กลยุทธ์ร้านอาหาร – Amarin Academy

เริ่มธุรกิจจากก้าวเล็ก ๆ เปิดท้ายขายของหลังรถ ตัวเลือกการขาย ที่ทำให้ใกล้ลูกค้าได้มากขึ้น

เริ่มธุรกิจจากก้าวเล็ก ๆ เปิดท้าย ขายของหลังรถ ตัวเลือกการขาย ที่ทำให้เราใกล้ลูกค้าได้มากขึ้น เคยไหม ? อยากจะเริ่มต้นขายอาหาร แต่ก็อยากเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ลงทุนไม่มาก ถ้าคิดว่าขายได้ ก็ค่อยขยับขยายต่อ วันก่อนแอดได้ไปสะดุดตากับโพสต์หนึ่งในกลุ่มขายของแถวบ้าน ที่เจ้าของร้านได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาเปิดท้ายขายขนมและผลไม้ ซึ่งเดาว่าเธอน่าจะทำงานประจำ แล้วมาเปิดขายเวลาเลิกงาน เพราะไม่ได้มาทุกวัน ตอนได้เห็นก็เออน่ารักดี เอาของที่มีอยู่มาปรับใช้ และทำให้นึกถึงอีกร้านหนึ่งที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาเปิดท้ายขายของเหมือนกัน และช่วงปีก่อนดังมากแต่ร้านนี้ขายส้มตำ มาวันนี้เขาก็ยัง ขายหลังรถ เหมือนเดิมนะ แต่ที่เพิ่มเข้ามาคือมีหน้าร้านในห้างฯ ด้วย ปังไหมล่ะ นี่จึงทำให้เห็นว่าแม้ว่าจะเริ่มจากก้าวเล็ก ๆ ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะขยับขยายไม่ได้อีก มาถึงตรงนี้เห็นคนใช้รถมาขายของ แล้วหันมามองดูรถตัวเอง เราก็มีต้นทุนนี่นา งั้นวันนี้เราลองมาดูว่าถ้าเราอยากจะ เปิดท้ายขายของ บ้าง จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง? การขายท้ายรถเป็นยังไง? การขายท้ายรถที่ว่านี้ เป็นการเอารถมาเปิดท้ายทำเป็นหน้าร้าน โดยนำเอาสินค้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาจัดวางในบริเวณที่วางสัมภาระหลังรถ และใช้วิธีการไปจอดขายยังสถานที่หนึ่ง ๆ ที่สามารถจอดได้ โดยร้านอาจมีจุดจอดประจำเพื่อให้ลูกค้าจำได้ ว่าร้านจะขายอยู่ตรงนี้ หรืออาจใช้การกำหนดจุดจอดในแต่ละวัน แล้วอาศัยวิธีบอกให้ลูกค้าที่มาซื้อทราบ หรือแจ้งผ่านทางช่องทางต่าง ๆ แทน […]

ถอดบทเรียนสุกี้ตี๋น้อย เหตุผลของปรากฎการณ์ 5 ทุ่มก็ยังคิวล้นร้าน

ถอดบทเรียน สุกี้ตี๋น้อย เหตุผลของปรากฎการณ์ 5 ทุ่มก็ยังคิวล้นร้าน ผู้บริโภคตั้งคำถาม หลังอยากกิน ตี๋น้อย แต่คิวยาวทุกร้าน พร้อมรวมเหตุผลจากผู้บริโภคหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน เป็นเหมือนกันไหม ? อยากกิน ตี๋น้อย แต่คิวยาวเกิ้น… ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้มาโพสต์ตั้งคำถามใน “กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)” ถึงเรื่องการไปใช้บริการร้านสุกี้ตี๋น้อย ที่มักจะพบว่าทุกสาขามีลูกค้ารอคิวอยู่ยาวเหยียดตลอด พร้อมตั้งคำถามถึงการใช้กลยุทธ์การตลาดของร้านดังกล่าว ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้โพสต์ว่า “การตลาดตี๋น้อยเขาดีหรืออะไรยังไง เมื่อคืน5ทุ่มกว่าๆ ไปกินคิดว่าไม่มีคิว พอไปถึงคิวยาวเหยียด วนรถไปอีกสาขาก็คิวยาวเหมือนกัน ยอดขายจะปังไปไหน” ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่ม ผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นถึงเหตุผลที่ใครต่อใครมักจะไปใช้บริการร้านสุกี้ตี๋น้อย จนทำให้ทุกสาขามีคิวยาวอย่างที่เห็น โดยสามารถสรุปเป็นเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้ ความคุ้มค่า เรื่องราคาเป็นเหตุผลอันดับแรก ๆ ที่หลายคนบอกว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเขามาใช้บริการร้านสุกี้ตี๋น้อย เนื่องจากสุกี้ตี๋น้อย ถือว่าอยู่ในเรทราคาที่จับต้องได้ และสามารถทานได้หลายอย่าง โดยบางคนได้ยกตัวอย่างว่าถ้าเทียบกับร้านอื่นที่เรทราคาเท่ากัน บางร้านอาจจะไม่มีอาหารประเภทซีฟู้ดรวมอยู่ด้วย แต่สุกี้ตี๋น้อยมี และที่สำคัญคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ ก็อยู่ในระดับที่เขาพึงพอใจ ประกอบกับบรรยากาศของร้านสุกี้ตี๋น้อยที่อยู่ในห้องแอร์ มีที่นั่งกว้างขวาง จึงทำให้เขารู้สึกคุ้มค่าในการมาใช้บริการ ช่วงเวลาในการเปิด ต่อมาคือช่วงเวลาในการเปิดปิดร้านที่เปิดตั้งแต่ 12.00-05.00 ด้วยช่วงเวลาเปิดที่ยาวนานถึงดึก ตรงนี้จึงเป็นจุดหนึ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่มีเวลามาใช้บริการในช่วงกลางวัน […]

#ถอดบทเรียน BEARHOUSE ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม “Music Marketing” กลยุทธ์ที่ให้มากกว่าความเพลิดเพลิน

#ถอดบทเรียน BEARHOUSE ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม การสร้าง Brand Loyalty และอยากเป็น “เพื่อน” “Music Marketing” กลยุทธ์ที่ให้มากกว่าความเพลิดเพลิน เพราะเพลงมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์… สอง youtuber ดัง คุณกานต์ และคุณซารต์ เจ้าของแบรนด์ Bear House ได้ออกมาเล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำเพลงหรือ BEARHOUSE Playlist เพื่อนำมาเปิดในร้าน โดยทั้งคู่ได้มาแชร์เรื่องราวของการทำเพลงนี้ ดังนี้ 🔸แรงบันดาลใจ💖 โดยคุณกานต์ และคุณซารต์ได้เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการทำเพลงนี้ มาจากช่วงที่พวกเขาต้องทำงานอยู่บ้านหรือ Work frome Home นั้น ได้มีการเปิดเพลย์ลิสต์เพลงของแบรนด์สินค้าสุดมินิมอลอย่าง Muji ฟังอยู่ตลอด ซึ่งการฟังเพลงนี้ได้ทำให้เขารู้สึกราวกับว่าเขากำลังเลือกซื้อของอยู่ในร้าน Muji อะไรอย่างนั้นเลย อีกทั้งยังทำให้เขาเกิดความรู้สึกจงรักภักดีต่อแบรนด์ จนรู้สึกว่าถ้าไปห้างจะต้องแวะไปซื้อของที่ Muji ด้วย ทั้งนี้จึงทำให้พวกเขาเกิดแรงบันดาลใจว่าเมื่อเพลงของ Muji ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ได้ ก็อยากให้ Bear House มีเพลงที่ฟังแล้วสามารถคิดถึง Bear House […]

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

ตั้งราคาขาย

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ ตั้งราคาขาย อย่างไร  ให้ขายได้และร้านอยู่รอด         พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น          แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.