กลยุทธ์ Music Marketing BEARHOUSE ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม

#ถอดบทเรียน BEARHOUSE ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม “Music Marketing” กลยุทธ์ที่ให้มากกว่าความเพลิดเพลิน

#ถอดบทเรียน BEARHOUSE
ลงทุนเป็นแสน ทำเพลงให้ร้านชานม

การสร้าง Brand Loyalty และอยากเป็น “เพื่อน”
“Music Marketing” กลยุทธ์ที่ให้มากกว่าความเพลิดเพลิน

เพราะเพลงมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์… สอง youtuber ดัง คุณกานต์ และคุณซารต์ เจ้าของแบรนด์ Bear House ได้ออกมาเล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำเพลงหรือ BEARHOUSE Playlist เพื่อนำมาเปิดในร้าน โดยทั้งคู่ได้มาแชร์เรื่องราวของการทำเพลงนี้ ดังนี้

🔸แรงบันดาลใจ💖

โดยคุณกานต์ และคุณซารต์ได้เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการทำเพลงนี้ มาจากช่วงที่พวกเขาต้องทำงานอยู่บ้านหรือ Work frome Home นั้น ได้มีการเปิดเพลย์ลิสต์เพลงของแบรนด์สินค้าสุดมินิมอลอย่าง Muji ฟังอยู่ตลอด ซึ่งการฟังเพลงนี้ได้ทำให้เขารู้สึกราวกับว่าเขากำลังเลือกซื้อของอยู่ในร้าน Muji อะไรอย่างนั้นเลย อีกทั้งยังทำให้เขาเกิดความรู้สึกจงรักภักดีต่อแบรนด์ จนรู้สึกว่าถ้าไปห้างจะต้องแวะไปซื้อของที่ Muji ด้วย

ทั้งนี้จึงทำให้พวกเขาเกิดแรงบันดาลใจว่าเมื่อเพลงของ Muji ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ได้ ก็อยากให้ Bear House มีเพลงที่ฟังแล้วสามารถคิดถึง Bear House ได้บ้าง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณกานต์ และคุณซารต์จ้างทีม Sound Designer ให้มาออกแบบเพลง เพื่อใช้เปิดในร้านชานมโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละเพลงก็จะมีเอกลักษณ์และให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป

🔸เชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย👥

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วการที่ Bear House หรือแบรนด์อื่น ๆ มีเพลงประจำแบรนด์ หรือเพลงที่ใช้เปิดในร้านเป็นของตัวเองมันดีกว่าไม่มียังไง?

จริง ๆ แล้วการที่แบรนด์นำเพลงมาใช้ ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดหนึ่ง (Music Marketing) ที่ใช้เสียงดนตรีในการสื่อสาร เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายเข้าด้วยกัน และทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ ได้รับรู้ถึงตัวแบรนด์ในมิติอื่น ๆ มากขึ้น ทำให้แบรนด์เข้าถึงง่าย และเป็นเหมือนคนรู้จัก

🔸Music Marketing มีผลต่อผู้ฟังอย่างไร ?🎶

✨สร้าง Brand Awareness👤

เสียงที่เป็นเอกลักษณ์และสื่อถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ มีแนวโน้มทำให้ผู้บริโภคที่ได้ยินสามารถจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น มากไปกว่านั้นการที่แบรนด์มีรูปแบบการใช้เพลงที่เปิดในร้าน ยังสามารถสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้ด้วย

ยกตัวอย่าง เช่น ร้าน Starbucks ที่มักจะเปิดเพลงสบาย ๆ ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการรู้สึกผ่อนคลาย จนเกิดเป็นการรับรู้ว่าเมื่อมาใช้บริการ Starbucks ก็จะได้รับความรู้สึกนี้ ไปจนถึงถ้าเปิดเพลย์ลิสต์เดียวกันนี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็จะรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในร้านนั้น ๆ พูดให้เห็นภาพก็อารมณ์เหมือนที่คุณกานต์ และคุณซารต์บอกว่าเปิดเพลง Muji ให้อารมณ์เหมือนเดินอยู่ Muji นั่นแหละ


✨สร้างประสบการณ์ที่ดี😍

เสียงเพลง เสียงดนตรี เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ “อารมณ์” ไม่ว่าจะสุข เศร้า เหงา หรือดีใจ เนื้อร้องบางท่อน เพลงบางเพลง แม้เวลาจะผ่านไป แต่เมื่อเรากลับมาได้ยิน มันก็มักจะพาเราย้อนกลับไปยังความรู้สึกเดิม ๆ ได้ เพลงของแบรนด์ก็เช่นกัน หากเพลงที่ใช้สร้างความประทับใจหรือทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ก็จะส่งผลต่อการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภค ไปจนถึงเกิด Customer Loyalty ได้

✨บอกเล่าเรื่องราว💬

เพลงสามารถถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ได้ แม้ไม่มีคำร้อง โดยการอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ทำนอง รูปแบบเสียง หรือการสร้างเสียงต่าง ๆ อย่างเพลย์ลิสต์ที่ Bear House ทำขึ้นนี้ ก็ได้มีการนำเสียงต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความเป็นร้านชานมไข่มุก Bear House เข้ามาใส่ด้วย เช่น เสียงคุณซารต์พูดคำว่า Bear House เสียงน้ำแข็งในแก้ว เสียงไข่มุกหล่นลงน้ำ เสียงโปรยใบชา ไปจนถึงการออกแบบเสียงให้กลมเพื่อสื่อถึงความกลมของเม็ดไข่มุก เป็นต้น

จริง ๆ แล้วกลยุทธ์ Music Marketing นี้สามารถทำออกมาได้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ซาวน์จิงเกิ้ล, เพลง Cover ที่มีการนำเอาศิลปินมาเป็น Brand ambassador, เพลง Remake, การทำอีเวนต์ ไปจนถึงการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ เพื่อประกอบแคมเปญทางการตลาด ซึ่งจะทำออกมาในรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและปัจจัยต่าง ๆ ของแบรนด์นั้น ๆ

สำหรับใครที่อยากลองฟัง BEARHOUSE Playlist ก็สามารถฟังกันยาว ๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=iEIfhBqWN0I แอดฟังแล้ว น่ารักมาก ๆ หรืออยากชมคลิปขั้นตอนการทำเพลง เพื่อเป็นแนวทางการทำ Music Marketing หรือเพิ่มแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง ก็สามารถชมเต็ม ๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=ry3MnNBoUAY 💖
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

คู่แข่งร้านอาหาร

Marketing Collaboration สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร

“Marketing Collaboration”  สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร ในช่วงหลายปีมานี้ ถือเป็นยุคแห่งการ Collaboration หรือการจับมือกันของธุรกิจอาหาร เราจะเห็นหลาย ๆ แบรนด์สร้างสินค้าหรือโปรโมชั่นใหม่ร่วมกัน ทำให้เกิดความแปลกใหม่ในวงการธุรกิจอาหารมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจอาหารนี้ มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ สร้างความน่าสนใจและให้ประสบการณ์ใหม่ๆ กับผู้บริโภค ปลุกกระแสทางการตลาดให้เป็นไวรัล และได้รับการพูดถึงในวงกว้าง แลกเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าระหว่างแบรนด์ ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ลดการแข่งขัน และเพิ่มพันธมิตรทางการค้า ทำให้แบรนด์ดูทันสมัย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่มากขึ้น ใช้จุดแข็งของพาร์นเนอร์มาชดเชยจุดอ่อนของแบรนด์ตัวเอง   เหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่กำลังมาแรงทีเดียว กับการสร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร เราลองมาดูตัวอย่างความร่วมมือในธุรกิจอาหารที่น่าสนใจกัน ว่ามีแบรนด์ไหน จับมือกับแบรนด์ไหนบ้าง   4 Case Study: เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้าร้านอาหาร Bar B Q Plaza X Pizza Hut ในปีที่ผ่านมา บาร์บีคิวพลาซ่าและพิซซ่าฮัท ได้จัดแคมเปญและออกเมนูฟิวชั่นร่วมกัน โดยทางร้านบาร์บีคิวพลาซ่าจะมีเมนูหมูที่เสิร์ฟแบบใหม่บนถาดพิซซ่า เครื่องเคียงแบบพิซซ่าและน้ำจิ้มใหม่ ส่วนร้านพิซซ่าฮัท ก็มีพิซซ่าหน้าหมูบาร์บิกอนในซอสใหม่ เป็นการรวมจุดเด่นของทั้งสองแบรนด์เข้าด้วยกัน สร้างความตื่นเต้นแก่ลูกค้า และเกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียในช่วงนั้นได้  […]

Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization อยากมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด ก็ต้องอ่านใจลูกค้าให้ออก.. ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ผู้บริโภคอยากรู้ทุกอย่าง และสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกเรื่องได้ด้วยปลายนิ้ว ฉะนั้นการทำการตลาดแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการจำชื่อลูกค้า, ส่งข้อความ หรืออีเมล์ไปอวยพรวันเกิด พร้อมส่วนลดต่างๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้กำลังจะกลายมาเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำการตลาดเท่านั้น ดังนั้นธุรกิจร้านอาหารหรือแบรนด์ที่จะสะกิดใจคนได้ ต้องเป็นแบรนด์ที่รู้จักและรู้ใจลูกค้า ด้วยการทำการตลาดแบบ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการตลาดที่เข้าถึงตัวบุคคลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ตรงใจลูกค้ามากกว่าที่เคย อย่าปล่อยให้เสียเวลาเปล่า เจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องรีบทำความเข้าใจ เรียนรู้ และปรับตัว รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ แล้วจะช่วยให้ลูกค้าเดินเข้าร้านได้อย่างยิ้มแย้มและเต็มใจ หัวใจของ Hyper Personalization อยู่ที่ “Big Data” ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก่อนว่าการตลาดแบบ Hyper Personalization เป็นการนำ Big Data แบบเรียลไทม์มาใช้ในการคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่ข้อมูลจากประวัติการสั่งซื้อทั่วไป แต่เป็นการเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นพฤติกรรมการซื้อ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าลูกค้าคนนี้อยากจะซื้อกับเราครั้งถัดไปเมื่อไหร่ หรือจะกระตุ้นเขาให้ซื้อได้ด้วยวิธีไหน ซึ่ง Big Data คือการนำข้อมูลรอบๆ ตัว จากหลายๆ ส่วนมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ  จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของร้านอาหาร ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า […]

จิตวิทยา การตลาด

จิตวิทยา การตลาด ทำอย่างไรให้ยอดขายเพิ่ม!

รู้ไหมว่า จริงๆ แล้วมีหลัก จิตวิทยา การตลาด ที่สามารถนำมาใช้เป็นเหมือนมนต์สะกด ช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหารได้เช่นกัน วันนี้ผมมี 5 มนต์สะกดมาเล่าให้ฟัง

จุดขาย

3 จุดขาย ปั้นร้านให้เป็นจุดหมาย (Food Destination)

ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอาหารประเภทใด คุณ (อาจ) ไม่ใช่คนเดียวที่กำลังทำธุรกิจนั้นๆ อยู่ แล้วคุณจะหา จุดขาย ให้ร้านของคุณแตกต่างจากร้านอาหารของเจ้าอื่นได้อย่างไร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.