5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้! - Amarin Academy

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

ธุรกิจร้านอาหาร นับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีต้นทุนด้านการบริหารจัดการสูงกว่าที่หลายคนคาดคิด คนทำร้านอาหารคงเคยได้ยินคนรอบข้างพูดบ่อยๆ ว่า ทำร้านอาหารต้องได้กำไรดีแน่เลย ต้นทุนวัตถุดิบไม่เท่าไร ขายจานตั้งเป็นร้อย ประโยคนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะนอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบ (ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร) แล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

ต้นทุนอาหาร (Cost of goods sold, COG)

ค่าวัตถุดิบอาหาร หรือที่ร้านอาหารเรียกว่า Food cost ถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดในการทำร้านอาหาร ต้นทุนข้อนี้ถือเป็นต้นทุนสำคัญที่เจ้าของร้านควรใส่ใจให้มาก เพราะต่อให้ร้านคุณขายดีแค่ไหน หากไม่มีการควบคุมต้นทุนอาหารให้อยู่ในเกณฑ์แล้ว อาจทำให้ไม่เหลือกำไรตอนสิ้นเดือนก็เป็นได้ หรือที่เขาพูดกันว่ายิ่งขายยิ่งขาดทุน

โดยปกติต้นทุนอาหารร้านทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 30-40% หรืออาจสูงถึง 40-50% ถ้าเป็นร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ การลดต้นทุนอาหารลงได้ ย่อมหมายถึงร้านจะได้กำไรมากขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือ บริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การลดของเสีย การต่อรองราคาซัพพลายเออร์ หรือการวิเคราะห์ต้นทุนอาหารในแต่ละเมนูอย่างละเอียด และสิ่งสุดท้ายที่ทำได้ (แต่ไม่ควรทำ) คือ การลดคุณภาพของวัตถุดิบ เพราะแม้ว่าต้นทุนจะลดลงจริง แต่อาจทำให้คุณสูญเสียลูกค้าเดิมที่เคยชื่นชอบในรสชาติอาหารของคุณก็ได้

ต้นทุนแรงงาน (Cost of labour, COL)

คุณไม่สามารถทำร้านอาหารโดยปราศจากพนักงานได้เลย ทั้งพนักงานประจำ (Full time) และชั่วคราว (Part time) โดยต้นทุนแรงงานนี้รวมไปถึง เงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์อื่นๆเช่น เซอร์วิสชาร์จ ค่าอาหาร ที่พนักงานได้รับ

ต้นทุนแรงงานนี้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่รองลงมาจากต้นทุนอาหาร ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 12-18% ของยอดขาย ขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน เช่น ถ้าเป็นร้านอาหาร fast food หรือ self service ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็จะน้อยกว่าร้านที่เป็นประเภท fine dining หรือ casual dining ซึ่งเน้นการบริการและพนักงานเสิรฟ์มากกว่า

การบริหารจัดการต้นทุนแรงงานสามารถทำได้หลายวิธี โดยการวางแผนกำลังคนตามยอดขายในแต่ละช่วงเวลา ก็เป็นหนทางที่ดีหนทางหนึ่ง เช่น ถ้าร้านขายดีเฉพาะช่วงเย็น อาจใช้พนักงานชั่วคราว (Part time) เข้ามาเสริมเฉพาะช่วงเย็น ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในช่วงที่ไม่มีลูกค้าลงได้ แต่ก็ควรระวังเรื่องมาตรฐานการบริการด้วยเช่นกัน

ต้นทุนค่าเช่าที่ (Cost of rent, COR)

ต้นทุนค่าเช่าที่นี้ อาจเป็นได้ทั้งแบบคงที่ (Fixed rate) โดยคิดตามตารางเมตรที่เช่า ตามปกติสัดส่วนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ รวมค่าน้ำค่าไฟและค่าแก๊สจะอยู่ประมาณ 10-20% ของยอดขาย อีกแบบคือคิดตามสัดส่วนรายได้ของร้านหรือที่เรียกกันว่า GP ซึ่งอาจเริ่มที่ 15% ไปจนถึง 30% ขึ้นอยู่กับผู้ให้เช่ากำหนด นอกจากค่าเช่าที่แล้วค่าประกันภัยและค่าภาษีโรงเรือนยังรวมอยู่ในต้นทุนส่วนนี้ด้วยเช่นกัน

พื้นที่เช่าที่ไม่ได้อยู่ในห้างสรรพสินค้าอาจมีต้นทุนค่าเช่าที่น้อยกว่าที่อยู่ในห้างฯ แต่ไม่ได้หมายความว่าสัดส่วนต้นทุนต่อยอดขายจะน้อยกว่าเสมอไป ถึงแม้พื้นที่ในห้างฯ อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่ก็อาจทำยอดขายได้สูงกว่า เนื่องจากไม่โดนผลกระทบโดยตรงต่อปัจจัยภายนอกเช่น สภาพภูมิอากาศ ที่จอดรถ

ต้นทุนในส่วนนี้บางครั้งเราจะถือว่าเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed expense) เนื่องจากค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ในทุกๆ เดือน อาจมีมากขึ้นหรือน้อยลงตามค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ แต่ไม่ได้เป็นสัดส่วนที่มากเท่าไร ยกเว้นว่าทางผู้ให้เช่าจะเก็บเป็น GP คุณถึงจะเสียค่าเช่าตามสัดส่วนของรายได้

ต้นทุนการจัดการ (Cost of Operating)

ต้นทุนการจัดการจะรวมไปถึงค่าซ่อมแซมร้าน ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาด ค่าทำโปรโมชั่นและการตลาด ฯลฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5-10% ของยอดขาย ทั้งนี้แต่ละร้านอาจจำแนกต้นทุนการจัดการนี้ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการบริหารจัดการต้นทุนส่วนนี้ด้วยเช่นกัน เช่น ค่าทำการตลาดและโฆษณา เราอาจกำหนดงบประมาณเป็นแบบคงที่ในแต่ละเดือน หรืออาจตั้งงบเป็นเปอร์เซนต์ตามสัดส่วนรายได้ในแต่ละเดือน

ต้นทุนการบริหาร (General and Administrative expenses)

ต้นทุนการบริหาร ประกอบไปด้วย ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าโทรศัพท์ ค่าที่ปรึกษาต่างๆ เช่น ค่าจ้างบริษัทบัญชี ค่านักกฎหมาย รวมไปถึง ค่าลิขสิทธิ์หรือใบอนุญาตต่างๆ รวมไปถึงเงินเดือนของเจ้าของเอง โดยทั่วไปจะอยุ่ที่ประมาณ 1-5% ของยอดขาย

สำหรับร้านที่มีหลายสาขาอาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของพนักงานส่วนกลางเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น พนักงานบุคคล บัญชี การตลาด หรือร้านไหนที่ซื้อแฟรนไชส์มา อาจมีค่า Royalty fee หรือค่า Management fee เพิ่มขึ้น

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ต้นทุนอาหาร (COGs) และ ต้นทุนแรงงาน (COL) หรือที่เรียกรวมกันว่า Prime Cost เป็นส่วนที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านอาหารมากที่สุด เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่ามัวแต่สนใจแต่การเพิ่มยอดขาย จนลืมวางแผนและบริหารจัดการต้นทุน 2 ส่วนนี้ เพราะหากร้านไหนมีการบริหารต้นทุนได้ดี ย่อมหมายถึงการเพิ่มขึ้นของผลกำไร โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเพิ่มยอดขายเลยก็เป็นได้

เรื่องแนะนำ

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน! 1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ? . หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น . 2.ของใหม่จากของเดิม . ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า […]

ขายอาหารคลีน

รู้ก่อนขาย! 4 จุดบอด ขายอาหารคลีน แบบนี้มีแต่เจ๊ง!

ในปัจจุบันนี้จะสังเกตได้ว่า เป็นยุคที่คนหันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองมากขึ้น มีกิจกรรมรณรงค์เรื่องสุขภาพออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือแม้แต่การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เพราะเรื่องอาหารการกินก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น จึงเป็นผลทำให้ทุกวันนี้เราจะเห็นร้านอาหารคลีนใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นโฆษณาบ่อย ตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instargram และช่องทางออนไลน์อื่นๆ เมื่อมีกระแสคนรักสุขภาพมากขึ้น ก็เป็นการเพิ่มช่องทางทำเงินจากธุรกิจอาหารคลีนได้มากขึ้นเช่นกัน แต่การจะ ขายอาหารคลีน ให้รุ่งนั้น ต้องรู้ว่าอะไรควรทำ และอะไรที่เป็นจุดบอดควรหลีกเลี่ยง   ขายอาหารคลีน ควรเลี่ยง 4 จุดบอดนี้!! อาหารคลีน  (Clean Food) คือ อาหารที่ใช้วัตถุดิบสดใหม่ในการปรุงอาหาร ขั้นตอนในการปรุงจะไม่ใช้สารเคมีปรุงแต่งอาหาร หรือผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุด และไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งรสชาติที่มากเกินไป แต่ยังคงไว้ซึ่งสารอาหารและคุณค่าครบถ้วน รวมถึงมีการคำนวณพลังงานที่ร่างกายจะได้รับในแต่ละมื้ออาหารนั้นไว้ด้วย ดังนั้น อาหารคลีนจึงเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั่นเองค่ะ และถึงแม้ว่ากระแสอาหารคลีนยังคงอยู่ และมีผู้ประกอบการที่อยาก ขายอาหารคลีน เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ใช่ว่าทุกร้านจะอยู่รอดนะคะ ขายอาหารคลีน ยังต้องมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ต้องรู้ รวมถึง จุดบอดที่ควรเลี่ยงอย่างที่เราได้กล่าวไป ซึ่ง4 จุดบอดนั้นคือ จุดบอดที่ 1 รสชาติไม่อร่อย แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากจะบริโภคอาหารที่อร่อยจริงไหมคะ แม้ว่าจะเป็นอาหารคลีนก็ตาม […]

เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา

งานบริการ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหารก็ว่าได้ ซึ่งถ้าอยากให้ร้านของคุณมีงานบริการที่ดี การทำ SOP สำหรับงานบริการลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านต้องทำ เพื่อให้พนักงานมีแบบแผนการบริการที่เป็นระบบ ถูกต้องตาม มาตรฐานของร้าน แล้ว เทคนิคทำ SOP เพื่อให้งานบริการดี ลูกค้าประทับใจทำได้อย่างไร มาดูกันครับ เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา การกำหนดบทบาทหน้าที่ พนักงานมีส่วนสำคัญในการชี้วัดว่า SOP ที่เขียนขึ้นมา สามารถใช้ประโยชน์ในการควบคุมมาตฐานงานบริการได้ดีจริงหรือไม่ การกำหนด SOP ที่ดี ควรทำให้พนักงานแต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ของตัวเอง ว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ  รวมถึงช่วยให้มองเห็นภาพรวมการทำงานร่วมกับส่วนอื่น ๆ ได้   รูปแบบที่นำมาใช้ และความชัดเจน รูปแบบเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างกระชับและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นการใช้แผนผัง หรือภาพประกอบที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้จดจำง่าย ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีภาษาที่สอดคล้องกับผู้ที่นำไปปฏิบัติจริง และตรวจสอบให้แน่ใจในการนำเอกสารมาใช้ มีการกำกับเลขที่เอกสารเพื่อใช้อ้างอิง   วัตถุประสงค์และการวัดผล วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการกำหนด SOP ด้านการบริการ คือ การรักษามาตรฐานที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาด  […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.