7 ขั้นตอนสุดง่าย สำหรับมือใหม่ หัดเขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย

            คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

2.กำหนดรูปแบบ            

            วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีการอธิบายเป็นลำดับขั้น ( Hierarchical Format) เขียนโดยใช้ลำดับหัวข้อใหญ่ และมีหัวข้อย่อย หรือการใช้ภาพประกอบคำอธิบาย เช่น  การจัดเตรียมวัตถุดิบ การปรุงตกแต่งเมนู การจัดโต๊ะเสิร์ฟ การใช้งานเครื่องจักร  สุดท้ายคือ SOP ที่เขียนเพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงานที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในส่วนอื่น ๆ เช่น  (Flowchart) หรือการทำ Mind Map  รูปแบบนี้ยังใช้ได้ผลดีสำหรับการปฏิบัติงานที่ผลสามารถเกิดขึ้นได้หลายๆ ทางในสถานการณ์จริง เช่น การวาง SOP สำหรับบริหารจัดการลูกค้าร้องเรียน ซึ่งจะต้องกำหนดให้มีแนวทางในการแก้ไขสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

 

3.กำหนดรายละเอียด

            เจ้าของร้านอาหารบางท่าน มองว่า SOP ทำให้การดำเนินงานไม่ยืดหยุ่น มีความละเอียดมากเกินไปจนขาดอิสระในการดำเนินงาน จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการลงรายละเอียดมากนัก แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ยิ่งคุณอยากอิสระในการบริหารร้านอาหารมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องลงรายละเอียดงานที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นมาตรฐาน ลดเวลาในการฝึกอบรม เจ้าของร้านอาหารก็มีอิสระในการจัดงานส่วนอื่น แทนที่จะต้องมาใช้สัญชาตญาณในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหน้าร้านตลอดเวลา

 ก่อนเริ่มต้นเขียน SOP งานในแต่ละส่วน จะต้องลิสต์ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง  ใครเป็นผู้เกี่ยวข้อง ณ หน้างานนั้น ๆ บ้าง จากนั้นกำหนดขอบเขตเพื่อลงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนให้รัดกุม เจ้าของร้านอาหารควรได้พูดคุยกับทีมงาน และเปิดโอกาสให้ทีมที่เกี่ยวข้องเสนอแนวทาง ก่อนจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกข้อกำหนดการปฏิบัติงานที่คิดว่าได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยสามารถเลือกแนวทางที่สามารถวัดผลได้

 

4. ต้องออกแบบด้วยตัวเอง

            ทุกสิ่งที่ลูกค้าได้สัมผัสคือประสบการณ์ที่เขาได้รับจากร้านอาหารของคุณ ประสบการณ์เหล่านี้สามารถกำหนดได้ด้วย SOP เพราะฉะนั้น SOP จึงไม่ใช่การจัดทำโดยมีวัตถุประสงค์ด้าน Function เพียงอย่างเดียว แต่มีวัตถุประสงค์ด้าน Emotion ร่วมด้วย โดยเฉพาะ  SOP ด้านการบริการ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการสื่อสารโดยตรงกับลูกค้า ปัจจุบันคุณสามารถค้นหา SOP งานบริการได้จากร้านอาหารทั่วโลก มี SOP ที่ดีที่สุดที่สามารถนำมาปรับใช้กับร้านอาหารของคุณได้มากมาย  แต่การเขียน SOP ในการให้บริการที่ดีที่สุด คือการเขียนมันขึ้นมาเอง โดยสอดคล้องกับคอนเซปต์ร้านอาหารของคุณ

 

5. ตรวจสอบ

            หลังจากเขียน SOP ในแต่ละส่วนเสร็จแล้ว จำเป็นต้องมีการรีวิว SOP เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนการนำไปใช้งานจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดของ SOP คือ ทีมงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจ จดจำได้ง่าย และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบต้องคำนึงถึงผลกระทบการใช้งานจริงในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น  ความเหมาะสมกับสถานการณ์จริง ความปลอดภัย  อุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อมในการทำงานจริง

 

6.ทดสอบการใช้งาน

            ควรกำหนดให้มีการทดสอบการบริหารจัดการหน้าร้าน เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับทีมงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เห็นถึงความต่อเนื่องเพื่อปรับแก้ไขก่อนใช้งานจริง  โดย SOP ที่ให้ประสิทธิผลที่สุด ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกขั้นตอนว่าต้องทำอย่างไรเพียงเท่านั้น แต่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ทีมงานเกิดความเข้าใจว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น เช่น พนักงานเสิร์ฟถูกกำหนดให้ถามลูกค้าก่อนเสิร์ฟน้ำแก้วใหม่ให้ทุกครั้งก็อาจจะรู้สึกว่าเสียเวลา แต่เมื่อรู้เหตุผลว่า จากสถิติการถามลูกค้าก่อนจะให้บริการนั้นลูกค้ารู้สึกดีกว่าเพราะรู้สึกว่าไม่ถูกรบกวน สร้างความรู้สึกที่ดีในการบริการ และยังเป็นช่วงที่พนักงานสามารถแนะนำเครื่องดื่มที่ใกล้หมดเพื่อให้เกิดการสั่งเพิ่มเติมได้ พนักงานก็จะมีความเข้าใจและมีเป้าหมายในการปฏิบัติงานตาม SOP ที่ได้กำหนดไว้

 

7.แก้ไขและพัฒนา          

การเขียน SOP นั้นไม่ใช่งานที่ทำเสร็จเพียงครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาด้วย การเขียน SOP สามารถกำหนดให้ใช้งานได้ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งควรกำหนดให้มีการวัดผล เช่น กำหนดไตรมาส เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบในระยะเวลาที่กระชั้นชิดเกินไปส่งผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินเงิน ทำให้ระบบไม่นิ่ง  อย่างไรก็ตาม ควรรีวิว SOP เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับแก้รายละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

SOP เป็นเครื่องมือในการวางระบบที่สำคัญต่อร้านอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งหากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหารที่อยากวางระบบ SOP ร้านอาหารของคุณให้ดีมากขึ้น แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ  นี่คือโอกาสที่คุณจะได้เรียนรู้และสามารถวางแผนระบบร้านอาหารอย่างชำนาญด้วยตัวคุณเอง ในหลักสูตร “SOP & Recipe Workshop รุ่นที่ 1” สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็น ระบบ ที่จะให้คุณเรียนรู้การวางระบบร้านให้ได้มาตรฐานพร้อมกับการฝึกปฏิบัติการจริง จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ แถมเผยสูตรเด็ดจากเชฟ A Cuisine ที่สามารถนำไปใช้เพื่อทำกำไรกับที่ร้านของคุณได้ด้วย

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

เรื่องแนะนำ

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

บริหาร ปัญหาคน ให้ลงตัว เรื่องที่เจ้าของร้านต้องจัดการให้ได้

การที่คุณจะประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหาร ร้านคุณจะต้องมีอาหารอร่อย บริการที่ถูกใจ  บรรยากาศที่ดี ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใช้ คนในการขับเคลื่อนทั้งสิ้น การเตรียมพร้อมเรื่อง ‘คน’ ได้ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ร้านอาหารต้องจัดการให้ได้ เพราะมีร้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลงเพราะ ปัญหาคน หรือพนักงานในร้านนั่นเอง ดังนั้น เจ้าของร้านควรรู้ก่อนเปิดร้านว่า ปัญหาเรื่องคนที่ต้องเจอมีอะไรบ้าง และมีวิธีการวางแผน หรือแก้อย่างไร   ปัญหาคน อะไรบ้างที่ร้านอาหารต้องเจอ 1. หาพนักงานยาก จะทำอย่างไรเมื่อร้านกำลังจะเปิด แต่ไม่มีคนทำงานให้ การสรรหาพนักงานจึงควรกำหนดเป็นแผนงานก่อนเปิดร้านอาหาร ถ้าเราแบ่งทีมงานด้านอาหารเป็น 2 ทีมหลัก คือทีมครัว และทีมหน้าร้าน ทีมครัวที่ควรจะหาได้เป็นอันดับแรกคือเชฟ เพราะจำเป็นต่อการกำหนดรูปแบบของอาหาร สูตรอาหารของร้าน โครงสร้างต้นทุนและวัตถุดิบ  ร้านควรกำหนดการหาพนักงานให้ได้ 90 % ก่อน 2-3 เดือนก่อนร้านเปิด เช่น ผู้จัดการร้าน  ผู้ช่วย พนักงานรับ Order  ที่เหลือสามารถหาได้ก่อนเปิดร้าน 1 เดือน  เช่น พนักล้างจาน  Food Runner   2.Turn Over สูง  ปัญหาคนเข้าออกเป็นปัญหาที่ร้านอาหารแทบทุกร้านต้องเจอ […]

เซตอัพทีมงานหน้าร้าน ทัพสำคัญเพิ่มยอดขาย

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ร้านอาหารขายดี ? หนึ่งในคำตอบ ก็คือการบริการให้ดี เพราะเรื่องบริการ ไม่ใช่แค่เสิร์ฟอาหาร แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าและผู้ที่เป็นด่านหน้าในการทำหน้าที่นี้ในร้านอาหาร ก็คือ ทีมงานหน้าร้าน จึงมีความสำคัญที่เจ้าของร้านอาหารจะต้องวางระบบเพื่อสร้างมาตรฐานในการทำงานให้เกิดขึ้นให้ได้ ทีมงานหน้าร้านประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ในการบริหาร และจัดการร้านอาหาร ดูแลความเรียบร้อย ทั้งวางแผนและการแก้ปัญหา ผู้จัดการร้านต้องดูแลให้ทีมงานทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ยังมีหน้าที่สำคัญในการบริหารและจัดการยอดขายให้เป็นไปได้ตามเป้าอีกด้วย ดูหน้าที่ผู้จัดการร้านต้องเก่งอะไรบ้าง Click link  พนักงานต้อนรับ ส่วนใหญ่ร้านอาหารประเภท Casual และ Fine Dinning จะมีการจ้างพนักงานต้อนรับ ทำหน้าที่เป็น Host ในการต้อนรับลูกค้า จัดคิวในช่วงเวลาลูกค้าเยอะ ถือเป็นคนแรกที่ได้พูดคุยให้คำแนะนำร้านอาหารแก่ลูกค้า และเป็นคนสุดท้ายที่จะกล่าวลาลูกค้าและเชื้อเชิญให้กลับมาอีกครั้ง พนักงานต้อนรับจึงต้องมีทักษะในการจัดการ และมี Service mind ยิ้มแย้มแจ่มใส และบุคลิกที่สะท้อนต่อรูปแบบร้านอาหารเป็นอย่างดี แคชเชียร์ พนักงานเก็บเงิน ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน การจัดทำบิล คิดเงิน ทอนเงินที่ถูกต้องให้แก่ลูกค้า บางครั้งแคชเชียร์ต้องรับหน้าที่ในการจองโต๊ะด้วยถือเป็นด่านแรกที่ได้คุยกับลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าอยากมาใช้บริการหรือเกิดความประทับใจหรือไม่ด้วยเหมือนกัน พนักงานออกอาหาร / พนักงานเสิร์ฟ เป็นตำแหน่งที่ต้องเผชิญหน้ากับลูกค้ามากที่สุด จะต้องมีความรวดเร็ว แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี […]

เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ

4 ทักษะที่เจ้าของร้านต้อง เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ

เจ้าของหลายร้านๆ คนก็คงเจอปัญหานี้เกี่ยวกับการบริการของพนักงาน แต่ไม่รู้จะปรับปรุงอย่างไร เราจึงมี 4 ทักษะที่เจ้าของร้านต้อง เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.