เมื่อลูกค้าเจอ " อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร - Amarin Academy

เมื่อลูกค้าเจอ ” อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

เมื่อลูกค้าเจอ “ อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

การเปิดร้านอาหาร เจ้าของร้านหลายๆ คนคงพยายามรักษาคุณภาพอย่างเต็มที่ทั้งในด้าน รสชาติอาหาร และ การบริการ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด แต่หากเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการพลาด อาหารรสชาติเพี้ยน หรือปัญหาใหญ่ของร้านอาหารคือ ลูกค้าเจอ “ อาหารบูด ” เจ้าของร้านจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไรดีล่ะ

ไม่นานมานี้ผมกับเพื่อนๆ ได้ไปกินเค้กที่ร้านของหวานชื่อดังแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าแจ๊คพอตแตกครับ เค้กที่เด็กยกมาเสิร์ฟ มีกลิ่นและรสชาติแปลกๆ ทุกคนที่ได้ชิมลงความเห็นว่า “เสียแน่นอน”

ผมจึงเรียกพนักงานเสิร์ฟมาแจ้งว่าเค้กน่าจะเสียแล้ว เขาเดินมายกเค้กกลับไปเก็บ ไม่นานก็นำเค้กชิ้นใหม่มาเสิร์ฟ และจากไป (โดยไม่กล่าวคำขอโทษเลย) เพื่อนๆ ผมก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะเค้กชิ้นที่ 2 ก็มีรสชาติปกติ อร่อยได้มาตรฐาน

แต่เหตุการณ์นี้ผมอยากตั้งข้อสังเกตให้เพื่อนๆ ผู้ประกอบการทราบครับ ว่าการแก้ปัญหาของร้านขนมแห่งนี้ไม่ชวนให้เกิดความน่าประทับใจเลย เพราะแม้ว่าลูกค้าจะยอมรับเค้กชิ้นใหม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะลืมว่า ร้านเคยเสิร์ฟเค้ก “ตกมาตรฐาน” ให้เขานะครับ และหากลูกค้าไม่ท้วงติงในร้าน ข้อตำหนินี้อาจไปปรากฏบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งผลกระทบเลวร้ายกว่าการตำหนิในร้านมากๆ (ทุกวันนี้ลูกค้าเชื่อรีวิวในอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจังมากๆ และอาจทำให้ยอดขายคุณตกลงดื้อๆ เลยก็ได้)

ฉะนั้น โอกาสเดียวที่เราจะสามารถแก้ไขความผิดหวังของลูกค้าได้ ก็ต้องทำในช่วงที่เขายังนั่งในร้านของเรานี่แหละครับ

โดยแนวทางแก้ไขมีหลากหลายวิธีมาก วันนี้จะขอแนะนำวิธีคลาสสิกที่เจ้าของร้านอาหารเจ้าดังๆ มักใช้คือ

อันดับแรก หากพบว่าอาหารเสีย พนักงานต้องกล่าวขอโทษลูกค้าทันที และด้วยความจริงใจ จากนั้นจึงแจ้งให้ผู้จัดการร้านทราบ ถัดมา ผู้จัดการร้านควรเข้าไปขอโทษด้วยตนเองอีกครั้ง พร้อมแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ไม่คิดราคาเค้กทั้งสองชิ้น การให้บัตรส่วนลดเพื่อมาใช้บริการในครั้งถัดไป แจกของพรีเมี่ยมของร้าน

หรือการเสิร์ฟอาหารจานพิเศษ เป็นการแสดงความขอโทษ โดยอาหารจานนั้นอาจเป็นจานที่มีขายในร้าน หรือไม่ได้มีขาย แต่คิดขึ้นเพื่อใช้สำหรับขอโทษลูกค้าโดยเฉพาะก็ได้ (ร้าน Sushi shin ก็ใช้วิธีนี้)

โดยเจ้าของร้านต้องให้อำนาจผู้จัดการร้าน ในการตัดสินใจได้ทันที ขณะเดียวกันก็ควรกำหนดมาตรฐานคร่าวๆ ว่า หากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ ควรแสดงความขอโทษลักษณะใด

แต่หากเหตุการณ์เลวร้ายจริงๆ เช่น ลูกค้าไม่พอใจมาก หรือเกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงมากๆ ผู้จัดการร้านควรขอเบอร์ติดต่อกลับ เพื่อให้เจ้าของร้านติดต่อกลับไปขอโทษอีกครั้ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงใจ

วิธีที่กล่าวมานี้น่าจะช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ร้านของเราเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ และพร้อมรับผิดชอบต่อความผิดพลาดนั้น ผมเชื่อว่าลูกค้าทุกคนพร้อมรับคำขอโทษอยู่แล้วครับ เพียงแต่ว่าร้านอาหารต้องแสดงความจริงใจให้เขาเห็น

หวังว่าวิธีที่ผมนำเสนอมานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการร้านอาหารทุกๆ คนนะครับ แต่หากเพื่อนๆ คนใดมีไอเดียที่น่าสนใจอยากแนะนำเพิ่มเติม สามารถแชร์กันได้เลยนะครับ

เรื่องแนะนำ

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” คือเมนูเดียวกันไหม?

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูคิดไม่ตก ทั้งร้านและลูกค้า สั่งอันนี้ได้อีกอย่าง ตกลงเมนูเดียวกันไหม? “กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูเดียวกันหรือเปล่า? เป็นเมนูที่ค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับทั้งคนกิน คนขาย เป็นอย่างมากกับเมนู “กะหล่ำผัดน้ำปลา” และ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” ที่บางทีก็ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างลูกค้าและร้านได้ เมื่อเมนูนี้มาเสิร์ฟ ซึ่งล่าสุดก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งได้มาทวีตภาพเปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ว่าจริง ๆ แล้ว 2 เมนูนี้ คือคนละเมนูกัน! โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ได้ทวีตรูป 2 เมนูที่เป็นประเด็นพร้อมข้อความว่า “เทียบให้เห็นภาพ ซ้าย กะหล่ำ “ผัดน้ำปลา” ขวา กะหล่ำ “ทอดน้ำปลา” ที่เรามีปัญหาเพราะร้านอาหารส่วนมากจะเขียนลงเมนูว่า กะหล่ำทอดน้ำปลา แต่ทำออกมาหน้าตาแบบกะหล่ำผัด กะหล่ำผัดน้ำปลาจะน้ำเจิ่งนอง ผัดนิ่ม กะหล่ำทอดน้ำปลาจะแห้ง น้ำมันเคลือบผิวกะหล่ำ เกรียม ๆ น้ำปลาไหม้ ต่างอย่างเห็นได้ชัด” 🔸ความเห็นชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นแชร์ประสบการณ์ของตนเองด้วยเหมือนกัน เช่น 🗣💬 “เคยทำให้แฟนกินครั้งนึง เราทำออกมาแบบขวา ผช.บอกทำกับข้าวแค่นี้ก็ไหม้ […]

วิเคราะห์ SWOT

วิธี วิเคราะห์ SWOT อย่างง่ายๆ เปิดร้านอาหารไม่มีเจ๊ง

การ วิเคราะห์ SWOT คือเทคนิคการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง - โอกาส อุปสรรค เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เจ้าของกิจการรู้ว่าควรจะดำเนินกิจการไปในทิศทางใดจะประสบความสำเร็จ

พนักงานดีๆ ลาออก

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

ปัญหาที่ทำให้เจ้าของร้านปวดหัวคือ พนักงานดีๆ ลาออก ถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหานี้ มาลองดู 4 เหตุผล ที่ทำให้ พนักงานดีๆ ลาออก เผื่อจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้บ้าง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.