ถอดความสำเร็จ “ฌานา” ต้นแบบร้านอาหารออร์แกนิก - Amarin Academy

ถอดความสำเร็จ “ฌานา” ต้นแบบร้านอาหารออร์แกนิก

ถอดความสำเร็จ “ฌานา” ต้นแบบร้านอาหารออร์แกนิก ที่เอาชนะใจลูกค้าได้ทุกจุด!

อยากทำร้านอาหารออร์แกนิก…แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี? ใครกำลังเจอปัญหานี้ ลองใช้โมเดลของร้าน “ฌานา (Charna)” เป็นต้นแบบดู โอกาสสำเร็จสูงแน่นอน

วันก่อนทีมงานมีโอกาสไป “สยามเซ็นเตอร์” ก็สะดุดตากับร้านอาหารแห่งหนึ่งที่มีคนยืนรอคิวเต็มหน้าร้าน ทั้งๆ ที่ ร้านนั้นก็ไม่ใช่ร้านชื่อดังหรือเพิ่งเปิดใหม่ และตอนนั้นก็บ่าย 2 โมงกว่าแล้ว แถมร้านข้างเคียงยังมีที่นั่งว่างเต็มไปหมด

น่าสนใจขนาดนี้ เราจึงลองเข้าไปใช้บริการดู จึงได้รู้ว่า เพราะอะไรลูกค้าจึงอดทนรอคิวนานเกือบชั่วโมง เราจะสรุปบทเรียนเหล่านั้นให้ฟัง!

1.คอนเซ็ปต์ชัด

สิ่งสำคัญที่สุดในการทำร้านอาหารคือ ต้องวางคอนเซ็ปต์ให้ชัด เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของทุกๆ อย่างในร้าน ตั้งแต่การตกแต่งร้าน เมนูอาหาร ไปจนถึงการบริการ ยิ่งเราเริ่มต้นด้วยคอนเซ็ปต์ชัดมากเท่าไร ก้าวต่อไปก็ยิ่งเห็นภาพง่ายขึ้นมากเท่านั้น และลูกค้าเองก็จะสัมผัสได้เช่นกัน

“ฌานา” วางตัวเองเป็นร้านอาหารเพื่อคนรักสุขภาพ ใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกล้วนๆ และต้องการเป็นตัวกลาง ส่งต่อวัตถุดิบดี มีคุณภาพ จากเกษตรกร สู่มือผู้บริโภค โดยตรง ไม่ผ่านมือพ่อค้าคนกลาง

ความชัดเจนของคอนเซ็ปต์ แสดงออกมาทั้งการตกแต่งร้านที่ดูเรียบง่าย ใช้แสง ไฟ ที่แสดงให้เห็นถึงความอบอุ่น เป็นกันเอง เมื่อพลิกเมนูอาหารและเครื่องดื่มก็พบว่าเน้นเมนูเพื่อสุขภาพ มีการเขียนคำบรรยายว่าวัตถุดิบแต่ละชนิดมาจากแหล่งใด มีความพิเศษอย่างไร มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

สิ่งเหล่านี้ทำให้เราสัมผัสและเชื่อ ตั้งแต่ก้าวเข้าไปในร้านเลยว่าร้านนี้เป็นร้านอาหารเพื่อสุขภาพจริงๆ ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักร้านนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ

2.นักเล่าเรื่อง

ทุกวันนี้ร้านอาหารจะแข่งกันที่ความอร่อยอย่างเดียวไม่ได้ เพราะคงไม่มีใครบอกว่าร้านอาหารของเราไม่อร่อยหรอกจริงไหม ดังนั้นเราต้องดึงดูดลูกค้าด้วยจุดเด่นอื่นๆ นอกเหนือจากความอร่อยด้วย ซึ่งฌานาเป็นหนึ่งในร้านที่เราคิดว่าเป็นนักเล่าเรื่องที่เก่งมาก

ร้านอาหารส่วนใหญ่ เมนูมักจะบอกแค่ชื่ออาหาร ราคา แต่ฌานา กลับบอกถึงที่ไปที่มาของวัตถุดิบ ประวัติของฟาร์มที่เลี้ยงไก่ ไร่ที่ปลูกผักออร์แกนิก หรือนาที่ปลูกข้าวพันธุ์ดี ส่งตรงมาที่ร้าน ระหว่างที่ลูกค้ารออาหาร ก็ได้นั่งอ่านเมนูไปเรื่อยๆ จนได้รับรู้ถึงความตั้งใจ และจุดยืนของร้าน ทำให้ลูกค้ารู้สึก “อิน” ไปกับเรื่องราวมากขึ้น

 

เชื่อไหมว่าราคาอาหารไม่ได้ถูกเลย ค่าเฉลี่ยต่อหัวน่าจะอยู่ที่ 400 – 500 บาทขึ้นไป แต่เรื่องราวที่ร้านพยายามสื่อออกมา ทำให้เรารู้สึกว่า “คุ้มค่า” และเชื่อว่าวัตถุดิบที่เราได้รับประทานเป็นของดี มีคุณภาพจริงๆ

3.ใส่ใจทุกรายละเอียด

เชื่อไหม…ลูกค้าส่วนใหญ่แพ้ความใส่ใจเล็กๆ น้อยๆ

“พนักงานพูดจาดี เสิร์ฟเร็ว ร้านสะอาด อาหารอร่อย” คือบริการพื้นฐานที่เราต้องทำให้ลูกค้า แต่สิ่งเหล่านี้ทำดีก็อาจจะแค่เสมอตัว ไม่บอกต่อ ไม่ชื่นชม เพราะลูกค้าคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่เขาควรได้รับอยู่แล้ว แต่ถ้าทำพลาด ก็อาจโดนจัดชุดใหญ่

ฉะนั้นร้านอาหารต้องลองคิดบริการให้เหนือความคาดหมาย อย่างร้าน ฌานา เรารู้สึกเหนือความคาดหมายในทุกๆ จุด เริ่มตั้งแต่ก้าวเข้าร้าน ก็มีน้ำผักผลไม้สกัดเย็นมาเสิร์ฟที่โต๊ะฟรีๆ แม้ว่าปริมาณไม่มากนัก แต่ก็รู้สึกได้ถึงความใส่ใจ

เมื่อสั่งเมนูหม้อร้อน แทนที่จะได้เนื้อสัตว์และผักมา 1 ชุด เหมือนร้านทั่วไป แต่เรากลับได้ “บุฟเฟต์ผักสด” ที่สามารถเดินไปเลือกผักที่ตัวเองชื่นชอบได้ไม่อั้น ซึ่งไฮไลท์เด็ดอยู่ตรงที่โซนบุฟเฟต์ผักสดนั่นเอง

ตามปกติด้วยร้านอาหารระดับราคาเท่านี้ คนส่วนใหญ่จะคาดหวังว่าผักต้อง เขียวสด ไม่มีรอยหนอนเจาะ แต่…ผักที่เสิร์ฟที่นี่กลับมีรอยหนอน ลำต้นไม่ค่อยสวยบ้าง ซึ่งเท่าที่สังเกต ลูกค้าทุกคนก็ตักผักด้วยความเต็มใจ เพราะรู้สึกว่าผักเหล่านั้นส่งตรงมาจากไร่ที่ปลอดสารพิษจริงๆ นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกว่าร้านไม่ได้เอาเปรียบเกษตรกรที่คัดเฉพาะผักสวยๆ เท่านั้น แต่ผักที่มีรอยหนอน ลำต้นไม่สวย แต่ยังสดใหม่ และมีคุณภาพดีก็รับซื้อเช่นกัน

นี่คือความใส่ใจเล็กๆ น้อยๆ ที่เราคิดว่ามันสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากกว่าการจัดโปรชุดใหญ่ หรือมอบของพรีเมียมแพงๆ ให้เสียอีก

4.ทำเลเยี่ยม

ทำเล เป็นปัจจัยสำคัญที่จะตัดสินว่าร้านของเราจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าทำเลดี ตั้งอยู่ในย่านที่มีลูกค้าเป้าหมายมาก โอกาสที่เขาจะเข้ามาใช้บริการร้านเราก็สูงไปด้วย

จากการสังเกตลูกค้าที่มาใช้บริการ พบว่า กลุ่มเป้าหมายของร้านฌานา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนเมือง พนักงานออฟฟิศที่รักสุขภาพ ยอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ซึ่งตรงกับทำเลของร้าน ที่ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองคือ สยามเซ็นเตอร์ ซึ่งละแวกนั้นก็มีออฟฟิศสำนักงานค่อนข้างมาก การเดินทางสะดวกเพราะอยู่ในจุดเปลี่ยนสถานีรถไฟฟ้า วันธรรมดาพนักงานออฟฟิศก็สามารถมาใช้บริการได้ทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น วันหยุดก็สามารถรองรับลูกค้าที่มาแฮงก์เอาท์กับเพื่อนๆ ได้ ทำให้ฌานา มีโอกาสรับลูกค้าได้มากขึ้น ยอดขายก็สูงตามไปด้วย

กลับกันหากทำเลไม่ดีพอ การเดินทางไม่สะดวก หรือไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โอกาสในการรับลูกค้าก็ลดลง

5.เกาะกระแสที่ยั่งยืน

ร้านอาหารส่วนใหญ่มักเล่นกับกระแส เพื่อดึงดูดคนให้เข้าร้าน เช่น ถ้าชานมไข่มุกกำลังมา ร้านเราต้องมี มันม่วงฟีเวอร์ ก็ต้องเพิ่มเมนูนี้ เป็นต้น ร้านฌานาก็เล่นกับกระแสเช่นกัน แต่เป็นกระแสที่ยั่งยืน

ช่วงนี้กระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมกำลังมา หลายๆ คนเริ่มหันมาลดการใช้ถุงและหลอดพลาสติก ซึ่งเมื่อเครื่องดื่มมาเสิร์ฟที่โต๊ะ เราก็พบว่ามาพร้อมกับ “หลอดกระดาษ” และเราแทบไม่เห็นพลาสติกสิ้นเปลืองในร้านเลย นั่นแสดงให้เห็นว่าร้านใส่ใจกับกระแสความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งลูกค้าที่มารับประทานอาหารอาจรู้สึกว่า นอกจากจะได้สุขภาพดีกลับไปแล้ว เรายังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมา นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้าน ฌานา ประสบความสำเร็จ มีลูกค้าต่อคิวยาวเหยียด แต่ยังมีอีกข้อที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือระบบการบริหารจัดการหลังร้าน ที่ต้องใส่ใจอย่างมาก เพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นของสด แถมมีมูลค่าสูง (เพราะเป็นวัตถุดิบออร์แกนิก) ถ้าบริหารจัดการไม่ดี มีของเน่าเสียหรือเหลือทิ้งมาก (อ่านเพิ่มเติม: 7 Wastes ในร้านอาหาร ลดได้ กำไรพุ่ง!) อาจทำให้ร้านพบกับปัญหา “ขายดี แต่ขาดทุน” ดังนั้นจึงควรวางแผนการจัดการให้ดี (อ่านเพิ่มเติม: เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ!) เชื่อว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จสูงแน่นอน!

ขอบคุณภาพจาก Charna

เรื่องแนะนำ

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

บริหาร ปัญหาคน ให้ลงตัว เรื่องที่เจ้าของร้านต้องจัดการให้ได้

การที่คุณจะประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหาร ร้านคุณจะต้องมีอาหารอร่อย บริการที่ถูกใจ  บรรยากาศที่ดี ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใช้ คนในการขับเคลื่อนทั้งสิ้น การเตรียมพร้อมเรื่อง ‘คน’ ได้ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ร้านอาหารต้องจัดการให้ได้ เพราะมีร้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลงเพราะ ปัญหาคน หรือพนักงานในร้านนั่นเอง ดังนั้น เจ้าของร้านควรรู้ก่อนเปิดร้านว่า ปัญหาเรื่องคนที่ต้องเจอมีอะไรบ้าง และมีวิธีการวางแผน หรือแก้อย่างไร   ปัญหาคน อะไรบ้างที่ร้านอาหารต้องเจอ 1. หาพนักงานยาก จะทำอย่างไรเมื่อร้านกำลังจะเปิด แต่ไม่มีคนทำงานให้ การสรรหาพนักงานจึงควรกำหนดเป็นแผนงานก่อนเปิดร้านอาหาร ถ้าเราแบ่งทีมงานด้านอาหารเป็น 2 ทีมหลัก คือทีมครัว และทีมหน้าร้าน ทีมครัวที่ควรจะหาได้เป็นอันดับแรกคือเชฟ เพราะจำเป็นต่อการกำหนดรูปแบบของอาหาร สูตรอาหารของร้าน โครงสร้างต้นทุนและวัตถุดิบ  ร้านควรกำหนดการหาพนักงานให้ได้ 90 % ก่อน 2-3 เดือนก่อนร้านเปิด เช่น ผู้จัดการร้าน  ผู้ช่วย พนักงานรับ Order  ที่เหลือสามารถหาได้ก่อนเปิดร้าน 1 เดือน  เช่น พนักล้างจาน  Food Runner   2.Turn Over สูง  ปัญหาคนเข้าออกเป็นปัญหาที่ร้านอาหารแทบทุกร้านต้องเจอ […]

รับช่วงต่อกิจการ

5 เทคนิค รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง!

ยุคนี้หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เริ่มทำธุรกิจด้วยตัวเอง และเลือก รับช่วงต่อกิจการ จากที่บ้าน ซึ่งทั้งสองรูปแบบก็มีความท้าทายแตกต่างกัน

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม

ลูกค้านั่งนาน รับลูกค้าอื่นไม่ได้ ควรทำอย่างไรดี? ปัญหาน่าปวดหัวที่หากแก้ไขผิดอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ เราจึงมีเทคนิคที่ช่วย แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.