ปิ๊งไอเดียธุรกิจ ใน 4 สเต็ป - Amarin Academy

ปิ๊งไอเดียธุรกิจ ใน 4 สเต็ป

ปิ๊งไอเดียธุรกิจ ใน 4 สเต็ป

แนวคิดดีๆ มักพัฒนามาจากปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ระหว่างที่คิดหาทางแก้ปัญหานั้นก็อาจเกิด ปิ๊งไอเดียธุรกิจ ที่น่าสนใจขึ้นมาได้ คงไม่มีบริการ Delivery หากคนมีเวลามากพอหรือขยันไปต่อคิวรอกินร้านอาหารดังๆ บริการขนส่งโลจิสติกคงไม่เฟื่องฟู หากคนยังออกเดินทางไปไกลๆ เพียงเพราะต้องการซื้อของเพียงชิ้นเดียว ฯลฯ สินค้าและบริการเหล่านี้ช่วยตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนสมัยใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบายและประหยัดเวลามากขึ้น

การคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนใคร อาจกลายเป็นที่มาของธุรกิจทำเงิน แต่หากใครยังคิดไม่ออกว่าจะเริ่มต้นธุรกิจอะไรดี ลองทำตาม 4 ขั้นตอนนี้ คุณก็อาจได้ไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจอย่างยั่งยืน

 

1.นักสืบ (เสาะหา) ไอเดีย

เมื่ออยากจะเริ่มต้นมองหาไอเดีย คุณต้องไม่มองโลกเพียงแค่ “เห็น” ด้วยตา แต่ต้องหัดตั้งคำถามกับทุกสิ่ง อาจลองเริ่มสังเกตจากสิ่งที่เรารู้สึกว่ายังไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความยุ่งยากหรือไม่มีประสิทธิภาพ เป็นความไม่สมบูรณ์แบบที่เราไม่ควรละเลยอีกต่อไป แต่สิ่งนี้แหละเป็นโอกาสสำหรับแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ เป้าหมายของคุณคือการระบุให้ได้ว่าสิ่งไหนที่ยังขาดประสิทธิภาพและ Pain points (จุดอ่อนของสินค้าและบริการ) คืออะไร เพื่อที่คุณจะได้เป็นคนจัดการแก้ปัญหา ถือเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างตรงจุด

นักสังเกต Pain Points

คุณต้องสวมวิญญาณนักสังเกตการณ์พฤติกรรมของผู้บริโภค สังเกตปัญหาต่างๆ อาจเริ่มจากคนในครอบครัว คนในที่ทำงาน หรือคนรอบๆ ตัวดูก็ได้ว่า พวกเขามีปัญหาในการใช้ชีวิตเรื่องอะไรบ้าง เรื่องไหนที่พวกเขาอยากให้มีตัวช่วย เพื่อความสะดวกสบายมากกว่าเดิม

เริ่มลิสต์ประเด็นที่เป็น Pain Points

ไม่ใช่ว่าทุกปัญหาจะกลายเป็นไอเดียในการทำธุรกิจได้ในทันที ดังนั้นคุณต้องลิสต์รายการปัญหาทั้งหมดลงในกระดาษ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาแต่ละข้อ เพื่อตัดสินใจว่าปัญหาข้อไหนที่เป็นประเด็นสำคัญมากพอต่อการค้นคว้าและทดสอบต่อไป

2.ตัวช่วย 4 ประเด็น ช่วยสร้างความคิดใหม่ๆ

เมื่ออยากเรียนรู้วิธีคิดสร้างสรรค์ธุรกิจ มี 4 ประเด็นหลักที่คุณควรเน้น คือ 1.ปัญหาที่คุณมี 2.ปัญหาของคนอื่น ๆ ที่คุณรู้จัก 3.สังเคราะห์ความคิดในบริบทที่แตกต่าง 4.ทำงานอดิเรกหรืองานหลักของคุณให้เป็นธุรกิจ

ปัญหาที่คุณมีคืออะไร

เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการคิดหาไอเดียใหม่ๆ เพราะคุณจะอินกับประเด็นปัญหาและมีมุมมองที่หลากหลายในการแก้ไขสิ่งเหล่านั้น โดยดูว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างในชีวิตประจำวัน ในที่ทำงาน หรืออุปสรรคในการไปสู่จุดมุ่งหมาย แล้วค่อยๆ คิดหาทางทำให้ง่ายขึ้น (ด้วยขั้นตอนและวิธีการต่างๆ) ประโยชน์จากการคิดหาไอเดียจากปัญหาที่ตัวเองมีคือ คุณสามารถทดลองกับตัวเองได้ว่า ไอเดียในการแก้ปัญหาแต่ละแบบนั้นได้ผลดีมากน้อยเพียงใด

ปัญหาของคนอื่นๆ ที่คุณรู้จัก

ลองนึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวคุณ อาจเป็นครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ร้านค้าที่คุณเข้าประจำ นายจ้าง ฯลฯ เมื่อคุณเห็นปัญหาให้ลองเจาะลึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ความพยายามในการแก้ปัญหาของพวกเขา หรือพวกเขายินดีจ่ายเท่าไหร่สำหรับการแก้ปัญหานั้น รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เปลี่ยนจากอาชีพหรืองานอดิเรกอื่นๆ ให้กลายเป็นธุรกิจ

อีกวิธีหนึ่งคือการเปลี่ยนงานประจำวันหรือโครงการที่จับอยู่ให้กลายเป็นธุรกิจเต็มตัว คุณเป็นนักออกแบบเว็บไซต์ นักวิเคราะห์ ติวเตอร์ หรือผู้จัดการด้านการขนส่งโลจิสติก ฯลฯ ให้กับบริษัทหนึ่งๆ อยู่รึเปล่า คุณอาจนำเสนอทักษะของตัวเองให้บริษัทอื่นๆ ได้รับรู้ ผ่านการโปรโมทธุรกิจภายใต้ชื่อบริษัทของคุณเอง

ในยุคนี้คุณสามารถเปลี่ยนความเชี่ยวชาญของตัวเองเป็นธุรกิจใดก็ได้ โดยมีช่องทางการสื่อสารออนไลน์ให้เลือกใช้โปรโมทตัวเองอย่างหลากหลาย

การสังเคราะห์ความคิดอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลทั่วไปสำหรับแนวคิดทางธุรกิจคือ การนำไอเดียที่มีอยู่แล้วไปใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่น บริการ Uber สำหรับคนเจน X หรือ Netflix สำหรับคนเจน Y นอกจากนี้คุณยังสามารถเอาไอเดียจากที่อื่นๆ มาปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่และบริบทสังคมของตัวคุณเอง เช่น การสร้างสรรค์ไอศกรีมให้มีรสชาติแปลกใหม่ ด้วยการนำเอารสชาติของผลไม้ยอดนิยมมาต่อยอด เช่น ทุเรียน กระท้อน สละ ฯลฯ

3.ระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา

แม้ว่าคุณจะค้นพบปัญหาแล้ว แต่คุณก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ในทันที ลองใช้เวลาในการระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น พร้อมแผนการรับมือแต่ละปัญหาว่าจะมีขั้นตอนใดบ้าง เช่น ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ จะขยายกำลังการผลิตเพิ่มได้ด้วยวิธีไหน แหล่งที่ซื้อวัตถุดิบมีกี่เจ้าที่น่าสนใจ หรือการตัดสินใจของลูกค้าต่อการเลือกแบรนด์มีปัจจัยใดเกี่ยวข้องได้บ้าง

การระดมความคิดจะช่วยให้คุณเห็นช่องทางการขาย ราคาที่เหมาะสม ฯลฯ เพราะถึงคุณจะคิดหาวิธีแก้ Pain point ได้สำเร็จ แต่ก็คงไม่มีประโยชน์หากลูกค้าเห็นว่าสิ่งที่ได้รับนั้นไม่คุ้มค่าหรือไม่ได้ช่วยให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นอย่างที่คิด

4.ยืนยันความคิดของตัวเอง ด้วยการซักถาม

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าความคิดและไอเดียใหม่นั้นเจ๋งพอ คุณจำเป็นต้องพิสูจน์ความคิดของตัวเองก่อนว่าเวิร์คหรือไม่เวิร์ค ผ่านมุมมองของคนอื่นด้วยเช่นกัน ข้อเสนอแนะที่ดีที่สุดมักได้รับผ่านการพูดคุยซักถามกันตามตรงว่า พวกเขาจะยินดีจ่ายแค่ไหนเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ

Tips: ทำอย่างไรถึงจะหาไอเดียในการทำธุรกิจได้ดั่งใจ

เมื่อคิดอยากจะทำอะไรสักอย่าง อย่ามัวแต่นั่งรอโอกาสให้ผ่านเข้ามา แต่คุณต้องสวมวิญญาณนักสืบ คอยเสาะหาไอเดีย แรงบันดาลใจ ระดมความคิด คิดและหาข้อมูลอย่างหนัก เตรียมความพร้อมก่อนจะกระโดดเข้าสู่สังเวียนธุรกิจจริง เมื่อได้ลองทำตามทั้ง 4 ขั้นตอนนี้แล้ว เชื่อแน่ว่าคุณจะได้รับไอเดียใหม่ๆ และเห็นโอกาสในการทำธุรกิจก่อนใคร

 

 

บทความที่น่าสนใจ

โออิชิ กรุ๊ป เปิดกลยุทธ์ ปี 2020 บุกตลาดเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และอาหารพร้อมทาน

ส่อง 5 เทรนด์ร้านกาแฟ มาแรงในเกาหลีใต้

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

เปิดร้านอาหาร แล้วไม่เจ๊ง ต้องทำอย่างไร?

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

 

เรื่องแนะนำ

วิธีสร้างเพจ

5 เคล็ดลับ วิธีสร้างเพจ ให้เป็นที่รู้จักบนโลกโซเชียล

ทุกวันนี้มี Fanpage เกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะเป็นช่องทางการขายสินค้าที่ต้นทุนต่ำ เราจึงมาเผย 5 เคล็ดลับ วิธีสร้างเพจ ให้เป็นรู้จักบนโลกโซเชียล มาแนะนำ

มัดใจลูกค้า

กระตุ้นการซื้อซ้ำ มัดใจลูกค้า ด้วยLine@

โลกในยุคนี้ที่อะไรๆ ก็ทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบายที่มีมากขึ้น คู่แข่งทางการตลาดในสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

สำรวจตัวเอง ก่อนเข้าใจ Digital Marketing ผิด

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการทำการตลาดที่คนส่วนใหญ่หันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จนมีหลายคนเริ่มสงสัยว่า Digital Marketing มันเป็นเพียงแค่กระแสความนิยมชั่วคราวหรือเป็นแฟชั่นรึเปล่า?

จุดขาย

3 จุดขาย ปั้นร้านให้เป็นจุดหมาย (Food Destination)

ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอาหารประเภทใด คุณ (อาจ) ไม่ใช่คนเดียวที่กำลังทำธุรกิจนั้นๆ อยู่ แล้วคุณจะหา จุดขาย ให้ร้านของคุณแตกต่างจากร้านอาหารของเจ้าอื่นได้อย่างไร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.