เมื่อลูกค้าเจอ " อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร - Amarin Academy

เมื่อลูกค้าเจอ ” อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

เมื่อลูกค้าเจอ “ อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

การเปิดร้านอาหาร เจ้าของร้านหลายๆ คนคงพยายามรักษาคุณภาพอย่างเต็มที่ทั้งในด้าน รสชาติอาหาร และ การบริการ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด แต่หากเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการพลาด อาหารรสชาติเพี้ยน หรือปัญหาใหญ่ของร้านอาหารคือ ลูกค้าเจอ “ อาหารบูด ” เจ้าของร้านจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไรดีล่ะ

ไม่นานมานี้ผมกับเพื่อนๆ ได้ไปกินเค้กที่ร้านของหวานชื่อดังแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าแจ๊คพอตแตกครับ เค้กที่เด็กยกมาเสิร์ฟ มีกลิ่นและรสชาติแปลกๆ ทุกคนที่ได้ชิมลงความเห็นว่า “เสียแน่นอน”

ผมจึงเรียกพนักงานเสิร์ฟมาแจ้งว่าเค้กน่าจะเสียแล้ว เขาเดินมายกเค้กกลับไปเก็บ ไม่นานก็นำเค้กชิ้นใหม่มาเสิร์ฟ และจากไป (โดยไม่กล่าวคำขอโทษเลย) เพื่อนๆ ผมก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะเค้กชิ้นที่ 2 ก็มีรสชาติปกติ อร่อยได้มาตรฐาน

แต่เหตุการณ์นี้ผมอยากตั้งข้อสังเกตให้เพื่อนๆ ผู้ประกอบการทราบครับ ว่าการแก้ปัญหาของร้านขนมแห่งนี้ไม่ชวนให้เกิดความน่าประทับใจเลย เพราะแม้ว่าลูกค้าจะยอมรับเค้กชิ้นใหม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะลืมว่า ร้านเคยเสิร์ฟเค้ก “ตกมาตรฐาน” ให้เขานะครับ และหากลูกค้าไม่ท้วงติงในร้าน ข้อตำหนินี้อาจไปปรากฏบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งผลกระทบเลวร้ายกว่าการตำหนิในร้านมากๆ (ทุกวันนี้ลูกค้าเชื่อรีวิวในอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจังมากๆ และอาจทำให้ยอดขายคุณตกลงดื้อๆ เลยก็ได้)

ฉะนั้น โอกาสเดียวที่เราจะสามารถแก้ไขความผิดหวังของลูกค้าได้ ก็ต้องทำในช่วงที่เขายังนั่งในร้านของเรานี่แหละครับ

โดยแนวทางแก้ไขมีหลากหลายวิธีมาก วันนี้จะขอแนะนำวิธีคลาสสิกที่เจ้าของร้านอาหารเจ้าดังๆ มักใช้คือ

อันดับแรก หากพบว่าอาหารเสีย พนักงานต้องกล่าวขอโทษลูกค้าทันที และด้วยความจริงใจ จากนั้นจึงแจ้งให้ผู้จัดการร้านทราบ ถัดมา ผู้จัดการร้านควรเข้าไปขอโทษด้วยตนเองอีกครั้ง พร้อมแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ไม่คิดราคาเค้กทั้งสองชิ้น การให้บัตรส่วนลดเพื่อมาใช้บริการในครั้งถัดไป แจกของพรีเมี่ยมของร้าน

หรือการเสิร์ฟอาหารจานพิเศษ เป็นการแสดงความขอโทษ โดยอาหารจานนั้นอาจเป็นจานที่มีขายในร้าน หรือไม่ได้มีขาย แต่คิดขึ้นเพื่อใช้สำหรับขอโทษลูกค้าโดยเฉพาะก็ได้ (ร้าน Sushi shin ก็ใช้วิธีนี้)

โดยเจ้าของร้านต้องให้อำนาจผู้จัดการร้าน ในการตัดสินใจได้ทันที ขณะเดียวกันก็ควรกำหนดมาตรฐานคร่าวๆ ว่า หากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ ควรแสดงความขอโทษลักษณะใด

แต่หากเหตุการณ์เลวร้ายจริงๆ เช่น ลูกค้าไม่พอใจมาก หรือเกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงมากๆ ผู้จัดการร้านควรขอเบอร์ติดต่อกลับ เพื่อให้เจ้าของร้านติดต่อกลับไปขอโทษอีกครั้ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงใจ

วิธีที่กล่าวมานี้น่าจะช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ร้านของเราเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ และพร้อมรับผิดชอบต่อความผิดพลาดนั้น ผมเชื่อว่าลูกค้าทุกคนพร้อมรับคำขอโทษอยู่แล้วครับ เพียงแต่ว่าร้านอาหารต้องแสดงความจริงใจให้เขาเห็น

หวังว่าวิธีที่ผมนำเสนอมานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการร้านอาหารทุกๆ คนนะครับ แต่หากเพื่อนๆ คนใดมีไอเดียที่น่าสนใจอยากแนะนำเพิ่มเติม สามารถแชร์กันได้เลยนะครับ

เรื่องแนะนำ

แจก Checklist เซตอัพระบบร้านอาหาร จบ ครบ เปิดร้านได้เลย

การทำเช็คลิสต์ก่อนเปิดร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญของการเซตอัพระบบร้านอาหาร ที่จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารรู้ว่ามีสิ่งไหนที่ทำสำเร็จแล้ว เหลืองานส่วนไหนบ้างที่ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ร้านจะเปิดรับลูกค้าได้จริง   “เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ควรทำเช็คลิสต์เรื่องอะไรบ้าง”   1.งานออกแบบและตกแต่งภายในร้าน โครงสร้างและการตกแต่งร้าน ควรเป็นสิ่งที่แล้วเสร็จก่อนการเปิดร้าน เพราะการเพิ่มเติมหน้างานเมื่อร้านเปิดไปแล้วทำได้ยาก แต่ก็เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของเจ้าของร้านอาหาร โดยเฉพาะปัญหาผู้รับเหมา เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ที่ทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดจึงควรเคร่งครัดให้ดำเนินงานตามแผนงานและเผื่อเวลาไว้สำหรับงานที่ไม่เป็นไปตามกำหนด การจัดทำเช็คลิสต์จะช่วยให้เจ้าของร้านวางแผนสำรองหากเกิดปัญหา   2.งานระบบ             ระบบน้ำ ไฟ แสงสว่าง การติดตั้งอุปกรณ์ครัวเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลทำให้ร้านไม่สามารถเปิดได้ หรือถ้าหากเกิดปัญหาหน้างานก็แก้ไขค่อนข้างลำบาก จึงควรทดลองเดินระบบ จัดทำให้แล้วเสร็จเสียแต่เนิ่น ๆ   3.กฏหมาย และการเงิน อย่าลืม กำหนดการจัดทำเอกสารด้านการเงิน การขออนุญาตทางราชการที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร วางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้า จัดระบบการเงินหลังร้านให้พร้อมสำหรับการเปิดร้าน   4.การสั่งซื้อวัตถุดิบ             ช่วงเปิดร้านแรก ๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ หากไม่เคยเปิดร้านขายอาหารมาก่อน การคำนวณปริมาณและการประสานงานกับซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นควรมีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ก่อนเปิดร้าน การเซตอัพระบบบริหารวัตถุดิบไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดซื้อ การรับสินค้า การจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อให้พร้อมใช้งาน การมีระบบปฏิบัติงาน SOP จะช่วยให้ร้านจัดการเรื่องวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   5.อุปกรณ์หน้าบ้านและหลังบ้าน             […]

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

ของถูกหรือของแพง

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม”

สงสัยไหม ทำไมร้านอาหารราคาแพงบางร้าน ลูกค้าเยอะ ขณะที่ร้านราคาถูก กลับไม่มีลูกค้าเลย สิ่งนีทำให้เห็นว่า ลูกค้าไม่ได้ดูที่ ของถูกหรือของแพง เพียงอย่างเดียว

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง! ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน! . ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40% ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15% ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20% ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.