ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน! - Amarin Academy

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

ไขสูตรลับธุรกิจดัง ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละ เกือบ 100 ล้าน!

ไผ่ทอง ไอศกรีม พูดถึงยี่ห้อนี้ เราว่าแทบไม่ใครไม่รู้จัก เพราะเป็นแบรนด์ไอศกรีมรถเข็นที่เปิดมานานถึง 68 ปี ถึงแม้ว่าจะเป็นไอศกรีมรถเข็นที่ราคาเริ่มต้นแค่ 10 บาท แต่ยอดขายกลับไม่ธรรมดา เพราะในปี 2560 รายได้ของ หจ.ไผ่ทองซีกิมเซ็ง รวมกับ บจก.ไทยฟูด คิงด้อม ผู้ดูแล จัดจำหน่ายสินค้าไผ่ทอง มียอดขายสูงถึง 75.5 ล้านบาท! (ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์) แถมยังมีแนวโน้มโตอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้านเป็นหลักเป็นแหล่ง (อยากกินแต่ละทีต้องตามหา) ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

ก่อนจะไปรู้เคล็ดลับธุรกิจของไผ่ทอง มาดูแนวโน้มตลาดไอศกรีมประเทศไทยในเบื้องต้นกันก่อน จากข้อมูลของ Euromonitor International ระบุว่าตลาดไอศกรีมของไทยในปี 2016 มีมูลค่าประมาณ 13,853 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2021 มูลค่าตลาดนี้จะพุ่งขึ้นไปถึง 18,694 ล้านบาท เท่ากับว่า โอกาสการเติบโตของตลาดยังมีอีกมากทีเดียว ดังนั้นใครที่กำลังสนใจธุรกิจอาหาร ไอศกรีมถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรมองข้าม

Delivery ยุคแรก >> กลยุทธ์กระจายหน้าร้าน สู่หน้าบ้านลูกค้า

ความสะดวกสบายในการซื้อหาสินค้า คือหัวใจหลักของการทำธุรกิจในยุคนี้ ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง ผู้เล่นแต่ละรายจึงต้องเสนอความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากที่สุด ทั้งมีบริการหลังการขาย มีบริการจัดส่งสินค้าหรือ Delivery

แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ซึ่งการแข่งขันไม่ได้สูงขนาดนี้ ไผ่ทอง ไอศกรีมกลับเป็นธุรกิจไอศกรีมเจ้าแรกๆ ที่ใช้วิธีการรุกตลาดด้วยเทคนิค Delivery ใช้รถเข็นไอศกรีมเป็นเครื่องมือ ขายสินค้าถึงหน้าบ้าน ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีการพัฒนารูปแบบเป็นการสั่งซื้อทางออนไลน์แล้วมีบริการ LINEMAN LALAMOVE หรือ GRABBIKE มาส่งแต่สุดท้ายแล้วก็มีต้นกำเนิดจากวัตถุประสงค์เดียวกันคือการกระจายสินค้าให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่ายที่สุด

ใช้หลักจิตวิทยาการทำการตลาดที่ผู้บริโภคไม่เคยรู้

การใช้รถเข็นมาขายที่หน้าบ้าน โดยไม่มีหน้าร้านที่แน่นอน มองฝั่งหนึ่งก็เป็นข้อเสียนะครับ เพราะบางครั้งลูกค้าอยากกิน แต่ก็หาซื้อไม่ได้ แต่รู้ไหม วิธีนี้มันเป็นหลักจิตวิทยาการตลาดอย่างหนึ่งที่ทำให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น

เคยรู้สึกไหมว่าบางครั้ง เราไม่ได้นึกถึงหรืออยากจะกินไอศกรีมไผ่ทองหรอก แต่พอได้ยินเสียงกระดิ่งพร้อมรถเข็นสีเขียวๆ ก็ต้องรีบวิ่งออกไปซื้อ เพราะรู้สึกว่านานๆ จะมาซักที ถ้าพลาดโอกาสซื้อครั้งนี้ วันนี้คงไม่ได้กินแล้ว

ไอศกรีม ไผ่ทอง
ไอศกรีม ไผ่ทอง กระจายสินค้าสู่หน้าบ้านลูกค้า

ความรู้สึกและความคิดแบบนี้หมายความว่า เรากำลังให้คุณค่ากับสินค้าโดยที่เราไม่รู้ตัว ยิ่งไปกว่านั้นเรากำลังควักกระเป๋าจ่ายเงิน ทั้งๆ ที่เราอาจจะไม่ได้ต้องการมันตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ เท่ากับว่าบริษัทประสบความสำเร็จสามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคให้เกิดความต้องการขึ้นมาได้โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

หลักการที่ว่านี้มีการทดลองยืนยันด้วย โดยนักวิจัยชื่อ Worchel, Lee และ Adewole เขาต้องการทดลองว่า คนให้คุณค่าสิ่งของอย่างไร เลยทำการทดลองด้วยการวางคุกกี้ที่เหมือนกันเป๊ะ ๆ ในขวดโหล 2 ขวด แต่มีปริมาณไม่เท่ากัน

ขวดนึงมี 10 ชิ้น อีกขวดมี 2  ชิ้น และให้กลุ่มตัวอย่างเลือกว่าจะหยิบขวดไหน

ผลลัพธ์คือ กลุ่มตัวอย่างเลือกหยิบคุกกี้ในขวดโหลที่มีคุกกี้อยู่น้อยกว่า หมายความว่า คนมักให้คุณค่าสิ่งของ โดยคิดว่ายิ่งมีน้อยยิ่งมีค่ามากนั่นเอง

หลักการนี้ก็คล้ายๆ กับการที่บริษัทระดับโลกที่ขยันออกสินค้าพวก LIMITED EDITION แหละครับ เพียงแต่แตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่ ไผ่ทองไม่ได้จำกัดจำนวนสินค้า แต่จำกัด “ช่วงเวลา” การเข้าถึงสินค้านั่นเอง (เข็นผ่านมาแล้วผ่านเลยไปนะจ๊ะ อย่าคิดนาน อยากกินต้องซื้อเลย)

แม้ว่าทุกวันนี้อาจจะเริ่มหาซื้อง่ายขึ้นเพราะรถเข็นบางเจ้าก็ตั้งขายอยู่ที่เดิมๆ และมีจำนวนผู้ขายมากขึ้น แต่ก็เป็นหลักการที่นำไปใช้ทำการตลาด เพิ่มคุณค่าให้สินค้าได้ดีทีเดียว

ไอศกรีม ไผ่ทอง
กองทัพ พ่อค้า-แม่ค้า ไผ่ทอง ไอศกรีม เข็นความสุขสู่ลูกค้า

ราคาถูก ลูกค้าเข้าถึงง่าย แต่คู่แข่งวิ่งตามยาก

ราคาถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไผ่ทองเป็นสินค้าที่ “ซื้อง่าย ขายคล่อง” เพราะอันละ 5 บาท 10 บาท แพงสุดก็ 20 บาท ซื้อได้โดยไม่ต้องคิดนาน แถมราคายังเป็นจุดแข็งสำคัญในการป้องกันคู่แข่ง เพราะด้วยราคาขายที่ถูกขนาดนี้ การจะเข้ามาแข่งในตลาดระดับเดียวกันถือว่ายากมาก แต่สาเหตุที่ไผ่ทองขายในราคานี้ได้เพราะเน้นขายจำนวนมาก (กำไรไม่มากแต่เน้นปริมาณ) ซึ่งเรื่องปริมาณก็ไม่ต้องพูดถึง ไผ่ทองเป็นแบรนด์ที่อยู่ในตลาดมาเป็นเวลานาน มีคนรู้จัก เชื่อมั่นในสินค้า ทำให้มีฐานลูกค้าจำนวนมาก และกลุ่มลูกค้าไม่ได้มีแค่พ่อค้าแม่ค้าทั่วไป แต่มีระบบตัวแทนจำหน่าย สั่งซื้อในปริมาณมากๆ เพื่อให้คนมารับไปขายต่อด้วย

ไม่เคยลดคุณภาพสินค้า

ข้อนี้ต้องย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของไผ่ทองเมื่อ 68 ปีที่แล้ว ช่วงแรกคุณกิมเซ็ง แซ่ซี่ ทำอาชีพรับไอศกรีมไปขาย แต่พบว่าคุณภาพไม่คงที่ เมื่อบอกให้ทางร้านปรับปรุงก็ได้คำตอบกลับมาว่า “ถ้าอยากจะทำให้ดีกว่านี้ ก็ไปทำเองสิ”

นี่คือจุดเริ่มต้นด้านคุณภาพของไผ่ทอง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คุณภาพของไผ่ทองก็ไม่เคยลดลง นี่เป็นจุดสำคัญในการสร้างฐานลูกค้า ทำให้เกิดลูกค้าประจำ

ไผ่ทอง ไอศกรีม
ไผ่ทอง ไอศกรีม คนขายใจดี แต่…ทำไมต้องเท่ขนาดนั้นล่ะ

ไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง

ไผ่ทองถึงแม้จะเป็นไอศกรีมราคาหลักสิบ แต่ก็มีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ตั้งแต่เริ่มธุรกิจก็มีการนำเครื่องจักรมาผลิตไอศกรีมเพื่อควบคุมมาตรฐาน มีการพัฒนารสชาติใหม่ๆ จนปัจจุบันมีมากถึง 14 รสชาติ เมื่อถึงยุคโซเชียลมีเดียก็เริ่มทำการตลาดออนไลน์ (แม้จะยังไม่เต็มรูปแบบ แต่ก็ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น)

หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเอง นี่คือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

อ่านแล้ว…อยากกินไผ่ทองเลยไหมครับ

เรื่องแนะนำ

วัดความสำเร็จของร้านอาหาร……ที่ไม่ใช่แค่ยอดขาย

วิเคราะห์ตัวเลข ตัวเลขรายได้รวม ความสำเร็จของร้านอาหารไม่สามารถวัดได้ด้วยยอดขายปัจจุบันเสมอไป ร้านอาหารจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ตัวเลขรายได้จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนำรายได้ปีที่ผ่านมา และปีปัจจุบัน มาเปรียบเทียบ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ถึงรายได้ในอนาคต การขยายสาขาใหม่แสดงถึงการสามารถทำรายได้ที่มากขึ้นก็จริง แต่รายได้นั้นมีอัตราการเติบโตที่เหมาะสมในการลงทุนหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น   ตัวเลขยอดขายต่อบิล ร้านมีกลยุทธ์การขายที่สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อบิลได้ สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะด้วยเมนู หรือการจัดการส่งเสริมการขาย แสดงถึงความสำเร็จ และแนวโน้มของการสร้างรายได้ในอนาคต   ตัวเลขอัตราส่วนกำไรขั้นต้น  (Gross Profit Margin) การที่จะวัดว่าร้านอาหารประสบความสำเร็จ หรือมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งหรือไม่ ร้านจะต้องมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อหน่วยที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งแสดงถึงความสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี ตัวเลขที่บอกอัตราส่วนกำไรขั้นต้น ต้องนำไปเปรียบเทียบกับกิจการคู่แข่ง หรือตัวเลขเฉลี่ยจากร้านอาหารในตลาดเดียวกัน    ระบบร้านอาหารที่ดี ระบบร้านอาหารที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การจัดการด้านครัวและวัตถุดิบ พนักงาน  โดยมีตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพเกิดข้อผิดพลาดด้านการจัดการน้อย แสดงถึงความสามารถในการควบคุมการจัดการร้านอาหารได้เป็นอย่างดี มีส่วนสำคัญอย่างมากกับการทำร้านอาหาร โดยเฉพาะในสภาพการแข่งขันปัจจุบัน หากร้านอาหารของคุณขายดีมาก ๆ แต่ไม่มีระบบจัดการร้านอาหารที่ดี ต้องแก้ปัญหารายวัน ย่อมส่งผลต่อตัวเลขรายได้   Brand Royalty ของลูกค้า             เนื่องจากลูกค้าร้านอาหารมีตัวเลือกเยอะ และหลากหลาย ทำให้เป็นธุรกิจที่ลูกค้ามี […]

Hai di lao

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

ถ้าพูดถึงร้านอาหารประเภท hot pot หม้อไฟ ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ จนคนต้องยอมต่อแถวรอคิวหลายชั่วโมงคงหนีไม่พ้น ร้านหม้อไฟสัญชาติจีนที่ชื่อว่า Hai di lao (ไห่-ตี้-เหลา) ร้านหม้อไฟที่โด่งดังในประเทศจีน รวมถึงอีกหลายประเทศ และเพิ่งมาเปิดสาขาในประเทศไทยได้ไม่นาน จนเกิดความสงสัยว่า ร้านนี้มีดีอะไร และทำไมลูกค้าถึงยอมที่จะรอคิวเพื่อให้ได้ทาน   ” Hai di lao “ จากความสงสัยก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมของร้าน Hai di lao ก็พบว่าธุรกิจนี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะแบรนด์นี้มีต้นกำเนิดจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน และก่อตั้งโดย Zhang Yong (จาง หย่ง) ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่การเริ่มต้นจากเชน Hotpot ในประเทศจีน แต่สามารถก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นเชนร้านอาหารระดับโลก ซึ่งปัจจุบันขยายไปแล้ว 400 กว่าสาขาทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น และมียอดขายในปี 2018 กว่า 17,000 ล้านหยวน ซึ่งถ้าเทียบกับร้านอาหารประเภทที่คล้ายกันในบ้านเราอย่าง MK Restaurant ที่คิดว่าใหญ่แล้ว มีทั้งร้านสุกี้และร้านอาหารญี่ปุ่น กว่า 600 สาขา […]

จิตวิทยาบริหารคน

จิตวิทยา บริหารคน ฉีกกฎในตำรา ขจัดทุกปัญหาเรื่องคน!

Copper ขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมการทำงานร้านอาหารที่ดีที่สุด เราถอดบทเรียนการใช้หลัก จิตวิทยา บริหารคน ออกมาได้ 5 ข้อหลักๆ ซึ่งแทบทุกข้อฉีกทุกกฎในตำราก็ว่าได้!

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.