4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ - Amarin Academy

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็คก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

“ความอร่อยไม่ใช่จุดขาย แต่เป็นมาตรฐานต่ำสุด ที่ร้านอาหารพึงต้องทำให้ลูกค้า” นี่คือประโยคเด็ดของคุณต่อ ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin eat shabu ฉะนั้นก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้าง “มาตรฐานต่ำสุด” ให้ร้านอาหารของเรา อย่างนั้นมาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

1.เช็คโซเชียล

ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียถือเป็นช่องทางหนึ่งในการเช็คข้อมูลเกี่ยวกับคนที่เราอยากรู้จัก (ไม่ใช่เอาไว้แอบส่องสาวๆ หรือหนุ่มๆ เพียงอย่างเดียวนะครับ) แม้อาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นทางการนัก แต่ก็ถือว่าครอบคลุมสิ่งที่เราอยากรู้ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งประวัติการทำงาน ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ แถมบางครั้งคุณอาจจะได้รับรู้ข้อมูลที่ตอนสัมภาษณ์เขาไม่เคยพูดอีกด้วย

อาจเริ่มจากการดูภาพถ่ายที่เขาอัพโหลดไว้ว่าสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ อ่านสเตตัสย้อนหลังว่าเขาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่างๆ อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้บอกได้ว่าบุคลิก ลักษณะ หรือนิสัยใจคอของเขาเป็นอย่างไร (หากเขาตั้งเสตัสตัสแสดงอาการ “หัวร้อน” บ่อยๆ ก็คงไม่ดีต่องานสักเท่าไรนัก

ฉะนั้นเจ้าของธุรกิจอาจเริ่มศึกษาข้อมูลส่วนตัวของเชฟที่เราสนใจ หรือเชฟมาสมัครงานจากโซเชียลมีเดียก่อนว่า ประวัติการทำงานหรือบุคลิกของเขาตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า

2.ซักประวัติเสียหน่อย

บางครั้ง Resume เพียงแผ่นเดียวอาจบอกอะไรได้ไม่มากนัก ทางที่ดีลองให้เขาเล่าประวัติการทำงาน ความสนใจ ความถนัดให้ฟังเสียหน่อย โดยคำถามพื้นฐานที่ควรสอบถาม เช่น

1.เมนูที่ดีที่สุดที่คุณเคยทำคืออะไร
2.เชฟคนไหนที่ถือว่าเป็นไอดอลของคุณ แล้วคุณเรียนรู้อะไรจากเขามาบ้าง
3.สิ่งที่คุณถนัดที่สุดคืออะไร
4.คุณมีวิธีในการควบคุมรายจ่ายในครัวอย่างไร
5.ถ้าตอนนี้คุณกำลังจะกินอาหารมื้อสุดท้าย คุณอยากให้ใครทำอาหารให้คุณกิน

ฯลฯ

คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ว่า เชฟของคุณมีทัศนคติ พฤติกรรม บุคลิกภาพและวิธีการทำงานอย่างไร เพื่อนำประกอบการตัดสินใจ เพราะหากร้านอาหารของคุณมีเชฟมือฉมัง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็สูงตามไปด้วย

3.วัดทักษะด้านการทำธุรกิจ

ทำอาหารเป็น ไม่ได้หมายถึง ทำร้านอาหารได้ แน่นอนว่าเชฟทุกคนทำอาหารได้ แต่มีเชฟเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถนำพาร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จและมีกำไร

ขณะสัมภาษณ์คุณควรให้เขาลองวาง Concept เมนูให้ดูเป็นตัวอย่างสักหน่อย โดยคุณต้องอธิบายแนวคิดของร้านให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบเมนูให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด

จากนั้นลองโยนโจทย์ให้เขาคิดคำนวณต้นทุนอาหาร โดยอาจยกตัวอย่างเมนูง่ายๆ และให้เขาคำนวณต้นทุนวัตถุดิบของเมนูนั้น

ขณะเดียวกันระหว่างที่คุณมอบหมายงาน อย่าลืมสังเกตปฏิกิริยาว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการทำงานนี้ หากเขาตกใจ นั่นแปลว่าเขาอาจไม่เคยคำนวณต้นทุนมาก่อนเลย

การสัมภาษณ์งานอย่างนี้อาจจะดูโหดร้ายสำหรับเชฟไปสักหน่อย แต่มันส่งผลดีต่อร้านคุณในอนาคตแน่นอน เพราะการคำนวณต้นทุนจะส่งผลต่อการควบคุมปริมาณวัตถุดิบและรายจ่ายในครัว (ซึ่งเป็นรายจ่ายหลักของร้าน) หากกุนซือใหญ่ ไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย ร้านของคุณต้องมีปัญหาแน่ๆ

หากเชฟไม่สามารถทำกำไรให้ร้านคุณได้ แม้เขาจะทำอาหารได้อร่อยขนาดไหนก็ไม่มีประโยชน์

4.เช็ครสชาติและวิธีการทำอาหาร

สิ่งสุดท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด) ที่ควรทำ คือการเช็ครสชาติอาหารที่เขาทำว่าได้มาตรฐานหรือเปล่า โดยหลังจากการสัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้เชฟลองทำอาหารให้คุณลิ้มลอง

ทั้งนี้ก่อนเขาจะเริ่มทำอาหาร ลองพูดกับเขาว่า “หากคุณได้งานนี้ จงจำรสชาติและวิธีการทำเอานี้ไว้เสมอ และนำไปทำให้ลูกค้าคนอื่นๆ ได้กิน เพราะอาหารจานนี้คือจานที่คุณใส่ใจกับมันมากที่สุด เนื่องจากคุณอมีโอกาสพิสูจน์ตัวเองได้เพียงครั้งเดียว ฉะนั้นขอให้จำวันนี้เอาไว้ เพราะคุณก็มีโอกาสพิสูจน์ตัวเองกับลูกค้าครั้งเดียวเช่นกัน”

จากนั้นจึงปล่อยให้เขาเริ่มลงมือทำอาหาร พร้อมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สอบถามถึงขั้นตอนการทำอาหาร เทคนิคต่างๆ ถามถึงปริมาณส่วนผสม พร้อมทำท่าประเมินเขาไปด้วย สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะต้องการให้เขาอยู่ในสภาวะกดดันที่สุด เพื่อดูว่าเขามีวิธีรับมือกับความกดดันอย่างไร

หากเขายังคงดูผ่อนคลายและทำงานไปตามปกติ สามารถสั่งงานพนักงานคนอื่นๆ ได้ ทำงานสะอาดเรียบร้อย และรสชาติอาหารออกมาดี ก็ถือว่าเชฟคนนี้น่าจะมีวุฒิภาวะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ได้

พอจะทราบแล้วใช่ไหมว่าการเลือกเชฟนั้น ทดสอบแค่รสชาติอาหารอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องทดสอบด้านทัศนคติและอารมณ์ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร้านของคุณดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ดังนั้นก่อนเลือกเชฟอย่าลืมเช็คตาม 4 ข้อนี้นะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก pos.toasttab.com

เรื่องแนะนำ

ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP

  มาทำความรู้จักกับ “ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP ที่เจ้าของร้านทุกคนต้องมีกัน”   ผมเชื่อว่า ร้านอาหาร ก็เปรียบเสมือน ร่างกาย ของคนเรา ที่ประกอบไปด้วย อวัยวะ หลายส่วน ถ้าเจ้าของร้าน เปรียบเสมือน ส่วนหัว พนักงาน ก็จะเป็นแขนขา มือ และส่วน อื่นๆ ที่ทำงาน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน สุขภาพของร้านอาหารที่ดี ก็เหมือนร่างกายที่มีสุขภาพดี คือทำงานออกมาได้ดี มีผลงานออกมาตามแผนที่วางไว้ แต่ถ้าร่างกาย เกิดเจ็บป่วย เราก็จะเห็นว่า มีอาการแปลกประหลาด เช่น อาหารออกมารสชาติ ไม่เหมือนเดิม คุณภาพการบริการเปลี่ยนไป จนลูกค้าเริ่มต่อว่า จะดีแค่ไหนถ้าร้านของเรามีเครื่องมือบางอย่าง ที่ทำหน้าที่ เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถที่จะ ซ่อมแซมตัวเองได้ โดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องคอยควบคุมอยู่ตลอด หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น วันนี้ผม จึงอยากเสนอ เครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร้านอาหารของเรา มีสุขภาพที่แข็งแรง การทำงานราบรื่นขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า “SOP” (เอสโอพี) […]

พฤติกรรมผู้บริโภค

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร? เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ       พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง   […]

บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

การจะเริ่มทำธุรกิจร้านอาหารกับใครนั้น ควรมีหลักการบริหารที่ชัดเจน เราจึงมีหลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามาฝาก 

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.