5 เคล็ดลับสร้างเซอร์วิสมาย ให้ลูกค้ารักร้านของคุณ - Amarin Academy

5 เคล็ดลับสร้างเซอร์วิสมาย ให้ลูกค้ารักร้านของคุณ

 

ร้านอาหารอร่อยอาจทำให้ลูกค้าหลายคนอยากลองมาชิม แต่ถ้าร้านอาหารนั้นบริการดีด้วย จะทำให้ลูกค้าอยากมาซ้ำ ๆ และบอกต่อคนรอบตัวเขา การบริการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เจ้าของร้านอาหารต้องสร้างให้พนักงานมีใจในการบริการ (Service Mind ) ให้ได้ เพราะมันสามารถชี้ชะตาได้เลยว่า ร้านอาหารของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง แต่จะทำอย่างไรนั้นบทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ

1.สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และมีเป้าหมาย

ความรู้สึกทำตามหน้าที่ปกติ กับความรู้สึกทำอย่างมีเป้าหมายนั้น ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ยกตัวอย่างร้าน Starbuck  ทราบดีว่า พนักงานนั้น คือ Touch point สำคัญของแบรนด์  พวกเขาถูกวางให้เป็นพาร์ทเนอร์ไม่ใช่ลูกจ้าง มีการอบรมให้มีความเข้าใจในสินค้า และบริการของร้านอย่างถ่องแท้ ที่สำคัญคือสื่อสารเป้าหมายให้เห็น และสร้างความรู้สึกว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้นด้วย

เคล็ดลับ ก็คือ แทนที่คุณจะมุ่งให้พนักงานสร้างความพึงพอใจลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่การบริหารคนให้เกิดความพอใจตั้งแต่แรก จะถูกส่งต่อถึงลูกค้าของคุณเอง ทั้งยังเป็นการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และมีมูลค่าผ่านพวกเขาอีกด้วย

 

2.สร้างระบบการบริการที่ดี

บางครั้งลูกค้าไม่ได้คอมเพลนที่ตัวพนักงาน แต่คอมเพลนระบบในการบริการที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานบริการให้ดี  ข้อกำหนดบางอย่างอาจสร้างปัญหาหน้างานด้วยซ้ำ เจ้าของร้านอาหารควรให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบการบริการของร้านที่เหมาะสม และกำหนดให้สามารถยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ และสถานะของร้านอาหารในขณะนั้น

เคล็ดลับ ก็คือ  พนักงานเป็นตัวแปรสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ เพราะจะต้องเป็นคนสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจ และจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าให้จบลงด้วยดีด้วย เทคนิค คือ ต้องฝึกให้รับฟังลูกค้าก่อน และเสนอทางแก้ไขปัญหาด้วยความกระตือรือร้น

 

3.สร้างความเข้าใจ โดยการฝึกให้เจอประสบการณ์จริง

ร้านอาหารหลายร้าน ลงทุนจ้างวิทยากรในการฝึกอบรม แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร นั่นก็เพราะการเรียนรู้ในระยะเวลาจำกัด มักให้ผลในระยะสั้น รวมถึงหากไม่มีแนวทางประยุกต์ใช้ หลังจากนั้นก็แทบไม่มีประโยชน์ เพราะธุรกิจร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่ใช้ใจและต้องการพลังในการสร้างความรู้สึกด้านบวกที่มากกว่านั้น ซึ่งการบอกว่าจะต้องทำอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับการที่ได้รับประสบการณ์เหล่านั้นด้วยตนเอง

เคล็ดลับก็คือ สร้างการพัฒนาจิตสำนึกในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ  แทนที่จะลงทุนไปกับการอบรมที่พนักงานอาจจะฟังบ้างไม่ฟังบ้างเพียงอย่างเดียว คุณอาจกำหนดให้มีการจัดงานเพื่อเลี้ยงอาหารพนักงานสักมื้อหนึ่ง และให้บริการที่แย่กับพวกเขาดูบ้าง เช่น ออกอาหารช้า พนักงานไม่สนใจให้บริการ ไม่ยิ้มแย้ม ไม่ได้รับความสะดวก รวมถึงการลองให้ประสบกับการให้บริการที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด เพื่อให้พนักงานของคุณสะท้อนวิธีการทำงานของตนเองกับบริการที่ได้รับ แล้วลองให้พวกเขาให้ความคิดเห็นที่เป็นแนวทางการแก้ไขที่เกิดจากพวกเขาเอง

 

4.เจ้าของร้านอาหารคนสำคัญ ต้องทำให้ดู

ไม่มีหางที่ดีได้ถ้าหัวไม่ดี เจ้าของร้านรวมถึงพนักงานในระดับหัวหน้างานมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการส่งต่อทัศนคติการบริการที่ดีเยี่ยมไปถึงพนักงานคนอื่น ๆ  ซึ่งถ้าอยากให้พนักงานปฏิบัติกับลูกค้าอย่างไร เจ้าของร้าน หรือหัวหน้างานต้องปฏิบัติสิ่งนั้นกับลูกค้าก่อน นอกเหนือจากการประกาศเป้าหมาย และนโยบายที่ทำให้ทีมงานเห็นภาพเดียวกัน นอกจากนั้น การสื่อสารโดยตรงของผู้บริหารไปถึงทีมงานจะทำให้เกิดความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ และทำให้เกิดผลลัพธ์มากกว่าการใช้การสื่อสารผ่านเอกสาร ควรหาโอกาสในการลงพื้นที่ รับฟังแก้ไขปัญหา และบอกแนวทางในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานด้วย

เคล็ดลับ ก็คือ ไม่ใช่เพียงดูแลลูกค้า เจ้าของร้านต้องดูแลพนักงานให้ดีด้วยทั้งในแง่สวัสดิการและจิตใจ เพราะพนักงานจะเป็นคนที่ไปดูแลลูกค้าให้กับคุณ

5.ระบบการประเมิน พนักงานแบบมีส่วนร่วม

การประเมินการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ วิธีที่ใช้ในการประเมิน และทิศทางในการแก้ไขหลังจากนั้น นอกจากวิธีการประเมินโดยหัวหน้างาน หรือจ้างคนมาสังเกตการณ์โดยเฉพาะแล้ว เราสามารถประเมินด้วยวิธีให้พนักงานประเมินตัวเอง หรือเชิญลูกค้าประจำมาเป็นคนประเมิน เพราะเขาจะได้เจอกับผู้ประเมินที่เป็นคนใช้บริการจริง  ได้รับฟังความคิดเห็นจริง ๆ

เคล็ดลับ ก็คือ การทำร้านอาหารหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะโดนตำหนิการให้บริการ พนักงานส่วนใหญ่มี แนวโน้มที่จะต่อต้าน เกิดความคิดเชิงลบเมื่อโดนตำหนิ วิธีการแก้ไขคือเปิดโอกาสให้ชี้แจงข้อเท็จจริง แยกแยะว่าสิ่งที่ลูกค้าคอมเพลนนั้น เป็นการมุ่งตำหนิไปที่การบริการที่ไม่ได้รับความสะดวกที่เกิดจากระบบ ซึ่งไม่ได้เป็นการตำหนิพนักงานโดยตรง เพื่อให้พนักงานลดความรู้สึกเชิงลบ และรู้สึกว่ามีส่วนสำคัญในการแก้ไขสิ่งนั้นให้ดีขึ้นด้วย

 

ดังนั้นเซอร์วิสมายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ประกอบการร้านอาหารในยุคนี้ เพราะความคิดเห็นของลูกค้าสามารถแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  ถ้าร้านของคุณมีบริการที่ดีลูกค้าจะประทับใจ กลับมาบ่อย ๆ  และบอกต่อคนรอบตัวเขาเป็นทอดไปอย่างไม่รู้จบ ในทางกลับกันถ้ามันเป็นประสบการณ์เชิงลบ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เมื่อเรื่องกระจายออกไปแล้ว  จะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กลับมาอีกครั้ง

 

เรียนรู้เทคนิคการบริหารคน และสร้างเซอร์วิสมายเพื่อนำมาปรับใช้กับร้านอาหาร คาเฟ่ กับหลักสูตรที่ทำให้คุณเรียนรู้เรื่องคน ได้ทะลุปรุโปร่งมากกว่าที่เคย จากอาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง ซึ่งมีประสบการณ์บริหารงานบุคคลร้านอาหารดังหลายแห่งในประเทศไทย รวมถึงร้านแมคโดนัลด์ ประเทศไทย คลิกดูรายละเอียดหลักสูตร HR For Food Business การบริหารคน สำหรับธุรกิจร้านอาหาร รุ่นที่ 2

 

>> หลักสูตรการ บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร (HR for Food Business) รุ่นที่ 2 <<

 

หลักสูตรนี้ จะตอบและแก้ไขปัญหาทุกสิ่งที่คุณอยากรู้

หยุดทุกปัญหาน่าปวดหัวของการทำธุรกิจอาหาร!!

เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

ในการบริหารคนภายในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ระยะเวลาในการอบรม : 2 วัน ในวันที่ 24 – 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 9.00-17.00 น.
📍สถานที่: ณ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
.
ค่าใช้จ่ายการอบรม: 12,000 บาท
🔥โปรโมชั่น : สมัคร 2 ท่านขึ้นไป ท่านละ 11,000 บาท
วิทยากร : อาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง (อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)

👉🏻 รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2ZQMeTA
👉🏻 สมัครเลย !! http://bit.ly/2RAeOFR
📍ด่วน!!ที่นั่งมีจำนวนจำกัด🔥

เรื่องแนะนำ

เทคนิค การบริหารร้าน ให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเปิดร้านอะไร แน่นอนว่า คุณย่อมหวังให้ธุรกิจของคุณไปได้ด้วยดี มีกำไร แต่การที่จะทำให้ร้านขายดี ทำกำไรได้นั้น ก็ต้องมี การบริหารร้าน ที่ดีด้วย ซึ่งเจ้าของร้านควรโฟกัสที่ในเรื่องอะไรบ้าง มาดูกันครับ เทคนิคการบริหารร้านให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง กำหนดทิศทาง ตั้งเป้าหมายให้ดี ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อเติบโตในแต่ละปี เจ้าของร้านอาหารควรมีความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม ให้ทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และสามารถสื่อสารความตั้งใจนั้นไปสู่ทีมงานร้านอาหารทุกฝ่ายได้  เช่น ตั้งใจให้เป็นร้านไก่ทอดที่ชนะร้านไก่ทอดชื่อดังภายใน 5  ปี โดยการขยายสาขาให้มากที่สุด  หรือเป็นร้านผักออแกนิกส์อันดับ 1 ที่มีกลยุทธ์จับมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการฟิตเนส  การโฟกัสกับ  “การสร้างภาพความสำเร็จขึ้นในใจของทีมงาน เพื่อให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสร้างความสำเร็จนั้น” เป็นสิ่งสำคัญ ก่อนที่จะกำหนดแผนงานเพื่อให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง และคอยตรวจสอบแผนงานนั้นอยู่เสมอ มองหาโอกาส เพื่อวางแผนการเติบโต             ร้านอาหารไม่ใช่การซื้อมาขายไป แต่การทำธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอด ต้องมองหาช่องทางในการเติบโต ธุรกิจร้านอาหารต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกจากสภาวะการแข่งขัน หรือปัจจัยภายในที่เกิดจากการดำเนินงานของร้านเอง เจ้าของร้านอาหารที่ดีจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาร้านอาหาร ตรวจสอบข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง ทำการบ้านเรื่องคู่แข่งอยู่ทุกวัน ในขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสในการที่จะพัฒนาร้านให้พร้อมต่อการเติบโตในอนาคต วางแผนการเติบโตของพนักงานแต่ละฝ่าย             พนักงานร้านอาหารไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด เพื่อให้พนักงานสามารถไปดูแลลูกค้าให้ดี สมกับที่นำรายได้มาให้เรา เจ้าของร้านอาหารนอกจากจะต้องรับรู้หน้าที่ของพนักงานแต่ละคนแล้ว ยังต้องวางแผนในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเติบโตในสายงาน […]

หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร

สงสัยไหม หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

หลายคนอาจสงสัยว่าหากจะจ้างผู้จัดการร้านสักคนหนึ่ง ต้องระบุหน้าที่อะไรให้เขารับทราบบ้าง วันนี้เราจึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับ หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร ให้ทุกคนได้ทราบกัน

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” บริการแบบไหนเหมาะกับร้านคุณ!? เวลาไปร้านอาหารคุณชอบบริการแบบไหนมากกว่ากัน!? ระหว่างร้านที่ “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” ในแง่ของผู้ประกอบการรูปแบบบริการ 2 อย่างข้างต้นต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับร้าน แต่แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนเข้ากับร้านเราล่ะ ? ลองมาดูข้อดี ข้อด้อยของบริการน้ำดื่ม 2 รูปแบบนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำมาปรับใช้กับร้านคุณสิ! . หมายเหตุ: น้ำดื่มที่ยกมาพูดถึง คือ น้ำเปล่า ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำ” . <<ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ>> ข้อดี 1.แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถหยิบน้ำดื่มเติมเองได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้มารับออเดอร์หรือรอพนักงานเดินไปหยิบน้ำมาเสิร์ฟ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ทันใจลูกค้า 2.เนื่องจากการมีน้ำมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มเปิดเครื่องดื่มเพิ่มมากกว่าการต้องสั่งให้พนักงานมาเสิร์ฟ เพราะลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เดี๋ยวนั้น จะดื่มก็หยิบเพิ่มเลย ในทางกลับกันถ้าต้องใช้เวลาในการรอ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วเลือกที่จะกลับไปกินที่บ้านหรือที่อื่นแทน เพราะเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลต่อการตัดสินใจ 3.เมื่อมีน้ำไว้บริการบนโต๊ะอยู่แล้วทำให้ภาระงานของพนักงานลดลง ข้อนี้อาจเห็นได้ไม่ชัดในการเสิร์ฟรอบแรก เพราะถึงพนักงานไม่ได้มาเสิร์ฟน้ำ แต่ก็อาจมีการเสิร์ฟน้ำแข็ง และต้องเสิร์ฟอาหารอยู่แล้ว แต่เมื่ออาหารออกหมด ลูกค้ารับประทานมาได้สักพักน้ำก็อาจจะหมด ทีนี้เมื่อมีน้ำอยู่บนโต๊ะ […]

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม

ลูกค้านั่งนาน รับลูกค้าอื่นไม่ได้ ควรทำอย่างไรดี? ปัญหาน่าปวดหัวที่หากแก้ไขผิดอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ เราจึงมีเทคนิคที่ช่วย แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.