โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! - Amarin Academy

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง

 

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

จะเปิดร้านต้องรู้!

สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้

  1. ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost)

ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

 

  1. ต้นทุนค่าแรง (Labor Cost)

ต้นทุนค่าแรงส่วนนี้คือ เงินเดือนสำหรับพนักงานประจำ เงินค่าจ้างพนักงานแบบชั่วคราว (Part time) เงินเดือนของเจ้าของร้านเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการอื่นๆ ของพนักงาน เช่น ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เงินสมทบประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยขยัน ค่าอาหาร หรือโบนัสประจำปี ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละร้าน ต้นทุนแรงงานส่วนนี้ ถือว่าเยอะรองลงมาจากต้นทุนอาหาร อยู่ที่ประมาณ 20 – 25 % ขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน เช่น ร้านที่มีพนักงานเสิร์ฟและเน้นการบริการแก่ลูกค้า ก็จะมีต้นทุนค่าแรงสูงกว่าร้านอาหารที่ให้ลูกค้าบริการตัวเอง 

ในการบริหารจัดการต้นทุนแรงงาน เจ้าของร้านควรจะวางแผนตามยอดขายในแต่ละช่วง เช่น ในช่วงเทศกาลที่มีลูกค้ามาใช้บริการเยอะ แต่ร้านเรามีจำนวนพนักงานไม่มาก อาจจะจ้างพนักงานชั่วคราว (Part time) เข้ามาเสริมแทนที่จะจ้างพนักงานประจำ เพื่อไม่ให้จำนวนพนักงานมากเกินความจำเป็น และลดต้นทุนค่าแรงในช่วงที่ลูกค้าน้อย รวมถึงการเทรนพนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีมาตรฐานการบริการที่ดีก็จะส่งผลดีต่อร้านเช่นกัน 

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

 

  1. ต้นทุนค่าเช่าสถานที่ (Occupancy cost) 

คือต้นทุนที่เกิดจากการเช่าพื้นที่ร้านอาหาร ควรอยู่ที่ประมาณ 20% ของยอดขาย หรืออาจจะคิดตามสัดส่วนรายได้ของร้าน ซึ่งอาจจะเพิ่มไปถึง 30% แล้วแต่ผู้ให้เช่ากำหนด โดยพื้นที่เช่าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า อาจมีต้นทุนค่าเช่าที่สูงกว่าพื้นที่ด้านนอก แต่ก็มีข้อดีอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น มีที่จอดรถ อยู่ในพื้นที่ร่ม รวมถึงห้างสรรพสินค้าบางแห่งจะมีทีมการตลาดที่ค่อยให้คำปรึกษาด้วย 

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

  1. ต้นทุนอื่นๆ

ต้นทุนในส่วนนี้ควรมีสัดส่วนไม่เกิน 10% ประกอบไปด้วย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กระดาษทิชชู กระดาษรองแก้วหรือจาน อุปกรณ์ทำความสะอาด ค่าซ่อมแซมร้าน ค่าจ้างนักบัญชี ค่าใช้จ่ายในการจัดโปรโมชั่น ทำการตลาดหรือโฆษณา รวมไปถึงค่าสิทธิ (Royalty fee) สำหรับร้านที่เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งอาจจะเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายของร้าน ดังนั้น ร้านอาหารจะมีต้นทุนส่วนนี้ไม่เหมือนกัน และขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละร้าน 

จากโครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ทั้งหมด หากสามารถบริหารจัดการต้นทุนให้อยู่ในสัดส่วนตามที่วางแผนไว้ ร้านอาหารควรจะเหลือกำไรประมาณ 15 – 20% ของยอดขาย จึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และคุ้มค่าในการทำธุรกิจ หรืออย่างน้อยร้านควรจะได้กำไรมากกว่า 10% แต่หากทำได้น้อยกว่านั้น ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ประกอบการว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนต่อไปหรือไม่ หรือจะต้องปรับปรุงการบริหารร้านอย่างไรต่อไป

 

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่คนทำร้านอาหารต้องรู้ เพื่อจะลงทุนในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม หากมีเงินทุนเริ่มต้นน้อย ก็ควรเริ่มจากร้านอาหารเล็กๆ ทำไปทีละขั้นตอน บริหารเงินทุนให้ดี และคุมต้นทุนให้ได้ เมื่ออยู่ตัวแล้วจึงค่อยๆ พัฒนา ขยายร้านตามกำลังที่มี เพื่อให้ร้านอาหารของคุณยังคงไปต่อได้

 

อ่านต่อบบทความที่น่าสนใจ

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง

มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง!

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

เจ้าของร้านอ่านเลย! แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

เรื่องแนะนำ

Company

ใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ มีกี่ขั้นตอน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

อาจจะถึงเวลาแล้วที่ผู้อ่านจะต้องเริ่มคิดถึงการ จดทะเบียนบริษัท เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หากเริ่มลองทำธุรกิจมาสักพักแล้วถึงจุดหนึ่งที่รายได้สูงพอสมควร การจ่ายภาษีในฐานะบุคคลธรรมดาอาจจะทำให้คุณเสียเปรียบได้ เพราะเป็นการจ่ายภาษีแบบขั้นบันได แต่เมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว อัตราภาษีจะคงที่อยู่ที 20% ในบทความนี้เราเลยรวบรวมเกี่ยวกับการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีทั้งหมดกี่ขั้นตอน และต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรไว้บ้าง? 1.ตั้งชื่อบริษัทสำหรับใช้ยื่นจดทะเบียนบริษัท ก่อนอื่นก็ต้องเข้าไปตรวจสอบในฐานข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในไทยของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนว่าชื่อบริษัทที่คุณต้องการนั้นไม่ได้ซ้ำกับบริษัทอื่น แต่ก่อนที่จะใช้งานได้ต้องลงทะเบียนบนเว็บไซต์ก่อนและหากพบว่าชื่อที่ตั้งใจจะใช้ไม่ได้ซ้ำกับใครแล้ว ก็ทำเรื่องจองชื่อบริษัทที่ต้องการและมองหาบริการรับจดทะเบียนบริษัทได้เลย 2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนที่จะจ้างบริการรับจดทะเบียนบริษัท หลังจากได้รับการรับรองชื่อบริษัทแล้ว ภายใน 30 วันต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ไว้ให้พร้อม ชื่อบริษัท ตำแหน่งที่ตั้งบริษัท วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท จำนวนของทุนจดทะเบียน ชื่อ อายุ ที่อยู่ พร้อมจำนวนของกรรมการและพยาน 2 คน จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วอย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน ชื่อผู้ตรวจสอบบัญชี พร้อมเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และค่าตอบแทน ชื่อ อายุ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้นและรายละเอียดจํานวนหุ้นของแต่ละคน 3.เตรียมเอกสารสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท แบบจองชื่อนิติบุคคลในข้อแรก สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท รวมทั้งของกรรมการทุกคน หลักฐานการรับชําระค่าหุ้น แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของบริษัท 4.เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสาร หลังจากที่ได้รับอนุมัติข้อมูลจากฝ่ายทะเบียน ให้เซ็นรับรองเอกสารให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมยื่นสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ในขั้นตอนนี้อาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากนายทะเบียนตามแต่การพิจารณา 5.ยื่นคำขอให้ได้รับจดทะเบียนบริษัทที่สำนักงานของกรมธุรกิจการค้าใกล้บ้าน เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนบริษัทและออกใบรับรองให้ไว้เป็นหลักฐาน […]

พนักงานร้านอาหารลาออก

5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก

ปัญหาพนักงานลาออก ถือเป็นปัญหาที่เจ้าของร้านอาหารทุกคนต้องเผชิญ หลายคนพยายามแก้ปัญหา แต่ก็ไม่เป็นผล มาดู 5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก กันดีกว่า

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

เพิ่มกำไรร้านอาหาร

5 เทคนิค เพิ่มกำไรร้านอาหาร ทำยังไงให้ลูกค้าเต็มใจจ่าย

อยากเพิ่มยอดขาย อยาก เพิ่มกำไรร้านอาหาร แต่ก็อยากให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายด้วย เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารึคงเคยคิดแบบนี้ แต่ไม่รู้จะทำยังไง เรามีเทคนิคดีๆ มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.