ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน! - Amarin Academy

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

ไขสูตรลับธุรกิจดัง ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละ เกือบ 100 ล้าน!

ไผ่ทอง ไอศกรีม พูดถึงยี่ห้อนี้ เราว่าแทบไม่ใครไม่รู้จัก เพราะเป็นแบรนด์ไอศกรีมรถเข็นที่เปิดมานานถึง 68 ปี ถึงแม้ว่าจะเป็นไอศกรีมรถเข็นที่ราคาเริ่มต้นแค่ 10 บาท แต่ยอดขายกลับไม่ธรรมดา เพราะในปี 2560 รายได้ของ หจ.ไผ่ทองซีกิมเซ็ง รวมกับ บจก.ไทยฟูด คิงด้อม ผู้ดูแล จัดจำหน่ายสินค้าไผ่ทอง มียอดขายสูงถึง 75.5 ล้านบาท! (ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์) แถมยังมีแนวโน้มโตอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้านเป็นหลักเป็นแหล่ง (อยากกินแต่ละทีต้องตามหา) ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

ก่อนจะไปรู้เคล็ดลับธุรกิจของไผ่ทอง มาดูแนวโน้มตลาดไอศกรีมประเทศไทยในเบื้องต้นกันก่อน จากข้อมูลของ Euromonitor International ระบุว่าตลาดไอศกรีมของไทยในปี 2016 มีมูลค่าประมาณ 13,853 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2021 มูลค่าตลาดนี้จะพุ่งขึ้นไปถึง 18,694 ล้านบาท เท่ากับว่า โอกาสการเติบโตของตลาดยังมีอีกมากทีเดียว ดังนั้นใครที่กำลังสนใจธุรกิจอาหาร ไอศกรีมถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรมองข้าม

Delivery ยุคแรก >> กลยุทธ์กระจายหน้าร้าน สู่หน้าบ้านลูกค้า

ความสะดวกสบายในการซื้อหาสินค้า คือหัวใจหลักของการทำธุรกิจในยุคนี้ ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง ผู้เล่นแต่ละรายจึงต้องเสนอความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากที่สุด ทั้งมีบริการหลังการขาย มีบริการจัดส่งสินค้าหรือ Delivery

แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ซึ่งการแข่งขันไม่ได้สูงขนาดนี้ ไผ่ทอง ไอศกรีมกลับเป็นธุรกิจไอศกรีมเจ้าแรกๆ ที่ใช้วิธีการรุกตลาดด้วยเทคนิค Delivery ใช้รถเข็นไอศกรีมเป็นเครื่องมือ ขายสินค้าถึงหน้าบ้าน ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีการพัฒนารูปแบบเป็นการสั่งซื้อทางออนไลน์แล้วมีบริการ LINEMAN LALAMOVE หรือ GRABBIKE มาส่งแต่สุดท้ายแล้วก็มีต้นกำเนิดจากวัตถุประสงค์เดียวกันคือการกระจายสินค้าให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่ายที่สุด

ใช้หลักจิตวิทยาการทำการตลาดที่ผู้บริโภคไม่เคยรู้

การใช้รถเข็นมาขายที่หน้าบ้าน โดยไม่มีหน้าร้านที่แน่นอน มองฝั่งหนึ่งก็เป็นข้อเสียนะครับ เพราะบางครั้งลูกค้าอยากกิน แต่ก็หาซื้อไม่ได้ แต่รู้ไหม วิธีนี้มันเป็นหลักจิตวิทยาการตลาดอย่างหนึ่งที่ทำให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น

เคยรู้สึกไหมว่าบางครั้ง เราไม่ได้นึกถึงหรืออยากจะกินไอศกรีมไผ่ทองหรอก แต่พอได้ยินเสียงกระดิ่งพร้อมรถเข็นสีเขียวๆ ก็ต้องรีบวิ่งออกไปซื้อ เพราะรู้สึกว่านานๆ จะมาซักที ถ้าพลาดโอกาสซื้อครั้งนี้ วันนี้คงไม่ได้กินแล้ว

ไอศกรีม ไผ่ทอง
ไอศกรีม ไผ่ทอง กระจายสินค้าสู่หน้าบ้านลูกค้า

ความรู้สึกและความคิดแบบนี้หมายความว่า เรากำลังให้คุณค่ากับสินค้าโดยที่เราไม่รู้ตัว ยิ่งไปกว่านั้นเรากำลังควักกระเป๋าจ่ายเงิน ทั้งๆ ที่เราอาจจะไม่ได้ต้องการมันตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ เท่ากับว่าบริษัทประสบความสำเร็จสามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคให้เกิดความต้องการขึ้นมาได้โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

หลักการที่ว่านี้มีการทดลองยืนยันด้วย โดยนักวิจัยชื่อ Worchel, Lee และ Adewole เขาต้องการทดลองว่า คนให้คุณค่าสิ่งของอย่างไร เลยทำการทดลองด้วยการวางคุกกี้ที่เหมือนกันเป๊ะ ๆ ในขวดโหล 2 ขวด แต่มีปริมาณไม่เท่ากัน

ขวดนึงมี 10 ชิ้น อีกขวดมี 2  ชิ้น และให้กลุ่มตัวอย่างเลือกว่าจะหยิบขวดไหน

ผลลัพธ์คือ กลุ่มตัวอย่างเลือกหยิบคุกกี้ในขวดโหลที่มีคุกกี้อยู่น้อยกว่า หมายความว่า คนมักให้คุณค่าสิ่งของ โดยคิดว่ายิ่งมีน้อยยิ่งมีค่ามากนั่นเอง

หลักการนี้ก็คล้ายๆ กับการที่บริษัทระดับโลกที่ขยันออกสินค้าพวก LIMITED EDITION แหละครับ เพียงแต่แตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่ ไผ่ทองไม่ได้จำกัดจำนวนสินค้า แต่จำกัด “ช่วงเวลา” การเข้าถึงสินค้านั่นเอง (เข็นผ่านมาแล้วผ่านเลยไปนะจ๊ะ อย่าคิดนาน อยากกินต้องซื้อเลย)

แม้ว่าทุกวันนี้อาจจะเริ่มหาซื้อง่ายขึ้นเพราะรถเข็นบางเจ้าก็ตั้งขายอยู่ที่เดิมๆ และมีจำนวนผู้ขายมากขึ้น แต่ก็เป็นหลักการที่นำไปใช้ทำการตลาด เพิ่มคุณค่าให้สินค้าได้ดีทีเดียว

ไอศกรีม ไผ่ทอง
กองทัพ พ่อค้า-แม่ค้า ไผ่ทอง ไอศกรีม เข็นความสุขสู่ลูกค้า

ราคาถูก ลูกค้าเข้าถึงง่าย แต่คู่แข่งวิ่งตามยาก

ราคาถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไผ่ทองเป็นสินค้าที่ “ซื้อง่าย ขายคล่อง” เพราะอันละ 5 บาท 10 บาท แพงสุดก็ 20 บาท ซื้อได้โดยไม่ต้องคิดนาน แถมราคายังเป็นจุดแข็งสำคัญในการป้องกันคู่แข่ง เพราะด้วยราคาขายที่ถูกขนาดนี้ การจะเข้ามาแข่งในตลาดระดับเดียวกันถือว่ายากมาก แต่สาเหตุที่ไผ่ทองขายในราคานี้ได้เพราะเน้นขายจำนวนมาก (กำไรไม่มากแต่เน้นปริมาณ) ซึ่งเรื่องปริมาณก็ไม่ต้องพูดถึง ไผ่ทองเป็นแบรนด์ที่อยู่ในตลาดมาเป็นเวลานาน มีคนรู้จัก เชื่อมั่นในสินค้า ทำให้มีฐานลูกค้าจำนวนมาก และกลุ่มลูกค้าไม่ได้มีแค่พ่อค้าแม่ค้าทั่วไป แต่มีระบบตัวแทนจำหน่าย สั่งซื้อในปริมาณมากๆ เพื่อให้คนมารับไปขายต่อด้วย

ไม่เคยลดคุณภาพสินค้า

ข้อนี้ต้องย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของไผ่ทองเมื่อ 68 ปีที่แล้ว ช่วงแรกคุณกิมเซ็ง แซ่ซี่ ทำอาชีพรับไอศกรีมไปขาย แต่พบว่าคุณภาพไม่คงที่ เมื่อบอกให้ทางร้านปรับปรุงก็ได้คำตอบกลับมาว่า “ถ้าอยากจะทำให้ดีกว่านี้ ก็ไปทำเองสิ”

นี่คือจุดเริ่มต้นด้านคุณภาพของไผ่ทอง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คุณภาพของไผ่ทองก็ไม่เคยลดลง นี่เป็นจุดสำคัญในการสร้างฐานลูกค้า ทำให้เกิดลูกค้าประจำ

ไผ่ทอง ไอศกรีม
ไผ่ทอง ไอศกรีม คนขายใจดี แต่…ทำไมต้องเท่ขนาดนั้นล่ะ

ไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง

ไผ่ทองถึงแม้จะเป็นไอศกรีมราคาหลักสิบ แต่ก็มีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ตั้งแต่เริ่มธุรกิจก็มีการนำเครื่องจักรมาผลิตไอศกรีมเพื่อควบคุมมาตรฐาน มีการพัฒนารสชาติใหม่ๆ จนปัจจุบันมีมากถึง 14 รสชาติ เมื่อถึงยุคโซเชียลมีเดียก็เริ่มทำการตลาดออนไลน์ (แม้จะยังไม่เต็มรูปแบบ แต่ก็ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น)

หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเอง นี่คือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

อ่านแล้ว…อยากกินไผ่ทองเลยไหมครับ

เรื่องแนะนำ

พร้อมเปิดร้านอาหาร

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

บางคนอาจยังไม่รู้ว่าตัวเองพร้อมสำหรับการเปิดร้านมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีแบบทดสอบง่ายๆ ให้คุณลองประเมินตัวเองดูว่าคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

เทคนิคการขยายสาขา

7 เทคนิคการขยายสาขา จาก 7 ร้านดัง

ร้านอาหารหลายๆ ร้านอาจกังวลว่าหากขยายไป สาขาสองอาจไม่เปรี้ยงเท่าสาขาแรก เราจึงรวบรวม เทคนิคการขยายสาขา จากร้านดังที่ประสบความสำเร็จมาฝากกัน

เครื่องครัวร้านอาหาร

เทคนิค เลือกเครื่องครัว ให้เหมาะกับร้านอาหาร

เครื่องครัว เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุด ที่ร้านอาหารจะขาดไม่ได้เลย วันนี้เราจึงมีเทคนิคการ เลือกเครื่องครัว ร้านอาหาร สำหรับมือใหม่มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.