สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา - Amarin Academy

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

ร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปที่ร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าพยายามไปตามหาเพื่อไปกินให้ได้ หรือมีลูกค้าไปนั่งรอกินเป็นวันๆได้ นั่นเป็นเพราะร้านอาหารเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูด ที่สามารถเรียกความสนใจลูกค้าได้มากพอ ซึ่งร้านของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วย สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณให้มีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามา

 

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

‘จุดเด่น’ ที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้

            เมนูซิกเนเจอร์ ไม่ใช่เมนูอะไรก็ได้ที่ร้านของคุณทำอร่อย แต่ต้องเป็นเมนูที่โดดเด่นพอที่ลูกค้าจะต้องสั่งทุกโต๊ะ หรือดั้นด้นมากิน เพราะฉะนั้นถ้าคุณขายแซลมอน แล้วเมนูซิกเนเจอร์เป็นแซลมอนคุณภาพดี อาจจะทำให้ร้านของคุณไม่ได้แตกต่างเมื่อเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน

วิธีสร้างจุดเด่นก็คือ สร้างเสน่ห์ให้กับเมนูนั้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเมนูที่แปลกใหม่ รูปแบบการจัดจาน รูปแบบการเสิร์ฟ ชื่อของเมนู รวมถึงเรื่องราวที่คุณเล่าเกี่ยวกับเมนูนั้น ๆ เช่น กรณีแซลมอนที่เคยเสิร์ฟวางเป็นชิ้น ๆ อาจจัดวางเป็นทรงสูง ตกแต่งด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นภูเขาไฟ เสิร์ฟมาพร้อมกับควันของภูเขาไฟ แล้วตั้งชื่อว่า ฟูจิซังแซลมอน เป็นต้น

ข้อคำนึงอีกประการก็คือ โดยปกติลูกค้าโดยทั่วไปจะมีค่ามาตรฐานในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึงเป็ด คนจะนึกถึงเป็ดย่าง MK เพราะฉะนั้นถ้าร้านอาหารของคุณมีซิกเนเจอร์เป็นเป็ด ก็ควรจะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า หรือดีกว่าไปเลย หากไม่สามารถทำได้ก็ใช้เทคนิคในการสร้างความโดดเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้ว

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ  คือ ร้าน After You ที่ตั้งใจให้ขนมเค้กเป็นเมนูซิกเนเจอร์ แต่เมนูติดตลาดของทางร้านกลับกลายเป็นเมนูโทสต์ ทางร้านจึงหันมาพัฒนาและต่อยอดให้เมนูโทสต์มีความอร่อย และหลากหลาย ทำให้เมื่อลูกค้าอยากกินโทสต์อร่อย ๆ ก็จะนึกถึงและมากินที่ After You เพราะฉะนั้นบางครั้งเมนูซิกเนเจอร์อาจเกิดจากการนำสิ่งที่ลูกค้าชื่นชอบจริง ๆ และนำมาพัฒนาต่อยอดก็ได้เช่นกัน 

 สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร

ทำตัวให้ลูกค้า Needs ที่สุด

ความสะดวกเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรกก็จริง แต่บางครั้งการเล่นกับความไม่สะดวกก็ทำให้เกิดความต้องการได้เหมือนกัน เช่น การขายเมนูพิเศษมาก ๆ ในจำนวนหรือช่วงเวลาที่จำกัด  สิ่งสำคัญคือ ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายหลักของคุณด้วยว่าสอดคล้องหรือไม่

ตัวอย่างเช่น เมนูมาม่าเจ๊โอว นอกจากการทำเมนูธรรมดาให้พิเศษขึ้นมาแล้ว การจำกัดการขายแค่ช่วงเวลาดึก ยังสอดคล้องกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มที่จะชอบลองสิ่งใหม่  ๆ และสามารถใช้เวลาแลกกับประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครอบครัว การสร้างความต้องการ เป็นสิ่งที่สามารถแก้ปัญหาให้แก่พวกเขา เช่น การเพิ่มเมนูและบริการสำหรับเด็ก เมนูเซตที่เหมาะสำหรับความต้องการที่หลากหลายของแต่ละคนในครอบครัว เป็นต้น

 

สร้างร้านให้กลายเป็นแลนด์มาร์ค ทำให้ลูกค้าอยากแชร์

จงทำร้านของคุณให้เหมือนเป็นแลนด์มาร์คที่ทุกคนต้องมาถ่ายรูปด้วยสักครั้ง นั่นก็คือการสร้างคุณค่าขึ้นในใจลูกค้าพอที่จะโชว์คนอื่น อยากถ่ายรูป อยากแชร์ อยากอวด อยากกิน ซึ่งคุณสามารถสร้างได้จากรูปร่างหน้าตาของอาหารที่สวย แปลกตา การบริการที่ดี วิธีในการเสิร์ฟที่แตกต่าง หรือการตกแต่งบรรยากาศร้านที่ทำให้ลูกค้าต้องหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาถ่ายภาพเพื่อแบ่งปันประสบการณ์นี้ออกไปในโลกโซเชียล

ตัวอย่างเช่น ร้านทองย้อย คาเฟ่ ร้านขนมไทยที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นมากๆ ทั้งในเรื่องของขนมไทยที่รสชาติอร่อย เสิร์ฟมาในภาชนะทองเหลืองสวยงาม ดูมีความเป็นไทยโบราณ ที่ใครเห็นก็ต้องถ่ายรูปแชร์ก่อนทานแน่นอน รวมถึงบรรยากาศในร้านยังตกแต่งเป็นสวนดอกไม้สีสันสดใส ใครไม่ถ่ายรูปเช็คอิน ถือว่ามาไม่ถึงเลยทีเดียวสร้างเสน่ห์ร้านอาหาร

 

คุ้มค่าพอที่จะจ่ายมากขึ้น

การคิด Sale Mix ให้น่าสนใจ เร้าความต้องการให้ลูกค้าไม่รู้สึกตัวว่า กำลังจ่ายมากขึ้น แต่เมื่อจ่ายแล้วก็รู้สึกว่าคุ้มค่าทางความรู้สึก เช่น การจัดเมนูเพิ่มจากเมนูปกติ เช่น ร้านราเมง  มีการเพิ่ม Topping  เป็นไข่ระเบิด หรือเปลี่ยนจากเนื้อปกติเป็นเนื้อพรีเมี่ยม ออกแบบเมนูเซตที่จะสร้างจินตนาการในหัวของลูกค้าได้ว่า เมื่อจ่ายเพิ่มขึ้นมาอีกนิดจะได้รับในสิ่งที่ดีขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ  อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติลูกค้ามักจะคาดหวังสูงเมื่อต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น จึงควรคำนึงเรื่องการออกแบบเมนู รวมถึงรักษามาตรฐานสินค้าของตัวเองให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุดด้วย

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยววัวนู้ด เปลี่ยนจากเมนูก๋วยเตี๋ยวเนื้อธรรมดา แต่สามารถขายความพิเศษให้มากขึ้น ด้วยการใช้เนื้อพรีเมี่ยมขึ้น รวมถึงสร้างความหลากหลายให้ลูกค้ามีตัวเลือกที่เพิ่มมากขึ้น

 

จีบติดแล้ว ทำให้มาหาบ่อย ๆ

การเพิ่มสีสันให้กับร้านของคุณ จะช่วยดึงโมเมนตั้มให้ลูกค้ารู้สึกต้องติดตามร้านของคุณไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการออกเมนูใหม่ ๆ อยู่เสมอ การจัดแคมเปญ การสร้างคอนเทนต์ การจัดกิจกรรมการตลาดทั้งช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เหนือสิ่งอื่นใด สำคัญที่สุด คือต้องรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการร้านของคุณไว้ให้ได้

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร

นอกจากนั้นหากมีงบประมาณเพียงพอ ควรใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างระบบ CRM เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นลูกค้าประจำ และสามารถเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อออกแบบเมนูและโปรโมชั่นที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด สามารถส่งข้อมูล เพื่อย้ำเตือนลูกค้าให้เกิดความต้องการมากินอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น Maguro  เป็นร้านอาหารที่ได้รับการยอมรับว่าจัดหน้าตาเมนูสวยที่สุดเจ้าหนึ่งในเมืองไทย ทางร้านให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานและพัฒนาหน้าตาเมนูอยู่ตลอด และยังออกแบบให้การจัดการหน้าร้านมีการสื่อสารระหว่างทีมงานและเจ้าของได้โดยตรง  ถ้าหากมีลูกค้าตำหนิก็สามารถแจ้งทีมเพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที รวมถึงยังเป็นแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งได้อย่างน่าสนใจอีกด้วย

 

รู้แบบนี้แล้ว แต่ละร้านก็อย่าลืมที่จะนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ตามความเหมาะสมของร้าน เพื่อเป็นการ สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณ รับรองว่าลูกค้าไม่หนีไปไหนแน่นอน

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

How to 10 เทคนิค ถ่ายภาพอาหารให้น่ากิน

ส่อง 5 เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้

กลุ่มลูกค้าองค์กร 5 ประเภท ที่ธุรกิจเดลิเวอรี่ ควรเจาะตลาด

20 เทรนด์ ธุรกิจอาหาร ปี 2020 ที่ผู้ประกอบการควรรู้!

5 รูปแบบโต๊ะอาหาร เลือกอย่างไร ให้เหมาะกับร้านของคุณ

เรื่องแนะนำ

บอนชอน

ไขสูตรลับธุรกิจดัง บอนชอน ขายไก่ยังไงให้ได้ 1000 ล้าน!

เพราะอะไรบอนชอนถึงเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังอย่าง KFC ได้ แถมยังจุดกระแสให้ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงานยอมต่อแถวรอคิวเข้าร้านเป็นชั่วโมง!

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า   เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน! WHAT  หาอะไร ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้ Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix […]

เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie!

ชอบกิน ชอบลอง และชอบแชร์ประสบการณ์ร้านอาหารใหม่ ๆ กลุ่ม Foodie จึงเป็นกลุ่มที่ร้านอาหารในยุคนี้ให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถขายให้กลุ่มนี้ได้มากแล้ว คนกลุ่มนี้ยังทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย เรามาดู เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! กันครับ   เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! เซฟเงินแต่ได้ภาพ แม้กลุ่ม Foodie ยินดีจะจ่ายเงินในการกิน ดื่ม เพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่ก็มองหาทางที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายอยู่เหมือนกัน โปรโมชั่นที่น่าสนใจคือ เป็นส่วนลดที่ให้ประสบการณ์ที่พิเศษ เช่น คูปองส่วนลดเพื่อได้ทดลองเมนูใหม่ หรือการร่วมกับบัตรเครดิตโดยการแลกแต้มบัตรสะสมในบัตรเป็นเมนูพิเศษ นอกจากนั้นโปรโมชั่นที่ทำให้ได้กินอาหารอย่างหลากหลายในราคาที่ถูกกว่า เช่น มา 4 จ่าย 3 ของร้านอาหารบุฟเฟต์ นอกจากคุ้มค่าแล้วยังได้ภาพถ่ายเยอะอีกด้วย   ท้าทายและน่าแชร์ กลุ่ม Foodie ชอบการแชร์ภาพถ่ายลงในโซเชียลมีเดีย สนุกกับการเล่าเรื่องอาหารในมุมมองตัวเอง ซึ่งโปรโมชั่นออนไลน์ไม่ได้มีเพียงแค่เช็คอิน แชร์ แล้วได้รับสินค้าฟรี แต่การใส่ความสนุกเข้าไปจะทำให้เกิดการแชร์ที่อิมแพคมากกว่า เช่น แคมเปญตอกไข่ของ MK หรือการจับคูปองที่มีโอกาสซื้อสินค้าพิเศษได้จำนวนจำกัด นอกจากนำเสนอจุดขายของเมนูใหม่แล้ว ยังส่งเสริมให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมอีกด้วย   […]

กำไร เพิ่ม

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

ร้านอาหาร ส่วนใหญ่ มักโฟกัสที่การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ แต่กว่าจะลดได้ก็หืดขึ้นคอ ขณะที่การลดการจ้างพนักงานประจำ กำไร เพิ่ม ปีละแสน โดยไม่ต้องเหนื่อยเพิ่ม

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.