กลยุทธ์ Music Marketing BEARHOUSE ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม

#ถอดบทเรียน BEARHOUSE ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม “Music Marketing” กลยุทธ์ที่ให้มากกว่าความเพลิดเพลิน

#ถอดบทเรียน BEARHOUSE
ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม

การสร้าง Brand Loyalty และอยากเป็น “เพื่อน”
“Music Marketing” กลยุทธ์ที่ให้มากกว่าความเพลิดเพลิน

เพราะเพลงมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์… สอง youtuber ดัง คุณกานต์ และคุณซารต์ เจ้าของแบรนด์ Bear House ได้ออกมาเล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำเพลงหรือ BEARHOUSE Playlist เพื่อนำมาเปิดในร้าน โดยทั้งคู่ได้มาแชร์เรื่องราวของการทำเพลงนี้ ดังนี้

🔸แรงบันดาลใจ💖

โดยคุณกานต์ และคุณซารต์ได้เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการทำเพลงนี้ มาจากช่วงที่พวกเขาต้องทำงานอยู่บ้านหรือ Work frome Home นั้น ได้มีการเปิดเพลย์ลิสต์เพลงของแบรนด์สินค้าสุดมินิมอลอย่าง Muji ฟังอยู่ตลอด ซึ่งการฟังเพลงนี้ได้ทำให้เขารู้สึกราวกับว่าเขากำลังเลือกซื้อของอยู่ในร้าน Muji อะไรอย่างนั้นเลย อีกทั้งยังทำให้เขาเกิดความรู้สึกจงรักภักดีต่อแบรนด์ จนรู้สึกว่าถ้าไปห้างจะต้องแวะไปซื้อของที่ Muji ด้วย

ทั้งนี้จึงทำให้พวกเขาเกิดแรงบันดาลใจว่าเมื่อเพลงของ Muji ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ได้ ก็อยากให้ Bear House มีเพลงที่ฟังแล้วสามารถคิดถึง Bear House ได้บ้าง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณกานต์ และคุณซารต์จ้างทีม Sound Designer ให้มาออกแบบเพลง เพื่อใช้เปิดในร้านชานมโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละเพลงก็จะมีเอกลักษณ์และให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป

🔸เชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย👥

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วการที่ Bear House หรือแบรนด์อื่น ๆ มีเพลงประจำแบรนด์ หรือเพลงที่ใช้เปิดในร้านเป็นของตัวเองมันดีกว่าไม่มียังไง?

จริง ๆ แล้วการที่แบรนด์นำเพลงมาใช้ ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดหนึ่ง (Music Marketing) ที่ใช้เสียงดนตรีในการสื่อสาร เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายเข้าด้วยกัน และทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ ได้รับรู้ถึงตัวแบรนด์ในมิติอื่น ๆ มากขึ้น ทำให้แบรนด์เข้าถึงง่าย และเป็นเหมือนคนรู้จัก

🔸Music Marketing มีผลต่อผู้ฟังอย่างไร ?🎶

✨สร้าง Brand Awareness👤

เสียงที่เป็นเอกลักษณ์และสื่อถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ มีแนวโน้มทำให้ผู้บริโภคที่ได้ยินสามารถจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น มากไปกว่านั้นการที่แบรนด์มีรูปแบบการใช้เพลงที่เปิดในร้าน ยังสามารถสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้ด้วย

ยกตัวอย่าง เช่น ร้าน Starbucks ที่มักจะเปิดเพลงสบาย ๆ ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการรู้สึกผ่อนคลาย จนเกิดเป็นการรับรู้ว่าเมื่อมาใช้บริการ Starbucks ก็จะได้รับความรู้สึกนี้ ไปจนถึงถ้าเปิดเพลย์ลิสต์เดียวกันนี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็จะรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในร้านนั้น ๆ พูดให้เห็นภาพก็อารมณ์เหมือนที่คุณกานต์ และคุณซารต์บอกว่าเปิดเพลง Muji ให้อารมณ์เหมือนเดินอยู่ Muji นั่นแหละ


✨สร้างประสบการณ์ที่ดี😍

เสียงเพลง เสียงดนตรี เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ “อารมณ์” ไม่ว่าจะสุข เศร้า เหงา หรือดีใจ เนื้อร้องบางท่อน เพลงบางเพลง แม้เวลาจะผ่านไป แต่เมื่อเรากลับมาได้ยิน มันก็มักจะพาเราย้อนกลับไปยังความรู้สึกเดิม ๆ ได้ เพลงของแบรนด์ก็เช่นกัน หากเพลงที่ใช้สร้างความประทับใจหรือทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ก็จะส่งผลต่อการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภค ไปจนถึงเกิด Customer Loyalty ได้

✨บอกเล่าเรื่องราว💬

เพลงสามารถถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ได้ แม้ไม่มีคำร้อง โดยการอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ทำนอง รูปแบบเสียง หรือการสร้างเสียงต่าง ๆ อย่างเพลย์ลิสต์ที่ Bear House ทำขึ้นนี้ ก็ได้มีการนำเสียงต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความเป็นร้านชานมไข่มุก Bear House เข้ามาใส่ด้วย เช่น เสียงคุณซารต์พูดคำว่า Bear House เสียงน้ำแข็งในแก้ว เสียงไข่มุกหล่นลงน้ำ เสียงโปรยใบชา ไปจนถึงการออกแบบเสียงให้กลมเพื่อสื่อถึงความกลมของเม็ดไข่มุก เป็นต้น

จริง ๆ แล้วกลยุทธ์ Music Marketing นี้สามารถทำออกมาได้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ซาวน์จิงเกิ้ล, เพลง Cover ที่มีการนำเอาศิลปินมาเป็น Brand ambassador, เพลง Remake, การทำอีเวนต์ ไปจนถึงการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ เพื่อประกอบแคมเปญทางการตลาด ซึ่งจะทำออกมาในรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและปัจจัยต่าง ๆ ของแบรนด์นั้น ๆ

สำหรับใครที่อยากลองฟัง BEARHOUSE Playlist ก็สามารถฟังกันยาว ๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=iEIfhBqWN0I แอดฟังแล้ว น่ารักมาก ๆ หรืออยากชมคลิปขั้นตอนการทำเพลง เพื่อเป็นแนวทางการทำ Music Marketing หรือเพิ่มแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง ก็สามารถชมเต็ม ๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=ry3MnNBoUAY 💖
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

“อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์มาแรงสายคลีน โอกาสทองของคนอยากมีธุรกิจ

หนึ่งในปัจจัยภายในที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีได้นั้น คงหนีไม่พ้น “อาหาร” นาทีนี้เรื่องของ “อาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ อาหารคลีนฟู้ด กำลังได้รับความนิยม อาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์มาแรงของคนยุคใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตลาดธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพขยายตามไปด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่สนใจอยากเปิดร้านอาหาร การลงทุนกับอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและเริ่มต้นได้ไม่ยาก วันนี้เราจึงขอนำเสนอแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนตีโจทย์ลักษณะของธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเป็นแนวทางในการนำไปเริ่มธุรกิจกัน 1.จุดยืนของอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่า อาหารของเราทำมาจากวัตถุดิบที่สดใหม่และได้คุณภาพ ปรุงรสและผ่านกรรมวิธีที่ไม่ได้ลดคุณค่าทางอาหารจนเกินไป หากสนใจลงทุนกับธุรกิจด้านนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจอย่างเราก็ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโภชนาการและคุณค่าทางอาหารต่างๆ ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเอ่ยถึงอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคล้วนมองหาสิ่งดีๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีมาจากภายใน  เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี กรรมวิธีการปรุงอาหารที่ไม่มากเกินไปจนทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มคนรักสุขภาพมองเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะมองหาอาหารที่ช่วยควบคุมแคลอรี่และน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีรสชาติที่ดี  มีเมนูให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่จำเจหรือน่าเบื่อจนเกินไป จะเป็นเมนูอาหารเช้า ขนมทานเล่น ของหวาน หรือเมนูหลักก็สามารถสร้างสรรค์ให้หลากหลายได้ หลักในการปรุงส่วนใหญ่นั้น  ร้านควรเน้นวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ ไม่มีวัตถุดิบพวกหมักดอง หรือ ขัดขาว เช่นน้ำตาลทรายขาว ข้าวขาว อาหารควรไร้ไขมัน มีน้ำมันประกอบอาหารได้ในจำนวนน้อยและใช้น้ำมันพืชที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน และปรุงรสให้กลมกล่อมแบบกลางๆมากกว่าการเน้นรสจัด ที่สำคัญควรต้องครบห้าหมู่ 2.กลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ แม้จะดูเหมือนว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่แท้จริงแล้วกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกระจายอยู่ในหลายอาชีพและช่วงอายุ ทั้งกลุ่มนักศึกษาที่อยู่หอพักหรือคอนโด ซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในการทำอาหารมากนัก, กลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้มีเวลาดูแลตัวเองเท่าที่ควร หรือกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งต้องเริ่มใส่ใจกับอาหารการกินมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่กลุ่มคนรักสุขภาพที่เข้าฟิตเนส […]

ร้านอาหารต้องพัฒนาเมนู

3 ปัจจัยที่ทำให้ ร้านอาหารต้องพัฒนาเมนู อยู่เสมอ

บางร้านอาจคิดว่า เมื่อเมนูเดิมดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนา แต่รู้ไหม นี่เป็นจุดอ่อนสำคัญของธุรกิจ ฉะนั้นมาดูปัจจัยที่ทำให้ ร้านอาหารต้องพัฒนาเมนู ดีกว่า

การตลาดออนไลน์เบื้องต้น ที่คุณต้องรู้!

การทำธุรกิจในยุคดิจิตัลแบบนี้ คงปฏิเสธการใช้การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ได้ยาก ฉะนั้นอะไรบ้างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ การตลาดออนไลน์เบื้องต้น

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.