่วงดึกที่มีลูกค้าเข้ามาน้อย เพื่อกระตุ้นให้มีลูกค้ามาซื้ออาหารมากขึ้น 

ตั้งราคาขาย

        กลยุทธ์ราคาชุด (Product Set Pricing)

        การขายอาหารเป็นเซตเมนู คือรวมเมนูอาหารมากกว่า 1 เมนูมารวมกันเพื่อขายเป็นชุด จะมีความน่าสนใจของรูปภาพที่นำมาโฆษณา และลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ามากกว่าเดิม แม้ว่าเราอาจจะตั้งราคารวมของชุดอาจจะต่ำกว่าราคาปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้นต่อครั้ง 

        แนวระดับราคา (Price Lining)

        การที่ร้านอาหารมีตัวเลือกของเมนูประเภทเดียวกัน แต่หลายราคาขึ้นอยู่กับขนาดของอาหาร หรือคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาใช้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือกซื้อเมนูอาหารที่อยู่ในระดับราคาที่พอใจตามความต้องการของแต่ละคน การตั้งราคาแบบแนวระดับราคานี้จะช่วยเพิ่มความหลากหลาย และเพิ่มโอกาสในการขายได้ดีกว่าทำเมนูที่คล้ายๆกันในราคาที่ใกล้เคียงกัน

        กลยุทธ์ราคาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย และดึงดูดลูกค้า แต่ไม่ว่าร้านอาหารของคุณจะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแบบไหน อย่าลืมนำเสนอให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่าจากการซื้อสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี อาหารรสชาติอร่อย สะอาด ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผลครับ

 

เรื่องแนะนำ

มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง!

หากคุณเปิดร้านอาหาร และต้องการทำตลาดออนไลน์ให้สำเร็จ ก็ต้องเริ่มต้นสร้างตัวตนในใจลูกค้าให้ได้ก่อน ร้านค้าเกือบทุกร้านใช้วิธีการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และแข่งกันด้วยการทำ Content Marketing จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร้านของคุณจะสามารถเป็นหนึ่งในร้านที่ลูกค้าเลือก มาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรที่น่าสนใจ และนำไปปรับใช้กับร้านของคุณได้บ้างสำหรับ มือใหม่เปิดร้านอาหาร  มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง! ทำให้….เหนือความคาดหมาย การสื่อสารที่ดีอย่างเหนือความคาดหมาย จะทำให้ลูกค้าจดจำคุณได้เพียงข้ามคืน  ยกตัวอย่างร้านอาหารเรือนจรุง ร้านอาหารไทยในจังหวัดอยุธยา สามารถรับลูกค้าได้เพียงโต๊ะเดียว การที่ลูกค้าจดจำว่าเป็นร้านที่จองยาก เป็นจุดขายที่แตกต่างก็จริง แต่ก็อาจจะทำให้ลูกค้าปัจจุบันที่ชอบความสะดวก ไม่ชอบรอนานจนถอดใจ แต่ร้านนำตรงนี้มาเป็นจุดแข็ง โดยกำหนดให้ลูกค้าอยากจะกินจริง ๆ เขียนจดหมายมาเพื่อบอกเหตุผลว่าทำไมถึงควรได้คิวที่ร้านไป การเขียนจดหมายเป็นรูปแบบวิธีการสื่อสารแบบเดิมขัดกับพฤติกรรมคนปัจจุบัน เป็นวิธีการที่เหนือความคาดหมาย แต่ยังสามารถบอกตัวตนของร้านที่เน้นการอาหารตำรับไทย ปรุงด้วยกรรมวิธีแบบเดิม ๆ อีกด้วย เห็นได้ว่า การทำให้เกิดการแชร์ Content เป็นเรื่องยากในปัจจุบัน แต่คนแชร์ที่เรื่องราวเหล่านี้ออกไปเพราะอยากแชร์ โดยไม่คำนึงว่ากำลังโฆษณาให้กับร้านนี้เลย จึงทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น   ทำให้รู้… Right Time Right Target           การสื่อสารว่าคุณเป็นร้านอาหารที่สามารถตอบความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการเป็นการสื่อสารกับลูกค้าทั่วไปที่อยากกินอาหารอยู่แล้ว มันจึงไม่เพียงพอ  การศึกษาความต้องการเชิงลึกของลูกค้าให้ได้ รู้ว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร อยากได้อะไร และสามารถนำเสนอมันได้อย่างถูกเวลา จะทำให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้มากกว่า เช่น ร้านอาจจะพบว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นหัวหน้าครอบครัว […]

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

เทคนิคเรียกลูกค้า

เทคนิคเรียกลูกค้า (ที่ไลก์เพจ) ให้เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหาร

จะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่กดไลก์เพจ เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณกำลังกังวลใจกับเรื่องนี้อยู่ ลองนำเอา 5 เทคนิคเรียกลูกค้า นี้ไปปรับใช้กัน

จัดการธุรกิจร้านอาหาร

5 เหตุผลที่ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ จัดการธุรกิจร้านอาหาร

เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้การจัดการสินค้าคงคลังเป็นไปอย่างสมบูรณ์ โดยใช้ข้อมูลการขายเพื่อคาดการณ์ความต้องการและลำดับการผลิต เพื่อลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด จึงสามารถรับประกันการสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งคือจำกัดการสูญเสียและเพิ่มรายได้ให้กับร้านอาหารนั่นเอง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.