เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ! - Amarin Academy

เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ!

Step by Step เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ!

เมื่อพูดถึงการเริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารหลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหน แต่จริงๆ ทุกร้านอาหารมีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ชัดเจนและละเอียดเท่านั้น เราจึงมีวิธีการวางระบบร้านอาหาร ที่ทำเองได้ง่ายๆ มาแนะนำ

ก่อนจะไปเริ่มขั้นตอนการวางระบบ เรามาทำความเข้าใจกับคำว่าระบบกันก่อนดีกว่า

ระบบ พูดง่ายๆ ก็คือ ขั้นตอนการทำงานเป็นลำดับขั้นที่ชัดเจน มีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ ระบบร้านอาหารที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ ช่วงเวลาการเปิด – ปิดร้าน หรือการสั่งอาหาร ถ้าลูกค้าสั่งอาหารแล้ว พนักงานจดออร์เดอร์ลงกระดาษ จากนั้นนำส่งเข้าครัว พนักงานครัวทำตามออร์เดอร์ และส่งอาหารมาให้พนักงานเสิร์ฟ แค่นี้ก็ถือเป็นระบบแล้ว เพียงแต่เจ้าของร้านอาหารอาจไม่คิดว่าเป็นระบบเท่านั้นเอง

ถ้าเข้าใจเรื่องระบบอย่างคร่าวๆ แล้ว ก็มาเริ่มต้นการวางร้านอาหารอย่างเป็นระบบกันเลย

ระบบในร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ

พนักงานเสิร์ฟ
พนักงานส่วนงานบริการ มีหน้าที่สำคัญมาก เพราะต้องทำงานกับลูกค้าโดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเทรนด์ให้เข้มข้น เพื่อให้การบริการดีที่สุด

1.ระบบหน้าบ้าน: ส่วนงานบริการ

งานหน้าบ้านถือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง เป็นส่วนงานที่ต้องสร้างความประทับใจให้ลูกค้าในทุกๆ จุด การวางระบบในส่วนนี้ ควรเริ่มจากการกำหนดหน้าที่ของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน

ตำแหน่งงานสำคัญๆ สำหรับส่วนนี้คือ ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน และพนักงาน

ผู้จัดการร้าน: คือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลภาพรวมของร้านทั้งหมด คอยควบคุมการดำเนินงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหน้าที่ที่กำหนด อีกทั้งต้องคอยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาด้วย (ร้านอาหารบางร้าน เจ้าของร้านอาหารมักทำหน้าที่นี้เอง)

(อ่านเพิ่มเติม: หน้าที่ของผู้จัดการร้านคืออะไร)

ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน: คือผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้จัดการร้าน ดูแลในเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้จัดการร้านอาหารมอบหมายให้ เช่น ตรวจสอบยอดเงินให้ถี่ถ้วน ก่อนจะนำส่งผู้จัดการ เป็นต้น

พนักงาน: คือผู้ที่ทำหน้าที่ทำงานทุกส่วนตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น รับออร์เดอร์ลูกค้า เสิร์ฟ และคิดเงิน เป็นต้น

แต่หากต้องการให้การบริการมีประสิทธิภาพ ต้องไม่ใช่แค่กำหนดหน้าที่เท่านั้น แต่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงานให้ละเอียดด้วย

ตัวอย่างง่ายๆ การวางระบบการต้อนรับและรับออร์เดอร์จากพนักงาน

1.เมื่อลูกค้าเข้ามาในร้าน พนักงานต้องเดินเข้าไปต้อนรับพร้อมถามว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ ไม่ทราบว่ามากี่ท่านครับ”

2.พาลูกค้าเข้าไปนั่งที่โต๊ะ จากนั้นหยิบเมนูวางบนโต๊ะ ในตำแหน่งหน้าลูกค้าทุกคน

3.รอเวลาให้ลูกค้าได้เลือกเมนูประมาณ 3 นาที จากนั้นเดินเข้าไปรับออร์เดอร์

4.รับออร์เดอร์ลงในเครื่อง Tablet เมื่อลูกค้าสั่งอาหารเสร็จต้องทวนออร์เดอร์ทุกครั้ง

5.กดส่งออร์เดอร์เข้าสู่ครัว

นี่เป็นตัวอย่างเบื้องต้นของการกำหนดระบบการรับออร์เดอร์พนักงาน

2.ระบบหลังบ้าน: ส่วนงานครัว

งานหลังครัวเป็นงานด้านการผลิต หน้าที่สำคัญคือจัดเตรียมอาหารให้มีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานที่ร้านอาหารกำหนด เช่นเดียวกับส่วนหน้าบ้าน การวางระบบครัว ก็ต้องเริ่มจากการกำหนดตำแหน่งหน้าที่พนักงานเช่นกัน

ตำแหน่งงานสำคัญๆ สำหรับส่วนนี้คือ หัวหน้าเชฟ ผู้ช่วยเชฟ และพนักงานครัว

หัวหน้าเชฟ: คือกุนซือใหญ่ในห้องครัว เป็นผู้ทำหน้าที่กำกับ ควบคุมและดูการปรุงอาหารให้มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ดูแลภาพรวมเรื่องต้นทุนของวัตถุดิบ ความสะอาดและการปรุงอาหารให้มีประสิทธิภาพ

ผู้ช่วยหัวหน้าเชฟ: ทำหน้าที่ช่วยเหลือหัวหน้าเชฟ ดูแลในเรื่องรายละเอียดการทำงาน ตามที่หัวหน้าเชฟมอบหมายให้ เช่น เช็คสต็อกวัตถุดิบ ตรวจเช็คเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น

พนักงานครัว: ทำหน้าที่เตรียมวัตถุดิบ ปรุงอาหาร ทำความสะอาด ฯลฯ ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละส่วนงานที่กำหนด

ตัวอย่างง่ายๆ การวางระบบงานครัวให้มีประสิทธิภาพ

1.เมื่อออร์เดอร์ส่งมาถึงครัว ผู้ช่วยเชฟจะเป็นผู้รับออร์เดอร์และแจกงานให้พนักงานครัว เพื่อปรุงอาหาร ถ้ามีรายละเอียดระบุเป็นพิเศษ ต้องแจ้งพนักงานครัวด้วย เช่น ไม่ใส่พริก ไม่ใส่ผักชี ไม่ใส่กระเทียม เป็นต้น

2.พนักงานครัวลงมือปรุงอาหารตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้

3.พนักงานครัวเช็คความเรียบร้อยของอาหารให้ถูกต้องตามออร์เดอร์

4.นำอาหารมาส่งที่เคาท์เตอร์ และกดสัญญาณเรียกพนักงานเสิร์ฟมารับอาหาร

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบงานครัว

ร้านอาหารแต่ละร้านไม่จำเป็นต้องมีระบบที่เหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับรูปแบบร้าน เช่น ถ้าเป็นร้านแบบ Fast Food พนักงานก็แค่รอรับออร์เดอร์ที่เคาท์เตอร์เท่านั้น เป็นต้น แต่หลักสำคัญของการวางระบบร้านคือ ต้องมีลำดับขั้นการทำงานที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ เพื่อทำให้งานราบรื่น และลดข้อผิดพลาดได้มากที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

เรื่องแนะนำ

Hai di lao

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

ถ้าพูดถึงร้านอาหารประเภท hot pot หม้อไฟ ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ จนคนต้องยอมต่อแถวรอคิวหลายชั่วโมงคงหนีไม่พ้น ร้านหม้อไฟสัญชาติจีนที่ชื่อว่า Hai di lao (ไห่-ตี้-เหลา) ร้านหม้อไฟที่โด่งดังในประเทศจีน รวมถึงอีกหลายประเทศ และเพิ่งมาเปิดสาขาในประเทศไทยได้ไม่นาน จนเกิดความสงสัยว่า ร้านนี้มีดีอะไร และทำไมลูกค้าถึงยอมที่จะรอคิวเพื่อให้ได้ทาน   ” Hai di lao “ จากความสงสัยก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมของร้าน Hai di lao ก็พบว่าธุรกิจนี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะแบรนด์นี้มีต้นกำเนิดจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน และก่อตั้งโดย Zhang Yong (จาง หย่ง) ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่การเริ่มต้นจากเชน Hotpot ในประเทศจีน แต่สามารถก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นเชนร้านอาหารระดับโลก ซึ่งปัจจุบันขยายไปแล้ว 400 กว่าสาขาทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น และมียอดขายในปี 2018 กว่า 17,000 ล้านหยวน ซึ่งถ้าเทียบกับร้านอาหารประเภทที่คล้ายกันในบ้านเราอย่าง MK Restaurant ที่คิดว่าใหญ่แล้ว มีทั้งร้านสุกี้และร้านอาหารญี่ปุ่น กว่า 600 สาขา […]

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ร้านอาหารส่วนใหญ่มัก ซื้อวัตถุดิบเอง มากกว่า ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.