7 เทคนิคการขยายสาขา จาก 7 ร้านดัง - Amarin Academy

7 เทคนิคการขยายสาขา จาก 7 ร้านดัง

7 เทคนิคขยายสาขา จาก 7 ร้านดัง

เป้าหมายของร้านอาหารหลายๆ ร้าน คือการขยายสาขา เพิ่มยอดขายและผลกำไร แต่หลายๆ ร้านอาหารกังวลว่าหากขยายไป สาขาสองอาจไม่เปรี้ยงเท่าสาขาแรก เราจึงรวบรวม เทคนิคการขยายสาขา จากร้านดังที่ประสบความสำเร็จมาฝากกัน

1.ขยายใกล้ๆ กับร้านเดิม

เจ้าของร้านอาหารหลายๆ คนอาจเลือกทำเลเปิดสาขา 2 ให้ไกลจากสาขาแรก ด้วยเหตุผลที่ว่า กลัวจะแย่งลูกค้ากันเอง แต่รู้ไหมว่าการเปิดสาขาใกล้ๆ กันนั้น ก็เป็นตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่ง เพราะการที่สาขาแรกประสบความสำเร็จในทำเลนั้น แสดงว่าที่ตั้งของร้านตรงกับความต้องการของลูกค้า เขาจึงเลือกมาใช้บริการร้านของเรา ดังนั้นการเลือกเปิดสาขาไกลจากที่เดิม เราอาจจะต้องทำการตลาดใหม่ สร้างฐานลูกค้าใหม่ กลับกันหากเราเลือกเปิดสาขาใกล้ๆ กับที่เดิม อาจจะไม่ต้องเหนื่อยหาลูกค้าใหม่ๆ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะเลือกขยายสาขาใกล้ๆ กับร้านเดิม ก็มีข้อจำกัดคือ เราต้องมั่นใจว่ากลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการร้านเราในสาขาแรก มีปริมาณมาก พอที่จะโยกย้ายไปใช้บริการสาขาใหม่ได้ โดยร้านอาหารที่ใช้เทคนิคการขยายสาขาเช่นนี้มีหลายร้าน เช่น ร้านสเต็ก Eat am are ย่านอนุสาวรีย์ (ถ้าใครเคยผ่านไปแถวนั้น ต้องเคยเห็นแน่นอน เพราะผมลองนับคร่าวๆ น่าจะมีเกิน 5 ร้าน ในทำเล อนุสาวรีย์เพียงแห่งเดียว) อีกร้านคือ เฝอ 54 ที่เจ้าของร้านกล่าวไว้ว่า

“เราเป็นคน conservative จึงกลัวว่าถ้าทำสองร้านทำเลที่ต่างกันมาก จะบริหารจัดการไม่ได้ เรายังมีความสุขในการอยู่ต้อนรับลูกค้า ดูแลจัดการร้านด้วยตัวเองอยู่ อีกอย่างเรามั่นใจว่าสาขาสองจะไม่กระทบสาขาแรก เพราะตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีวันไหนที่เราไม่เต็ม หลายๆ ครั้งที่ลูกค้ามาแล้วไม่ได้กิน จึงคิดว่าถ้าเปิดอีกที่ใกล้ๆ กันแล้วใหญ่ขึ้น ลูกค้าสาขาแรกคงสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องนั่งรอคิวนาน ซึ่งโชคดีที่เราคิดถูก สาขานี้กลายเป็นสาขาที่ทำรายได้ให้เรามากที่สุด โดยที่ยอดสาขาแรกก็ไม่ได้ลดลง สุดท้ายมันเลยลามมาเป็นสาขา 3 และ 4 ในทำเลที่ไม่ไกลกันมาก”

เลือกทำเลที่เหมาะ

2.เลือกทำเลให้เหมาะกับแบรนด์

ทุกวันนี้การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับร้านอาหาร เพราะจะทำให้ลูกค้าจดจำได้และนึกถึงเราเป็นอันดับแรกๆ โดยองค์ประกอบของการสร้างแบรนด์มีหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการเลือกทำเล หากเราวางตัวเป็นร้านอาหารระดับพรีเมี่ยม คุณภาพดี ราคาค่อนข้างสูงกว่าคู่แข่ง ที่ตั้งร้านของเราก็ควรสะท้อนภาพลักษณ์เหล่านั้นออกมาเช่นกัน โดยร้านที่เลือกใช้วิธีการขยายสาขาเช่นนี้คือ House of crepe

“จริงๆ ก่อนจะเปิดที่เอ็มควอเทียร์ มีห้างอื่นๆ ที่อยู่แถบชานเมืองมาติดต่อมาบ้าง แต่ปฏิเสธไป เนื่องจากเราตั้งใจจะเข้าห้างระดับ High End อยู่แล้ว เพราะเราคิดว่า ถ้าสาขาแรกเปิดแล้วไม่ปัง มันมีผลต่อภาพลักษณ์ทั้งหมด และกระทบระยะยาว ฉะนั้นต้องคิดให้ดี”

3.ไม่ว่าสาขาไหนก็เดินทางสะดวก

หนึ่งในปัจจัยที่ลูกค้าจะเดินทางไปใช้บริการร้านอาหารคือ การเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย เพราะหากร้านนั้นไปยาก ไกล ต้องต่อรถหลายต่อ อร่อยแค่ไหนเราก็คงถอดใจเหมือนกันจริงไหม ฉะนั้นการจะขยายสาขาต่อไป ก็ควรคำนึงถึงปัจจัยนี้เช่นกัน โดยร้านนำปัจจัยด้านการเดินทางสพดวกมาเป็นปัจจัยในการขยายสาขาคือ penguin eat shabu

“สี่แยกสะพานควาย ถือเป็นจุดตัดของถนนสองเส้นหลักคือ อินทมะระ-ประดิพัทธ์ ที่มีบ้านพักอาศัยหนาแน่น และพหลโยธินที่มีอาคารสำนักงานอยู่เยอะ และไม่ว่าจะอยู่รัชดา พระรามหก วิภาวดี หรือมาทางรถไฟฟ้าก็สามารถมาร้านได้ในระยะเวลาครึ่งชม. เราเลยตัดสินใจเอาที่ตรงนี้ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีร้านอาหารที่ขายหัวละ 400-500 บาท อยู่ในสะพานควายเลย”

นอกจากนี้ทำเลอื่นๆ ที่ร้านนี้เลือกขยายสาขา ก็อยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าแทบทั้งหมดด้วยเช่นกัน

4.ดึงลูกค้าเดิมให้ไปสาขาใหม่

การที่ลูกค้ามาใช้บริการร้านเราแบบแน่นเอียด ต่อคิวยาวเหยียด หลายๆ ร้านคงดีใจ แต่จริงๆ แล้วการที่ลูกค้าต่อคิวยาวก็เป็นค่าเสียโอกาสของเราเช่นกัน เพราะไม่ว่าคนจะต่อแถวยาวแค่ไหน หากร้านเรามีแค่ 10 โต๊ะ ก็จะขายได้แค่ 10 โต๊ะเท่านั้น ดังนั้นการขยายสาขาเพื่อดึงลูกค้าไปใช้บริการสาขา 2 ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี โดยการดึงลูกค้าไปใช้สาขาใหม่ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะลูกค้าหลายคนอาจเดินทางไปสาขา 2 ได้ไม่สะดวก ดังนั้นจึงมีวิธีง่ายๆ ที่ไม่ว่าอย่างไร ลูกค้าต้องไปใช้บริการสาขานั้นแน่นอน โดย Class cafe ก็ใช้วิธีนี้

“เทคนิคการขยายสาขาคือ ดึงลูกค้ากลุ่มเดิมให้ออกไปใช้บริการสาขาอื่น อย่างสาขาแรก ผมเห็นว่าลูกค้าในสาขาเยอะจนไปต่อไม่ได้แล้ว ผมก็สังเกตว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มไหน กลุ่มหมอใช่ไหม อย่างนั้นสาขา 2 เราเปิดข้างโรงพยาบาลเลย หมอก็จะไปใช้บริการที่สาขานั้น สาขาแรกก็เบาลง พอคนในสาขาไหนเริ่มเยอะอีก ก็ทำอย่างนี้อีก ทำไปเรื่อยๆ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและเดินไปข้างหน้าได้

5.สร้างทีมให้พร้อมก่อนค่อยขยาย

ก่อนที่ร้านอาหารจะขยายสาขา ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามคือ ทีมงาน เพราะหากขยายสาขาไปแล้ว ทำเลดีก็จริง แต่ทีมงานยังไม่พร้อม รสชาติอาหารไม่คงที่ การบริการไม่ได้มาตรฐาน ก็จะกลายเป็นการฆ่าตัวตามทางอ้อม ดังนั้นก่อนจะขยายสาขาต้องสร้างทีมเพื่อให้พร้อมไปทำงานในสาขานั้นด้วย ซึ่ง Mo-Mo-Paradise คือร้านชาบูชื่อดังที่คำนึงถึงปัจจัยข้อนี้เป็นหลัก

“ไม่ใช่ว่าเราเห็นพื้นที่ไหนดี มีคนมาเสนอให้ก็ไปทันที การขยายสาขาต้องคำนึงถึงความพร้อมของทีมงานเป็นหลัก ต้องสร้างคนที่เป็นตัวแทนเราให้ได้ก่อนถึงจะขยาย เพราะถ้าพวกเขายังแข็งแรงไม่พอ ขยายสาขาไปเราเสียชื่อแน่นอน”

6.ขยายให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกค้าคือคนสำคัญที่ช่วยทำให้ร้านอาหารของเราอยู่รอดได้ ดังนั้นการเปิดสาขาใหม่ ให้อยู่ที่ทำเลที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เขาไม่ต้องดั้นด้นเดินทางมาใช้บริการร้านของเรา แต่เราไปเสิร์ฟถึงที่ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่ง โดยร้าน วัวนู้ด ก๋วยเตี๋ยวเนื้อกรอบ ก็เลือกใช้วิธีนี้

“เราวางจุดยืนตัวเองเป็นก๋วยเตี๋ยวเนื้อระดับพรีเมี่ยม ฉะนั้นร้านเราต้องอยู่ในย่านธุรกิจ มีออฟฟิศเยอะๆ มีชาวต่างชาติที่มาทำงานในเมืองไทย เพราะคิดว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีกำลังซื้อสูง”

สาขาแรกของวัวนู้ดอยู่ที่มหาทุนพลาซ่า (เพลินจิต) และ สาขาเอ็มไพร์ทาวเวอร์ (สาทร)

7.เปิดตลาดใหม่ที่คู่แข่งน้อย

หนึ่งในคุณสมบัติที่เจ้าของธุรกิจทุกคนควรมี คือสายตาที่มองเห็นโอกาสในธุรกิจอยู่เสมอ เพราะการที่เราเห็นโอกาสในธุรกิจก่อนผู้อื่น ก็จะทำให้เราได้เปรียบในการแข่งขัน มีโอกาสเป็นผู้นำในตลาดใหม่ได้ไม่ยาก

หากเจ้าของธุรกิจเริ่มเห็นว่าตลาดเดิมที่มีเริ่มอิ่มตัว มีคู่แข่งมากเหลือเกิน การเลือกออกไปเปิดตลาดใหม่ แม้จะเป็นงานท้าทาย เพราะต้องเริ่มสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่จากศูนย์ แต่ถ้าทำได้ ก็ถือว่าคุณได้ก้าวนำคู่แข่งไปไกลแล้ว โดย Sushi Shin ก็เลือกเดินวิธีนี้ ซึ่งพิสูจน์แล้ววาประสบความสำเร็จมากๆ

“ช่วงที่วางแผนขยายสาขา เรามองว่าตลาดซูชิในเมืองค่อนข้างอิ่มตัว ผมจึงคิดว่าเราน่าจะเลือกเก็บตลาดนอกเมืองแทน โดยขยายไปที่ Index living mall ที่พระราม 2 เมื่อขยายไปปรากฎว่าผลตอบรับดีเกินคาด ตอนนี้ยอดของพระราม 2 แซงหน้ายอดทองหล่อที่เป็นสาขาแรกไปแล้ว”

เทคนิคการขยายสาขานั้นมีมากมาย เจ้าของร้านอาหารคนไหนเห็นว่าวิธีใดเหมาะกับร้านของตัวเอง ก็เลือกใช้ได้เลยครับ

เรื่องแนะนำ

คุมต้นทุนอาหาร

คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ

        หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลง คือ “การคุมต้นทุนไม่อยู่” บางร้านอาจจะขายดีมากแต่ไม่ได้กำไรเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป โดยเฉพาะต้นทุนด้านวัตถุดิบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร ร้านทั่วไปจะมีต้นทุนส่วนนี้ 30-40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรืออาจสูงกว่านี้ในร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนในส่วนนี้ให้มาก ลองมาดูสิ่งที่จะช่วย คุมต้นทุนอาหาร และเพิ่มกำไรให้ร้านอาหารของเรากันครับ คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ 1. ใส่ใจและติดตามราคาวัตถุดิบ         วิธีที่ดีในการคุมต้นทุน คือการติดตามราคาของวัตถุดิบที่ใช้ภายในร้าน บางท่านอาจจะรู้สึกยุ่งยากเพราะที่ร้านใช้วัตถุดิบหลายชนิด แต่วิธีง่ายๆ คือเลือกแค่วัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักของร้านมาบันทึกราคา ปริมาณที่ใช้ และต้นทุนทั้งหมดของวัตถุดิบแต่ละชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาในแต่ละเดือน          สมมติว่าราคากุ้งเดิมกิโลกรัมละ 180 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 220 บาทจากภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา 40 บาทนี้อาจจะดูไม่มาก แต่มันคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 22% จากราคาเดิม ยิ่งร้านที่ขายดีเท่าไหร่ กำไรที่หายไปก็จะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงภาวะต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นราคา […]

ร้านอาหาร ประเภท

ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด

ร้านอาหารแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน อย่างนั้นลองมาดูลักษณะของร้านอาหารแต่ละประเภทกันดีกว่า จะได้รู้ว่า ร้านอาหาร ประเภท ไหนเหมาะกับเรามากที่สุด

เรียนรู้นิสัยของทำเล ก่อนตัดสินใจเช่าพื้นที่

ย่านออฟฟิศ สำนักงาน (Office area) ทำเลย่านออฟฟิศ สำนักงานเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนคือ พนักงานออฟฟิศ แต่อาจมีกำลังซื้อแตกต่างกันในแต่ละทำเล ยิ่งเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง สาทร สีลม อโศก ฐานรายได้เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าก็อาจจะมากขึ้น ค่าเช่าก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาขายของร้านอาหารจะสูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานที่อยู่ถัดออกมา เช่น ย่านพหลโยธิน ทาว์อินทาวน์ หรือแจ้งวัฒนะ ทำให้ร้านอาหารที่อยู่ในทำเลออฟฟิศ สำนักงานในเมืองส่วนใหญ่ จึงเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (Check Average) ที่สูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานนอกเมือง วันธรรมดา ช่วงเช้า – อาจจะขายแบบ Grab and go ได้ ถ้าทำเลตรงนั้นเป็นทำเลที่อยู่ในหรือใกล้อาคารสำนักงาน  หรืออาจจะอยู่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารสำนักงาน เพราะพนักงานออฟฟิศโดยมากมักจะซื้อก่อนขึ้นไปทำงานตอนเช้า ช่วงกลางวัน – จะขายดีช่วง 11.30 – 13.30 น. โดยอาหารอาจจะต้องเป็นประเภทที่ใช้เวลาปรุงไม่นาน เพื่อที่ทางลูกค้าจะได้รีบทานและรีบกลับไปทำงาน ในอีกมุมหนึ่งก็จะทำให้ร้านอาหารสามารถทำรอบ ได้มากขึ้นด้วย ช่วงเย็น – ช่วงเวลาหลังเลิกงานคือ 17.30 – 20.00 น. […]

ศูนย์การค้า

รวมเรื่องเข้าใจผิด! เกี่ยวกับการเปิดร้านในศูนย์การค้า

เชื่อเลยว่า มีเจ้าของร้านอาหารหลายคน หรือแม้แต่คนที่ยังไม่มีร้านอาหารก็ตาม ต้องเคยมีความคิดว่า การจะนำร้านอาหารของตัวเองเข้าไปเปิดอยู่ในศูนย์การค้าใหญ่ๆได้นั้น ทำอย่างไรถึงจะเข้าได้ คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก และดูไกลตัวจนเกินไป ซึ่งทีมงาน Amarin Academy ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square ได้เผยว่าความจริงแล้ว การนำร้านเข้ามาเปิดในศูนย์การค้านั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปอย่างที่หลายคนกังวล และเข้าใจผิดกันไปก่อน แล้วสิ่งที่เจ้าของร้านมักเข้าใจผิด ในการคิดจะนำร้านอาหารเข้าศูนย์การค้า มีอะไรบ้าง มาดูกันครับ   รวมเรื่องเข้าใจผิด! เกี่ยวกับการเปิดร้านในศูนย์การค้า 1. ต้องเป็นร้านใหญ่ แบรนด์ดังเท่านั้น! สาเหตุที่เจ้าของร้านหลายราย มักเข้าใจผิดเป็นอันดับต้นๆ ในการมาเปิดร้านในศูนย์การค้า ก็คือเรื่องแบรนด์ บางรายคิดว่า ศูนย์การค้ามักรับแต่แบรนด์ดังเท่านั้น เราเป็นเพียงร้านเล็กๆ คงไม่สามารถนำร้านเข้าไปอยู่ได้ ซึ่งความจริงแล้ว ศูนย์การค้ารับพิจารณาทั้งแบรนด์ใหญ่ และแบรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่ที่สำคัญมากๆ เป็นประเด็นหลักเลย ก็คือ ร้านของคุณจะต้องอร่อยจริง คุณภาพดีจริง เพราะฉะนั้น ทำให้อาหารร้านของคุณอร่อยก่อน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.