10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร? - Amarin Academy

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย

 

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า

Step by Step

  1. ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป
  2. เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand Profile ของร้านคุณต้องน่าสนใจ เพื่อให้ทางศูนย์การค้าพิจารณา โดยอาจจะมีการไปทดสอบรสชาติอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้านก่อน
  3. หลังจากส่ง Brand Profile แล้ว ซึ่งในนั้นจะมีการระบุพื้นที่ที่ต้องการด้วย ทางศูนย์การค้าจะทำการพิจารณาหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับร้าน ประเภทของร้าน และทำเลที่เหมาะ เมื่อได้พื้นที่แล้วก็จะเสนอกลับไปยังเจ้าของร้านให้ทราบ
  4. นัดเจ้าของร้านเพื่อเข้ามาดูพื้นที่จริงที่เสนอไป ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ ถ้าพอใจกับพื้นที่นั้น ก็จะพูดคุยถึงรายละเอียดกันต่อไป เช่น อายุสัญญา เงินประกันการเช่าที่ และค่าใช้จ่ายต่างๆ กับศูนย์การค้า
  5. เมื่อเจ้าของร้านพอใจกับพื้นที่ที่นำเสนอไป ลำดับถัดมาศูนย์การค้าจะส่งใบจองพื้นที่ไปให้ จากนั้นลูกค้าทำการเซ็นใบจองกลับมา
  6. ศูนย์การค้าเริ่มขั้นตอนของการทำสัญญา โดยเริ่มมีการเก็บเงินประกันการเช่าที่ได้ชี้แจงไว้ (ข้อ 4) ค่าใช้จ่ายการทำสัญญา เช่น สัญญา 1 ปี คิดเงินประกัน 3 เดือนของค่าเช่า // สัญญา 3 ปี คิดเงินประกัน  6 เดือนของค่าเช่า ซึ่งเงินประกันทางศูนย์การค้าเก็บไว้ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงทางศูนย์การค้าจะคืนให้
  7. เจ้าของร้านเริ่มออกแบบร้านตามขนาดพื้นที่ที่ได้ แต่ต้องส่งให้ทางศูนย์พิจารณา Approve ด้วย
  8. เมื่อ Approve แล้ว จะมีการนัดประชุมกันระหว่างเจ้าของร้าน ทีมผู้รับเหมาก่อสร้าง และศูนย์การค้า ก่อนเริ่มเข้าตกแต่งร้านในพื้นที่จริง
  9. เจ้าของร้านเริ่มเข้าตกแต่งร้านได้ ระยะเวลาในการก่อสร้างขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ด้วย โดยมาตรฐานจะอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 30 วัน (ในระหว่างการก่อสร้าง ยังไม่มีการเก็บค่าเช่า) และสามารถเข้าก่อสร้างได้ในช่วงศูนย์การค้าปิดทำการ แต่ถ้าก่อสร้างในระหว่างทำการจะต้องไม่มีเสียง หรือกลิ่น ที่ส่งผลกระทบกับร้านอื่นๆ

(*ข้อจำกัดการก่อสร้างในการ ขายอาหารในศูนย์การค้า ⇒ ร้านอาหารจะต้องทำตัวกันซึมสำหรับพื้นที่ครัว / มีการขังน้ำทิ้งไว้ก่อน 1 วัน เพื่อดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับร้านอื่นๆ)

  1. งานก่อสร้างร้านเสร็จ ตรวจความเรียบร้อย หากไม่มีความบกพร่องใดๆ ก็สามารถเริ่มเปิดร้านได้ตามช่วงเวลาที่วางไว้

ขายอาหารในศูนย์การค้า

** ข้อมูลที่นำเสนอดังกล่าว เป็นตัวอย่างขั้นตอนของทางศูนย์การค้า Seacon  Square ซึ่งขั้นตอนการ ขายอาหารในศูนย์การค้า หรือเงื่อนไขการทำสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละศูนย์การค้าเป็นผู้กำหนด อาจมีความแตกต่างกันบ้าง ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ประกอบการ สอบถามรายละเอียดกับแต่ละศูนย์การค้าโดยตรงอีกครั้ง

 

ขอบคุณข้อมูล / ภาพ : ศูนย์การค้า Seacon  Square

 

อ่านต่อบทความที่น่า

สำรวจตัวเองให้พร้อม ก่อนตัดสินใจ เปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

รวม ข้อดีของการเปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ที่คุณคาดไม่ถึง!

 

เรื่องแนะนำ

ผ่านวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน กับเทคนิคปรับตัวของร้านอาหารในช่วงวิกฤติ COVID-19 จาก Penguin Eat Shabu

Penguin Eat Shabu ในสถานการณ์ที่อะไรๆ ก็ดูไม่เป็นใจ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความเศร้าปกคลุม จะดีกว่าไหม ถ้าเรามาเติมไฟในตัวให้ลุกโชนด้วยการนั่งดูสาระดีๆ เก็บความรู้ไปต่อยอด สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารผ่าน LIVE บนช่องทาง LINE Official Account : LINE for Business กันดีกว่าครับ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ผมได้นั่งฟัง “คุณต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu” พูดคุยถึงเรื่อง ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรในช่วง COVID-19? พร้อมคุณโซอี้-ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ LINE Certified Coach ที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมในการใช้ LINE เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างน่าสนใจมาก ผมเลยนำประเด็นมาสรุปและเรียบเรียงออกมาให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ Penguin Eat Shabu ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น ร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูขวัญใจทั้งวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ที่มาพร้อมกับสโลแกนน่ารักๆ ว่า “ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น” […]

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ” อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น . 1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ” . 2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น “ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย” “รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก” 3- ในขณะที่คนอื่น ๆ […]

บทเรียนสำคัญ

รวม บทเรียนสำคัญ ! ที่คนทำร้านอาหารอยากบอกคุณ (1)

การเปิดร้านอาหารไม่ใช่เรื่องยาก แต่ทำร้านให้ประสบความสำเร็จนี่สิ เป็นเรื่องที่ท้าทาย วันนี้เราจึงรวบรวมบทเรียนสำคัญ จากผู้ประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหารมาฝาก

Creamery

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

Creamery boutique ice creams ร้านไอศกรีมโฮมเมด และคุกกี้ลาวา เป็นอีกหนึ่งร้าน ที่เจ้าของเริ่มต้นเปิดร้านจากความรักและความชื่นชอบในการทำขนมมากๆ และกล้าพูดได้ว่าเป็นร้านแรกๆ ที่เริ่มคิดค้นเมนูลาวาจากไข่เค็ม ที่ยังคงเป็นเมนูยอดฮิตจนถึงทุกวันนี้ คุณชมพูนุช จอมสง่าวงษ์ เจ้าของร้านจะมาเผยถึงวิธีคิดเมนูให้เป็นจุดเด่นของร้าน รวมถึงความท้าทายที่ร้านต้องเจอ เมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป จะมีวิธีอย่างไร มาดูกันครับ   Creamery boutique ice creams ร้านที่เริ่มต้นจากความรักในการทำขนม ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว เดิมเราทำงานประจำอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทำขนมอยู่ที่นั่น เราชอบทำขนมอยู่แล้ว เลยอยากเปิดร้านขนมทำเป็นงานเสริมก่อน ก็เลยเปิดร้าน Creamery boutique ice creams สาขาแรกแถวสามย่าน ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเคยไปกินร้านที่สเปน แล้วชอบช็อกโกแลตที่นั่นมาก อยากกินอีก เลยคิดว่าทำเองดีกว่า เลยลองทำช็อกโกแลตมาใส่คุกกี้ สินค้าตัวแรกของร้านเลยออกมาเป็นช็อกโกแลตลาวา ตัวนี้ทำให้เราเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น เพราะความแปลกใหม่ ที่ยังไม่มีใครทำคุกกี้ที่เป็นลาวา รวมถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเห็นเมนูเรามากขึ้น พอเอาไอศกรีมมาวางบนคุกกี้ ลาวาในคุกกี้ก็จะไหลออกมา ลูกค้าก็ว๊าวมาก คนก็ถ่ายแล้วแชร์ ซึ่งเราคิดว่า เราจับเทรนด์นี้ได้ทันพอดี คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.