อ่านใจลูกค้าออก บริการตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ

ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อยากมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด ก็ต้องอ่านใจลูกค้าให้ออก..

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ผู้บริโภคอยากรู้ทุกอย่าง และสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกเรื่องได้ด้วยปลายนิ้ว ฉะนั้นการทำการตลาดแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการจำชื่อลูกค้า, ส่งข้อความ หรืออีเมล์ไปอวยพรวันเกิด พร้อมส่วนลดต่างๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้กำลังจะกลายมาเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำการตลาดเท่านั้น

ดังนั้นธุรกิจร้านอาหารหรือแบรนด์ที่จะสะกิดใจคนได้ ต้องเป็นแบรนด์ที่รู้จักและรู้ใจลูกค้า ด้วยการทำการตลาดแบบ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการตลาดที่เข้าถึงตัวบุคคลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ตรงใจลูกค้ามากกว่าที่เคย อย่าปล่อยให้เสียเวลาเปล่า เจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องรีบทำความเข้าใจ เรียนรู้ และปรับตัว รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ แล้วจะช่วยให้ลูกค้าเดินเข้าร้านได้อย่างยิ้มแย้มและเต็มใจ

Hyper-Personalization

หัวใจของ Hyper Personalization อยู่ที่ “Big Data”

ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก่อนว่าการตลาดแบบ Hyper Personalization เป็นการนำ Big Data แบบเรียลไทม์มาใช้ในการคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่ข้อมูลจากประวัติการสั่งซื้อทั่วไป แต่เป็นการเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นพฤติกรรมการซื้อ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าลูกค้าคนนี้อยากจะซื้อกับเราครั้งถัดไปเมื่อไหร่ หรือจะกระตุ้นเขาให้ซื้อได้ด้วยวิธีไหน

ซึ่ง Big Data คือการนำข้อมูลรอบๆ ตัว จากหลายๆ ส่วนมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ  จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของร้านอาหาร ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า เพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

ฟังดูแล้วอาจเหมือนว่า Big Data เป็นสเกลใหญ่ แต่เจ้า Big Data นี้ช่วยได้ในแง่ของการระบุปัญหา และวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงอาจทำให้มองเห็นรูปแบบการแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น และตามหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ หากเรารู้ถึงที่มาและมีบทเรียนจากฐานข้อมูลเดิม

ดังนั้นข้อมูล จึงเป็นส่วนสำคัญในการทำ Hyper Personalization เพราะจำเป็นต้องใช้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้รู้จักลูกค้าของตัวเองมากขึ้น ว่าแท้จริงแล้วลูกค้าของเราเป็นใคร แบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม ชอบหรือไม่ชอบอะไร โปรโมชั่นแบบไหนที่โดนใจ หรือปกติแล้ววันไหนที่เขามักเสียเงินให้เรามากเป็นพิเศษ ซึ่งแต่เดิมนั้นข้อมูลส่วนบุคคลจะมีเพียงแค่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เท่านั้น

Hyper-Personalization

เสิร์ฟสิ่งที่สนองความต้องการของลูกค้าในรูปแบบและเวลาที่เหมาะสม

จากตัวอย่างบทความในเว็บไซต์ EverydayMarketing.co ได้ยก Case Study ของ Starbucks กับการทำ Hyper-Personalization ผ่านแอปพลิเคชันไว้ว่า การแนะนำอาหารและเครื่องดื่มในแอปพลิเคชัน จะมาจากการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลการซื้อย้อนหลังออกมาเป็นพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแต่ละคน ทำให้เวลาลูกค้าเปิดแอปพลิเคชัน ขึ้นมาจะเห็นเมนูแนะนำที่ถูกอกถูกใจอยู่เสมอ นอกจากนี้ Starbucks ยังมีการส่งการแจ้งเตือน ไปหาลูกค้าพรีเมี่ยมในกรณีที่ลูกค้าอยู่ใกล้สาขาที่สามารถสั่งกาแฟและจ่ายผ่านมือถือได้ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องเดินผ่านหน้าร้าน

สุดท้ายแล้วการที่ Starbucks ใช้การตลาดแบบ Hyper-Personalization ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม 3 เท่า และมีรายได้จากการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน ทางมือถือ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อในอนาคต

อีกหนึ่งบทความจาก forbes.com บอกว่าให้ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม, การเก็บข้อมูลและสร้างโปรไฟล์ลูกค้า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าเข้าร้านมากยิ่งขึ้น มาดูเทคโนโลยีบางอย่างที่จะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของร้านอาหารกันดีกว่า

Point of Sale : เรียกกันสั้นๆ ว่าระบบ POS เป็นระบบที่เก็บข้อมูลการขาย และข้อมูลบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อมีการขายสินค้า หรือการบริการ ซึ่งมักจะเป็นจุดขายหรือจุดชำระเงินตรงแคชเชียร์

Mobile App : การ Sign-in และใส่ข้อมูลโปรไฟล์ ผ่านแอปพลิเคชัน มือถือ ถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลที่ง่ายมากๆ คุณสามารถมองเห็นประวัติการสั่งซื้อ, วันเกิด, เมนูอาหารจานโปรด หรือความถี่ในการสั่งซื้อได้

Guest Management System : ระบบการจัดการลูกค้า เป็นการเก็บข้อมูลการแพ้อาหารของลูกค้า และความพึงพอใจอื่นๆ ในช่วงเวลารับประทานอาหาร ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้การจัดการภายในร้านดีขึ้น และมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นได้

Loyalty หรือ Rewards Program : โปรแกรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ทำให้เกิดความผูกพันกับร้าน ไม่มีเปลี่ยนใจไปร้านไหน โดยอาจจะออกมาเป็นบัตรสะสมคะแนน, Cashback, โปรโมชั่นมื้อพิเศษ, ส่วนลด, หรือข้อเสนอต่างๆ ก็ได้

Kitchen Display System : ระบบแสดงผลออเดอร์อาหาร ถ้าใช้ร่วมกับระบบ POS และ Guest Management System จะยิ่งเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อออเดอร์ส่งถึงมือพ่อครัวแล้ว หากลูกค้ามีอาการแพ้อาหารชนิดไหนก็สามารถระบุได้ หรือหากลูกค้ากำลังจัดปาร์ตี้วันเกิดอยู่ พ่อครัวอาจจะมอบเมนูขนมหวานพิเศษพร้อมข้อความเล็กๆ แสดงความยินดีด้วยก็ได้

Hyper-Personalization

สุดท้ายการรักษาข้อมูลให้อัปเดตอยู่เสมอ ก็เป็นสิ่งที่ร้านอาหารหลายๆ ร้านควรจะทำ เพราะนั่นจะแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ และได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลการเข้าร้าน นอกจากนี้อาจจะต้องมีการเทรนพนักงานให้หมั่นอัปเดตรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หน้างาน เช่น หากลูกค้าชอบนั่งโต๊ะหัวมุม และสั่งไวน์แดง ก็ต้องจดบันทึกลงในระบบ เมื่อลูกค้าคนนี้กลับมาที่ร้านอีกครั้ง เราก็สามารถใช้ข้อมูลตรงนี้ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจได้

จะเห็นได้ว่าการทำ Hyper Personalization นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แม้จะไม่มีขั้นตอนการทำที่แน่ชัด ด้วยข้อมูลที่มีจำนวนมากและบางทีอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันหรือซ้ำกันได้ อาจจะทำให้ยุ่งยากกว่าการทำการตลาดแบบปกติ แต่สุดท้ายแล้วการมีข้อมูลและรู้จักลูกค้าของเรามากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นเรื่องดี แถมยังช่วยให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในการใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ดูเหมือนลูกค้าเป็นคนพิเศษสำหรับเราจริงๆ ไม่เพียงเท่านั้นยังถือเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของเรามากขึ้นด้วย

 

 

ขอบคุณข้อมูล : EverydayMarketing.co

www.peerpower.co.th

www.forbes.com

 

เรื่องแนะนำ

Bartercard

Bartercard ทางเลือกคนทำธุรกิจ ช่วยเพิ่มยอดขาย ค่าใช้จ่ายลด

กุญแจสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ คือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลง ดังนั้น ในยุคปัจจุบันนี้จึงมีวิธีทำการตลาดมากมาย ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยหรือทางเลือกในการทำกำไร และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจของคุณ ซึ่ง Bartercard ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของคนทำธุรกิจ ที่จะมาช่วยผู้ประกอบการในการเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย แล้วBartercard คืออะไร จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบค่ะ   Bartercard ทางเลือกใหม่คนทำธุรกิจ ระบบBartercard (บาร์เทอร์คาร์ด) คือ ตลาดการค้าที่ประกอบไปด้วยผู้ถือบัตรกว่า 35,000 นักธุรกิจ เพื่อทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันโดยไม่ใช้เงินสด โดยมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือ และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน ปัจจุบันมีนักธุรกิจเข้าร่วมในระบบนี้ถึง 9 ประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยด้วย สำหรับระบบการทำงานของบาร์เทอร์คาร์ดนั้น เป็นการพัฒนาการแลกเปลี่ยนซึ่งเคยเกิดขึ้นในสมัยก่อน ที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรง แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงแบบเดิมนั้น ก็มีอุปสรรคอยู่ที่ความต้องการในการแลกเปลี่ยนอาจจะไม่ตรงกันในขณะนั้น ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้น ดังนั้น บาร์เทอร์คาร์ด จึงได้มีการพัฒนาหน่วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “เทรดบาท” ขึ้นมา 1 เทรดบาท จะเท่ากับ 1 บาท เปรียบเสมือนคุณมีบัญชีธนาคาร โดยสามารถใช้จ่ายในการซื้อสินค้าได้จากยอดเงินคงเหลือจากการขายสินค้าของคุณ หรือวงเครดิตปลอดดอกเบี้ยที่ได้รับจากบาร์เทอร์คาร์ด ข้อดีของ Bartercard คืออะไร? 1. […]

เทคนิคสร้างเพจร้านอาหาร

7 เทคนิคสร้างเพจร้านอาหาร ให้เปรี้ยง!

การสร้างเพจร้านอาหารไว้สื่อสารกับลูกค้า เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ร้านอาหารทุกร้านนิยมทำ อย่างนี้มาดู 7 เทคนิคสร้างเพจร้านอาหาร ให้เปรี้ยง กันดีกว่า

4 วิธีเจาะกลุ่มลูกค้าคนจีน

นักท่องเที่ยวจีน ถือเป็นกลุ่มลูกค้าที่น่าจับตาเพราะเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อสูง ฉะนั้นถ้าผู้ประกอบการจับตลาดนักท่องเที่ยวจีนได้ ก็สามารถสร้างยอดขายไม่ยาก

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.