หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร - Amarin Academy

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

รู้ไหม สองสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร้านอาหาร ต้องปิดตัวลงภายใน 3 ปีแรก คือ เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไป และเจ้าของร้านทำงานมากเกินไป หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วคำว่าพอดีอยู่ตรงไหน และ หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร จริงๆ คืออะไร วันนี้เราจะมาเปิดเผยให้ฟัง

เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไป VS เจ้าของร้านทำงานมากเกินไป

เจ้าของร้านบางคนมักคิดว่า เปิดร้านอาหาร แค่จ้างเชฟมืออาชีพ จ้างผู้จัดการร้านที่มีประสบการณ์ทำงานสูง จ้างพนักงานที่ผ่านงานมานับไม่ถ้วน แล้วปล่อยให้ทุกคนดูแลงานทุกอย่าง ก็น่าจะช่วยให้ร้านอยู่รอดได้ ส่วนตัวเองก็ไม่ค่อยเข้าร้าน ไม่ตรวจสอบบัญชี ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการร้าน ถ้าเป็นแบบนี้ คงไม่แปลกใจใช่ไหม เพราะอะไรร้านถึงต้องปิดตัว

แต่บางคนอาจสงสัยว่า แล้วการที่เจ้าของร้านทำงานหนัก ก็น่าจะช่วยให้ร้านเจริญรุ่งเรือง ทำไมถึงปิดตัวได้ล่ะ

ลองนึกภาพง่ายๆ หากเจ้าของร้านทำหน้าที่เป็นเชฟ ปรุงอาหารเสิร์ฟลูกค้าเอง เพราะคิดว่าตัวเองใส่ใจและพิถีพิถันในการทำอาหารที่สุด หากร้านดำเนินไปตามปกติก็น่าจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ใดแทรกเข้ามาล่ะ จะทำอย่างไร เช่น ขณะที่เจ้าของร้านกำลังวิ่งวุ่นเตรียมอาหารเพื่อรอลูกค้าที่จะเข้าร้านในตอนเที่ยง เกิด Supplier โทรศัพท์มาเสนอขายวัตถุดิบตัวใหม่ เกรดพรีเมี่ยม เจ้าของร้านต้องเสียเวลาไม่ต่ำกว่า 5 นาทีในการปฏิเสธ

หลังจากนั้นเกิดมีลูกค้าโทรมาจองโต๊ะสำหรับจัดงานปาร์ตี้วันเกิดในสัปดาห์ถัดไป แล้วขอทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการจัดงาน พร้อมขอราคาอย่างคร่าวๆ เจ้าจองร้านก็ต้องเสียเวลาไปอีก 15 นาทีในการอธิบายรายละเอียดทั้งหมด

เมื่อถึงเวลาเที่ยง ที่ลูกค้ามารอเต็มร้าน อาหารก็อาจจะยังเตรียมไม่เสร็จ เมื่อลูกค้ารอนานเข้าก็เริ่มได้ยินเสียงต่อว่า สุดท้ายลูกค้าก็อาจจะไม่กลับมาใช้บริการร้านคุณอีกต่อไป และสุดท้ายเมื่อเจ้าของร้านวิ่งวุ่นทั้งวันจนไม่มีเวลาพักอย่างนี้ ก็ไม่มีเวลาไปโฟกัสกับการพัฒนาร้านด้านอื่นๆ เลย

เริ่มเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่าการทำงานหนักเกินไป กอดงานไว้คนเดียว ส่งผลให้ร้านต้องปิดตัวลงได้จริงๆ อย่างนั้นเจ้าของร้านควรต้องทำอย่างไรล่ะ

พนักงานบริการ
เจ้าของร้าน กำลังทำหน้าที่ พนักงานบริการ ซึ่งอาจทำได้ในบางครั้ง แต่ต้องไม่ใช่หน้าที่หลักที่ทำทุกวันและทั้งวัน

หน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านอาจไม่เคยรู้

จริงๆ แล้วหน้าที่หลักๆ ของเจ้าของร้านอาหาร มี 3 ข้อ คือ

  1. เรียนรู้ที่จะมอบหมายงานให้ผู้อื่น

เจ้าของร้านอาหารบางคนอาจลงมือทำอาหารเสิร์ฟให้ลูกค้าเอง ก็ไม่ถึงกับต้องเลิกทำ เพียงแต่ว่าควรจ้างผู้ช่วยให้มาช่วยเตรียมของให้เรียบร้อย ระหว่างนั้นก็เอาเวลาไปจัดการงานด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับ supplier ตรวจดูความเรียบร้อยของร้าน เป็นต้น จากนั้นเมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าสั่งอาหาร เจ้าของร้านค่อยเข้าครัวเพื่อลงมือทำ งานทุกอย่างก็จะราบรื่นขึ้น

2.จัดลำดับความสำคัญของงาน

ระหว่างทำอาหาร หากมีเหตุการณ์อื่นใดเข้ามาแทรก เช่น มีโทรศัพท์จากช่างแอร์ที่จะเข้ามาตรวจสอบระบบประจำปี หรือจากฝ่ายการเงินที่จะสอบถามเรื่องการเบิกจ่าย ฯลฯ เจ้าของร้านควรประเมินว่างานนั้นเร่งด่วนมากน้อยแค่ไหน หากไม่จำเป็นต้องคุยทันที ก็รอให้ลูกค้าคนสุดท้ายออกจากร้านก่อนแล้วค่อยโทรกลับก็ยังไม่สาย

3.กำหนดตำแหน่งงานของพนักงานให้ชัดเจน

เจ้าของร้านอาหารต้องวางแผน
เจ้าของร้านอาหารเป็นเหมือนกัปตันบนเรือใหญ่ ทำหน้าที่วางแผน สั่งงานและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด

เมื่อคุณจ้างพนักงานในร้านมากขึ้น (ตามข้อแรก) สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ กำหนดหน้าที่ของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน หรือละเลยงานบางส่วนเพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ลองสละเวลาเขียน job description สักนิด แล้วงานต่างๆ จะราบรื่นยิ่งขึ้น

4.ตรวจสอบงานในภาพรวม และวางแผนพัฒนาร้านต่อไปในอนาคต

ข้อนี้ก็เป็นอีกหน้าหน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านไม่ควรมองข้าม คุณต้องหมั่นตรวจสอบการทำงานของพนักงานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเสิร์ฟ ว่ามีคำตำหนิจากลูกค้าหรือเปล่า หรือเรื่องเงินๆ ทองๆ ว่าขาดหายหรือตกหล่นหรือไม่ และหากเกิดปัญหาก็ต้องหาทางแก้ไขโดยทันที

นอกจากนี้ต้องไม่ลืมวางแผนพัฒนาร้านให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงร้าน วางแผนการทำโปรโมชั่น การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจทุกประเภท คือการก้าวไปข้างหน้าเสมอ ฉะนั้นหน้าที่นี้จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญที่เจ้าของร้านต้องใส่ใจเป็นอันดับต้นๆ

การทำงานตามหน้าที่ที่เราแนะนำนี้ นอกจากเราจะไม่เหนื่อยจนเกินไปแล้ว ยังมีเวลาไปโฟกัสกับสิ่งสำคัญอื่นๆ ที่จ้างคนมาทำแทนไม่ได้อีกด้วย

เรื่องแนะนำ

ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ร้านอาหารส่วนใหญ่มัก ซื้อวัตถุดิบเอง มากกว่า ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

เริ่มทำธุรกิจ

คำถามสำคัญที่คุณควรถามเมื่อ เริ่มทำธุรกิจ

สำหรับคนที่กำลัง เริ่มทำธุรกิจ คงมีหลายเรื่องให้ต้องคิดมากมายใช่ไหมครับ แต่เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมขายของสิ่งเดียวกัน บางร้านถึงขายดีกว่าอีกร้านหนึ่ง?

4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!

เปิดร้านอาหาร เป็นหนึ่งในอาชีพแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก จึงไม่แปลกที่ในช่วงโควิด จะมีการขายของกินออนไลน์กันอย่างคึกคัก บางคนที่เริ่มทำเป็นรายได้เสริม อาจจะทำรายได้ดีกว่ารายได้หลักเสียอีก  ถ้าในอนาคตจะเปิดเป็นหน้าร้าน หรืออยากขยายกิจการต่อไป จะต้องทำอย่างไรต่อไป ลองมาดู 4 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ที่สรุปมาเพื่อให้ร้านของคุณโตได้โดยไม่ต้องเจ็บตัว และเป็นก้าวแรกที่มั่นคงของธุรกิจครับ  4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!   1.วางรูปแบบร้านให้ชัดเจน การวางรูปแบบของร้านอาหารให้ชัดเจน จะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เกิดความน่าสนใจมากกว่าร้านทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์  เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน ควรเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์และจำง่าย เข้ากับประเภทของร้านอาหาร เมนูอาหารในร้าน รวมถึงสไตล์การตกแต่งภายใน ควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  ขอยกตัวอย่างร้านกาแฟ ที่มีความหลากหลายมากในปัจจุบัน นอกจากรสชาติที่ดีของกาแฟแล้ว แต่ละร้านก็จะมีจุดขายที่แตกต่างกัน บางร้านก็ใช้การตกแต่งร้านและสวนให้สวยงาม เพื่อให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูปเช็คอินลงในโซเซียลมีเดีย บางร้านก็เปิดเป็นคาเฟ่แมว เพื่อให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายกับน้องๆ ในร้าน หรือแม้แต่การคิดเมนูที่สร้างสรรค์ต่างๆ ก็เป็นแนวทางในการสร้างจุดเด่น ที่ทำให้ลูกค้าจะเลือกมาที่ร้านของเรา และได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไป 2.เลือกทำเลที่เหมาะสม เพราะทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลประกอบการของร้าน การเลือกทำเลตั้งร้านอาหารจะต้องคำนึงถึงกลุ่มฐานลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งในละแวกเดียวกัน ที่จอดรถของร้าน ความสะดวกต่อการเข้าถึง และความสะดุดตาของร้าน […]

Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารก็อยากให้ร้านของตัวเองเป็นที่พอใจของลูกค้าอยู่เสมอ แต่ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกร้าน หลายร้านเองต้องประสบปัญหากับน้ำผึ้งหยดเดียวเนื่องจากรับมือไม่เป็น Crisis Management จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารในยุคนี้ต้องรู้จักและเตรียมตัวรับมือให้ดี ซึ่งสามารถทำได้ตามวิธีที่แนะนำดังนี้   Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร ตอบทันทีอย่าให้มีดราม่า ความไม่พอใจต่อเหตุการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นดราม่าได้หากได้รับการเพิกเฉย การตอบลูกค้ารวดเร็วจะทำให้ลูกค้าใจเย็นลง ดังนั้น ร้านอาหารควรจะวางแนวทางในการตอบคำถามไว้ โดยต้องใช้คำง่าย ๆ ตรงไปตรงมาในการตอบ และสุภาพ การพยายามเอาชนะลูกค้าย่อมไม่เป็นผลดี เช่น กรณีร้านที่เจ้าของร้านตอบโต้อย่างรุนแรงเมื่อลูกค้าติถึงคุณภาพอาหาร จากเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถจัดการได้ กับเป็นเรื่องใหญ่ที่ลุกลามไปยังช่องทางอื่น ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือจ้างคนมาทำหน้าที่แอดมินโดยตรง จะต้องเป็นคนที่ใจเย็นและสื่อสารได้ดี   ขอโทษอย่างจริงใจ ถ้าคุณคิดว่าการขอโทษแสดงถึงการยอมรับ คุณกำลังคิดผิด เพราะการขอโทษไม่ได้สื่อสารถึงลูกค้าคู่กรณีเพียงอย่างเดียว แต่ร้านกำลังสื่อสารไปถึงลูกค้าคนอื่น ๆ ด้วย ว่าคุณเป็นร้านอาหารที่ให้ความใส่ใจและเห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญเพียงใด  นอกจากนี้การขอโทษเป็นการทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงแค่ประเด็นเดียว ซึ่งดีกว่าการแก้ตัวที่จะทำให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ หากคุณรับมือได้ไม่ดีพอก็จะบานปลายเกิดผลเสียมากกว่าได้ในที่สุด   รวบรวมข้อมูล…เปิดอกไกล่เกลี่ย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ รสชาติ การบริการของร้านอาหาร คุณจะต้องสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรแบ่งระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ไว้ เช่น ขั้นต้น คือลูกค้าไม่พอใจรสชาติ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.