10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร? - Amarin Academy

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย

 

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า

Step by Step

  1. ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป
  2. เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand Profile ของร้านคุณต้องน่าสนใจ เพื่อให้ทางศูนย์การค้าพิจารณา โดยอาจจะมีการไปทดสอบรสชาติอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้านก่อน
  3. หลังจากส่ง Brand Profile แล้ว ซึ่งในนั้นจะมีการระบุพื้นที่ที่ต้องการด้วย ทางศูนย์การค้าจะทำการพิจารณาหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับร้าน ประเภทของร้าน และทำเลที่เหมาะ เมื่อได้พื้นที่แล้วก็จะเสนอกลับไปยังเจ้าของร้านให้ทราบ
  4. นัดเจ้าของร้านเพื่อเข้ามาดูพื้นที่จริงที่เสนอไป ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ ถ้าพอใจกับพื้นที่นั้น ก็จะพูดคุยถึงรายละเอียดกันต่อไป เช่น อายุสัญญา เงินประกันการเช่าที่ และค่าใช้จ่ายต่างๆ กับศูนย์การค้า
  5. เมื่อเจ้าของร้านพอใจกับพื้นที่ที่นำเสนอไป ลำดับถัดมาศูนย์การค้าจะส่งใบจองพื้นที่ไปให้ จากนั้นลูกค้าทำการเซ็นใบจองกลับมา
  6. ศูนย์การค้าเริ่มขั้นตอนของการทำสัญญา โดยเริ่มมีการเก็บเงินประกันการเช่าที่ได้ชี้แจงไว้ (ข้อ 4) ค่าใช้จ่ายการทำสัญญา เช่น สัญญา 1 ปี คิดเงินประกัน 3 เดือนของค่าเช่า // สัญญา 3 ปี คิดเงินประกัน  6 เดือนของค่าเช่า ซึ่งเงินประกันทางศูนย์การค้าเก็บไว้ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงทางศูนย์การค้าจะคืนให้
  7. เจ้าของร้านเริ่มออกแบบร้านตามขนาดพื้นที่ที่ได้ แต่ต้องส่งให้ทางศูนย์พิจารณา Approve ด้วย
  8. เมื่อ Approve แล้ว จะมีการนัดประชุมกันระหว่างเจ้าของร้าน ทีมผู้รับเหมาก่อสร้าง และศูนย์การค้า ก่อนเริ่มเข้าตกแต่งร้านในพื้นที่จริง
  9. เจ้าของร้านเริ่มเข้าตกแต่งร้านได้ ระยะเวลาในการก่อสร้างขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ด้วย โดยมาตรฐานจะอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 30 วัน (ในระหว่างการก่อสร้าง ยังไม่มีการเก็บค่าเช่า) และสามารถเข้าก่อสร้างได้ในช่วงศูนย์การค้าปิดทำการ แต่ถ้าก่อสร้างในระหว่างทำการจะต้องไม่มีเสียง หรือกลิ่น ที่ส่งผลกระทบกับร้านอื่นๆ

(*ข้อจำกัดการก่อสร้างในการ ขายอาหารในศูนย์การค้า ⇒ ร้านอาหารจะต้องทำตัวกันซึมสำหรับพื้นที่ครัว / มีการขังน้ำทิ้งไว้ก่อน 1 วัน เพื่อดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับร้านอื่นๆ)

  1. งานก่อสร้างร้านเสร็จ ตรวจความเรียบร้อย หากไม่มีความบกพร่องใดๆ ก็สามารถเริ่มเปิดร้านได้ตามช่วงเวลาที่วางไว้

ขายอาหารในศูนย์การค้า

** ข้อมูลที่นำเสนอดังกล่าว เป็นตัวอย่างขั้นตอนของทางศูนย์การค้า Seacon  Square ซึ่งขั้นตอนการ ขายอาหารในศูนย์การค้า หรือเงื่อนไขการทำสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละศูนย์การค้าเป็นผู้กำหนด อาจมีความแตกต่างกันบ้าง ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ประกอบการ สอบถามรายละเอียดกับแต่ละศูนย์การค้าโดยตรงอีกครั้ง

 

ขอบคุณข้อมูล / ภาพ : ศูนย์การค้า Seacon  Square

 

อ่านต่อบทความที่น่า

สำรวจตัวเองให้พร้อม ก่อนตัดสินใจ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

รวม ข้อดีของการเปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ที่คุณคาดไม่ถึง!

 

เรื่องแนะนำ

ลดต้นทุน! ทางรอดร้านอาหาร ฝ่าวิกฤติ COVID-19 by เซฟอู๋

จากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คงหนีไม่พ้นธุรกิจร้านอาหาร ที่ไม่สามารถนั่งกินในร้านได้ หรือต้องสั่งกลับบ้านเท่านั้น ซึ่งการปรับตัวด้วยบริการ Delivery อาจจะยังไม่เพียงพอ ที่จะประคองธุรกิจให้อยู่รอด วันนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับคุณรสิก ดุษฎีพรรณ์ หรือเซฟอู๋ เจ้าของร้าน Bake Me Tender และร้าน Rock’n Roll Sushi Cafe จะมาแชร์เรื่องของการลดต้นทุนที่เป็น ทางรอดร้านอาหาร และพาธุรกิจให้ผ่านวิกฤติ COVID-19 ในช่วงนี้ ปรับแผนเชิงรับ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของร้าน ในสถานการณ์ COVID-19 ร้านเราปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ช่วงนี้โดยเฉพาะ โดยเริ่มต้นจากการปรับแผนเชิงรับก่อน เพื่อที่จะลดต้นทุนที่เกิดขึ้นภายในร้าน เพราะตอนนี้ยอดขายของร้านลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะเราไม่สามารถให้ลูกค้านั่งกินที่ร้านได้ โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการภายในร้านเอง ซึ่งมี 3 ส่วนที่เรามองว่าสำคัญ ข้อหนึ่งเลยก็คือเรื่องของเมนูอาหาร อย่างร้าน Rock’n Roll Sushi Cafe จากที่เคยมีร้อยกว่าเมนู เราก็ปรับให้เหลือประมาณ 20 เมนู เพื่อลดการสต๊อกวัตถุดิบจากที่ปกติ จากที่สต๊อกเป็นเดือนเหลือแค่สต๊อกเป็นสัปดาห์ก็พอ เพื่อรักษาเงินสดย่อยไว้ใช้จ่ายในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ในทุกๆวัน ข้อสองก็คงหนีไม่พ้นต้นทุนสำคัญที่หลายๆร้านต้องจ่าย คือค่าเช่าร้านที่ถือเป็นรายจ่าย […]

หม้อเบ้อเร่อ

ถอดบทเรียน “ หม้อเบ้อเร่อ “ พลิกวิกฤติร้านเกือบเจ๊ง ให้กลับมาอยู่รอดอีกครั้ง

หลายคนทำร้านอาหารตามกระแส เห็นร้านอื่นขายดี ก็เลยอยากจะขายบ้าง แต่บอกเลยว่าการทำร้านอาหารหนึ่งร้านนั้น ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ร้าน หม้อเบ้อเร่อ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างร้านชาบูบุฟเฟต์ที่น่าสนใจ ที่ผ่านทุกช่วงมาแล้ว ตั้งแต่เริ่มขายรายได้หลักแสน จนเข้าขั้นวิกฤติขาดทุนวันละหมื่น แล้วฟื้นตัวกลับมาขายดีมีลูกค้าต่อเนื่องอีกครั้ง หม้อเบ้อเร่อ พลิกธุรกิจที่เกือบเจ๊ง ให้กลับมาปังอีกครั้งได้อย่างไร มาฟังคำตอบจาก คุณป๊อป ฐิติพงศ์ เนตรพ่วง เจ้าของร้านกันครับ >> หม้อเบ้อเร่อ เปิดใหม่กระแสดี ยอดขายหลักแสนต่อวัน ช่วงแรกที่เปิด หม้อเบ้อเร่อ เป็นกระแสดีมาก เป็นชาบูถาดใหญ่ จานใหญ่ๆ ยังไม่เคยมีใครทำ และอยู่ต่างจังหวัดด้วย คนยังไม่เคยเห็นแบบนี้ เรียกว่าใหม่มาก แปลก ออกสื่อเยอะ ลูกค้าจองเป็นเดือน ตอนนั้นเราเลยคิดว่าเรามาถูกทางแล้ว เราขายดีอยู่เป็นปีครับ แต่หลังจากนั้นพอกระแสมันหมด นี่คือชีวิตจริงแล้ว ทีนี้เราต้องมองให้ออกว่า อะไรคือกระแส อะไรคือของจริง วันที่เราแย่สุดๆ เคยขายได้วันละแสนขึ้น ลงมาเหลือสี่พัน แย่สุดๆเลย อยู่แบบนั้นประมาณ 3-4 เดือนจนเราคิดว่ามันลงถึงจุดที่ต่ำสุดแล้ว ถึงขั้นขาดทุนวันละหมื่น คิดว่าอยู่แบบนี้ไม่ไหวแล้ว ทั้งค่าพนักงาน ค่าเช่า ถ้าปล่อยไปแบบนี้ไม่รอด วิกฤติมาก […]

ธุรกิจเบียร์

Café Amber เจาะลึกเบื้องหลัง การจัดการ ธุรกิจเบียร์

ใครกำลังสนใจทำ ธุรกิจเบียร์ แนะนำให้อ่านบทสัมภาษณ์นี้ แล้วจะรู้เลยว่า ถ้าจะทำธุรกิจเบียร์ต้องคิดให้รอบ เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด!

ผ่านวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน กับเทคนิคปรับตัวของร้านอาหารในช่วงวิกฤติ COVID-19 จาก Penguin Eat Shabu

Penguin Eat Shabu ในสถานการณ์ที่อะไรๆ ก็ดูไม่เป็นใจ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความเศร้าปกคลุม จะดีกว่าไหม ถ้าเรามาเติมไฟในตัวให้ลุกโชนด้วยการนั่งดูสาระดีๆ เก็บความรู้ไปต่อยอด สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารผ่าน LIVE บนช่องทาง LINE Official Account : LINE for Business กันดีกว่าครับ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ผมได้นั่งฟัง “คุณต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu” พูดคุยถึงเรื่อง ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรในช่วง COVID-19? พร้อมคุณโซอี้-ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ LINE Certified Coach ที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมในการใช้ LINE เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างน่าสนใจมาก ผมเลยนำประเด็นมาสรุปและเรียบเรียงออกมาให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ Penguin Eat Shabu ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น ร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูขวัญใจทั้งวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ที่มาพร้อมกับสโลแกนน่ารักๆ ว่า “ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น” […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.