4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน - Amarin Academy

4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

“ถ้าไม่อยากเสียเพื่อน อย่าริทำธุรกิจกับเพื่อน” คำเตือนจากหลายๆ คน เมื่อการทำธุรกิจกับเพื่อนไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด อะไรคือสัญญาณเตือนก่อนที่จะเกิด ปัญหากับหุ้นส่วน และบอกคุณว่า ถึงเวลาแล้วที่คุณกับหุ้นส่วนจะต้องจับเข่าคุยกันเสียที ก่อนที่แตกคอกันจนมองหน้าไม่ติด

1. ละเลย

การสื่อสารอย่างเข้าใจ เป็นสิ่งสำคัญในทุกความสัมพันธ์ ผมไม่ได้หมายถึงแค่ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณ กับหุ้นส่วน แต่การสื่อสารใช้ได้ทั้งสามี-ภรรยา พ่อแม่-ลูก เจ้านาย-ลูกน้อง โดยเฉพาะทั้งเขาและคุณ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาก่อน การพูดคุยกันเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้ทุกความสัมพันธ์สามารถเดินหน้าต่อ การพูดคุยไม่ได้จำกัดแค่ว่า ต้องเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้เกิดผลกระทบกับคุณ หรือ ธุรกิจของคุณ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ปัญหาเล็กๆ รายละเอียดยิบย่อย ที่คุณเองมองข้าม แต่อาจจะเป็นเรื่องที่หุ้นส่วนของคุณมอง เป็นเรื่องใหญ่สำหรับเขาก็ได้

หลายครั้งที่ปัญหาต่างๆ ไม่สามารถแก้ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง การแก้ปัญหาด้วยกัน คิดด้วยกัน ก็มักจะมีประสิทธิภาพมากกว่า คุณลงเรือลำเดียวกับเพื่อนแล้ว เวลาเรือรั่ว คงไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดหนึ่ง ที่ต้องคอยตักน้ำออก แต่ทว่าอีกคนควรช่วยตัก อีกคนหาทางอุดรอยรั่ว เรือก็คงไม่มีทางจมแน่นอนครับ หากใครคนใดคนนึงมองข้าม บวกกับอีกคนหนึ่งไม่พูด กลายเป็นว่า ทั้งคุณและเพื่อนเองรอเวลาให้ปัญหามันสะสมไปเรื่อยๆ จนเกินแก้ไข ฉะนั้นการสื่อสารถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจร่วมกับคนอื่นครับ

2. บทบาทหน้าที่ไม่ชัดเจน

ในการทำธุรกิจ คุณเองอาจจะเป็นคนที่ทำหน้าที่ทุกอย่าง หรือ คุณเองอาจจะไม่ได้รับผิดชอบอะไรมากนัก ปล่อยให้งานหลักเป็นหน้าที่ของหุ้นส่วน แต่แท้จริงแล้ว คุณจะต้องแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน ว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไร เชื่อเถอะครับว่า ไม่มีใครอยากโดนเอาเปรียบ ด้วยการทำงานมากกว่าอีกคน แต่คาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนเท่าๆ กัน สิ่งหนึ่งที่สำคัญ ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจ คือ หาหุ้นส่วนที่มีวิสัยทัศน์เหมือนกัน มองธุรกิจในอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน และมีความสามารถ หรือความรู้ที่เกื้อหนุนกัน ทำได้โดย ดูจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของแต่ละคน คุณอาจจะเก่งเรื่องการตลาด เก่งในด้านการขาย เหมาะกับการพบปะลูกค้า ในขณะเดียวกันหุ้นส่วนของคุณ อาจจะมีประสบการณ์ในการทำบัญชี เก่งในเรื่องการเงิน และตัวเลขมากกว่าคุณ การแบ่งหน้าที่การทำงานก็จะง่ายขึ้น เพราะคุณเองก็รู้อยู่แล้วว่าหน้าที่ไหน ที่ใครจะสามารถจัดการได้ดีกว่า แถมยังเป็นการนำความรู้เฉพาะทาง ของแต่ละคนมาช่วยกันทำธุรกิจด้วยครับ

ข้อควรระวังคือ การแบ่งงานที่ไม่สำคัญให้กับอีกคน ก็อาจจะทำให้เกิดการอิจฉา และทำให้เขารู้สึกเป็นส่วนเกินได้ การแบ่งงาน สามารถแบ่งตามเงินลงทุนก็ได้ เช่น ลงทุนมาก ความรับผิดชอบก็มากขึ้นครับ เพราะเท่ากับว่าคุณได้ผลตอบแทนมากกว่า และต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าคนที่ลงทุนน้อย ส่วนนี้ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนเลยครับ

3.ไม่ไว้ใจ

หุ้นส่วน ควรจะเป็นคนช่วยที่ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทำโดยใครคนใดคนหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายความว่า เขาไม่วางใจที่จะให้อีกฝ่ายตัดสินใจอะไรเลย อย่างไรก็ตาม ไม่มีมาตรฐานวัดว่า การตัดสินใจแบบไหนที่เรียกว่าดี เพราะสุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครรู้ว่า ตัดสินใจออกไปแล้ว ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะเรื่องอะไร คุณกับหุ้นส่วนจะต้องเห็นพ้องต้องกัน เวลาผลลัพธ์ออกมาไม่ดี ก็จะได้ไม่ต้องโทษกันและกัน และอีกอย่างหนึ่งที่คนทำธุรกิจก็ต้องพึงเอาไว้ คือ ไม่แปลกเลยครับ ที่จะมีความคิดเห็นไม่ตรงกันบ้าง แค่คุณต้องหาวิถีประนีประนอมให้ได้ หากหุ้นส่วนมากกว่าสอง เวลาตัดสินใจเรื่องอะไรก็ง่ายหน่อยครับ ใช้การโหวตดูคะแนนเสียงฝั่งมาก ถ้าทำกันสองคนแล้วตกลงกันไม่ได้สักที คงต้องคุยกันให้มากครับ วิเคราะห์ทั้งความเสี่ยง และ ข้อดีก่อนที่จะตัดสินใจ

4. แยกแยะไม่เป็น

งานก็คืองาน เพื่อนก็คือเพื่อน เสร็จงาน ความเป็นหุ้นส่วน หรือ เจ้านายกับลูกน้อง ก็คือจบครับ ทะเลาะกันเรื่องงาน  พอนอกเวลาก็คุยกันแบบเพื่อนได้ คอนเซ็ปต์ในฝันสำหรับคนที่อยากทำธุรกิจกับเพื่อนเลยครับ ถ้าคุณแยกเรื่องต่างๆ ได้ชัดเจนแบบนี้ คุณตัดปัญหาเรื่องเสียเพื่อนได้แน่นอน แแต่เรื่องจริงมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดสิครับ เมื่อการทำงานเริ่มมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยว มีปัญหากันเรื่องงาน ก็ลามไปถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว กลายเป็นว่าเรื่องงานก็คุยไม่รู้เรื่อง เรื่องส่วนตัวก็คุยกันไม่ได้ เผลอๆ กลายเป็นทะเลาะกันใหญ่โต ทั้งงานทั้งความสัมพันธ์ พังทั้งคู่ครับ ถ้าคุณยังให้อารมณ์มาเหนือกว่าเหตุผล การทำธุรกิจกับเพื่อนตัดไปก่อนได้เลยครับ ในทางกลับกันถ้าหุ้นส่วนแยกแยะไม่ได้ คุณควรพิจารณาได้แล้วครับว่าควรแก้ปัญหายังไง ควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ก่อนที่คุณจะเสียทั้งเพื่อนและเสียทั้งงานหรือไม่

อีกอย่างหนึ่งที่อยากแนะนำครับ คือ ทำทุกอย่างให้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งสัญญาการร่วมลงทุน สัดส่วนการถือหุ้น ชี้แจ้งเงินลงทุนให้ชัดเจน รายรับ-รายจ่าย บันทึกให้เป็นกิจจะลักษณะครับ เวลามีปัญหาอะไร จะได้เคลียร์กันง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องเงิน อย่าคิดว่าเป็นเพื่อนกันไว้ใจกันได้ การทำธุรกิจคือ การลงทุนในความเสี่ยง ทั้งเรื่องเงิน เรื่องความสัมพันธ์ ฉะนั้นควรจัดการเรื่องนี้ให้ดีครับ

การเลือกหุ้นส่วนทางธุรกิจ ผมว่าคล้ายกับการเลือกหุ้นส่วนชีวิต ความสัมพันธ์ของคุณจะยืดยาวหรือไม่ ก็มาจากตัวเองคุณเองด้วย แม้จะเลือกถูกแล้ว มีผิดใจบ้างก็คงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเราอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจ เข้าใจบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวเอง ลองสังเกตว่าอะไรที่ควรแก้ อะไรที่ยอมกันได้ อะไรที่ควรเปลี่ยน แค่นี้ก็ทำให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าได้แล้วครับ

บทความที่น่าสนใจ เมื่อ การเงินในธุรกิจ มีปัญหา ต้องจัดการอย่างไร? วิธีการจัดการเบื้องต้น เมื่อระบบการเงินในธุรกิจเริ่มฝืดเคือง รายรับรายจ่ายไม่สมดุลกัน

เรื่องแนะนำ

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

พนักงานบริการผิดพลาด

วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด

เราไม่ได้กำลังทำธุรกิจอาหาร แต่เรากำลังทำธุรกิจบริการผ่านอาหาร ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการปะทะกับลูกค้าไม่ได้เลย เราจึงมี วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด มาฝาก

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

ยูนิโคล่

5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

เขาเคยเขียนหนังสือที่ชื่อว่า “ชนะหนึ่ง แพ้เก้า” เอาไว้ ในหนังสือเผยให้รู้ว่าเขาวางแผนไว้ 10 อย่างแต่ล้มเหลวไปเสีย 9 อย่าง แต่ความสำเร็จหนึ่งเดียวนั้น ทำให้เขาก้าวไกลมาจนถึงวันนี้...

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 Amarin Corporations Public Company Limited.