ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด - Amarin Academy

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ

ตั้งราคาขาย อย่างไร 

ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น 

        แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP ที่เพิ่มขึ้นมาด้วย ดังนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุด เพื่อจะเหลือกำไรมากพอที่จะบริหารร้านให้อยู่รอดต่อไป รวมถึงนำกลยุทธ์ในการตั้งราคาขายอาหารมาใช้ ได้แก่

ตั้งราคาขาย

        ตั้งราคาล่อตาล่อใจ (Leader Pricing) 

        เป็นการตั้งราคาอาหารให้ต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจ และใช้ประโยชน์จากความสนใจนี้กระตุ้นการขายเมนูอาหารอื่นๆ ในร้าน และได้กำไรจากเมนูอื่นๆ มาชดเชย ซึ่งการเลือกเมนูมาตั้งราคาแบบนี้ ควรเป็นอาหารที่มีต้นทุนไม่สูงจนเกินไป และอย่าลืมว่าควรจำกัดจำนวนที่ซื้อได้ของลูกค้าแต่ละราย โดยกลยุทธ์แบบนี้สามารถจัดเป็นช่วงโปรโมชันสั้นๆ หรือจะทำแบบประจำก็ได้ เช่น จัดเป็นเมนูอาหารราคาพิเศษประจำสัปดาห์ของร้าน หรือเป็นอาหารทานเล่นราคาเบาๆ เพื่อจะส่งเสริมการขายเมนูอาหารหลัก  

        ตั้งราคาสูงพิเศษ (Premium Pricing) 

        คือการตั้งราคาที่สูงขึ้น สำหรับอาหารที่มีคุณภาพสูงขึ้นมากกว่า แทนที่จะลดราคาแข่งกับร้านคู่แข่ง ทางร้านต้องเน้นการสร้างภาพลักษณ์ว่า เป็นอาหารที่มีคุณภาพสูงใช้วัตถุดิบที่ดีกว่า เสนอบริการที่ดีกว่า มีความพิเศษที่หาไม่ได้จากร้านอื่น รวมถึงต้องมีการตลาดส่งเสริมภาพลักษณ์ของร้านและอาหารร่วมด้วย และควรตอบสนองความคาดหวังที่มากขึ้นของลูกค้าให้ได้ด้วย

ตั้งราคาขาย


        ตั้งราคาเพื่อเจาะตลาด
(Penetration Pricing)

        เป็นวิธีที่ตั้งราคาอาหารเมนูใหม่ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เฉพาะในช่วงแรกที่เปิดตัวเมนูนั้นๆ แก่ลูกค้า เพื่อให้อาหารราคาถูกกว่าปกติเป็นสิ่งดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ และหันมาซื้ออาหารของร้าน เมื่อเวลาผ่านไปก็กลับมาตั้งในราคาปกติ เรียกได้ว่าเป็นราคาโปรโมชันในช่วงสั้นๆก็ได้  

        กลยุทธ์ราคาเลขคี่ (Odd Pricing) 

        คือการตั้งราคาให้ลงท้ายด้วยเลขคี่ ส่วนมากที่นิยมทั่วไปคือการลงท้ายด้วยเลข 9 ก่อนที่จะขึ้นหลักต่อไป เช่น 99 บาท 199 บาท โดยในเชิงจิตวิทยาลูกค้าจะรู้สึกว่าราคาดูต่ำลง และคุ้มค่าที่จะซื้อมากขึ้น แม้ว่าจริงๆแล้วจะต่างกันแค่ 1 บาทก็ตาม 

        การตั้งราคาตามช่วงเวลา (Seasonal Pricing) 

        การตั้งราคาตามช่วงเวลานี้ คือวิธีที่กำหนดราคาสินค้าให้ต่ำลง ในช่วงที่มีลูกค้ามาซื้ออาหารน้อย ขึ้นอยู่กับทำเลและลักษณะของร้าน เช่น ในร้านอาหารที่ไม่ได้อยู่ในทำเลที่มีคนมากนัก อาจจะตั้งราคาขายให้ถูกลงในช่วงบ่ายหรือช่วงดึกที่มีลูกค้าเข้ามาน้อย เพื่อกระตุ้นให้มีลูกค้ามาซื้ออาหารมากขึ้น 

ตั้งราคาขาย

        กลยุทธ์ราคาชุด (Product Set Pricing)

        การขายอาหารเป็นเซตเมนู คือรวมเมนูอาหารมากกว่า 1 เมนูมารวมกันเพื่อขายเป็นชุด จะมีความน่าสนใจของรูปภาพที่นำมาโฆษณา และลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ามากกว่าเดิม แม้ว่าเราอาจจะตั้งราคารวมของชุดอาจจะต่ำกว่าราคาปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้นต่อครั้ง 

        แนวระดับราคา (Price Lining)

        การที่ร้านอาหารมีตัวเลือกของเมนูประเภทเดียวกัน แต่หลายราคาขึ้นอยู่กับขนาดของอาหาร หรือคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาใช้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือกซื้อเมนูอาหารที่อยู่ในระดับราคาที่พอใจตามความต้องการของแต่ละคน การตั้งราคาแบบแนวระดับราคานี้จะช่วยเพิ่มความหลากหลาย และเพิ่มโอกาสในการขายได้ดีกว่าทำเมนูที่คล้ายๆกันในราคาที่ใกล้เคียงกัน

        กลยุทธ์ราคาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มยอดขาย และดึงดูดลูกค้า แต่ไม่ว่าร้านอาหารของคุณจะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแบบไหน อย่าลืมนำเสนอให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่าจากการซื้อสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี อาหารรสชาติอร่อย สะอาด ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผลครับ

 

เรื่องแนะนำ

จัดโต๊ะร้านอาหาร

เทคนิคเพิ่มยอดขายจากการ จัดโต๊ะร้านอาหาร

รู้ไหม ไม่ต้องออกโปรโมชั่น แต่แค่ปรับการ จัดโต๊ะร้านอาหาร และปรับการบริการ ก็อาจเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหารได้เช่นกัน จะมีเทคนิคไหนบ้าง ไปดูกัน!

วิเคราะห์ SWOT

วิธี วิเคราะห์ SWOT อย่างง่ายๆ เปิดร้านอาหารไม่มีเจ๊ง

การ วิเคราะห์ SWOT คือเทคนิคการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง - โอกาส อุปสรรค เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เจ้าของกิจการรู้ว่าควรจะดำเนินกิจการไปในทิศทางใดจะประสบความสำเร็จ

ทำร้านอาหาร

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หลายคนชอบบอกว่าเขาอยากทำร้าน เพราะชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินมีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านเลย

ทางออกร้านอาหาร ทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง

ต้นทุนอาหารที่มีแนวโน้มว่า จะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าของร้านคิดหนัก ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ต้องมาขึ้นราคาอาหารจนลูกค้าหนี ก็ต้องมีทางออกที่ดี มาดูกันว่า เจ้าของร้านต้องทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง ขึ้นเรื่อยๆ   ทางออกร้านอาหาร ทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง คาดการณ์ราคาวัตถุดิบให้ได้ สิ่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องทำก่อนเปิดร้านอาหารก็คือ การกำหนดตัวเลขวัตถุดิบที่จะต้องสูงขึ้นในแต่ละปี เช่น วางแผนต้นทุนที่สูงขึ้นเฉลี่ยปีไว้ปีละ 5 เปอร์เซนต์  การคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น มะนาวจะแพงขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปีซึ่งเป็นหน้าแล้ง และมักจะฉุดราคาวัตถุดิบอื่น ๆ ให้ขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นผัก แก๊สหุงต้ม น้ำมัน  หรือช่วงเทศกาลเจที่ผักจะมีราคาสูงขึ้น การประเมินสถานการณ์ จะช่วยให้สามารถกำหนดงบประมาณในการสั่งซื้อ หรือแผนการตลาดในช่วงนั้นๆ ได้ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาของวัตถุดิบแบบฉับพลัน เช่น การผันผวนของเศรษฐกิจการเมือง หรือเกิดสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้ราคาของวัตถุดิบที่เป็นเมนูขายดีของร้านถีบตัวสูงขึ้น ยกตัวอย่าง ร้านของคุณเพิ่งเปิดใหม่ มีเมนูซิกเนเจอร์เป็นหอยสังข์ที่ได้รับความนิยม เปิดไปได้หนึ่งเดือนหอยสังข์ขาดตลาดราคาสูงลิ่ว การปรับเปลี่ยนราคา ปริมาณในการเสิร์ฟเพื่อลดต้นทุนทันที อาจส่งผลต่อการตอบรับของลูกค้าโดยตรง สิ่งที่จะทำให้การประเมินสถานการณ์เป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การมีระบบที่ช่วยบันทึกข้อมูลของวัตถุดิบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่ใช้ ราคา แหล่งซื้อ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.