ถอดบทเรียน ทำไมสุกี้ตี๋น้อยถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.?

ถอดบทเรียน ทำไมสุกี้ตี๋น้อยถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.?

ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน
ไม่ถึง 5 กม.!
ถ้าเราลูกค้าเยอะ เปิดเพิ่มอย่างเขาได้ไหม ?

เชื่อว่าใครที่เป็นชาวธนบุเรี่ยน หรือคนฝั่งธนฯ น่าจะต้องเคยเห็นหรือได้ยินว่าตอนนี้เขามีตลาดมาเปิดใหม่ตรงถนนบรมฯ ชื่อ “ตลาดธนบุรี” อยู่แถว ๆ พุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ และรวมร้านเด็ด ร้านดังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงแบรนด์ร้านอาหารมากมายไว้ที่นี่ หนึ่งในนั้นก็คือ “ สุกี้ตี๋น้อย ” แต่ทว่าใกล้ ๆ นี้ ที่ The Paseo Park กาญจนาภิเษก ก็มีสาขาของ สุกี้ตี๋น้อย อยู่นี่นา ลองเปิด Google Map ดู ก็คืออยู่ห่างกันไม่ถึง 5 กิโลเมตรเลยนะ เพราะอะไร ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเลือกเปิดสาขาใกล้ ๆ กันขนาดนี้ล่ะ เราลองมาวิเคราะห์กัน

 

กฎการเลือกทำเลของ “สุกี้ตี้น้อย”ถ้าใครเคยได้ฟังบทสัมภาษณ์ของคุณเฟิร์น นัทธมน พิศาลกิจวนิช เจ้าของสุกี้ตี้น้อย ก็คงพอจะรู้คอนเซปต์เกี่ยวกับการเลือกทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านของสุกี้ตี๋น้อยมาบ้าง ซึ่งมีกฎหลัก ๆ ว่าทำเลนั้น ๆ จะต้องมีขนาดพื้นที่ที่กว้างขวาง มีลานจอดรถเพียงพอกับปริมาณลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ เป็นแลนด์มาร์คของกลุ่มลูกค้าในรัศมี 1-5 กม. อยู่ติดถนนใหญ่ หรือเป็นที่ที่สังเกตเห็นได้ชัด เดินทางสะดวก และเป็นศูนย์รวมของร้านค้า ร้านอาหาร ที่ต้องยอมรับว่าทั้ง The Paseo Park กาญจนาภิเษก และ ตลาดสดธนบุรี ก็ตอบโจทย์ความต้องการทั้งหมดนี้ได้ดีทีเดียวเชียวแหละ

 

  • แล้วทำไมต้องอยู่ใกล้กันขนาดนี้ล่ะ ?

เมื่อเห็นสุกี้ตี๋น้อยเลือกเปิดสาขาใกล้ ๆ กันแบบนี้ ก็ทำให้แอดนึกถึงร้านสเต็ก Eat Am Are ตรงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่เขามีถึง 3 สาขาในละแวกใกล้ ๆ ก็คือ สาขาหัวมุมถนนรางน้ำ สาขาห้างเซ็นจูรี่มอล์ และสาขาห้างเซ็นเตอร์วัน ที่สองในสามสาขานี้ ห่างกันแบบนับก้าวเดินได้เลย ซึ่งเมื่อมองดูดี ๆ เราก็จะรู้ว่าทำไมเขาถึงต้องมีสาขาเหล่านี้ขึ้นมา…

 

  • หลัก ๆ คือ ความต้องการของผู้บริโภค

ปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านอาหาร 2 แบรนด์ดังกล่าวข้างต้น มีจุดเด่นร่วมกัน ในเรื่องการให้ความคุ้มค่าและคุณภาพที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่

 

  • ตัวอย่างแบรนด์ที่มีร้านสาขาใกล้ ๆ กัน

ถ้าหากพูดถึงร้านสเต็ก Eat Am Are หลายคนก็น่าจะนึกถึงสาขาอนุสาวรีย์ฯ มาเป็นอันดับแรกแน่ ๆ ซึ่งจากประสบการณ์ตรงของแอด เวลาที่ไปแถวอนุสาวรีย์ ก็จะต้องเห็นลูกค้าทั้งเข้าคิวรอและนั่งกินกันอยู่เต็มร้านนี้เสมอ ๆ และอย่างที่รู้ ๆ กันว่าทำเลอนุสาวรีย์นั้น เป็นที่ที่สัญจรไปมาของคนมากมาย เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางในการเข้าหรือออกเมือง ทั้งคนทั่วไป คนทำงาน รวมถึงนักเรียน นักศึกษาที่ต้องใช้เส้นทางนี้ต่อรถไปเรียน จึงเรียกได้ว่าทำเลนี้ เป็นทำเลทองของการทำร้านอาหารทำเลนึงก็ว่าได้ประกอบกับร้านสเต็กละแวกอนุสาวรีย์ ก็มีให้เลือกอยู่ไม่มาก ซึ่งการที่ Eat Am Are มีร้านสาขาหลาย ๆ ร้านใกล้กัน นอกจากจะเป็นการรองรับความต้องการของผู้ที่ต้องการเข้ามาใช้บริการจำนวนมากแล้ว นัยหนึ่งก็ยังสร้างภาพจำ ความสงสัยว่าเอ๊ะทำไมสเต็กแบรนด์นี้ถึงมีสาขาใกล้กันถึง 3 สาขานะ ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่สามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคหน้าใหม่อยากเข้ามาใช้บริการเพื่อตอบสนองความสงสัยของตนเองได้อีกด้วย เป็นต้น

 

  • หลายสาขาทั่วฝั่งธนฯ

 

สำหรับสุกี้ตี๋น้อย เช่นเดียวกันจากประสบการณ์ตรงของแอดที่อยากจะไปใช้บริการร้านนี้มาก แต่ไม่เคยได้กินเลย เพราะคิวยาวจนท้อไปก่อน ยิ่งสาขา The Paseo Park กาญจนาภิเษก นะ โอ้โห ขนาดฝนตกคนยังนั่งรอคิวอยู่เต็มหน้าร้าน ซึ่งนี่แหละแสดงให้เห็นว่าความต้องการของผู้บริโภคต่อสุกี้ตี๋น้อยมีมากจริง ๆ แม้ว่าสุกี้ตี๋น้อยจะมีสาขากระจายอยู่หลาย ๆ จุด ในฝั่งธนฯ เช่น สาขาบิ๊กซีเพชรเกษม, สาขาเพชรเกษม 69/1, สาขา The Sense ปิ่นเกล้า, สาขาซีคอนบางแค รวมถึงสาขาปริมณฑลอย่าง The Fourth พุทธมณฑลสาย 4 ที่แต่ละสาขาเหล่านี้ก็มีผู้คนต่างให้ความสนใจเข้าไปใช้บริการมากไม่แพ้กัน นัยหนึ่งก็ด้วยพื้นที่เหล่านี้มีผู้คนที่อาศัยอยู่ รวมถึงผู้ที่มีความต้องการเข้ามาอาศัยจำนวนมาก สังเกตได้จากการเกิดขึ้นของบ้านจัดสรรค์ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

  • ถ้าเรามีลูกค้าแน่นแบบนี้ เราเปิดสาขาใกล้ ๆ กันแบบนี้ได้ไหม ?

ได้ แต่…เช็กให้ดีก่อนว่าลูกค้าแน่นเพราะมาจากกระแสหรือเพราะความต้องการจากลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจริง บางทีลูกค้าที่มาจากกระแส อาจจะอยู่กับเราแค่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เช่น เพราะเปิดร้านใหม่ หรือใครมารีวิว ตัวอย่างร้านสุกี้ตี๋น้อยที่เปิดสาขาตลาดธนบุรีเพิ่ม ไม่ใช่แค่เพราะสาขา The Paseo Park ลูกค้าเยอะแค่ชั่วคราว แต่ลูกค้าเยอะมานานแล้ว บวกกับอาจจะมีลูกค้าจากฝั่งตลาดธนบุรีอยู่มาก การเลือกที่จะเปิดสาขาเพิ่มที่นั่นด้วย ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

 

สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจที่จะลงเงินก้อนใหญ่เพื่อเปิดสาขาเพิ่ม อาจจะลองปรับเรื่องของการวางระบบการทำงานใหม่ เช่น การทำงานในครัวให้อาหารออกเร็วขึ้น หรืองานบริการต่าง ๆ เปลี่ยนรอบลูกค้าให้ได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อลดต้นทุนจากการเปิดสาขาใหม่

 

ถ้าขายดี เพราะลูกค้าคิดว่าเราเป็นคนทำเอง อย่าเพิ่งเปิดสาขาเพิ่มกับดักของคนขายดีมาก ๆ จนเปิดสาขาใหม่ และคิดว่าจะต้องได้กำไรเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ความจริงแล้ว บางร้านลูกค้าอาจจดจำว่าคุณเป็นคนทำ คุณคือเจ้าของร้าน ร้านต้นตำรับต้องอร่อยกว่า กลายเป็นว่าสาขาแรกยังคงขายดี แต่สาขาสองที่เปิดใกล้ ๆ กัน กลับขายไม่ได้ เพราะคนในระยะ 5 กิโลเมตร ต่างก็รู้จักคุณหมดแล้ว ยังไงก็มากินร้านที่คุณทำเองคงจะดีกว่า ปัญหานี้ต้องแก้ที่การ “ทำแบรนด์” ให้กับร้าน ให้ลูกค้าจดจำร้าน ชื่อร้าน ไม่ใช่จดจำแค่ตัวบุคคล เหมือนอย่างที่สุกี้ตี้น้อยทำ

การที่สุกี้ตี๋น้อยเลือกเปิดร้านสาขาในบริเวณที่ใกล้ ๆ กันนั้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่นั้น ๆ ที่มีอยู่มาก ให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกในการไปใช้บริการได้มากขึ้น แสดงถึงความพยายามที่จะรองรับความต้องการของลูกค้าให้ได้ทั้งหมด

ขอบคุณรูปภาพจากเพจ “สุกี้ตี๋น้อย”

#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี   อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้   เตรียมอาหารให้พร้อม มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ […]

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา”

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพรีเมียม ที่เลือกจะไม่แข่งขันเรื่องราคา แต่กลับทำให้ขายดีได้   เคยสงสัยไหม ? ทำไมร้านอาหารประเภทเดียว ๆ กัน บางร้านขายราคาค่อนข้างสูงเลย แต่ขายดีมาก นั่นเป็นเพราะ ลูกค้าไม่ได้โฟกัสแค่ราคาขายของสินค้า แต่ยังให้ความสำคัญกับความรู้สึกคุ้มค่าที่จะได้รับจากราคาที่จ่ายไปด้วย ซึ่งเมื่อพูดถึงประเด็นนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงโพสต์หนึ่งของคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน ที่ได้พูดถึงราคาขนมถ้วยของร้านทองสมิทธิ์ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือสุดพรีเมียม ของคุณปลา อัจฉรา เจ้าของ iberry Group เครือร้านอาหารที่มีกว่า 50 สาขา PRODUCT IS KING โดยคุณหนุ่ยได้กล่าวประมาณว่า แม้ขนมถ้วยของทองสมิทธ์ จะมีราคาขายต่อถ้วยอยู่ที่คู่ละ 29 บาท ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเทียบเท่าราคาขนมถ้วย 1 กล่องที่ขายกันตามท้องตลาด แต่ถึงอย่างนั้นผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็ต่างบอกว่าขนมถ้วย และกล้วยทอดของทองสมิทธิ์อร่อยมาก จนบางคนไปเพื่อซื้อขนมของทองสมิทธิ์โดยเฉพาะ หรืออย่างเช่นร้าน Copper ที่ได้แตกไลน์ร้านอาหารใหม่ออกมาเป็น “เตี๋ยวคอปเปอร์” ที่ได้นำเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือยอดนิยมในร้าน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.